ASTVผู้จัดการรายวัน – “อภิสิทธิ์” พร้อมร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 64 ณ นครนิวยอร์ก เตรียมเดินสายสร้างความเชื่อมั่น หวังดึงทุนจากนักลงทุนอเมริกาเข้าไทยมากขึ้น “กษิต-อลงกรณ์” ฟุ้งนักธุรกิจ นักลงทุน คนสหรัฐฯ เชื่อมั่นนโยบายเศรษฐกิจ-การเมืองไทยมากขึ้น โวผ่าน 400 โครงการตามนโยบายไทยเข้มแข็ง
เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล (www.thaigov.go.th) รายงานว่า วานนี้ (22 ก.ย.) เวลา 11.20 น. ตามเวลาท้องถิ่น(สหรัฐอเมริกา) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและภริยา เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติ John F. Kennedy นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และนายนรชิต สิงหเสนี เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รอให้การต้อนรับ
การเยือนสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 64 ณ นครนิวยอร์ก และการประชุม Pittsburgh Summit ณ นครพิตส์เบิร์ก ระหว่างวันที่ 21-27 ก.ย. 52 และร่วมกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นประเทศไทย ณ นครนิวยอร์ก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไทย ว่า สหรัฐฯเขาเห็นว่าไทยและเอเชียในภาพรวม กำลังฟื้นตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างเร็ว จึงได้ยืนยันในส่วนของไทยว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นของไทยขึ้นมาเกือบร้อยละ 60 ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจ เริ่มเป็นบวก
นายกรัฐมนตรี ยังชี้แจงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะกลาง และระยะยาวในโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 โดยเฉพาะเรื่องน้ำ เส้นทางคมนาคม และภาคบริการ และเชื่อมั่นว่า จะเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนให้กับนักลงทุนสหรัฐฯ ว่า ไทยกำลังจะมีการลงทุนใหม่เกิดขึ้น
** “กษิต-อลงกรณ์”จ้อไกลจากสหรัฐฯ
เวลา 08.30 น. วานนี้ (22 ก.ย.) ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ พร้อมด้วย นายปณิธาน วัฒนยากรณ์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวผ่านการถ่ายทอดทาง Web Conference จากประเทศสหรัฐอเมริกา เวลาในประเทศ 21.30 น. ในภารกิจวันแรกของการเดินทางไปการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 64 ณ นครนิวยอร์ก และการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ (G 20) ที่เมือง Pittsburgh ในระหว่างวันที่ 21-27 ก.ย. 52 ซึ่งเป็นการออกรายการแทนนายกฯ ที่ติดภารกิจงานเลี้ยงรับรองผู้ค้าผู้ลงทุนรายใหญ่ในไทย
นายอลงกรณ์ แถลงว่า นายกฯได้พบปะนักลงทุน ผู้จัดการกองทุน และบริษัทหลักทรัพย์ โดยนายกฯได้สร้างความเชื่อมั่น ทางเศรษฐกิจและได้รับความสนใจโดยเฉพาะเอสพี2 หรือแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เพราะเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ของไทยจำนวน 1.4 แสนล้านล้านบาท
"นายกฯได้กล่าวปราศรัยกับ40บริษัทผู้นำเข้าของสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะปีที่ผ่านมา มีการนำเข้าสินค้าไทย6แสนกว่าล้านบาท ถือเป็นผู้ส่งออกสินค้ามายังไทยในลำดับที่3 ฉะนั้นสหรัฐอเมริกาคือคู่ค้าสำคัญของไทยแต่เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบ ตัวเลขการนำเข้าสินค้าไทยจึงลดลง 25% ช่วง7เดือนแรก ไทยผ่านจุดต่ำสุดของวิกฤตเศรษฐกิจไทยแล้ว"
นายอลงกรณ์กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การเมืองที่มีข้อกังวลและมีคำถามว่ารัฐบาลมีแนวทางอย่างไร นายกฯชี้แจงว่าวันนี้สถานการณ์คลี่คลายดีขึ้น และหลังกลับจากสหรัฐอเมริกานายกฯจะหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และรัฐบาลยังดำเนินนโยบายสมานฉันท์ปรองดองคู่กันไป สหรัฐอเมริกาก็เข้าใจว่าเป็นสิทธิของประชาชนในการชุมนุมแสดงความเห็นที่แตกต่าง
นายอลงกรณ์กล่าวต่อว่า รัฐบาลได้เจรจาจนประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ คือ 1 นายกฯเป็นที่ชื่นชมว่าเป็นผู้นำรุ่นใหม่ มีการศึกษาดี มีวิสัยทัศน์ เป็นคนเก่งและเป็นนักประชาธิปไตยเพราะได้พิสูจน์ตัวเองในวิถีทางการเมืองมา17ปี 2.ความเชื่อมั่นต่อการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้ นักลงทุนเห็นว่า ไทยฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจเร็วกว่าที่คิดและตรงกับตัวเลขข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า สิ่งที่นายกฯได้ย้ำคือเรื่องของภาพลักษณ์ ภาพพจน์ และความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย โดยแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยที่ได้ผ่านรัฐสภา และได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม และสิ่งที่คู่ขนานกับเศรษฐกิจนายกฯได้ย้ำก็คือ เสถียรภาพทางการเมืองของไทย
“ เมื่อนายกฯเดินทางกลับประเทศไทย จะให้พรรคการเมือง ส.ส. ส.ว.ได้เลือกคือ จะพิจารณาข้อเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร จะเป็นสัมมัชชาแห่งชาติ จะเป็นพรรคการเมืองว่ากันในสภา หรือจะมีคณะกรรมการพิเศษ เป็นการตอกย้ำให้กับนักลงทุน นักธุรกิจต่างชาติเห็นว่า เราเพียรพยายามแก้ไขปัญหาการเมืองด้วยสันติวิธี ด้และสามารถดำเนินการ 2 อย่างควบคู่กันไปได้ คือ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และเสถียรภาพทางการเมือง การแก้ไขปัญหาทางการเมือง ด้วยสันติวิธี”
ในวันที่ 23 ก.ย.นายกฯมีภาระกิจหลักคือ 1. การประชุมสุดยอดผู้นำสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องโลกร้อน ที่สหประชาชาติ 2. การกล่าวกับกลุ่มผู้ลงทุนหรือบริษัทที่ได้มีการลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะนักลงทุนรายใหม่ที่จะไปลงทุนในประเทศไทย และ3.การพบผู้แทนชุมชนชาวไทย ประมาณ 300 คน และจะออกรายการ “ที่นี้ไทยยูเอสเอ” พูดกับทางสื่อที่กรุงเทพฯโดยตรงในวันที่ 23 ก.ย.นี้ รวมไปถึงการพบเลขาธิการสหประชาชาติ ผู้นำของประเทศลิเบีย และพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในงานเลี้ยงรับรองในช่วงค่ำ และมีกำหนดการพบกับผู้นำหลายประเทศ
นายกษิต กล่าวว่า ระดับความสนใจ ความห่วงใยทางด้านการเมืองของไทยจากนักลงทุนสหรัฐมีอยู่สูงมาก เพราะว่ามันกระทบกระเทือนต่อการลงทุน แต่สิ่งที่รัฐบาลไทยดำเนินการตลอด ซึ่งรัฐบาลได้เสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อทิศทางของประเทศ และเสถียรภาพที่เพิ่งจะมีทั้งเศรษฐกิจ และการเมือง โดยเฉพาะทิศทางจะไปทิศไหนอย่างไร เช่นการลงทุนใหญ่หลวงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเชื่อมต่อในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน พัฒนาคน โดยเฉพาะการศึกษา สุขภาพ คุณภาพชีวิต ทุกอย่างมีโครงการถึง 400 โครงการ เป็นเงิน 45 พันพันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ตัวเลขก็ออกมาชัด ตรวจสอบได้ จับต้องได้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลลงทุน รัฐบาลมีเงิน ไม่ใช่พูดลอยๆ
เว็บไซต์ทำเนียบรัฐบาล (www.thaigov.go.th) รายงานว่า วานนี้ (22 ก.ย.) เวลา 11.20 น. ตามเวลาท้องถิ่น(สหรัฐอเมริกา) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและภริยา เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติ John F. Kennedy นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน และนายนรชิต สิงหเสนี เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแห่งประเทศไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รอให้การต้อนรับ
การเยือนสหรัฐอเมริกาครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเข้าร่วมการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 64 ณ นครนิวยอร์ก และการประชุม Pittsburgh Summit ณ นครพิตส์เบิร์ก ระหว่างวันที่ 21-27 ก.ย. 52 และร่วมกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นประเทศไทย ณ นครนิวยอร์ก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวไทย ว่า สหรัฐฯเขาเห็นว่าไทยและเอเชียในภาพรวม กำลังฟื้นตัวทางเศรษฐกิจค่อนข้างเร็ว จึงได้ยืนยันในส่วนของไทยว่า ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ตลาดหุ้นของไทยขึ้นมาเกือบร้อยละ 60 ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจ เริ่มเป็นบวก
นายกรัฐมนตรี ยังชี้แจงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะกลาง และระยะยาวในโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 โดยเฉพาะเรื่องน้ำ เส้นทางคมนาคม และภาคบริการ และเชื่อมั่นว่า จะเป็นการส่งสัญญาณที่ชัดเจนให้กับนักลงทุนสหรัฐฯ ว่า ไทยกำลังจะมีการลงทุนใหม่เกิดขึ้น
** “กษิต-อลงกรณ์”จ้อไกลจากสหรัฐฯ
เวลา 08.30 น. วานนี้ (22 ก.ย.) ที่ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ พร้อมด้วย นายปณิธาน วัฒนยากรณ์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวผ่านการถ่ายทอดทาง Web Conference จากประเทศสหรัฐอเมริกา เวลาในประเทศ 21.30 น. ในภารกิจวันแรกของการเดินทางไปการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 64 ณ นครนิวยอร์ก และการประชุมผู้นำกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ (G 20) ที่เมือง Pittsburgh ในระหว่างวันที่ 21-27 ก.ย. 52 ซึ่งเป็นการออกรายการแทนนายกฯ ที่ติดภารกิจงานเลี้ยงรับรองผู้ค้าผู้ลงทุนรายใหญ่ในไทย
นายอลงกรณ์ แถลงว่า นายกฯได้พบปะนักลงทุน ผู้จัดการกองทุน และบริษัทหลักทรัพย์ โดยนายกฯได้สร้างความเชื่อมั่น ทางเศรษฐกิจและได้รับความสนใจโดยเฉพาะเอสพี2 หรือแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เพราะเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ของไทยจำนวน 1.4 แสนล้านล้านบาท
"นายกฯได้กล่าวปราศรัยกับ40บริษัทผู้นำเข้าของสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะปีที่ผ่านมา มีการนำเข้าสินค้าไทย6แสนกว่าล้านบาท ถือเป็นผู้ส่งออกสินค้ามายังไทยในลำดับที่3 ฉะนั้นสหรัฐอเมริกาคือคู่ค้าสำคัญของไทยแต่เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบ ตัวเลขการนำเข้าสินค้าไทยจึงลดลง 25% ช่วง7เดือนแรก ไทยผ่านจุดต่ำสุดของวิกฤตเศรษฐกิจไทยแล้ว"
นายอลงกรณ์กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์การเมืองที่มีข้อกังวลและมีคำถามว่ารัฐบาลมีแนวทางอย่างไร นายกฯชี้แจงว่าวันนี้สถานการณ์คลี่คลายดีขึ้น และหลังกลับจากสหรัฐอเมริกานายกฯจะหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และรัฐบาลยังดำเนินนโยบายสมานฉันท์ปรองดองคู่กันไป สหรัฐอเมริกาก็เข้าใจว่าเป็นสิทธิของประชาชนในการชุมนุมแสดงความเห็นที่แตกต่าง
นายอลงกรณ์กล่าวต่อว่า รัฐบาลได้เจรจาจนประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ คือ 1 นายกฯเป็นที่ชื่นชมว่าเป็นผู้นำรุ่นใหม่ มีการศึกษาดี มีวิสัยทัศน์ เป็นคนเก่งและเป็นนักประชาธิปไตยเพราะได้พิสูจน์ตัวเองในวิถีทางการเมืองมา17ปี 2.ความเชื่อมั่นต่อการบริหารเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้ นักลงทุนเห็นว่า ไทยฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจเร็วกว่าที่คิดและตรงกับตัวเลขข้อเท็จจริงที่ปรากฏ
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า สิ่งที่นายกฯได้ย้ำคือเรื่องของภาพลักษณ์ ภาพพจน์ และความเชื่อมั่นต่อประเทศไทย โดยแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยที่ได้ผ่านรัฐสภา และได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม และสิ่งที่คู่ขนานกับเศรษฐกิจนายกฯได้ย้ำก็คือ เสถียรภาพทางการเมืองของไทย
“ เมื่อนายกฯเดินทางกลับประเทศไทย จะให้พรรคการเมือง ส.ส. ส.ว.ได้เลือกคือ จะพิจารณาข้อเสนอในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร จะเป็นสัมมัชชาแห่งชาติ จะเป็นพรรคการเมืองว่ากันในสภา หรือจะมีคณะกรรมการพิเศษ เป็นการตอกย้ำให้กับนักลงทุน นักธุรกิจต่างชาติเห็นว่า เราเพียรพยายามแก้ไขปัญหาการเมืองด้วยสันติวิธี ด้และสามารถดำเนินการ 2 อย่างควบคู่กันไปได้ คือ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และเสถียรภาพทางการเมือง การแก้ไขปัญหาทางการเมือง ด้วยสันติวิธี”
ในวันที่ 23 ก.ย.นายกฯมีภาระกิจหลักคือ 1. การประชุมสุดยอดผู้นำสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องโลกร้อน ที่สหประชาชาติ 2. การกล่าวกับกลุ่มผู้ลงทุนหรือบริษัทที่ได้มีการลงทุนในประเทศไทย โดยเฉพาะนักลงทุนรายใหม่ที่จะไปลงทุนในประเทศไทย และ3.การพบผู้แทนชุมชนชาวไทย ประมาณ 300 คน และจะออกรายการ “ที่นี้ไทยยูเอสเอ” พูดกับทางสื่อที่กรุงเทพฯโดยตรงในวันที่ 23 ก.ย.นี้ รวมไปถึงการพบเลขาธิการสหประชาชาติ ผู้นำของประเทศลิเบีย และพบกับประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในงานเลี้ยงรับรองในช่วงค่ำ และมีกำหนดการพบกับผู้นำหลายประเทศ
นายกษิต กล่าวว่า ระดับความสนใจ ความห่วงใยทางด้านการเมืองของไทยจากนักลงทุนสหรัฐมีอยู่สูงมาก เพราะว่ามันกระทบกระเทือนต่อการลงทุน แต่สิ่งที่รัฐบาลไทยดำเนินการตลอด ซึ่งรัฐบาลได้เสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อทิศทางของประเทศ และเสถียรภาพที่เพิ่งจะมีทั้งเศรษฐกิจ และการเมือง โดยเฉพาะทิศทางจะไปทิศไหนอย่างไร เช่นการลงทุนใหญ่หลวงโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเชื่อมต่อในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน พัฒนาคน โดยเฉพาะการศึกษา สุขภาพ คุณภาพชีวิต ทุกอย่างมีโครงการถึง 400 โครงการ เป็นเงิน 45 พันพันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา ตัวเลขก็ออกมาชัด ตรวจสอบได้ จับต้องได้ เป็นสิ่งที่รัฐบาลลงทุน รัฐบาลมีเงิน ไม่ใช่พูดลอยๆ