โดย...สุรพล จินดาอินทร์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาตั้งแต่ปี 2517 โดยในช่วงแรก 20 กว่าปีนั้น ประชาชนมีความสนใจ มีการรับรู้ แต่ว่าความสนใจนั้นอาจจะไม่มากนัก จนกระทั่งเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2540 ความสนใจมีมากขึ้น จนกระทั่งทางสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้อัญเชิญปรัชญามาเป็นหลักกำหนดทิศทางการพัฒนาสำหรับแผน 9 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2542) และถูกบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 3 หลัก และ 2 เงื่อนไข กล่าวคือ
หลักที่ 1 คือหลักของการเดินสายกลาง
หลักที่ 2 คือใช้ความรู้และเหตุผลในการตัดสินใจ
หลักที่ 3 คือการมีภูมิคุ้มกันจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
เงื่อนไขที่ 1 คือคุณธรรม
เงื่อนไขที่ 2 คือ ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง
ขออนุญาตไม่ขยายความทั้ง 3 หลัก และ 2 เงื่อนไขข้างต้น เนื่องจากมีการเผยแพร่เป็นการทั่วไปอยู่แล้ว แต่อยากจะตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงยังไม่สำเร็จตามพระราชดำริเท่าที่รวบรวมมาได้น่าที่จะมีอุปสรรคอยู่สามประการ
1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ในมาตรา 84 มีรายละเอียดค่อนข้างยาว ขนาดเป็นแผนธุรกิจให้รัฐบาลนำไปประกอบการได้เลย แทบไม่ต้องไปออกกฎหมายอะไรเพิ่มเติมอีก (ไม่เข้าใจว่ารัฐธรรมนูญทำไมต้องเขียนยาวอย่างนี้) แน่นอน! มาตรานี้ว่าด้วยระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมเต็มตัว ฝรั่งตะวันตกยังต้องยกนิ้วให้ แล้วบอกว่าประเทศไทย เจ๋ง จริงๆ เดินตาม....(ลงนรก)....ต้อยๆ เลย
ในขณะที่มาตรา 83 ก็เขียนไว้เพียงสั้นๆ ว่า รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านไปสองปีทั้งรัฐบาลและรัฐสภาต่างก็ ละเลย ไม่สนใจที่จะออกกฎหมายมาประกอบ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ทั้งๆ ที่เป็นพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ หรือว่าทั้งรัฐบาลและรัฐสภาก็เป็นพวก “ความจำสั้น-สันหลังยาว”
ใครที่ได้อ่านรัฐธรรมนูญทั้งสองมาตรานี้ (83,84) จะพบว่ามันเป็นปฏิปักษ์ต่อกันเกือบจะสิ้นเชิง แต่ก็ไม่มีใครสนใจที่จะทำให้มันสอดคล้องกัน นี่แหละที่ทำให้ใครบางคนโจมตีว่าเป็น “วิกฤตทางปัญญา”
2. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ในฐานะที่เป็นเสาหลักในการเผยแพร่ปรัชญานี้ สำนักงานทรัพย์สินฯ ก็ยังมิได้ทำตัวให้เป็นเยี่ยงอย่าง ยังคงลงทุนในกิจการขนาดใหญ่ กิจการที่มีความเสี่ยงอย่างไม่หยุดยั้ง ประชาชนทั่วไปจึง “สับสน” ในบทบาทที่สำนักงานทรัพย์สินฯ รับผิดชอบอยู่ กรณีธนาคารไทยพาณิชย์ปล่อยกู้ “กลุ่มเทมาเส็ก” จากสิงคโปร์ให้เข้าไปซื้อกิจการของชินคอร์ป เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน
3. วิสัยทัศน์ของผู้บริหารประเทศ
หากสังเกตให้ดี เราจะพบว่าในการจัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “ผู้อาวุโส” ในพรรคประชาธิปัตย์ “ถอย” ออกมาห่างมาก ปล่อยให้ “ละอ่อน” เข้าไป “กุม” บังเหียนในกระทรวงที่สำคัญ หรือแม้แต่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เห็นหรือยังความ “เขี้ยว” ของ “ขิงแก่” ถ้ารัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจสำเร็จ ผู้อาวุโสทั้งหลายก็จะได้หน้ากันถ้วนทั่ว ด้วยการอ้างว่าสนับสนุนพวก “หนุ่มๆ” อยู่ข้างหลัง แต่ถ้า “พัง” ขึ้นมา ก็ตัวใครตัวมัน ฉันไม่เกี่ยว “เด็กพวกนี้ยังขาดประสบการณ์”
ในโลกแห่งความจริง “คนหนุ่ม” เหล่านี้ ไปเรียนเมืองนอกกันตั้งแต่เด็ก ทัศนคติ วิธีคิดจึงเป็น “ฝรั่ง” อย่างช่วยไม่ได้ ความเข้าใจในรากเหง้าของปัญหาในสังคมไทยจึงคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง หรือถ้าหากเข้าใจก็ไม่ ลึกซึ้ง และที่สำคัญเปิดตำรา “อุตสาหกรรม” ที่ฝรั่งเขียนมากกว่าอีกเล่มหนึ่งที่ชื่อ “เกษตรกรรม” ตำราที่เราคุ้นเคยกันดี และเขียนโดยคนไทย
ไม่ว่าจะเป็นการวางพื้นฐาน หรือการฟื้นฟูเศรษฐกิจ มันถูกพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ตำราที่เรียกว่า “อุตสาหกรรม” ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ยับเยินไปทั้งโลก และไม่เหมาะกับสังคมไทย แต่รัฐบาลก็ยังคงตะบี้ตะบันใช้ตำรา “ชำรุด” เล่มนี้ แทนที่จะ “ปิด” มันไปทีละหน้า แล้วเปิดเล่มที่ว่าด้วย “เกษตรกรรม” แทน เล่มที่เป็น “ภูมิปัญญา” ของเรามาแต่โบราณ เล่มที่เรา “เชี่ยวชาญ” มากกว่าใครในโลก
หากยังคงบริหารประเทศกันแบบนี้ แบบที่แก้ปัญหาด้วยการ “ต้องดับไฟก่อน” โดยไม่ดูว่า มันไหม้ด้วยสาเหตุอะไร? สารเคมี น้ำมัน กระดาษ หรือว่าเศษไม้?
เวลาแค่สามเดือนสำหรับรัฐบาลชุดนี้ ก็น่าจะ “เพียงพอ!”
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้รับสั่งเกี่ยวกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาตั้งแต่ปี 2517 โดยในช่วงแรก 20 กว่าปีนั้น ประชาชนมีความสนใจ มีการรับรู้ แต่ว่าความสนใจนั้นอาจจะไม่มากนัก จนกระทั่งเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจในปี 2540 ความสนใจมีมากขึ้น จนกระทั่งทางสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้อัญเชิญปรัชญามาเป็นหลักกำหนดทิศทางการพัฒนาสำหรับแผน 9 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2542) และถูกบรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบไปด้วย 3 หลัก และ 2 เงื่อนไข กล่าวคือ
หลักที่ 1 คือหลักของการเดินสายกลาง
หลักที่ 2 คือใช้ความรู้และเหตุผลในการตัดสินใจ
หลักที่ 3 คือการมีภูมิคุ้มกันจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
เงื่อนไขที่ 1 คือคุณธรรม
เงื่อนไขที่ 2 คือ ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวัง
ขออนุญาตไม่ขยายความทั้ง 3 หลัก และ 2 เงื่อนไขข้างต้น เนื่องจากมีการเผยแพร่เป็นการทั่วไปอยู่แล้ว แต่อยากจะตั้งข้อสังเกตว่า ทำไมปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จึงยังไม่สำเร็จตามพระราชดำริเท่าที่รวบรวมมาได้น่าที่จะมีอุปสรรคอยู่สามประการ
1.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
ในมาตรา 84 มีรายละเอียดค่อนข้างยาว ขนาดเป็นแผนธุรกิจให้รัฐบาลนำไปประกอบการได้เลย แทบไม่ต้องไปออกกฎหมายอะไรเพิ่มเติมอีก (ไม่เข้าใจว่ารัฐธรรมนูญทำไมต้องเขียนยาวอย่างนี้) แน่นอน! มาตรานี้ว่าด้วยระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมเต็มตัว ฝรั่งตะวันตกยังต้องยกนิ้วให้ แล้วบอกว่าประเทศไทย เจ๋ง จริงๆ เดินตาม....(ลงนรก)....ต้อยๆ เลย
ในขณะที่มาตรา 83 ก็เขียนไว้เพียงสั้นๆ ว่า รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านไปสองปีทั้งรัฐบาลและรัฐสภาต่างก็ ละเลย ไม่สนใจที่จะออกกฎหมายมาประกอบ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ทั้งๆ ที่เป็นพระราชดำริของพระมหากษัตริย์ หรือว่าทั้งรัฐบาลและรัฐสภาก็เป็นพวก “ความจำสั้น-สันหลังยาว”
ใครที่ได้อ่านรัฐธรรมนูญทั้งสองมาตรานี้ (83,84) จะพบว่ามันเป็นปฏิปักษ์ต่อกันเกือบจะสิ้นเชิง แต่ก็ไม่มีใครสนใจที่จะทำให้มันสอดคล้องกัน นี่แหละที่ทำให้ใครบางคนโจมตีว่าเป็น “วิกฤตทางปัญญา”
2. สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ในฐานะที่เป็นเสาหลักในการเผยแพร่ปรัชญานี้ สำนักงานทรัพย์สินฯ ก็ยังมิได้ทำตัวให้เป็นเยี่ยงอย่าง ยังคงลงทุนในกิจการขนาดใหญ่ กิจการที่มีความเสี่ยงอย่างไม่หยุดยั้ง ประชาชนทั่วไปจึง “สับสน” ในบทบาทที่สำนักงานทรัพย์สินฯ รับผิดชอบอยู่ กรณีธนาคารไทยพาณิชย์ปล่อยกู้ “กลุ่มเทมาเส็ก” จากสิงคโปร์ให้เข้าไปซื้อกิจการของชินคอร์ป เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน
3. วิสัยทัศน์ของผู้บริหารประเทศ
หากสังเกตให้ดี เราจะพบว่าในการจัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “ผู้อาวุโส” ในพรรคประชาธิปัตย์ “ถอย” ออกมาห่างมาก ปล่อยให้ “ละอ่อน” เข้าไป “กุม” บังเหียนในกระทรวงที่สำคัญ หรือแม้แต่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เห็นหรือยังความ “เขี้ยว” ของ “ขิงแก่” ถ้ารัฐบาลแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะปัญหาเศรษฐกิจสำเร็จ ผู้อาวุโสทั้งหลายก็จะได้หน้ากันถ้วนทั่ว ด้วยการอ้างว่าสนับสนุนพวก “หนุ่มๆ” อยู่ข้างหลัง แต่ถ้า “พัง” ขึ้นมา ก็ตัวใครตัวมัน ฉันไม่เกี่ยว “เด็กพวกนี้ยังขาดประสบการณ์”
ในโลกแห่งความจริง “คนหนุ่ม” เหล่านี้ ไปเรียนเมืองนอกกันตั้งแต่เด็ก ทัศนคติ วิธีคิดจึงเป็น “ฝรั่ง” อย่างช่วยไม่ได้ ความเข้าใจในรากเหง้าของปัญหาในสังคมไทยจึงคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง หรือถ้าหากเข้าใจก็ไม่ ลึกซึ้ง และที่สำคัญเปิดตำรา “อุตสาหกรรม” ที่ฝรั่งเขียนมากกว่าอีกเล่มหนึ่งที่ชื่อ “เกษตรกรรม” ตำราที่เราคุ้นเคยกันดี และเขียนโดยคนไทย
ไม่ว่าจะเป็นการวางพื้นฐาน หรือการฟื้นฟูเศรษฐกิจ มันถูกพิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่า ตำราที่เรียกว่า “อุตสาหกรรม” ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ยับเยินไปทั้งโลก และไม่เหมาะกับสังคมไทย แต่รัฐบาลก็ยังคงตะบี้ตะบันใช้ตำรา “ชำรุด” เล่มนี้ แทนที่จะ “ปิด” มันไปทีละหน้า แล้วเปิดเล่มที่ว่าด้วย “เกษตรกรรม” แทน เล่มที่เป็น “ภูมิปัญญา” ของเรามาแต่โบราณ เล่มที่เรา “เชี่ยวชาญ” มากกว่าใครในโลก
หากยังคงบริหารประเทศกันแบบนี้ แบบที่แก้ปัญหาด้วยการ “ต้องดับไฟก่อน” โดยไม่ดูว่า มันไหม้ด้วยสาเหตุอะไร? สารเคมี น้ำมัน กระดาษ หรือว่าเศษไม้?
เวลาแค่สามเดือนสำหรับรัฐบาลชุดนี้ ก็น่าจะ “เพียงพอ!”