นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ วานนี้ (4 ต.ค.) ถึงความคืบหน้าการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า หลังจากที่คณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมืองและศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญของสภาฯ เสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น ตนได้เสนอความคิดว่า การแก้ไขถ้าจะมีความสมานฉันท์จริง ก็คือ 1. ต้องสมานฉันท์กันในหมู่นักการเมือง อย่าเถียงกันว่าพรรคนั้นจะเสนอกี่ประเด็น พรรคนี้จะเสนอกี่ประเด็น ขอให้มาทำด้วยกัน กับ 2. ต้องมั่นใจว่าประชาชนเอาด้วย ก็เสนอเป็นความคิดว่าให้มีการจัดทำประชามติ เมื่อวันศุกร์ที่ 2 ต.ค.วิป 3 ฝ่าย ก็ได้มีโอกาสมาหารือกับตน ต่างเห็นพ้องต้องกัน ว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น โดยให้ฝ่ายกฎหมายของสภาฯ เป็นผู้ยกร่างให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสมานฉันท์ฯเสนอ และจะต้องทำประชามติ เพื่อให้ประชาชนสามารถตัดสินได้ว่าประเด็นไหนควรแก้ ประเด็นไหนไม่ควรแก้
สำหรับขั้นตอนของการทำประชามตินั้นก็ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมีโอกาสแสดงความคิดเห็นกับประชาชนเพื่อการตัดสินใจของประชาชน ส่วนในทางเทคนิคจะทำประชามติในขั้นตอนไหนนั้น คือยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วทำประชามติ หรือทำช่วงรับหลักการเสร็จ หรือรับหลักการเสร็จแล้วทำ อยู่ระหว่างการดูทางเลือกต่างๆ อยู่ แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น โดยปกติ รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ก็ให้อำนาจทาง ส.ส. ,ส.ว. หรือครม.ในการเสนอ และก็พิจารณาแก้ไขได้ แต่คิดว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ทุกฝ่ายยอมรับว่าให้ประชาชนมามีส่วนร่วม มาร่วมตัดสินใจด้วยการทำประชามติ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็หวังว่าจะทำให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนว่ารัฐบาลเดินหน้าในเรื่องของความสมานฉันท์ เพราะว่าเรื่องของเงื่อนไข การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็เป็นเงื่อนไขความขัดแย้งหนึ่ง ซึ่งได้สร้างปัญหามาตลอดระยะเวลา 2 ปี ก็ว่าได้
นัดแกนนำรัฐบาลถกแก้รธน.เท่านั้น
นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงการนัดแกนนำ พรรคร่วมรัฐบาลมาหารือและร่วมรับประทานอาหารเย็นที่บ้านพิษณุโลกในช่วงเย็นวันเดียวกันนี้ (4 ต.ค.) ว่า ที่ตนนัดแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลมาก็เพื่อหารือเรื่องกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะเป็นอย่างไรเท่านั้นไม่มีเรื่องอื่น ซึ่งการหารือ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร จะคุยเรื่องแก้รัฐธรรมนูญเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ในการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นคิดว่าคงไม่ช้า เพราะทางฝ่ายสภาบอกเองว่าขณะนี้ได้เดินหน้าแล้วในการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการแสดงความเป็นห่วงว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะทำให้หลักการที่ดีของรัฐธรรมนูญปี 2550 เสียไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่า สิ่งที่ต้องทำวันนี้คือการให้ประชาชนตัดสิน และในช่วงการทำประชามติใครมีข้อคิดเห็นหรือข้อมูลที่จะให้กับประชาชนก็สามารถทำได้ เช่น ฝ่ายที่เห็นว่า ถ้ามีการแก้ไขในมาตรานี้แล้วจะมีปัญหากระทบกับหลักการสำคัญอะไร ก็ให้ไปอธิบายกับประชาชน ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วยก็จะไม่รับร่างการแก้ไข ฝ่ายที่แก้ไขก็ต้อง อธิบายว่าแก้ไขแล้วจะดีขึ้นอย่างไร
ส่วนการหารือกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลจะได้ข้อยุติที่ตรงกันหรือไม่ เพราะมีข่าวว่ายังมีความเห็นไม่ตรงกันหลายมาตราที่จะแก้ไขนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่มีอะไร เพราะการหารือในส่วนวิป 3 ฝ่าย ก็เห็นตรงกันหมดแล้ว เมื่อถามต่อว่า ในส่วนของนายกรัฐมนตรีเองก็ยังไม่เห็นด้วยกับพรรคร่วมในหลายประเด็น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความจริงภาระในการยกร่างแก้ไขขณะนี้ก็เป็นหน้าที่ของสภาฯ อยู่แล้วที่ต้องดำเนินการ หลังวิป 3 ฝ่ายมอบหมาย ส่วนขั้นตอนการทำประชามตินั้นก็คงจะได้อธิบายในข้อกฎหมาย ข้อดี ข้อเสียในแต่ละขั้นตอน
ระบุแยกถาม6ประเด็นแก้รธน.
ผู้สื่อข่าวถามว่าการยกร่างครั้งนี้ดูเหมือนจะเป็นไปตามความต้องการของนักการเมืองฝ่ายเดียวหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน เขาก็คงไม่ลงมติให้แก้ไข เมื่อถามว่าเป็นห่วงหรือไม่ว่าในขั้นตอนการทำประชามติจะมีการบิดเบือนไปในทำนองว่าจะเอาหรือไม่เอารัฐบาล เหมือนครั้งที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในที่สุดแล้วคนที่ตัดสินใจคือประชาชน ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของประชาชน ไม่มีใครไปสรุปแทนได้ ประชาชนจะถูกถามว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขในประเด็นต่างๆหรือไม่ และจะแยกถามเป็น 6 ประเด็น ซึ่งการลงคะแนนของประชาชนก็จะแยกกันลง เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าประชาชนเห็นด้วยในการแก้ไขประเด็นใด และไม่เห็นด้วยในการแก้ไขประเด็นใดบ้าง
ต่อข้อถามว่า ปัญหาคือการทำความเข้าใจกับประชาชนนั้นจะทำได้มากน้อย แค่ไหน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตามกระบวนการการทำประชามติแล้วต้องเปิดโอกาส ให้ทุกฝ่ายได้ทำความเข้าใจ ส่วนวิธีการยกร่างจะทำโดยวิธีใดนั้นคนที่ทำหน้าที่ยกร่าง จะพิจารณาเองว่าจะดำเนินการในรูปแบบใด
ผู้สื่อข่าวถามว่าความเบื่อหน่ายของประชาชนจะทำให้ส่งผลต่อการออกมาลง ประชามติหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงต้องรอดูบรรยากาศในช่วงนั้น แต่ทุกฝ่าย ก็ควรต้องร่วมกันรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์กันมากๆ ในส่วนของรัฐบาลก็จะมีการรณรงค์เช่นเดียวกัน แต่วันนี้ยังไม่ถึงเวลาดำเนินการ เพราะต้องรอให้มีการประกาศอย่างเป็นทางการก่อน จากนั้นก็จะมีแผนงานออกมา เมื่อถามว่ากฎหมายประชามติ ที่ยังค้างการพิจารณาของสภาจะเป็นปัญหาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าคงเสร็จทันก่อนที่จะมีการทำประชามติ
แกนนำ6พรรคร่วมหารือแก้รธน.
ผู้สื่อข่าวรายงาน วันเดียวกัน เวลา 18.30 น. ที่บ้านพิษณุโลก ซึ่งเป็นสถานที่ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ี นัดแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล หารือถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีแกนนำทั้ง 6 พรรคการเมือง เดินทางมาร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา นายเนวิน ชิดชอบ นายอนุทิน ชาญวีรกูล นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำพรรคภูมิใจไทย นายบรรหาร ศิลปอาชา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคกิจสังคม นายพินิจ จารุสมบัติ และว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี แกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยใช้เวลาหารือประมาณ 30 นาที ก่อนแยกย้ายกันเดินทางกลับโดยไม่ให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด
ทำประชามติหลังผ่านวาระที่1
นายเนวิน ชิดชอบ ให้สัมภาษณ์ผ่านโทรศัทพ์ว่า ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น และยกร่าง 6 ฉบับ โดยหลังยกร่างเสร็จจะให้นำเรื่อง เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้รับหลักการโดยเร็ว ซึ่งเมื่อรับหลักการ ในวาระที่ 1 แล้ว จะเข้าสู่กระบวนการทำประชามติ
สำหรับกรอบเวลาที่จะดำเนินการนั้นนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าจะทำให้เสร็จเร็วที่สุด ส่วนกระแสการปรับคณะรัฐมนตรี และกรณีนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลออกจากตำแหน่งนั้น ไม่ได้มีการพูดถึง
นายเนวิน กล่าวอีกว่า เมื่อตนเข้าห้องประชุม ปรากฏว่า ผู้ที่อยู่ในห้องประชุมได้กล่าวแฮปปี้เบิร์ธเดย์ เนื่องจากตรงกับวันเกิดของตน
พันธมิตรฯชี้ทำประชามติไร้ประโยชน์
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อปประชาธิปไตย ลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) กล่าวว่าแนวคิดในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น แม้กระบวนการประชามติจะเป็นกระบวนการของประชาธิปไตยทางตรง และเป็นเรื่องที่ดีก็ตาม แต่การนำเอากระบวนการประชามติมาใช้ในช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสมและไม่คุ้มทุน ซ้ำร้ายไปกว่านั้นนายกฯ ก็ทราบดีว่าวิวาทะว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ถูกลากไปเป็นเกมการเมือง และเต็มไปด้วยวาระซ่อนเร้นของนักการเมือง
นายสุริยะใส กล่าวว่า การเอากระบวนการประชามติมาใช้ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญก็ตาม จะไม่เกิดประโยชน์อะไร เสียเวลา เปลืองงบประมาณกว่า 2000 ล้านบาท และกระบวนการประชามติจะถูกบิดเบือนจากประเด็นแก้ หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ กลายเป็นเอาหรือไม่เอารัฐบาลชุดนี้ หรือกลายไปเป็นยุบสภา หรือไม่ยุบสภา คล้ายๆ กับกรณีการจัดทำประชามติรับรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ก็ถูกบิดเบือนเป็นรับหรือไม่รับการรัฐประหาร 19 กันยายน จนทำให้อุณภูมิ ความแตกแยกในสังคมสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น
ถ้าจะให้ดีนากยกฯ ควรจัดให้มีการประชาพิจารณ์แทนการประชามติจะดีกว่า เพราะจะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการใช้เหตุผลว่ารัฐธรรมนูญควรจะแก้หรือไม่อย่างไร และจะแก้กี่เรื่องกี่มาตรา ซึ่งจะทำให้สังคมหลุดออกจากวงจรความขัดแย้งในระยะยาว แต่ถ้านายกฯ และฝ่ายการเมืองยังดันทุรังจะแก้รัฐธรรมนูญ ในตอนนี้ไม่ว่ากระบวนการใดก็ตามจะหนีความขัดแย้งรอบใหม่ไม่ได้อย่างแน่นอน และการแก้รัฐธรรมนูญก็จะไม่มีทางประสบความสำเร็จ
พรรคการเมืองใหม่เลือกหัวหน้า6ต.ค.
นายสุริยะใส กล่าวว่า สำหรับการประชุมใหญ่พรรคการเมืองใหม่ (กมม.) ในวันที่ 6 ตุลาคม 2552 นั้นจะจัดขึ้นตั้งแต่เวลา 09.00- 22.00 น ที่อาคารธันเดอร์โดม เมืองทองธานี ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะแตกต่างจากพรรคการเมืองอื่นๆ ทั้งของไทยและของประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพราะมีการเชิญสมาชิกของพรรคทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้มีกว่า 9 พันคน มาร่วมประชุมและทุกคนมีสทธิเลือกหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค และมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของพรรค ซึ่งพรรคอื่น ไม่ทำเพราะพรรคการเมืองอื่นๆ มีองค์ประชุมโดยใช้สมาชิกแค่ 200-300 คน มาร่วมประชุมและเลือกหัวหน้าพรรค ซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับสมาชิกพรรค แต่อย่างใด จนทำให้พรรคการเมืองทั่วไปในขณะนี้เป็นพรรคที่มีเจ้าของไม่กี่คน
การประชุมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความตั้งใจที่พันธมิตรฯ ต้องการให้ พรรคการเมืองใหม่เป็นพรรคของมวลชน หรือ Mass Party อย่างแท้จริง และเป็นการเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับการเมืองไทย และ หลังประชุมครั้งนี้จะได้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ จากนั้นพรรคจะจัดทำยุทธศาสตร์และแผนงานเพื่อเตรียมการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการระดมคนดี มีความรู้ ความสามารถมาร่วมงานกับพรรค
ส่วนงานรำลึกวันที่ 7 ตุลาคมนั้นในช่วงเช้าจะมีพิธีกรรมทางศาสนา ณ ลานพระบรมรูปทรงมา และจะมีการเดินไปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อประกาศภารกิจประชาธิปไตยสืบสานเจตนารมณ์วีรชนโดยเฉพาะการคัดค้านการรัฐธรรมนูญ และในช่วงบ่ายเป็นต้นไปจะมีการจัดงานที่หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีงานเสวนาวิชาการและดนตรีเพื่อชีวิต
แก้-ไม่แก้รธน.ปชป.มีแต่ได้กับได้
นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ในฐานะประธานชมรม สสร.50 กล่าวว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามแนวทางที่ วิป 3 ฝ่ายได้หารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีนั้น ชัดเจนแล้วว่ามีสาระเพื่อให้นักการเมืองได้ประโยชน์ อาการเดินลุยของนายอภิสิทธิ์ เพราะไปรับปากกับฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ โดยเฉพาะกับพรรคร่วมรัฐบาลจึงเป็นคำพูดที่มัดคอตัวเอง ตอนนี้จึงต้องเดินหน้าต่อ
อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าเกมแก้รัฐธรรมนูญยังเป็นผลดีต่อนายกฯและพรรคประชาธิปัตย์ ถึงแม้จะถูกครหาว่าใช้เงิน 2 พันล้านบาทไปทำประชามติ เพราะหากประชาชนออกมาคัดค้านนายกฯก็ไม่เสีย เพราะถือว่าได้ผลักดันแล้ว หรือ เมื่อทำประชามติไปแล้วประชาชนไม่เห็นด้วยรัฐบาลก็อยู่ได้ยาว เพราะดูประเด็นแล้วเห็นว่าถึงแก้ไปก็ไม่เกิดสมานฉันท์ ประชาชนก็ไม่รับ ดังนั้นที่ผ่านมา จึงเป็นเพียงการลดแรงเสียดทานของนายกฯเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่ายังมีแรงบีบจากพรรคร่วมที่ต้องการให้แก้รัฐธรรมนูญ เสร็จโดยเร็ว ที่ล่าสุดมีการนัดหารือกันที่บ้านพิษณุโลก นายเสรีกล่าวว่า พรรคร่วม ต้องการเปิดประตูไปสู่ประเด็นอื่น อย่างการนิรโทษกรรมกรรมการบริหารที่ถูกตัดสิทธิ์ โดยเฉพาะความหวังให้แก้ระบบการเลือกตั้งมาเป็นเขตเล็ก เพราะใช้เงินน้อยกว่า แต่สรุปแล้วจะแก้ได้หรือไม่ คนที่มีแต่ได้คือนายกฯและพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง เพราะคุมเกมอยู่ และยังมีประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ของ ส.ส. แล้วส.ว. ที่จะเข้าชื่อเสนอญัตติ ขณะเดียวกันการให้ฝ่ายกฎหมายของ 2 สภา เป็นผู้ยกร่าง ผลจะออกมาอย่างไรก็ยังไม่รู้ ซึ่งในวันที่ 6 ต.ค.นี้ ชมรม สสร.50 ได้นัดหารือและจะออกแถลงการณ์เพื่อแสดงจุดยืนต่อไป โดยจะนำผลการหารือของนายกฯกับแกนนำตัวจริงของพรรคร่วมมาพูดคุยกันด้วย
เฉ่งพท.ดันรธน.40เพื่อหวังกอบโกย
นายเทพไท เสนพงษ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่ส.ส.พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า หากไม่มีการทำประชามติคำตอบที่แท้จริงที่ให้กับประชาชนคืออะไร และสิ่งที่ต้องการรัฐธรรมนูญปี 40 ขึ้นมา เพราะเป็นฉบับเดียว ที่ทำให้ระบอบทักษิณมั่งคั่งขึ้นมา ใช่หรือไม่ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญปี 50 เป็นรัฐธรรมนูญที่อุดรอยรั่วของปี 40 และเป็นเกราะป้องกันที่ไม่ให้คนในระบอบทักษิณมาใช้ประโยชน์ทางการเมืองได้ คนเหล่านี้ จึงไม่เห็นด้วยที่จะประชามติเพื่อแก้รัฐธรมนูญปี 50 กลับต้องการให้มีรัฐธรรมนูญ ปี 40 ขึ้นมา
ส่วนกรณีที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานส.ส.พรรคเพื่อไทย ออกมาเยาะเย้ยพรรคประชาธิปัตย์ว่า ถ้ามีการแก้รัฐธรรมนูญขึ้นมาและยุบสภา หากมีการเลือกตั้งใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงไม่เกินร้อยนั้น ตนคิดว่าเป็นเรื่องของอนาคต ที่พรรคจะต้องพิสูจน์ แต่วันนี้ ร.ต.อ.เฉลิมไม่มีสิทธิ์มาดูถูกพรรค และการที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้คะแนนเสียง 100 หรือ 200 เป็นเรื่องของประชาชนที่จะให้ความไว้วางใจไม่ใช่ ร.ต.อ.เฉลิมจะมาลิขิตชีวิตทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์
ร.ต.อ.เฉลิมต่างหากที่อาศัยใบบุญกระแสพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็น ส.ส. พรรคเพื่อไทย และอวดอ้างว่ามีคะแนนเสียงเกินร้อย ทั้งๆ ที่ตั้งพรรคมวลชน มาหลายรอบ เป็นพรรคไม่เกินสิบมาโดยตลอด และล่าสุดร.ต.อ.เฉลิมจำได้หรือไม่ การที่เข้ามาส.ส.พรรคพลังประชาชนสมัยนั้น ก็ต่อรองให้ลูกลงสมัครรับเลือกตั้ง ในเขตฝั่งธนบุรี โดยตั้งเงื่อนไขว่าหากลูกลงไม่ได้ลงตัวเองก็จะไม่ลง แต่สุดท้าย เมื่อพรรคไม่ต้องการลูกของตัวเอง ร.ต.อ.เฉลิมก็ทิ้งลูกมาเป็นส.ส.สัดส่วน อย่างหน้าตาเฉย
ครป.แถลงการณ์4ข้อ ค้านแก้รธน.โดยไม่ทำประชามติ-เลิกโยกย้ายไม่เป็นธรรม-หยุดคอรัปชั่น-ทำร้ายสถาบัน
ครป.แถลงการณ์4ข้อ ค้านแก้รธน.โดยไม่ทำประชามติ-เลิกโยกย้ายไม่เป็นธรรม-หยุดทำร้ายสถาบัน-คอรัปชั่น
ครป.ค้านแก้รธน.โดยไม่ทำประชามติ
วันดียวกัน ายพิทยา ว่องกุล รักษาการประธาน คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และนายสุริยันต์ ทองหนูเอียด รักษาการเลขาธิการ ครป. ออกแถลงการณ์ถึงท่าที่และข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี และสาธารณชนในสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน โดยเห็นว่า ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่มีการต่อรองกดดันทางอำนาจ เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ของประเทศชาติประชาชนมาเป็นของตนเอง โดยกลุ่มการเมืองฝ่ายต่างๆ ทั้งพรรคร่วมรัฐบาล และนักการเมืองฝ่ายค้านที่แฝงไปด้วยเจตนาเพื่อโค่นล้มอำนาจ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หรือให้มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีเพื่อให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ หรือกดดันให้เกิดการยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ อันไม่เป็นไปตามวิถีแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวได้แสดงให้สาธารณชนรับรู้และรับทราบอย่างชัดเจนแล้วนั้น ครป.ขอแถลงข้อเรียกร้องและท่าทีต่อนายกรัฐมนตรีและสาธารณชนต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้
1.แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นวาระนักเลือกตั้ง แต่เป็นเรื่องไร้สาระของประชาชน เราขอยืนยันว่ารัฐธรรมนูญ ปี 2550 ไม่ใช่ปัญหาของประเทศ และเป็นเรื่องไร้สาระของประชาชน และจากผลการสำรวจของสำนักโพลต่างๆ ทั้ง 6 ประเด็นก็เห็นตรงกันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นประโยชน์กับประชาชนแต่อย่างใด ซึ่งเราเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 มีความก้าวหน้าต่อการเมืองภาคประชาชน ทั้งการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งเรื่องสิทธิของชุมชนและบุคคลในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิในที่อยู่อาศัยของคนจน เป็นต้น หากแต่ตลอดการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ กฎหมายลูกไม่ได้แก้ กฎหมายแม่ไม่ได้ใช้ ทำให้เสรีภาพของประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างแท้จริง อันเป็นอุปสรรคที่เกิดจากการไม่ทำหน้าที่ของบริหาร นิติบัญญัติ และความลักหลั่นของกระบวนการยุติธรรม อันเป็นหลักปัญหาของชาติขณะนี้ โดยเฉพาะวิกฤตที่เกิดจากนักการเมืองที่ไม่เคารพรัฐธรรมนูญและไม่ยอมรับการบังคับใช้กฎหมาย และไม่ยอมรับการตรวจสอบจากภาคประชาชนและกระบวนการยุติธรรม
ดังนั้นสิ่งที่ประชาชนต้องติดตามในกระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญอันวาระของนักเลือกตั้งขณะนี้ คือ เกมแย่งชิงอำนาจเพื่อประโยชน์ของนักการเมือง เพื่อการผูกขาดการเป็น ส.ส. ของพรรคการเมือง ผ่านการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อปิดบังปัญหาของประเทศและความเดือดร้อนของประชาชน
ครป.เห็นว่า หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ต้องทำเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงประชามติก่อนว่า ประชาชนต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ และหากจะแก้รัฐธรรมนูญจริง ควรทำประชาชมติว่า จะแก้ประเด็นอะไรบ้าง ไม่ใช่แก้ก่อนแล้วมัดมือชกประชาชนให้ทำประชามติตามข้อเสนอของนักการเมือง
จี้นายกฯแจงเหตุผลตั้งผบ.ตร.ไม่ได้
2.การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง ต้องยึดถือระบบคุณธรรม ผลงาน และความอาวุโส ปัญหาของการบริหารราชการในการแต่งตั้งข้าราชการชั้นสูงในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ หรือ ผบ.ตร.นั้น สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การแต่งตั้งไม่ได้ยึดถือคุณธรรม หรือผลงาน หรือความเป็นอาวุโส ประการสำคัญทั้งหมดทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องการสนองตอบต่อนักการเมือง ไม่ได้สะท้อนถึงประโยชน์ของประเทศชาติประชาชน
ทั้งนี้ เราขอเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีให้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงว่า อะไรคือปัญหาของการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงที่ผ่านมา โดยเฉพาะตำแหน่ง ผบ.ตร. เพราะประชาชนยังไม่รู้ข้อมูลอะไรเลยว่า ทำไมนายกรัฐมนตรีจึงบริหารอำนาจไม่ได้ ดังนั้น หากนายกรัฐมนตรีต้องการปฏิรูปสถาบันตำรวจ ซึ่งเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรม ก็ต้องให้ประชาชนมีส่วนในการสร้างธรรมภิบาลในองค์กรของรัฐ
เรียกร้องทำไทยเข้มแข็งให้โปร่งใส
3.นายกรัฐมนตรีต้องใช้อำนาจเพื่อตรวจสอบและยับยั้งโครงการที่ไม่โปร่งใส โดยเร่งด่วน นับจากคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการไทยเข้มแข้ง ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 ที่ได้รับอนุมัติมีมูลค่าทั้งหมด 1,431,330 ล้านบาท ที่ผ่านมานั้น พบมีความไม่โปร่งใส ไม่คุ้มทุนและไม่เหมาะสมกับเป้าหมายหลายๆ โครงการ ซึ่งบริษัทสัมปทานและบริวารนักการเมืองได้ประโยชน์มากกว่าเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับครัวเรือน อีกทั้งหลายโครงการส่อว่าจะมีการทุจริตคอรัปชั่น ดังนั้น เราขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ได้ใช้อำนาจเพื่อตรวจสอบและยับยั้งโครงการไทยเข้มแข็งที่มีพฤติการณ์ทุจริต ไม่โปร่งใสเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดย ครป.จะเปิดศูนย์ประสานเพื่อรับเรื่องราวและข้อมูลเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในทุกโครงการ
4.ต้องหยุดหนอนบ่อนไส้ หยุดขบวนการทำลายศรัทธาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กรณีที่ร้ายแรงที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งได้ปรากฏเป็นที่รับรู้ต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่อง คือ ขบวนการมุ่งร้ายทำลายความศรัทธาต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะนักการเมืองบางคนที่ใช้อำนาจหน้าที่และสถานะแห่งตนกระทำตัว เสมือน “ไส้ศึก” เช่น กรณีเขาพระวิหาร อันจะมีผลให้ประเทศไทย ต้องสูญเสียอาณาเขตดินแดน สถานะทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงและเอกราชอธิปไตย เราขอเรียกร้องต่อประชาชนและนายกรัฐมนตรีให้ออกมาหยุดกระบวนการดังกล่าวโดยผ่านกระบวนการยุติธรรม
สำหรับขั้นตอนของการทำประชามตินั้นก็ต้องเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ทั้งเห็นด้วย และไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขมีโอกาสแสดงความคิดเห็นกับประชาชนเพื่อการตัดสินใจของประชาชน ส่วนในทางเทคนิคจะทำประชามติในขั้นตอนไหนนั้น คือยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเสร็จแล้วทำประชามติ หรือทำช่วงรับหลักการเสร็จ หรือรับหลักการเสร็จแล้วทำ อยู่ระหว่างการดูทางเลือกต่างๆ อยู่ แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไข ของรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น โดยปกติ รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ก็ให้อำนาจทาง ส.ส. ,ส.ว. หรือครม.ในการเสนอ และก็พิจารณาแก้ไขได้ แต่คิดว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีที่ทุกฝ่ายยอมรับว่าให้ประชาชนมามีส่วนร่วม มาร่วมตัดสินใจด้วยการทำประชามติ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้ก็หวังว่าจะทำให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนว่ารัฐบาลเดินหน้าในเรื่องของความสมานฉันท์ เพราะว่าเรื่องของเงื่อนไข การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็เป็นเงื่อนไขความขัดแย้งหนึ่ง ซึ่งได้สร้างปัญหามาตลอดระยะเวลา 2 ปี ก็ว่าได้
นัดแกนนำรัฐบาลถกแก้รธน.เท่านั้น
นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงการนัดแกนนำ พรรคร่วมรัฐบาลมาหารือและร่วมรับประทานอาหารเย็นที่บ้านพิษณุโลกในช่วงเย็นวันเดียวกันนี้ (4 ต.ค.) ว่า ที่ตนนัดแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลมาก็เพื่อหารือเรื่องกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าจะเป็นอย่างไรเท่านั้นไม่มีเรื่องอื่น ซึ่งการหารือ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร จะคุยเรื่องแก้รัฐธรรมนูญเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ในการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นคิดว่าคงไม่ช้า เพราะทางฝ่ายสภาบอกเองว่าขณะนี้ได้เดินหน้าแล้วในการยกร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการแสดงความเป็นห่วงว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้จะทำให้หลักการที่ดีของรัฐธรรมนูญปี 2550 เสียไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่า สิ่งที่ต้องทำวันนี้คือการให้ประชาชนตัดสิน และในช่วงการทำประชามติใครมีข้อคิดเห็นหรือข้อมูลที่จะให้กับประชาชนก็สามารถทำได้ เช่น ฝ่ายที่เห็นว่า ถ้ามีการแก้ไขในมาตรานี้แล้วจะมีปัญหากระทบกับหลักการสำคัญอะไร ก็ให้ไปอธิบายกับประชาชน ถ้าประชาชนไม่เห็นด้วยก็จะไม่รับร่างการแก้ไข ฝ่ายที่แก้ไขก็ต้อง อธิบายว่าแก้ไขแล้วจะดีขึ้นอย่างไร
ส่วนการหารือกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลจะได้ข้อยุติที่ตรงกันหรือไม่ เพราะมีข่าวว่ายังมีความเห็นไม่ตรงกันหลายมาตราที่จะแก้ไขนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่มีอะไร เพราะการหารือในส่วนวิป 3 ฝ่าย ก็เห็นตรงกันหมดแล้ว เมื่อถามต่อว่า ในส่วนของนายกรัฐมนตรีเองก็ยังไม่เห็นด้วยกับพรรคร่วมในหลายประเด็น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความจริงภาระในการยกร่างแก้ไขขณะนี้ก็เป็นหน้าที่ของสภาฯ อยู่แล้วที่ต้องดำเนินการ หลังวิป 3 ฝ่ายมอบหมาย ส่วนขั้นตอนการทำประชามตินั้นก็คงจะได้อธิบายในข้อกฎหมาย ข้อดี ข้อเสียในแต่ละขั้นตอน
ระบุแยกถาม6ประเด็นแก้รธน.
ผู้สื่อข่าวถามว่าการยกร่างครั้งนี้ดูเหมือนจะเป็นไปตามความต้องการของนักการเมืองฝ่ายเดียวหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน เขาก็คงไม่ลงมติให้แก้ไข เมื่อถามว่าเป็นห่วงหรือไม่ว่าในขั้นตอนการทำประชามติจะมีการบิดเบือนไปในทำนองว่าจะเอาหรือไม่เอารัฐบาล เหมือนครั้งที่ผ่านมา นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ในที่สุดแล้วคนที่ตัดสินใจคือประชาชน ดังนั้นก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของประชาชน ไม่มีใครไปสรุปแทนได้ ประชาชนจะถูกถามว่าเห็นด้วยกับการแก้ไขในประเด็นต่างๆหรือไม่ และจะแยกถามเป็น 6 ประเด็น ซึ่งการลงคะแนนของประชาชนก็จะแยกกันลง เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าประชาชนเห็นด้วยในการแก้ไขประเด็นใด และไม่เห็นด้วยในการแก้ไขประเด็นใดบ้าง
ต่อข้อถามว่า ปัญหาคือการทำความเข้าใจกับประชาชนนั้นจะทำได้มากน้อย แค่ไหน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตามกระบวนการการทำประชามติแล้วต้องเปิดโอกาส ให้ทุกฝ่ายได้ทำความเข้าใจ ส่วนวิธีการยกร่างจะทำโดยวิธีใดนั้นคนที่ทำหน้าที่ยกร่าง จะพิจารณาเองว่าจะดำเนินการในรูปแบบใด
ผู้สื่อข่าวถามว่าความเบื่อหน่ายของประชาชนจะทำให้ส่งผลต่อการออกมาลง ประชามติหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงต้องรอดูบรรยากาศในช่วงนั้น แต่ทุกฝ่าย ก็ควรต้องร่วมกันรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์กันมากๆ ในส่วนของรัฐบาลก็จะมีการรณรงค์เช่นเดียวกัน แต่วันนี้ยังไม่ถึงเวลาดำเนินการ เพราะต้องรอให้มีการประกาศอย่างเป็นทางการก่อน จากนั้นก็จะมีแผนงานออกมา เมื่อถามว่ากฎหมายประชามติ ที่ยังค้างการพิจารณาของสภาจะเป็นปัญหาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าคงเสร็จทันก่อนที่จะมีการทำประชามติ
แกนนำ6พรรคร่วมหารือแก้รธน.
ผู้สื่อข่าวรายงาน วันเดียวกัน เวลา 18.30 น. ที่บ้านพิษณุโลก ซึ่งเป็นสถานที่ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ี นัดแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล หารือถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีแกนนำทั้ง 6 พรรคการเมือง เดินทางมาร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง ประกอบด้วย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี และเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา นายเนวิน ชิดชอบ นายอนุทิน ชาญวีรกูล นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำพรรคภูมิใจไทย นายบรรหาร ศิลปอาชา นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล แกนนำพรรคชาติไทยพัฒนา นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคกิจสังคม นายพินิจ จารุสมบัติ และว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี แกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน โดยใช้เวลาหารือประมาณ 30 นาที ก่อนแยกย้ายกันเดินทางกลับโดยไม่ให้สัมภาษณ์แต่อย่างใด
ทำประชามติหลังผ่านวาระที่1
นายเนวิน ชิดชอบ ให้สัมภาษณ์ผ่านโทรศัทพ์ว่า ที่ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่า จะแก้ไขรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็น และยกร่าง 6 ฉบับ โดยหลังยกร่างเสร็จจะให้นำเรื่อง เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้รับหลักการโดยเร็ว ซึ่งเมื่อรับหลักการ ในวาระที่ 1 แล้ว จะเข้าสู่กระบวนการทำประชามติ
สำหรับกรอบเวลาที่จะดำเนินการนั้นนายกรัฐมนตรี ยืนยันว่าจะทำให้เสร็จเร็วที่สุด ส่วนกระแสการปรับคณะรัฐมนตรี และกรณีนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ลออกจากตำแหน่งนั้น ไม่ได้มีการพูดถึง
นายเนวิน กล่าวอีกว่า เมื่อตนเข้าห้องประชุม ปรากฏว่า ผู้ที่อยู่ในห้องประชุมได้กล่าวแฮปปี้เบิร์ธเดย์ เนื่องจากตรงกับวันเกิดของตน
พันธมิตรฯชี้ทำประชามติไร้ประโยชน์
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อปประชาธิปไตย ลขาธิการพรรคการเมืองใหม่ (กมม.) กล่าวว่าแนวคิดในการทำประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น แม้กระบวนการประชามติจะเป็นกระบวนการของประชาธิปไตยทางตรง และเป็นเรื่องที่ดีก็ตาม แต่การนำเอากระบวนการประชามติมาใช้ในช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสมและไม่คุ้มทุน ซ้ำร้ายไปกว่านั้นนายกฯ ก็ทราบดีว่าวิวาทะว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญในขณะนี้ถูกลากไปเป็นเกมการเมือง และเต็มไปด้วยวาระซ่อนเร้นของนักการเมือง
นายสุริยะใส กล่าวว่า การเอากระบวนการประชามติมาใช้ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญก็ตาม จะไม่เกิดประโยชน์อะไร เสียเวลา เปลืองงบประมาณกว่า 2000 ล้านบาท และกระบวนการประชามติจะถูกบิดเบือนจากประเด็นแก้ หรือไม่แก้รัฐธรรมนูญ กลายเป็นเอาหรือไม่เอารัฐบาลชุดนี้ หรือกลายไปเป็นยุบสภา หรือไม่ยุบสภา คล้ายๆ กับกรณีการจัดทำประชามติรับรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ก็ถูกบิดเบือนเป็นรับหรือไม่รับการรัฐประหาร 19 กันยายน จนทำให้อุณภูมิ ความแตกแยกในสังคมสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น
ถ้าจะให้ดีนากยกฯ ควรจัดให้มีการประชาพิจารณ์แทนการประชามติจะดีกว่า เพราะจะทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และการใช้เหตุผลว่ารัฐธรรมนูญควรจะแก้หรือไม่อย่างไร และจะแก้กี่เรื่องกี่มาตรา ซึ่งจะทำให้สังคมหลุดออกจากวงจรความขัดแย้งในระยะยาว แต่ถ้านายกฯ และฝ่ายการเมืองยังดันทุรังจะแก้รัฐธรรมนูญ ในตอนนี้ไม่ว่ากระบวนการใดก็ตามจะหนีความขัดแย้งรอบใหม่ไม่ได้อย่างแน่นอน และการแก้รัฐธรรมนูญก็จะไม่มีทางประสบความสำเร็จ
พรรคการเมืองใหม่เลือกหัวหน้า6ต.ค.
นายสุริยะใส กล่าวว่า สำหรับการประชุมใหญ่พรรคการเมืองใหม่ (กมม.) ในวันที่ 6 ตุลาคม 2552 นั้นจะจัดขึ้นตั้งแต่เวลา 09.00- 22.00 น ที่อาคารธันเดอร์โดม เมืองทองธานี ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะแตกต่างจากพรรคการเมืองอื่นๆ ทั้งของไทยและของประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพราะมีการเชิญสมาชิกของพรรคทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้มีกว่า 9 พันคน มาร่วมประชุมและทุกคนมีสทธิเลือกหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค และมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของพรรค ซึ่งพรรคอื่น ไม่ทำเพราะพรรคการเมืองอื่นๆ มีองค์ประชุมโดยใช้สมาชิกแค่ 200-300 คน มาร่วมประชุมและเลือกหัวหน้าพรรค ซึ่งไม่ได้ให้ความสำคัญกับสมาชิกพรรค แต่อย่างใด จนทำให้พรรคการเมืองทั่วไปในขณะนี้เป็นพรรคที่มีเจ้าของไม่กี่คน
การประชุมครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความตั้งใจที่พันธมิตรฯ ต้องการให้ พรรคการเมืองใหม่เป็นพรรคของมวลชน หรือ Mass Party อย่างแท้จริง และเป็นการเขียนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับการเมืองไทย และ หลังประชุมครั้งนี้จะได้หัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ จากนั้นพรรคจะจัดทำยุทธศาสตร์และแผนงานเพื่อเตรียมการเลือกตั้ง โดยเฉพาะการระดมคนดี มีความรู้ ความสามารถมาร่วมงานกับพรรค
ส่วนงานรำลึกวันที่ 7 ตุลาคมนั้นในช่วงเช้าจะมีพิธีกรรมทางศาสนา ณ ลานพระบรมรูปทรงมา และจะมีการเดินไปอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อประกาศภารกิจประชาธิปไตยสืบสานเจตนารมณ์วีรชนโดยเฉพาะการคัดค้านการรัฐธรรมนูญ และในช่วงบ่ายเป็นต้นไปจะมีการจัดงานที่หอประชุมใหญ่ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีงานเสวนาวิชาการและดนตรีเพื่อชีวิต
แก้-ไม่แก้รธน.ปชป.มีแต่ได้กับได้
นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ในฐานะประธานชมรม สสร.50 กล่าวว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามแนวทางที่ วิป 3 ฝ่ายได้หารือกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีนั้น ชัดเจนแล้วว่ามีสาระเพื่อให้นักการเมืองได้ประโยชน์ อาการเดินลุยของนายอภิสิทธิ์ เพราะไปรับปากกับฝ่ายนั้นฝ่ายนี้ โดยเฉพาะกับพรรคร่วมรัฐบาลจึงเป็นคำพูดที่มัดคอตัวเอง ตอนนี้จึงต้องเดินหน้าต่อ
อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าเกมแก้รัฐธรรมนูญยังเป็นผลดีต่อนายกฯและพรรคประชาธิปัตย์ ถึงแม้จะถูกครหาว่าใช้เงิน 2 พันล้านบาทไปทำประชามติ เพราะหากประชาชนออกมาคัดค้านนายกฯก็ไม่เสีย เพราะถือว่าได้ผลักดันแล้ว หรือ เมื่อทำประชามติไปแล้วประชาชนไม่เห็นด้วยรัฐบาลก็อยู่ได้ยาว เพราะดูประเด็นแล้วเห็นว่าถึงแก้ไปก็ไม่เกิดสมานฉันท์ ประชาชนก็ไม่รับ ดังนั้นที่ผ่านมา จึงเป็นเพียงการลดแรงเสียดทานของนายกฯเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่ายังมีแรงบีบจากพรรคร่วมที่ต้องการให้แก้รัฐธรรมนูญ เสร็จโดยเร็ว ที่ล่าสุดมีการนัดหารือกันที่บ้านพิษณุโลก นายเสรีกล่าวว่า พรรคร่วม ต้องการเปิดประตูไปสู่ประเด็นอื่น อย่างการนิรโทษกรรมกรรมการบริหารที่ถูกตัดสิทธิ์ โดยเฉพาะความหวังให้แก้ระบบการเลือกตั้งมาเป็นเขตเล็ก เพราะใช้เงินน้อยกว่า แต่สรุปแล้วจะแก้ได้หรือไม่ คนที่มีแต่ได้คือนายกฯและพรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง เพราะคุมเกมอยู่ และยังมีประเด็นเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ของ ส.ส. แล้วส.ว. ที่จะเข้าชื่อเสนอญัตติ ขณะเดียวกันการให้ฝ่ายกฎหมายของ 2 สภา เป็นผู้ยกร่าง ผลจะออกมาอย่างไรก็ยังไม่รู้ ซึ่งในวันที่ 6 ต.ค.นี้ ชมรม สสร.50 ได้นัดหารือและจะออกแถลงการณ์เพื่อแสดงจุดยืนต่อไป โดยจะนำผลการหารือของนายกฯกับแกนนำตัวจริงของพรรคร่วมมาพูดคุยกันด้วย
เฉ่งพท.ดันรธน.40เพื่อหวังกอบโกย
นายเทพไท เสนพงษ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง กรณีที่ส.ส.พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วยกับการทำประชามติ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ว่า หากไม่มีการทำประชามติคำตอบที่แท้จริงที่ให้กับประชาชนคืออะไร และสิ่งที่ต้องการรัฐธรรมนูญปี 40 ขึ้นมา เพราะเป็นฉบับเดียว ที่ทำให้ระบอบทักษิณมั่งคั่งขึ้นมา ใช่หรือไม่ ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญปี 50 เป็นรัฐธรรมนูญที่อุดรอยรั่วของปี 40 และเป็นเกราะป้องกันที่ไม่ให้คนในระบอบทักษิณมาใช้ประโยชน์ทางการเมืองได้ คนเหล่านี้ จึงไม่เห็นด้วยที่จะประชามติเพื่อแก้รัฐธรมนูญปี 50 กลับต้องการให้มีรัฐธรรมนูญ ปี 40 ขึ้นมา
ส่วนกรณีที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานส.ส.พรรคเพื่อไทย ออกมาเยาะเย้ยพรรคประชาธิปัตย์ว่า ถ้ามีการแก้รัฐธรรมนูญขึ้นมาและยุบสภา หากมีการเลือกตั้งใหม่ พรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนเสียงไม่เกินร้อยนั้น ตนคิดว่าเป็นเรื่องของอนาคต ที่พรรคจะต้องพิสูจน์ แต่วันนี้ ร.ต.อ.เฉลิมไม่มีสิทธิ์มาดูถูกพรรค และการที่พรรคประชาธิปัตย์จะได้คะแนนเสียง 100 หรือ 200 เป็นเรื่องของประชาชนที่จะให้ความไว้วางใจไม่ใช่ ร.ต.อ.เฉลิมจะมาลิขิตชีวิตทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์
ร.ต.อ.เฉลิมต่างหากที่อาศัยใบบุญกระแสพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็น ส.ส. พรรคเพื่อไทย และอวดอ้างว่ามีคะแนนเสียงเกินร้อย ทั้งๆ ที่ตั้งพรรคมวลชน มาหลายรอบ เป็นพรรคไม่เกินสิบมาโดยตลอด และล่าสุดร.ต.อ.เฉลิมจำได้หรือไม่ การที่เข้ามาส.ส.พรรคพลังประชาชนสมัยนั้น ก็ต่อรองให้ลูกลงสมัครรับเลือกตั้ง ในเขตฝั่งธนบุรี โดยตั้งเงื่อนไขว่าหากลูกลงไม่ได้ลงตัวเองก็จะไม่ลง แต่สุดท้าย เมื่อพรรคไม่ต้องการลูกของตัวเอง ร.ต.อ.เฉลิมก็ทิ้งลูกมาเป็นส.ส.สัดส่วน อย่างหน้าตาเฉย
ครป.แถลงการณ์4ข้อ ค้านแก้รธน.โดยไม่ทำประชามติ-เลิกโยกย้ายไม่เป็นธรรม-หยุดคอรัปชั่น-ทำร้ายสถาบัน
ครป.แถลงการณ์4ข้อ ค้านแก้รธน.โดยไม่ทำประชามติ-เลิกโยกย้ายไม่เป็นธรรม-หยุดทำร้ายสถาบัน-คอรัปชั่น
ครป.ค้านแก้รธน.โดยไม่ทำประชามติ
วันดียวกัน ายพิทยา ว่องกุล รักษาการประธาน คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) และนายสุริยันต์ ทองหนูเอียด รักษาการเลขาธิการ ครป. ออกแถลงการณ์ถึงท่าที่และข้อเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี และสาธารณชนในสถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน โดยเห็นว่า ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่มีการต่อรองกดดันทางอำนาจ เพื่อแย่งชิงผลประโยชน์ของประเทศชาติประชาชนมาเป็นของตนเอง โดยกลุ่มการเมืองฝ่ายต่างๆ ทั้งพรรคร่วมรัฐบาล และนักการเมืองฝ่ายค้านที่แฝงไปด้วยเจตนาเพื่อโค่นล้มอำนาจ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หรือให้มีการเปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีเพื่อให้มีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ หรือกดดันให้เกิดการยุบสภาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ อันไม่เป็นไปตามวิถีแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งพฤติการณ์ดังกล่าวได้แสดงให้สาธารณชนรับรู้และรับทราบอย่างชัดเจนแล้วนั้น ครป.ขอแถลงข้อเรียกร้องและท่าทีต่อนายกรัฐมนตรีและสาธารณชนต่อกรณีดังกล่าว ดังต่อไปนี้
1.แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นวาระนักเลือกตั้ง แต่เป็นเรื่องไร้สาระของประชาชน เราขอยืนยันว่ารัฐธรรมนูญ ปี 2550 ไม่ใช่ปัญหาของประเทศ และเป็นเรื่องไร้สาระของประชาชน และจากผลการสำรวจของสำนักโพลต่างๆ ทั้ง 6 ประเด็นก็เห็นตรงกันว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นประโยชน์กับประชาชนแต่อย่างใด ซึ่งเราเห็นว่ารัฐธรรมนูญปี 2550 มีความก้าวหน้าต่อการเมืองภาคประชาชน ทั้งการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง ทั้งเรื่องสิทธิของชุมชนและบุคคลในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิทธิในที่อยู่อาศัยของคนจน เป็นต้น หากแต่ตลอดการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ กฎหมายลูกไม่ได้แก้ กฎหมายแม่ไม่ได้ใช้ ทำให้เสรีภาพของประชาชนไม่ได้รับการคุ้มครองอย่างแท้จริง อันเป็นอุปสรรคที่เกิดจากการไม่ทำหน้าที่ของบริหาร นิติบัญญัติ และความลักหลั่นของกระบวนการยุติธรรม อันเป็นหลักปัญหาของชาติขณะนี้ โดยเฉพาะวิกฤตที่เกิดจากนักการเมืองที่ไม่เคารพรัฐธรรมนูญและไม่ยอมรับการบังคับใช้กฎหมาย และไม่ยอมรับการตรวจสอบจากภาคประชาชนและกระบวนการยุติธรรม
ดังนั้นสิ่งที่ประชาชนต้องติดตามในกระแสการแก้ไขรัฐธรรมนูญอันวาระของนักเลือกตั้งขณะนี้ คือ เกมแย่งชิงอำนาจเพื่อประโยชน์ของนักการเมือง เพื่อการผูกขาดการเป็น ส.ส. ของพรรคการเมือง ผ่านการเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อปิดบังปัญหาของประเทศและความเดือดร้อนของประชาชน
ครป.เห็นว่า หากจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็ต้องทำเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงประชามติก่อนว่า ประชาชนต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่ และหากจะแก้รัฐธรรมนูญจริง ควรทำประชาชมติว่า จะแก้ประเด็นอะไรบ้าง ไม่ใช่แก้ก่อนแล้วมัดมือชกประชาชนให้ทำประชามติตามข้อเสนอของนักการเมือง
จี้นายกฯแจงเหตุผลตั้งผบ.ตร.ไม่ได้
2.การแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง ต้องยึดถือระบบคุณธรรม ผลงาน และความอาวุโส ปัญหาของการบริหารราชการในการแต่งตั้งข้าราชการชั้นสูงในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย กระทรวงพาณิชย์ หรือ ผบ.ตร.นั้น สิ่งที่เกิดขึ้น คือ การแต่งตั้งไม่ได้ยึดถือคุณธรรม หรือผลงาน หรือความเป็นอาวุโส ประการสำคัญทั้งหมดทั้งสิ้น เพียงแต่ต้องการสนองตอบต่อนักการเมือง ไม่ได้สะท้อนถึงประโยชน์ของประเทศชาติประชาชน
ทั้งนี้ เราขอเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรีให้ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงว่า อะไรคือปัญหาของการแต่งตั้งข้าราชการระดับสูงที่ผ่านมา โดยเฉพาะตำแหน่ง ผบ.ตร. เพราะประชาชนยังไม่รู้ข้อมูลอะไรเลยว่า ทำไมนายกรัฐมนตรีจึงบริหารอำนาจไม่ได้ ดังนั้น หากนายกรัฐมนตรีต้องการปฏิรูปสถาบันตำรวจ ซึ่งเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรม ก็ต้องให้ประชาชนมีส่วนในการสร้างธรรมภิบาลในองค์กรของรัฐ
เรียกร้องทำไทยเข้มแข็งให้โปร่งใส
3.นายกรัฐมนตรีต้องใช้อำนาจเพื่อตรวจสอบและยับยั้งโครงการที่ไม่โปร่งใส โดยเร่งด่วน นับจากคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการไทยเข้มแข้ง ภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจ ระยะที่ 2 ที่ได้รับอนุมัติมีมูลค่าทั้งหมด 1,431,330 ล้านบาท ที่ผ่านมานั้น พบมีความไม่โปร่งใส ไม่คุ้มทุนและไม่เหมาะสมกับเป้าหมายหลายๆ โครงการ ซึ่งบริษัทสัมปทานและบริวารนักการเมืองได้ประโยชน์มากกว่าเกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจระดับครัวเรือน อีกทั้งหลายโครงการส่อว่าจะมีการทุจริตคอรัปชั่น ดังนั้น เราขอเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ได้ใช้อำนาจเพื่อตรวจสอบและยับยั้งโครงการไทยเข้มแข็งที่มีพฤติการณ์ทุจริต ไม่โปร่งใสเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง โดย ครป.จะเปิดศูนย์ประสานเพื่อรับเรื่องราวและข้อมูลเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในทุกโครงการ
4.ต้องหยุดหนอนบ่อนไส้ หยุดขบวนการทำลายศรัทธาสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ กรณีที่ร้ายแรงที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งได้ปรากฏเป็นที่รับรู้ต่อสาธารณะอย่างต่อเนื่อง คือ ขบวนการมุ่งร้ายทำลายความศรัทธาต่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะนักการเมืองบางคนที่ใช้อำนาจหน้าที่และสถานะแห่งตนกระทำตัว เสมือน “ไส้ศึก” เช่น กรณีเขาพระวิหาร อันจะมีผลให้ประเทศไทย ต้องสูญเสียอาณาเขตดินแดน สถานะทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงและเอกราชอธิปไตย เราขอเรียกร้องต่อประชาชนและนายกรัฐมนตรีให้ออกมาหยุดกระบวนการดังกล่าวโดยผ่านกระบวนการยุติธรรม