คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สันดานการติดสินบนของนักการเมือง คือยาพิษที่ร้ายแรงประการหนึ่งที่ระบอบทักษิณ ทิ้งไว้ทำลายสังคมไทย และมันได้กลายเป็นอาวุธปรมาณูที่ทรงพลานุภาพจนถึงขนาดที่ถ้าสังคมไม่ปลดชนวนระเบิดลูกนี้ให้สิ้นซาก ก็จะเดินต่อกันไปได้อย่างยิ่ง
จริงอยู่แม้ “สินบน” จะเกิดก่อน นช.ทักษิณ และมีกระจายอยู่ในสังคมไทยและเทศมานานแล้ว แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคทักษิณครองเมือง คือเครื่องชี้ให้เห็นว่า ระบอบทักษิณ คือ ต้นกำเนิดแห่งการแพร่ขยาย สันดานอันชั่วร้ายในรูปของการติดสินบนเข้าไปยังสังคมไทยในทุกระดับ หรือทุกอณูจนเป็นที่มาของปัญหาความติดขัดนานัปการและทำให้เจ้าหน้าที่รัฐขาดคุณธรรมและจริยธรรม ขาดกลไกในการลงโทษ บังคับใช้กฎหมาย เปิดโอกาสให้มีการทุจริต และระบบงานมีช่องโหว่หละหลวม เป็นต้น
แต่ที่เห็นจะอันตรายร้ายแรงที่สุด คือ การปล่อยให้ระบอบทักษิณในอดีตปลูกฝังพฤติกรรม “การกินสินบาทคาดสินบน” ใน 3 สถาบัน อันเป็นเสาหลักที่ค้ำยันสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นนิติบัญญัติ บริหาร หรือแม้แต่ในกระบวนยุติธรรม อันมีฝ่ายสอบสวนอย่างตำรวจ อัยการเป็นต้นทาง และมีตุลาการเป็นปลายทาง
23 มีนาคม 2551 ณ โรงแรมอมารี ออคิด รีสอร์ท แอนด์ ทาวเวอร์ นายชุมพล ศิลปอาชา อดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ได้กล่าวไว้ ในงานสัมมนาชื่อว่า “บทบาท อำนาจ หน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญและบทบาทในกรรมาธิการ” ระบุ ผมโดนมามาก เช่น เชิญไปรับประทานอาหารตามที่ต่างๆ เช่น สยามซิตี, ปริ๊นเซส, รามาการ์เด้นส์, รอยัล ริเวอร์, ฟอร์จูน, ลิเบอร์ตี้ ย่านสะพานควาย และที่เหม่งจ๋าย มีการชุมนุมบ่อยครั้ง โดยจะมีการตั้งกลุ่มตั้งก๊วนมารวมให้ได้เป็น 10 เสียง และขอเสนอให้มีสวัสดิการให้ ส.ว.ต่างจังหวัด ขอรถ บ้าน ไปทัวร์เมืองนอกพร้อมพอกเก็ตมันนี่ หรือการขอให้ช่วยคดี สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในปี 2543 (มติชนรายวัน, 24 มี.ค. 51)
นั่นแสดงว่า การติดสินบนฝ่ายนิติบัญญัติเกิดขึ้นจริงในยุคทักษิณ ซึ่งยังไม่รวมข้อกล่าวหาสารพัด อาทิ การติดสินบนนิติบัญญัติเพื่อบล็อกโหวตให้เลือกรับรององค์กรอิสระตามโผด้วยสารพัดวิธี ข้อมูลจากปากคำของ อดีต ส.ว.สมบูรณ์ ทองบุราณ ที่ออกมาแฉว่า เคยมีการบล็อกโหวตเลือกองค์กรอิสระบางชุด (ในอดีต) ด้วยวิธีแนบซองเงินเฉลี่ย 5 แสนบาทต่อหัว รวม 80 หัว ใช้เงินประมาณ 40 -50 ล้านบาท แลกการลงคะแนนรับรองรายชื่อผู้ได้รับการเสนอเป็นองค์กรอิสระ ที่จะถูกบล็อกมาเป็นชุดๆ 1-3-8-9-7 ถ้ามีการออกเสียงเหมือนๆ กัน ตรงกัน 80 คนขึ้นไป ก็แสดงว่า มีการบล็อกโหวตเกิดขึ้นแล้ว
ข้อกล่าวหาเหล่านี้ แม้ไม่ได้รับการพิสูจน์ทางกฎหมาย แต่ในทางพฤตินัยก็ถูกตอกย้ำผ่านมุมมองสื่อมวลชนเมื่อสื่อมวลชนประจำรัฐสภาตัดสินใจให้ฉายา นักการเมืองบางพวก ในยุคทักษิณครองเมือง (พ.ศ. 2548) ด้วยสำนวนเจ็บแสบว่า “ส.ส.ปลอกคอพันธุ์ชิน” หรือ “ส.ว.สภาทาส”
ขณะที่ฝ่ายบริหารก็มีสภาพไม่แตกต่างกัน ดังจะเห็นได้จากคำพูดของป๋าเหนาะ เสนาะ เทียนทอง แห่งวังน้ำเย็น ที่ให้สัมภาษณ์ผ่านหนังสือ “รู้ทันทักษิณ 4 ฅนวงใน The Insiders” ตอน เสนาะ เทียนทอง : “จะเอาทักษิณ หรือประเทศไทย” ว่า
ยิ่งกว่านั้นยังมีการใช้ระบบธุรกิจครอบครัวมาจัดการผลประโยชน์ในรัฐบาลแบบเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่ขนคนที่เคยทำงานกับตัวเองในบริษัทแบบยกชุด วางคนของตัวเองไปในทุกกระทรวงโดยไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งที่มีอำนาจอย่างเป็นทางการ แต่ทุกคนในกระทรวงจะรู้ดีว่า คนคนนี้คือคนของเขา จะทำอะไรก็ต้องผ่านคนคนนี้ เรียกว่ามีสองสามคนไปดูแลผลประโยชน์ทุกกระทรวง เป็นเสมือนหลงจู๊ แล้วยังส่งคนไปยึดตำแหน่งใน กมธ.ชุดต่างๆ ของสภาผู้แทนฯ ใน ครม.ก็ไม่ต่างกัน ทุกโครงการที่จะมีการอนุมัติ ถ้ารัฐมนตรีคนไหนเสนอเรื่องขอใช้งบกลางที่จัดสรรไว้มหาศาล ก็ต้องไปเคลียร์กับคนของเขาให้เรียบร้อยก่อน รัฐมนตรีหลายคนจะมีคนของเขาเข้ามาบอกว่าเดี๋ยวทำงบฯ จะเอากี่พันล้าน แต่ต้องเอาเข้าพรรค 10 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าจะไปทำอะไรขึ้นมาก็ได้ ไปเขียนโครงการมา
ถ้ารัฐมนตรีคนไหนทำไม่ได้ก็อยู่ไม่ได้ เวลาทำโครงการก็ต้องจ้างที่ปรึกษาที่เป็นคนของตัวเอง แล้วใช้วิธีที่เก่งที่สุด คือ ยกเว้นระเบียบพิเศษ ยิ่งใช้วิธีขีดเส้นตายว่าต้องเสร็จวันนั้นวันนี้ เหมือนกรณีสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อจะได้ใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างแบบพิเศษ นโยบาย 10 เปอร์เซ็นต์ รัฐมนตรีต้องทำโครงการ โดยตกแต่งงบประมาณขึ้นมาก่อนว่ามูลค่าของโครงการจะครอบคลุม 10 เปอร์เซ็นต์ที่ต้องหักเข้าพรรค จากนั้นไปตกลงกับคนของเขาผ่านคุณหญิง เมื่อเรียบร้อยเมื่อใดก็ส่งมาให้ตัวตายตัวแทนทางการเมืองที่เขาไว้ใจ พอเข้า ครม. นายกฯ จะเสนอโครงการและอนุมัติให้เองเสร็จสรรพ รัฐมนตรีไม่ต้องคิดไม่ต้องสงสัย ทุกวันนี้ยังไม่มีใครรู้ใครเข้าใจว่า 10 เปอร์เซ็นต์มีอยู่เท่าไร คงต้องไปถามคุณหญิง
ไม่ว่าวันนี้ ป๋าเหนาะในสายตาของพี่น้องคนไทย จะเป็นอย่างไร แต่คุณูปการของป๋า ที่นอกเหนือจากปั้นชาวบ้านเป็นนายกรัฐมนตรี กับเปลี่ยนชื่อยาม้าเป็นยาบ้าแล้ว สิ่งสำคัญคือป๋าได้เคยร่วมจารึกประวัติศาสตร์หน้านี้ ด้วยการลากไส้ระบอบทักษิณแบบคนรู้ทันมากแล้ว ว่าเคยทำลายฝ่ายบริหารให้ย่อยยับลงกับมือด้วยวิธีที่ชั่วร้ายแค่ไหน
สุดท้ายคงไม่ต้องรื้อฟื้นกันมา กระบวนการยุติธรรมตลอดช่วงที่ผ่านมา ถูกทำให้แปดเปื้อนด้วยข้อกล่าวหาเรื่องสินบนซ้ำแล้วซ้ำเล่าขนาดไหนในยุคทักษิณไล่ตั้งแต่การซุกหุ้นภาคแรกมาจนถึงคดีถุงขนม 2 ล้าน ที่แม้อัยการจะไม่ยอมสั่งฟ้อง แต่คนทั้งชาติก็ได้รับรู้ถึงความพยายามจะแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของบางฝ่าย
จนถึงวันนี้ แม้ นช.ทักษิณ ชินวัตรจะหนีออกนอกประเทศไปนานถึง 3 ปี แต่ไม่มีใครการันตีได้ว่ารากเหง้าของปัญหาอันเลวร้ายมันได้ถูกถอนทำลายไปด้วยหรือไม่ หรือว่ามันยังอยู่จนทำให้รถไฟขบวนประเทศไทยไปต่อไม่ได้ ลำพังจะตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสักคนยังทำไม่ได้!!!
ขอปิดท้ายด้วยคำพูดของอดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปัณยารชุน ที่กล่าวในงานสัมมนา “การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน” เมื่อ 26 มิถุนายน 2547 ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จ.ชลบุรี ที่ว่า
ถ้าปล่อยให้มัน (คอร์รัปชัน) เกาะกินสังคมไทยเรื่อยๆ ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น ตนไม่อยากนึกเลย ถึงเวลาแล้วที่จะต้องช่วยกันปราบทุจริต เปิดโปง และต่อสู้เพื่อผลประโยชน์สังคม ไม่ใช่ไปที่ไหนก็เป็นตัวตลกหรือถูกหยามน้ำหน้าว่ามาจากดินแดนที่องค์กรความโปร่งใสของโลก ประณามว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีการทุจริตโกงกินมากที่สุด จนไม่รู้ว่าคุณธรรมอยู่ที่ไหน
ซึ่งสังคมใดที่หลอกตัวเอง จนไม่รู้ว่าความจริงของสังคมอยู่ไหน สังคมนั้นก็ไม่มีอนาคต ถึงแม้ตนไม่ได้อยู่ในรัฐบาล แต่เท่าที่ได้ฟังจากคนที่ได้รู้จัก สถานการณ์การโกงกินขณะนี้เรียกได้ว่าหนักที่สุด และมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะคนฉลาดขึ้นมีการศึกษาสูงขึ้น จึงคอร์รัปชันได้อย่างแนบเนียนมากขึ้น ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สังคมจะร่วมช่วยกันตรวจสอบ
จริงอยู่แม้ “สินบน” จะเกิดก่อน นช.ทักษิณ และมีกระจายอยู่ในสังคมไทยและเทศมานานแล้ว แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในยุคทักษิณครองเมือง คือเครื่องชี้ให้เห็นว่า ระบอบทักษิณ คือ ต้นกำเนิดแห่งการแพร่ขยาย สันดานอันชั่วร้ายในรูปของการติดสินบนเข้าไปยังสังคมไทยในทุกระดับ หรือทุกอณูจนเป็นที่มาของปัญหาความติดขัดนานัปการและทำให้เจ้าหน้าที่รัฐขาดคุณธรรมและจริยธรรม ขาดกลไกในการลงโทษ บังคับใช้กฎหมาย เปิดโอกาสให้มีการทุจริต และระบบงานมีช่องโหว่หละหลวม เป็นต้น
แต่ที่เห็นจะอันตรายร้ายแรงที่สุด คือ การปล่อยให้ระบอบทักษิณในอดีตปลูกฝังพฤติกรรม “การกินสินบาทคาดสินบน” ใน 3 สถาบัน อันเป็นเสาหลักที่ค้ำยันสังคมไทย ไม่ว่าจะเป็นนิติบัญญัติ บริหาร หรือแม้แต่ในกระบวนยุติธรรม อันมีฝ่ายสอบสวนอย่างตำรวจ อัยการเป็นต้นทาง และมีตุลาการเป็นปลายทาง
23 มีนาคม 2551 ณ โรงแรมอมารี ออคิด รีสอร์ท แอนด์ ทาวเวอร์ นายชุมพล ศิลปอาชา อดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ได้กล่าวไว้ ในงานสัมมนาชื่อว่า “บทบาท อำนาจ หน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญและบทบาทในกรรมาธิการ” ระบุ ผมโดนมามาก เช่น เชิญไปรับประทานอาหารตามที่ต่างๆ เช่น สยามซิตี, ปริ๊นเซส, รามาการ์เด้นส์, รอยัล ริเวอร์, ฟอร์จูน, ลิเบอร์ตี้ ย่านสะพานควาย และที่เหม่งจ๋าย มีการชุมนุมบ่อยครั้ง โดยจะมีการตั้งกลุ่มตั้งก๊วนมารวมให้ได้เป็น 10 เสียง และขอเสนอให้มีสวัสดิการให้ ส.ว.ต่างจังหวัด ขอรถ บ้าน ไปทัวร์เมืองนอกพร้อมพอกเก็ตมันนี่ หรือการขอให้ช่วยคดี สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในปี 2543 (มติชนรายวัน, 24 มี.ค. 51)
นั่นแสดงว่า การติดสินบนฝ่ายนิติบัญญัติเกิดขึ้นจริงในยุคทักษิณ ซึ่งยังไม่รวมข้อกล่าวหาสารพัด อาทิ การติดสินบนนิติบัญญัติเพื่อบล็อกโหวตให้เลือกรับรององค์กรอิสระตามโผด้วยสารพัดวิธี ข้อมูลจากปากคำของ อดีต ส.ว.สมบูรณ์ ทองบุราณ ที่ออกมาแฉว่า เคยมีการบล็อกโหวตเลือกองค์กรอิสระบางชุด (ในอดีต) ด้วยวิธีแนบซองเงินเฉลี่ย 5 แสนบาทต่อหัว รวม 80 หัว ใช้เงินประมาณ 40 -50 ล้านบาท แลกการลงคะแนนรับรองรายชื่อผู้ได้รับการเสนอเป็นองค์กรอิสระ ที่จะถูกบล็อกมาเป็นชุดๆ 1-3-8-9-7 ถ้ามีการออกเสียงเหมือนๆ กัน ตรงกัน 80 คนขึ้นไป ก็แสดงว่า มีการบล็อกโหวตเกิดขึ้นแล้ว
ข้อกล่าวหาเหล่านี้ แม้ไม่ได้รับการพิสูจน์ทางกฎหมาย แต่ในทางพฤตินัยก็ถูกตอกย้ำผ่านมุมมองสื่อมวลชนเมื่อสื่อมวลชนประจำรัฐสภาตัดสินใจให้ฉายา นักการเมืองบางพวก ในยุคทักษิณครองเมือง (พ.ศ. 2548) ด้วยสำนวนเจ็บแสบว่า “ส.ส.ปลอกคอพันธุ์ชิน” หรือ “ส.ว.สภาทาส”
ขณะที่ฝ่ายบริหารก็มีสภาพไม่แตกต่างกัน ดังจะเห็นได้จากคำพูดของป๋าเหนาะ เสนาะ เทียนทอง แห่งวังน้ำเย็น ที่ให้สัมภาษณ์ผ่านหนังสือ “รู้ทันทักษิณ 4 ฅนวงใน The Insiders” ตอน เสนาะ เทียนทอง : “จะเอาทักษิณ หรือประเทศไทย” ว่า
ยิ่งกว่านั้นยังมีการใช้ระบบธุรกิจครอบครัวมาจัดการผลประโยชน์ในรัฐบาลแบบเบ็ดเสร็จ ตั้งแต่ขนคนที่เคยทำงานกับตัวเองในบริษัทแบบยกชุด วางคนของตัวเองไปในทุกกระทรวงโดยไม่จำเป็นต้องมีตำแหน่งที่มีอำนาจอย่างเป็นทางการ แต่ทุกคนในกระทรวงจะรู้ดีว่า คนคนนี้คือคนของเขา จะทำอะไรก็ต้องผ่านคนคนนี้ เรียกว่ามีสองสามคนไปดูแลผลประโยชน์ทุกกระทรวง เป็นเสมือนหลงจู๊ แล้วยังส่งคนไปยึดตำแหน่งใน กมธ.ชุดต่างๆ ของสภาผู้แทนฯ ใน ครม.ก็ไม่ต่างกัน ทุกโครงการที่จะมีการอนุมัติ ถ้ารัฐมนตรีคนไหนเสนอเรื่องขอใช้งบกลางที่จัดสรรไว้มหาศาล ก็ต้องไปเคลียร์กับคนของเขาให้เรียบร้อยก่อน รัฐมนตรีหลายคนจะมีคนของเขาเข้ามาบอกว่าเดี๋ยวทำงบฯ จะเอากี่พันล้าน แต่ต้องเอาเข้าพรรค 10 เปอร์เซ็นต์ หมายความว่าจะไปทำอะไรขึ้นมาก็ได้ ไปเขียนโครงการมา
ถ้ารัฐมนตรีคนไหนทำไม่ได้ก็อยู่ไม่ได้ เวลาทำโครงการก็ต้องจ้างที่ปรึกษาที่เป็นคนของตัวเอง แล้วใช้วิธีที่เก่งที่สุด คือ ยกเว้นระเบียบพิเศษ ยิ่งใช้วิธีขีดเส้นตายว่าต้องเสร็จวันนั้นวันนี้ เหมือนกรณีสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อจะได้ใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างแบบพิเศษ นโยบาย 10 เปอร์เซ็นต์ รัฐมนตรีต้องทำโครงการ โดยตกแต่งงบประมาณขึ้นมาก่อนว่ามูลค่าของโครงการจะครอบคลุม 10 เปอร์เซ็นต์ที่ต้องหักเข้าพรรค จากนั้นไปตกลงกับคนของเขาผ่านคุณหญิง เมื่อเรียบร้อยเมื่อใดก็ส่งมาให้ตัวตายตัวแทนทางการเมืองที่เขาไว้ใจ พอเข้า ครม. นายกฯ จะเสนอโครงการและอนุมัติให้เองเสร็จสรรพ รัฐมนตรีไม่ต้องคิดไม่ต้องสงสัย ทุกวันนี้ยังไม่มีใครรู้ใครเข้าใจว่า 10 เปอร์เซ็นต์มีอยู่เท่าไร คงต้องไปถามคุณหญิง
ไม่ว่าวันนี้ ป๋าเหนาะในสายตาของพี่น้องคนไทย จะเป็นอย่างไร แต่คุณูปการของป๋า ที่นอกเหนือจากปั้นชาวบ้านเป็นนายกรัฐมนตรี กับเปลี่ยนชื่อยาม้าเป็นยาบ้าแล้ว สิ่งสำคัญคือป๋าได้เคยร่วมจารึกประวัติศาสตร์หน้านี้ ด้วยการลากไส้ระบอบทักษิณแบบคนรู้ทันมากแล้ว ว่าเคยทำลายฝ่ายบริหารให้ย่อยยับลงกับมือด้วยวิธีที่ชั่วร้ายแค่ไหน
สุดท้ายคงไม่ต้องรื้อฟื้นกันมา กระบวนการยุติธรรมตลอดช่วงที่ผ่านมา ถูกทำให้แปดเปื้อนด้วยข้อกล่าวหาเรื่องสินบนซ้ำแล้วซ้ำเล่าขนาดไหนในยุคทักษิณไล่ตั้งแต่การซุกหุ้นภาคแรกมาจนถึงคดีถุงขนม 2 ล้าน ที่แม้อัยการจะไม่ยอมสั่งฟ้อง แต่คนทั้งชาติก็ได้รับรู้ถึงความพยายามจะแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมของบางฝ่าย
จนถึงวันนี้ แม้ นช.ทักษิณ ชินวัตรจะหนีออกนอกประเทศไปนานถึง 3 ปี แต่ไม่มีใครการันตีได้ว่ารากเหง้าของปัญหาอันเลวร้ายมันได้ถูกถอนทำลายไปด้วยหรือไม่ หรือว่ามันยังอยู่จนทำให้รถไฟขบวนประเทศไทยไปต่อไม่ได้ ลำพังจะตั้งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติสักคนยังทำไม่ได้!!!
ขอปิดท้ายด้วยคำพูดของอดีตนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปัณยารชุน ที่กล่าวในงานสัมมนา “การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในการแก้ปัญหาคอร์รัปชัน” เมื่อ 26 มิถุนายน 2547 ที่โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จ.ชลบุรี ที่ว่า
ถ้าปล่อยให้มัน (คอร์รัปชัน) เกาะกินสังคมไทยเรื่อยๆ ประเทศไทยจะเป็นอย่างไรต่อไปนั้น ตนไม่อยากนึกเลย ถึงเวลาแล้วที่จะต้องช่วยกันปราบทุจริต เปิดโปง และต่อสู้เพื่อผลประโยชน์สังคม ไม่ใช่ไปที่ไหนก็เป็นตัวตลกหรือถูกหยามน้ำหน้าว่ามาจากดินแดนที่องค์กรความโปร่งใสของโลก ประณามว่าเป็นประเทศหนึ่งที่มีการทุจริตโกงกินมากที่สุด จนไม่รู้ว่าคุณธรรมอยู่ที่ไหน
ซึ่งสังคมใดที่หลอกตัวเอง จนไม่รู้ว่าความจริงของสังคมอยู่ไหน สังคมนั้นก็ไม่มีอนาคต ถึงแม้ตนไม่ได้อยู่ในรัฐบาล แต่เท่าที่ได้ฟังจากคนที่ได้รู้จัก สถานการณ์การโกงกินขณะนี้เรียกได้ว่าหนักที่สุด และมีรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปมาก เพราะคนฉลาดขึ้นมีการศึกษาสูงขึ้น จึงคอร์รัปชันได้อย่างแนบเนียนมากขึ้น ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สังคมจะร่วมช่วยกันตรวจสอบ