ASTVผู้จัดการรายวัน – ตลาดไมซ์แข่งดุชิงลูกค้ากลุ่มประชุมและสัมมนา หวังโกยรายได้กระตุ้นเศรษฐกิจ กระหน่ำอัดแคมเปญ ลด แจก แถม ด้านฮ่องกง นำร่องหัวละ 500 บาท มาเลเซียตัดหน้าให้หัวละ 1,000 บาท ส่วนไทยเพิ่งตื่น คิกออฟแคมเปญ “ไทยแลนด์ แม็กซิไมซ์” ชูจุดขายเดิมๆคุ้มค่าเงินและการบริการ อ้างมีสินค้าดีเป็นแรงจูงใจ ไม่ต้องใช้เงินมาก เผยปีหน้าตลาดไมซ์ฟื้นชัวร์ คุยกลุ่มประชุมและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล โต 15% ปี53 โกยรายได้กว่า 2.5 หมื่นล้านบาท
นางมาลินี กิตะพาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการประชุมและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เปิดเผยว่า สถานการณ์การแข่งขันของตลาดจัดประชุมสัมมนา(ไมซ์)ในกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เนื่องจากทุกประเทศต่างหวังให้อุตสาหกรรมนี้ให้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจรวมถึงการแย่งชิงความเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไมซ์ของภูมิภาค เป็นผลให้คู่แข่งขันในตลาดต่างอัดแคมเปญ ลด แจก แถม พร้อมให้อินเซนทีฟ เป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกประเทศของตนเองในการจัดงาน
ล่าสุด ฮ่องกง ใช้เงินสนับสนุนต่อคนเฉลี่ย 500 บาท ส่วนมาเลเซีย ใช้เฉลี่ย 1,000 บาท เป็นต้น ในส่วนของประเทศไทย สสปน.ได้ออกแคมเปญ “ไทยแลนด์ แม็กซิไมซ์” สำหรับให้การสนับสนุนการเดินทางแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาจัดประชุมสัมมนาในประเทศไทย ชูจุดขายสำคัญ 3 ด้าน คือ ความคุ้มค่าเงินเมื่อตัดสินใจเดินทางเข้ามาจัดประชุมในประเทศไทย, ความหลากหลายของสถานที่จัดงาน แหล่งท่องเที่ยว และ การให้บริการแบบมิตรไมตรีตามแบบฉบับของประเทศไทย โดยจะเริ่มเปิดตัวแคมเปญดังกล่าวตั้งแต่เดือน ต.ค.ศกนี้ ใน 20 ประเทศทั่วโลก
“แคมเปญดังกล่าวมีให้เลือก 3 แพกเกจให้เลือก ตามความต้องการของผู้จัดงานและผู้ร่วมประชุม ได้แก่ แม็กซ์ แวลูร์ แม็กซ์ รีวอร์ด และ แม็กซ์โบนัส”
โดยในรายละเอียด “แม็ก แวร์ลูร์” จะให้การสนับสนุนกลุ่มประชุมและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลตั้งแต่ 50-100 คน ในรูปแบบทีมบิวดิ้ง วงเงินไม่เกิน 2 หมื่นบาท กิจกรรมกอล์ฟ ซีเอสอาร์ รวมถึงสนับสนุนกลุ่มที่จะเข้ามาทำการสำรวจพื้นที่ก่อนจัดงาน จริง
ทั้งนี้แคมเปญ แม็กซิไมซ์ สสปน.ใช้งบประมาณ 35 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเป็นเงินสนับสนุนต่อคนราว 200 บาท ซึ่งไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งขันอย่างฮ่องกง หรือมาเลเซีย ประกอบกับกลุ่มประชุมและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล จะไม่ค่อยสนใจกับอินเซนทีฟที่ให้มากนัก แต่จะคำนึงถึงความพึงพอใจที่จะได้รับมากกว่า ดังนั้นการออกแคมเปญนี้ออกไป พร้อมกับสถานการณ์ของประเทศที่เริ่มดีขึ้น จะทำให้อุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทยจะกลับฟื้นเป็นปกติในปีหน้าอย่างแน่นอน และตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมไมซ์ได้อีกครั้งอย่างแน่นอน
นางมาลินี กล่าวอีกว่า แผนตลาดของสสปน.ยังคงเน้นตลาดระยะใกล้ ที่ตัดสินใจได้รวดเร็ว เช่น จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ส่วนตลาดยุโรป จะประคองฐานตัวเลขเดิมไว้ให้ได้ โดยปีหน้าตั้งเป้าหมายนักท่องเที่ยวกลุ่มเพื่อเป็นรางวัล(อินเซ็นทีฟ) จะเติบโตจากปีนี้ราว 15% หรือมีจำนวนอยู่ที่ 407,000 คน สร้างรายได้ 2.5 หมื่นล้านบาท จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีจำนวนอยู่ที่ 370,000 คน สร้างรายได้ 22,000 ล้านบาท ส่วนจำนวนงานที่ สสปน. สนับสนุน การประชุมและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลในปีหน้าจะมีประมาณ 250 งานใกล้เคียงกับปีนี้
ขณะที่ภาพรวมอุตสาหกรรมไมซ์ในปี 2553 จะมีชาวต่างชาติเดินทางมางานไมซ์ 636,000 คน มีกิจกรรมไมซ์กว่า 400 งาน สร้างรายได้เข้าประเทศ 45,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากปี 2552
สำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดงาน IT&CMA และงาน CTW เอเชียแปซิฟิก2009 ปีนี้ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่าง 1-4 ต.ค. 52 ที่โรงแรมเซนทารา คาดว่าจะมีผู้ร่วมงานกว่า 2,000 คน เกิดการซื้อขายภายในงานเป็นเงินสะพัดกว่า 1,000 ล้านบาท และมีรายได้หลังการจัดงานอีกราว 2,000 ล้านบาท ซึ่งภาพลักษณ์ของการจัดงานที่อออกไปนั้นจะมีผลกับการตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลในปีหน้าด้วย
/////////////////////////////////////
นางมาลินี กิตะพาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการประชุมและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. เปิดเผยว่า สถานการณ์การแข่งขันของตลาดจัดประชุมสัมมนา(ไมซ์)ในกลุ่มประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เนื่องจากทุกประเทศต่างหวังให้อุตสาหกรรมนี้ให้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจรวมถึงการแย่งชิงความเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมไมซ์ของภูมิภาค เป็นผลให้คู่แข่งขันในตลาดต่างอัดแคมเปญ ลด แจก แถม พร้อมให้อินเซนทีฟ เป็นแรงจูงใจให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกประเทศของตนเองในการจัดงาน
ล่าสุด ฮ่องกง ใช้เงินสนับสนุนต่อคนเฉลี่ย 500 บาท ส่วนมาเลเซีย ใช้เฉลี่ย 1,000 บาท เป็นต้น ในส่วนของประเทศไทย สสปน.ได้ออกแคมเปญ “ไทยแลนด์ แม็กซิไมซ์” สำหรับให้การสนับสนุนการเดินทางแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเข้ามาจัดประชุมสัมมนาในประเทศไทย ชูจุดขายสำคัญ 3 ด้าน คือ ความคุ้มค่าเงินเมื่อตัดสินใจเดินทางเข้ามาจัดประชุมในประเทศไทย, ความหลากหลายของสถานที่จัดงาน แหล่งท่องเที่ยว และ การให้บริการแบบมิตรไมตรีตามแบบฉบับของประเทศไทย โดยจะเริ่มเปิดตัวแคมเปญดังกล่าวตั้งแต่เดือน ต.ค.ศกนี้ ใน 20 ประเทศทั่วโลก
“แคมเปญดังกล่าวมีให้เลือก 3 แพกเกจให้เลือก ตามความต้องการของผู้จัดงานและผู้ร่วมประชุม ได้แก่ แม็กซ์ แวลูร์ แม็กซ์ รีวอร์ด และ แม็กซ์โบนัส”
โดยในรายละเอียด “แม็ก แวร์ลูร์” จะให้การสนับสนุนกลุ่มประชุมและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลตั้งแต่ 50-100 คน ในรูปแบบทีมบิวดิ้ง วงเงินไม่เกิน 2 หมื่นบาท กิจกรรมกอล์ฟ ซีเอสอาร์ รวมถึงสนับสนุนกลุ่มที่จะเข้ามาทำการสำรวจพื้นที่ก่อนจัดงาน จริง
ทั้งนี้แคมเปญ แม็กซิไมซ์ สสปน.ใช้งบประมาณ 35 ล้านบาท หรือเฉลี่ยเป็นเงินสนับสนุนต่อคนราว 200 บาท ซึ่งไม่สูงมากเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งขันอย่างฮ่องกง หรือมาเลเซีย ประกอบกับกลุ่มประชุมและท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล จะไม่ค่อยสนใจกับอินเซนทีฟที่ให้มากนัก แต่จะคำนึงถึงความพึงพอใจที่จะได้รับมากกว่า ดังนั้นการออกแคมเปญนี้ออกไป พร้อมกับสถานการณ์ของประเทศที่เริ่มดีขึ้น จะทำให้อุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทยจะกลับฟื้นเป็นปกติในปีหน้าอย่างแน่นอน และตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมไมซ์ได้อีกครั้งอย่างแน่นอน
นางมาลินี กล่าวอีกว่า แผนตลาดของสสปน.ยังคงเน้นตลาดระยะใกล้ ที่ตัดสินใจได้รวดเร็ว เช่น จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ส่วนตลาดยุโรป จะประคองฐานตัวเลขเดิมไว้ให้ได้ โดยปีหน้าตั้งเป้าหมายนักท่องเที่ยวกลุ่มเพื่อเป็นรางวัล(อินเซ็นทีฟ) จะเติบโตจากปีนี้ราว 15% หรือมีจำนวนอยู่ที่ 407,000 คน สร้างรายได้ 2.5 หมื่นล้านบาท จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีจำนวนอยู่ที่ 370,000 คน สร้างรายได้ 22,000 ล้านบาท ส่วนจำนวนงานที่ สสปน. สนับสนุน การประชุมและการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลในปีหน้าจะมีประมาณ 250 งานใกล้เคียงกับปีนี้
ขณะที่ภาพรวมอุตสาหกรรมไมซ์ในปี 2553 จะมีชาวต่างชาติเดินทางมางานไมซ์ 636,000 คน มีกิจกรรมไมซ์กว่า 400 งาน สร้างรายได้เข้าประเทศ 45,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% จากปี 2552
สำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดงาน IT&CMA และงาน CTW เอเชียแปซิฟิก2009 ปีนี้ ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่าง 1-4 ต.ค. 52 ที่โรงแรมเซนทารา คาดว่าจะมีผู้ร่วมงานกว่า 2,000 คน เกิดการซื้อขายภายในงานเป็นเงินสะพัดกว่า 1,000 ล้านบาท และมีรายได้หลังการจัดงานอีกราว 2,000 ล้านบาท ซึ่งภาพลักษณ์ของการจัดงานที่อออกไปนั้นจะมีผลกับการตัดสินใจเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลในปีหน้าด้วย
/////////////////////////////////////