ASTVผู้จัดการรายวัน - แบงก์ชาติชี้กรณีระงับโครงการลงทุนมาบตาพุด ฉุดการลงทุนวูบ เผยขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย พร้อมสำรวจความเชื่อมั่นนักลงทุน ระบุโครงการลงทุนภาครัฐยังจำเป็นต่อเศรษฐกิจไทยในขณะนี้
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่ากร สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า คำสั่งศาลปกครองกลางที่ระงับ 76 โครงการลงทุนมาบตาพุดจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปได้ รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนไทยและต่างชาติ ทำให้ขณะนี้สายนโยบายการเงินอยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์และศึกษารายละเอียดถึงผลกระทบดังกล่าวที่มีต่อเศรษฐกิจไทยว่ามีมากน้อยแค่ไหน
“การระงับโครงการลงทุนในโครงการมาบตาพุดมีผลกระทบต่อการลงทุนแน่นอน โดยเฉพาะบางโครงการที่ได้มีการลงทุนไปบ้างแล้ว ประกอบกับที่ผ่านมาแบงก์ชาติประเมินว่าโครงการต่างๆ ของภาครัฐจะเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจด้วย ซึ่งรวมถึงโครงการเหล่านี้ด้วย ขณะเดียวกันเราจะนำประเด็นนี้เข้ามาสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งโดยปกติแบงก์ชาติจะมีการสำรวจความคิดเห็นในทุกเดือนอยู่แล้ว เพื่อประเมินมุมมองนักลงทุนประกอบการศึกษาด้วย”
แหล่งข่าวจากสายนโยบายการเงินธปท.กล่าวเพิ่มเติมว่า การส่งผ่านการลงทุนของภาครัฐไปยังภาคเอกชนเป็นเรื่องที่ยาก แต่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดต่อการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ ประกอบกับโครงการลงทุนพื้นที่มาบตาพุด เกี่ยวข้องกับโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลด้วย และแม้สุดท้ายแล้วจะภาครัฐจะพยายามปรับปรุงโครงการเหล่านั้นใหม่หรือลงในพื้นที่อื่นเป็นเรื่องที่ยาก เพราะมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่เหล่านั้นได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ภาครัฐควรศึกษาให้ละเอียดและรอบคอบ
ทั้งนี้ ธปท.ได้รายงานภาพรวมเศรษฐกิจล่าสุดในเดือนส.ค.ของปีนี้ พบว่า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหดตัว 13.3%แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องที่ 1.6% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่เป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เมื่อ จึงเชื่อว่าเป็นการปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปหลังวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการปรับตัวดีขึ้นเป็นผลจากการนำเข้าสินค้าทุนและยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ในหมวดก่อสร้างยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำตามปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศและพื้นที่รับก่อสร้างในเขตเทศบาล แต่ในหมวดนี้มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐและโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า
สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจที่ดีขึ้นในปัจจุบันและอนาคต โดยในเดือนส.ค.อยู่ที่ระดับ 46.1 จากเดือนก่อน 45 แต่ในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 54.2 สูงกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และองค์ประกอบทุกตัวปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน สะท้อนการผลิตเดินหน้าต่อไปได้อย่างน้อยไตรมาส 4 ของปีนี้ และผู้ประกอบการมีความกังวลปัญหาภาวะเศรษฐกิจและการเมืองน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา และเชื่อว่าความต้องการในประเทศเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่ากร สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า คำสั่งศาลปกครองกลางที่ระงับ 76 โครงการลงทุนมาบตาพุดจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปได้ รวมถึงความเชื่อมั่นของนักลงทุนไทยและต่างชาติ ทำให้ขณะนี้สายนโยบายการเงินอยู่ระหว่างประเมินสถานการณ์และศึกษารายละเอียดถึงผลกระทบดังกล่าวที่มีต่อเศรษฐกิจไทยว่ามีมากน้อยแค่ไหน
“การระงับโครงการลงทุนในโครงการมาบตาพุดมีผลกระทบต่อการลงทุนแน่นอน โดยเฉพาะบางโครงการที่ได้มีการลงทุนไปบ้างแล้ว ประกอบกับที่ผ่านมาแบงก์ชาติประเมินว่าโครงการต่างๆ ของภาครัฐจะเป็นปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวเศรษฐกิจด้วย ซึ่งรวมถึงโครงการเหล่านี้ด้วย ขณะเดียวกันเราจะนำประเด็นนี้เข้ามาสำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนเพิ่มเติม ซึ่งโดยปกติแบงก์ชาติจะมีการสำรวจความคิดเห็นในทุกเดือนอยู่แล้ว เพื่อประเมินมุมมองนักลงทุนประกอบการศึกษาด้วย”
แหล่งข่าวจากสายนโยบายการเงินธปท.กล่าวเพิ่มเติมว่า การส่งผ่านการลงทุนของภาครัฐไปยังภาคเอกชนเป็นเรื่องที่ยาก แต่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดต่อการขยายตัวเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ ประกอบกับโครงการลงทุนพื้นที่มาบตาพุด เกี่ยวข้องกับโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลด้วย และแม้สุดท้ายแล้วจะภาครัฐจะพยายามปรับปรุงโครงการเหล่านั้นใหม่หรือลงในพื้นที่อื่นเป็นเรื่องที่ยาก เพราะมีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะถูกต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่เหล่านั้นได้ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ภาครัฐควรศึกษาให้ละเอียดและรอบคอบ
ทั้งนี้ ธปท.ได้รายงานภาพรวมเศรษฐกิจล่าสุดในเดือนส.ค.ของปีนี้ พบว่า ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหดตัว 13.3%แต่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องที่ 1.6% ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่เป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 เมื่อ จึงเชื่อว่าเป็นการปรับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปหลังวิกฤตเศรษฐกิจ โดยการปรับตัวดีขึ้นเป็นผลจากการนำเข้าสินค้าทุนและยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในประเทศมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ในหมวดก่อสร้างยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำตามปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ในประเทศและพื้นที่รับก่อสร้างในเขตเทศบาล แต่ในหมวดนี้มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐและโครงการก่อสร้างที่อยู่อาศัยตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า
สอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจที่ดีขึ้นในปัจจุบันและอนาคต โดยในเดือนส.ค.อยู่ที่ระดับ 46.1 จากเดือนก่อน 45 แต่ในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 54.2 สูงกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และองค์ประกอบทุกตัวปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน สะท้อนการผลิตเดินหน้าต่อไปได้อย่างน้อยไตรมาส 4 ของปีนี้ และผู้ประกอบการมีความกังวลปัญหาภาวะเศรษฐกิจและการเมืองน้อยลงเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา และเชื่อว่าความต้องการในประเทศเริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน