ASTVผู้จัดการรายวัน – 3 สมาคมอสังหาฯ สนปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย หลังธปท.เปิดทางให้ดำเนินธุรกิจมอร์เกจ คอมปานี โดยไม่ต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ชี้ทำให้เกิดการแข่งขันกดดันดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ พร้อมหารือหลักเกณฑ์ร่วมกับ SMC ในวันที่ 6 ต. ค. นี้ พร้อมยื่นหนังถึง” ชาญชัย” ชงเรื่องแก้อุปสรรค์ 4 ข้อพัฒนาบ้านบีโอไอ
นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดโอกาสให้บริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินสามารถปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ โดยไม่ต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งทางผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยมีความสนใจที่จะปล่อยกู้สินเชื่อดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าแนวทางดังกล่าวจะเป็นทางเลือกสำหรับผู้ซื้อที่อยู่อาศัย อีกทั้งยังจะช่วยทำให้เกิดการแข่งขันของตลาดเงิน และจะทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดอยู่ในระดับต่ำ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัย ในนาม 3 สมาคมหลักประกอบด้วยสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมอาคารชุดไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร จะหารือถึงหลักเกณฑ์การดำเนินการ รายละเอียดของการจัดตั้ง ข้อดีและข้อเสีย ร่วมกับบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (SMC) ในวันที่ 6 ตุลาคมนี้
“แนวทางนี้จะทำให้ดอกเบี้ยบ้านของสถาบันการเงินไม่แพงมาก แต่เชื่อว่าคงจะไม่เกิดขึ้นง่ายๆ และใช้เวลาพอสมควร หากจะใช้ SMC มาเป็นผู้รับซื้อพอร์ตลงทุนของผู้ประกอบการ ทางภาครัฐจะต้องเป็นผู้เพิ่มทุนให้แก่SMC หรือออกตราสารหนี้เพิ่ม เพราะขณะนี้มีทุนจดทะเบียนประมาณ 4,000 ล้านบาทเท่านั้น ”
***ยื่นหนังสือ”ชาญชัย”แก้กฎบีโอไอ
วานนี้ (1 ต.ค.52) 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์ จัดงาน “ มหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 21” งานจะจัดไปถึง วันที่ 4 ต.ค. 2552 นี้ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงานว่า รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย มีรายได้เงินเดือนประมาณ 10,000 – 15,000 บาท ควรที่จะมีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยได้ ผ่อนชำระในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ปรับเงื่อนไขและราคาจำหน่ายในกิจการที่อยู่อาศัย สำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลางหรือ “บ้านบีโอไอ” จากราคา 6 แสนบาท เป็นราคาไม่เกิน 1.2 ล้านบาท โดยผู้ที่พัฒนาบ้านระดับราคาดังกล่าวตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ด้านนายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย และในฐานะตัวแทนจาก 3 สมาคมฯ จึงได้ยื่น 4 ข้อเสนอใหม่เกี่ยวกับเกณฑ์บ้านบีโอไอ ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมใหม่อีกครั้ง เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเป็นไปของตลาด โดย 4 ข้อเสนอที่ได้ยื่นใหม่นั้น ประกอบด้วย
1. ขอยื่นเสนอให้ บีโอไอ ประกาศให้เกณฑ์ใหม่ “บ้านบีโอไอ” ใช้ครอบคลุมทั่วประเทศ ไม่จำกัดเฉพาะจังหวัดในเขต 1 ที่มีด้วยกัน 6 จังหวัด คือ กทม. ,นครปฐม ,นนทบุรี ,ปทุมธานี ,สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
2. ขอยื่นเสนอให้ บีโอไอ ปรับเกณฑ์ราคาของคอนโดฯ บีโอไอใหม่เป็นขนาดพื้นที่ 28 ตารางเมตร ราคา 1.2 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนในปัจจุบัน จากเกณฑ์ที่บีโอไอได้ปรับมาแล้วเป็น ขนาดพื้นที่ 28 ตารางเมตร ราคา 1 ล้านบาท
3. ขอยื่นเสนอให้บีโอไอ ปรับเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับการให้สิทธิเรื่องภาษีกับคอนโดฯ บีโอไอ ให้สามารถยื่นขอได้โดยไม่จำกัดว่าโครงการนั้นจะต้องมีห้องชุดราคาบ้านบีโอไอทั้งอาคาร ควรเป็นห้องชุดใดที่มีราคาเข้าเกณฑ์บ้านบีโอไอก็สามารถยื่นขอคืนภาษีได้
4. ขอยื่นเสนอให้ บีโอไอ ปรับกฎเกณฑ์เรื่องการขายคอนโดฯ บีโอไอใหม่ ให้สามารถขายพร้อมกับการก่อสร้างได้ ไม่จำเป็นต้องสร้างให้แล้วเสร็จ จากเกณฑ์เดิมจะต้องให้โครงการคอนโดฯโอนกรรมสิทธิ์แล้วถึงสามารถขอสนับสนุนการลงทุน ซึ่งนั่นหมายถึง คอนโดฯนั้นๆ จะต้องก่อสร้างแล้วเสร็จ ขณะที่ในความเป็นจริงแล้ว คอนโดฯส่วนใหญ่จะขายไปพร้อมกับการก่อสร้าง และจะมียอดรับรู้รายได้ตามความคืบหน้าของงานก่อสร้าง
ทั้งนี้นายชาญชัย ได้รับปากว่า หลังจากได้รับข้อเสนอดังกล่าวแล้วจะเร่งพิจารณาให้เร็วที่สุด.
นายอิสระ บุญยัง นายกสมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร เปิดเผยว่า หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดโอกาสให้บริษัทที่ไม่ใช่สถาบันการเงินสามารถปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยได้ โดยไม่ต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งทางผู้ประกอบการที่อยู่อาศัยมีความสนใจที่จะปล่อยกู้สินเชื่อดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าแนวทางดังกล่าวจะเป็นทางเลือกสำหรับผู้ซื้อที่อยู่อาศัย อีกทั้งยังจะช่วยทำให้เกิดการแข่งขันของตลาดเงิน และจะทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดอยู่ในระดับต่ำ
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่อยู่อาศัย ในนาม 3 สมาคมหลักประกอบด้วยสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย สมาคมอาคารชุดไทย สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร จะหารือถึงหลักเกณฑ์การดำเนินการ รายละเอียดของการจัดตั้ง ข้อดีและข้อเสีย ร่วมกับบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (SMC) ในวันที่ 6 ตุลาคมนี้
“แนวทางนี้จะทำให้ดอกเบี้ยบ้านของสถาบันการเงินไม่แพงมาก แต่เชื่อว่าคงจะไม่เกิดขึ้นง่ายๆ และใช้เวลาพอสมควร หากจะใช้ SMC มาเป็นผู้รับซื้อพอร์ตลงทุนของผู้ประกอบการ ทางภาครัฐจะต้องเป็นผู้เพิ่มทุนให้แก่SMC หรือออกตราสารหนี้เพิ่ม เพราะขณะนี้มีทุนจดทะเบียนประมาณ 4,000 ล้านบาทเท่านั้น ”
***ยื่นหนังสือ”ชาญชัย”แก้กฎบีโอไอ
วานนี้ (1 ต.ค.52) 3 สมาคมอสังหาริมทรัพย์ จัดงาน “ มหกรรมบ้านและคอนโด ครั้งที่ 21” งานจะจัดไปถึง วันที่ 4 ต.ค. 2552 นี้ ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมีนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดงานว่า รัฐบาลมีเป้าหมายที่จะสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย มีรายได้เงินเดือนประมาณ 10,000 – 15,000 บาท ควรที่จะมีความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยได้ ผ่อนชำระในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
โดยก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ปรับเงื่อนไขและราคาจำหน่ายในกิจการที่อยู่อาศัย สำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลางหรือ “บ้านบีโอไอ” จากราคา 6 แสนบาท เป็นราคาไม่เกิน 1.2 ล้านบาท โดยผู้ที่พัฒนาบ้านระดับราคาดังกล่าวตามเงื่อนไขจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
ด้านนายอธิป พีชานนท์ นายกสมาคมอาคารชุดไทย และในฐานะตัวแทนจาก 3 สมาคมฯ จึงได้ยื่น 4 ข้อเสนอใหม่เกี่ยวกับเกณฑ์บ้านบีโอไอ ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมใหม่อีกครั้ง เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเป็นไปของตลาด โดย 4 ข้อเสนอที่ได้ยื่นใหม่นั้น ประกอบด้วย
1. ขอยื่นเสนอให้ บีโอไอ ประกาศให้เกณฑ์ใหม่ “บ้านบีโอไอ” ใช้ครอบคลุมทั่วประเทศ ไม่จำกัดเฉพาะจังหวัดในเขต 1 ที่มีด้วยกัน 6 จังหวัด คือ กทม. ,นครปฐม ,นนทบุรี ,ปทุมธานี ,สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
2. ขอยื่นเสนอให้ บีโอไอ ปรับเกณฑ์ราคาของคอนโดฯ บีโอไอใหม่เป็นขนาดพื้นที่ 28 ตารางเมตร ราคา 1.2 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนในปัจจุบัน จากเกณฑ์ที่บีโอไอได้ปรับมาแล้วเป็น ขนาดพื้นที่ 28 ตารางเมตร ราคา 1 ล้านบาท
3. ขอยื่นเสนอให้บีโอไอ ปรับเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับการให้สิทธิเรื่องภาษีกับคอนโดฯ บีโอไอ ให้สามารถยื่นขอได้โดยไม่จำกัดว่าโครงการนั้นจะต้องมีห้องชุดราคาบ้านบีโอไอทั้งอาคาร ควรเป็นห้องชุดใดที่มีราคาเข้าเกณฑ์บ้านบีโอไอก็สามารถยื่นขอคืนภาษีได้
4. ขอยื่นเสนอให้ บีโอไอ ปรับกฎเกณฑ์เรื่องการขายคอนโดฯ บีโอไอใหม่ ให้สามารถขายพร้อมกับการก่อสร้างได้ ไม่จำเป็นต้องสร้างให้แล้วเสร็จ จากเกณฑ์เดิมจะต้องให้โครงการคอนโดฯโอนกรรมสิทธิ์แล้วถึงสามารถขอสนับสนุนการลงทุน ซึ่งนั่นหมายถึง คอนโดฯนั้นๆ จะต้องก่อสร้างแล้วเสร็จ ขณะที่ในความเป็นจริงแล้ว คอนโดฯส่วนใหญ่จะขายไปพร้อมกับการก่อสร้าง และจะมียอดรับรู้รายได้ตามความคืบหน้าของงานก่อสร้าง
ทั้งนี้นายชาญชัย ได้รับปากว่า หลังจากได้รับข้อเสนอดังกล่าวแล้วจะเร่งพิจารณาให้เร็วที่สุด.