พี่เทิดภูมิ ใจดี และน้องอัญชะลี เสนอตัวไปร่วมต่อสู้กับพี่น้องชาวระยองเพื่อปกป้องผืนแผ่นดินของเขาจากปัญหามลภาวะเป็นพิษ อันเป็นผลกระทบสืบเนื่องมาจาก “โครงการนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด” ปัญหาใหญ่ที่สั่งสมมานานนับสิบปี โดยมีคุณสนธิ ลิ้มทองกุลและ ASTV ทีวีของประชาชนสนับสนุนการต่อสู้ครั้งนี้สุดแรงเกิด
พันธมิตรฯ จากจังหวัดข้างเคียง และคนระยองกว่า 1,000 คนไปรวมตัวกันที่แยกเนินสำลี ถนนสุขุมวิท ทางเข้านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลชุดปัจจุบันปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ทุกประการ
คนระยองเริ่มลุกขึ้นสู้ เสียงสู้ฮิ สู้ฮิ สไตล์ระยอง ดังสนั่นไปทั้งแยกเนินสำลี สลับกับเสียงปราศรัยของแกนนำเป็นระยะๆ ท่ามกลางสายฝนที่ตกพรำต่อเนื่องทั้งวันไม่ได้หยุด...แต่ไม่ถอย
โถ...นักสู้เมืองระยอง และเพื่อนพ้องพันธมิตรฯ จากกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง คุ้นชินเสียแล้วกับการต่อสู้ท่ามกลางอากาศปรวนแปร มากกว่านี้ก็เคยมาแล้ว อะไรกะอีแค่ฝนตกหยุมหยิมยายฉิมเก็บเห็ด แค่นี้ไม่คณนามือนักสู้กระดูกเหล็ก หัวใจเพชรที่เคยผ่านสนามรบ 193 วันได้หรอก
“สุทธิ อัชฌาศัย” ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก และแกนนำพันธมิตรฯ ระยอง ต่อสู้กับปัญหามลภาวะเป็นพิษมาเนิ่นนาน แม้ไม่หัวเดียวกระเทียมลีบ แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชนเท่าไรนัก ดีที่มาร่วมรบกับพันธมิตรฯ ทำให้การต่อสู้คราวนี้ของเครือข่ายได้แรงผสมโรงจากพี่น้องพันธมิตรฯ ช่วยไว้อักโขทีเดียว
แล้วอะไรที่ทำให้คนระยองตะโกนพร้อมกันว่า “พอกันที” ในวันนี้กับปัญหา “สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ” ถ้าไม่ใช่เพราะมติคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่ออกมาเมื่อกลางเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา มติที่เสมือน “มัจจุราช” ที่ไม่เพียงขัดใจ แต่ที่สำคัญคือ “ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67”
กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ว่า ด้วยเรื่องสิทธิชุมชน การมีส่วนร่วมในการพิทักษ์และคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการใดๆ ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนย่อมกระทำมิได้ เว้นแต่ได้ผ่านการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ การจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย และผ่านความเห็นประกอบขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ก่อนการออกใบอนุญาต หากไม่ทำดังนี้ชุมชนมีสิทธิฟ้องบังคับให้หน่วยงานปฏิบัติตามกระบวนการข้างต้นของเนื้อหาในมาตรานี้
ขนาดมีกฎหมายระบุโทนโท่ถึงเพียงนี้แล้ว คณะกรรมการร่วมรัฐและเอกชน (กรอ.) ยังฝืนมีมติจากการประชุมเมื่อ 19 สิงหาคม 2552 ให้ดำเนินการออกใบอนุญาตก่อสร้างโรงงงานอุตสาหกรรมได้อีก โดยไม่คำนึงถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67 แต่อย่างใด โดย กรอ.อ้างว่าได้ขอความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
เอาละสิ...อย่างนี้ก็เป็นเรื่อง!!! เพราะมติ กรอ.นี้เองทำให้หน่วยงานราชการลุกลี้ลุกลนออกใบอนุญาตสร้างโรงงานเพิ่มอีกประมาณ 55 โรงงานรวด!!!
พ่อคุณ-แม่คุณเอ๋ย...ไปดูรายละเอียดจากใบอนุญาตแล้ว แต่ละที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่บิ๊กเบิ้มทั้งนั้น แถมส่วนใหญ่ดันผ่าเป็นโรงงานปิโตรเคมี!!!
พอคนระยองรู้เรื่องนี้เท่านั้น ต่างคนต่างโทร.ถามไถ่กันให้วุ่น เพราะเท่าที่มีอยู่ยังแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ตก แล้วจะมาเพิ่มอีก 55 โรงงานอย่างนี้ จะอยู่จะกินกันอย่างไรเล่า
ร้อนอกร้อนใจกันอย่างนี้ ทางเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก โดยนายสุทธิ อัชฌาศัย และพวก จึงได้ทำหนังสือยื่นถึงนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ทันที
หนังสือฉบับนี้มีความประสงค์ให้รัฐบาลทบทวนมติ กรอ.และให้ยึดปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญทุกประการ โดยให้เหตุผลว่า พื้นที่จังหวัดระยองมีปัญหาสิ่งแวดล้อมสะสมมาอย่างยาวนานแล้ว การเพิ่มโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะปิโตรเคมีจะซ้ำเติมปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดระยองให้หนักขึ้นอีก ซึ่งระยองเป็นพื้นที่จังหวัดชายทะเลที่สวยงามแห่งหนึ่งของภาคตะวันออก และยังเป็นพื้นที่เรือกสวนไร่นาที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้วย
หลังจากนั้นกลุ่มเครือข่ายไม่ได้เห็นท่าที่อันใดจากรัฐบาลเลย สุทธิเล่าว่า เขาจึงได้ถามซ้ำไปยังผู้แทนราษฎรในพื้นที่จังหวัดระยอง ของพรรคประชาธิปัตย์ คือ นายสาธิต ปิตุเตชะ อีก 2 ครั้งในเวลาใกล้เคียงกัน สิ่งที่สุทธิ และคนระยองได้รับคำตอบ คือ “เดี๋ยวจะเรียนท่านนายกฯ ให้” เป็นอย่างนี้ถึง 2 ครั้งเช่นกัน
เมื่อดูท่าว่าจะไม่เป็นผล ทางเครือข่ายฯ จึงได้ประสานไปยังอาจารย์ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหวังว่าอาจารย์ไกรศักดิ์จะนำเรียนท่านนายกรัฐมนตรีได้ดีกว่า และเร็วกว่า
แต่เรื่องก็เงียบหายอีก... จนเมื่อไปสอบถามกับอาจารย์ไกรศักดิ์หลายหน อาจารย์จึงให้เบอร์โทรศัพท์มือถือของท่านนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์กับคุณสุทธิ เพื่อสอบถามตามความกันเองให้รู้แล้วรู้รอดกันไป
เมื่อได้เบอร์โทร...ก็ต้องโทร...ทันทีทันใดนั้นแกนนำของเครือข่ายฯ ก็กดโทรศัพท์ถึงท่านนายกฯ ตามเบอร์ที่เพิ่งได้ เพียงไม่กี่อึดใจก็มีเสียงรับที่ปลายสาย สุทธิจำได้ขึ้นใจ เสียงนั้นคือ “คุณอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรี” รับสายโทรศัพท์มือถือด้วยตัวเอง
คุณสุทธิใช้เวลากับนายกรัฐมนตรีทางโทรศัพท์มือถือเพียง “นิดเดียว” เท่านั้นคือ
สุทธิ “ท่านนายกฯ ครับ ผมสุทธิ ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ผมได้เบอร์ท่านมาจากอาจารย์ไกรศักดิ์ ครับ”
นายกฯอภิสิทธิ์ ตอบว่า “ผมรับทราบครับ ผมรู้จักคุณสุทธิ และเครือข่าย”
สุทธิ ถามต่อว่า “ผมมีเรื่องรบกวนปรึกษาเรื่องมติ กรอ. ครับ อยากให้ท่านทบทวนและยึดตามหลักรัฐธรรมนูญ”
นายกฯ อภิสิทธิ์ ตอบว่า “ไม่ต้องกังวล ผมได้นั่งพิจารณาทุกอย่างรอบคอบแล้ว โครงการที่จะลงทุนเพิ่มในมาบตาพุด ไม่มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใดครับ รวมถึงผมยังได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลอย่างดีแล้ว”
สุทธิได้ยินดังนั้นก็อึ้งพูดไม่ออก ถามต่อไม่ถูก ได้แต่พูดว่า “ครับ ครับ ก็ฝากช่วยดูแลระยองด้วยนะครับ งั้นไม่รบกวนแล้วนะครับ ขอบพระคุณท่านมากครับ” จากนั้นต่างฝ่ายต่างก็วางหูลงไป
ทางโน้นเป็นนายกรัฐมนตรีก็วุ่นวายขายปลาช่อนกับเรื่องการเมืองน้ำเน่าต่อไป
ส่วนทางนี้ที่ระยอง คนระยองและสุทธิไม่นิ่งเฉยอีกเป็นแน่แท้ พวกเขาทนมานานกับมาบตาพุด ทนมานานแล้วกับสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ จนเป็นผลต่อสุขภาพของเขาและลูกหลานอย่างเหลือจะอด
ถึงวันนี้ทุกคนตระหนักรู้แล้วในตัวบทกฎหมาย และสิทธิอันพึงมีพึงได้ ขอบคุณสวรรค์ที่ทำให้ประเทศนี้มี “พันธมิตรฯ” ซึ่งเรียนรู้ในการเมืองภาคประชาชนที่เข้มข้น ทำให้คนระยองรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมเห็นแก่ตัวได้เป็นอย่างดี การรวมตัวของพวกเขาในวันนี้ จึงเป็นการขอใช้สิทธิ และทำตามหน้าที่พลเมืองที่ดี เพื่อบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง ไม่หวังพึ่งใครโดยเฉพาะ “ราชการ” และ “นักการเมือง”
หลังคุยสายกับ “นายกฯ” พวกเขาไม่ “เชื่อมั่น” อีกต่อไป จากนั้นเครือข่ายฯตัดสินใจปลุกประชาชนให้รู้ตื่นและต่อสู้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่กำลังรุนแรงมากขึ้นในพื้นที่จ.ระยองจากมติ กรอ.ล่าสุด
การต่อสู้กับมติกดขี่ประชาชนเริ่มต้นเข้มข้นด้วย “การชุมนุม” ร่วมกับพันธมิตรฯจากพื้นที่ใกล้เคียง และยืดพื้นที่ทางเข้า “มาบตาพุด” เป็นสนามรบจัดการปราศรัยระดมมวลชนทั้งวันทั้งคืน จะยืนหยัดต่อสู้จนกว่ารัฐบาลจะมีคำตอบที่ชัดเจน
สุทธิบอกว่า วันนี้ไม่ทำอย่างนี้ไม่ได้แล้ว เพราะพื้นที่ระยองมีปัญหามลภาวะตั้งแต่อากาศ น้ำ และดิน มาตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นปีแรกของการเริ่มต้นเมืองอุตสาหกรรมที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและอันดับสามของภูมิภาคเอเชีย
การมาอยู่ของ “มาบตาพุด” ซึ่งมีทั้งหมด 136 โรงงาน ทำให้เกิดความเสียหายกับระยองไม่น้อย ตั้งแต่อากาศเสียจากสารพิษ น้ำเสียจากโรงงานปล่อยของเสียและทิ้งกากพิษ ดินเสียปนเปื้อนโลหะจากการลักลอบทิ้งของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนระยอง ทำให้เกิดเป็น “มะเร็ง” และโรคระบบทางเดินหายใจมากขึ้น
สุทธิบอกว่า นอกจากนี้พื้นที่ชายฝั่งทะเลยังโดนกัดเซาะจากการถมทะเลเป็นเนื้อที่นับหมื่นไร่ เพื่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม น้ำทะเลเสียหายเป็นพิษปนเปื้อนโลหะหนักจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ถ่ายของเสียลงสู่ทะเล จุดนี้กำลังขยายตัวและกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว อีกทั้งผลผลิตทางการเกษตรยังเสียหายมากมาย เมื่ออากาศเปลี่ยน ดินเปลี่ยน น้ำเสีย ผลผลิตน้อยลงไม่มีคุณภาพ
“แล้วคนระยองจะอยู่ได้อย่างไร เราอยู่ไม่ได้ที่อื่นก็อยู่ไม่ได้ เพราะผลกระทบต่อเนื่องกันไป”
นานแล้วที่คนเล็กๆ กลุ่มนี้ต่อสู้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษอย่างโดดเดี่ยวลำพัง แต่วันนี้พวกเขามีเพื่อนน้ำใจของพันธมิตรฯ การเมืองใหม่ยิ่งใหญ่อักโข พวกเขามุ่งหน้าไปสมทบกันที่ระยอง ร่วมกันต่อสู้เพื่อควบคุมมลพิษให้อยู่หมัด และสกัดการเติบโตของ “คนชั่ว” ที่เพิกเฉยกับความเป็นความตายของท้องถิ่น ไม่ให้ก้าวขึ้นมามีบทบาทอีกต่อไป
การต่อสู้ยกนี้ไม่มีถอย แพ้-ชนะให้เห็นดำเห็นแดงกันไปข้างหนึ่ง มิฉะนั้นก็อึงอลอยู่อย่างนี้ไม่รู้จบ นักสู้เมืองระยองบอกว่า “จะไม่นั่งเฉยรอวันตาย แต่จะสู้ แม้ตายก็ยอม”
ตัวจริงชัดเจนของแท้ห้อยท้ายด้วย “ฮิ”
สู้ไม่สู้...สู้ฮิ... สู้ฮิ ระยองลุกขึ้นสู้ เราสู้...ไม่ชนะไม่เลิก...ไม่ถอยจนกว่าจะชนะ
พันธมิตรฯ จากจังหวัดข้างเคียง และคนระยองกว่า 1,000 คนไปรวมตัวกันที่แยกเนินสำลี ถนนสุขุมวิท ทางเข้านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลชุดปัจจุบันปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 ทุกประการ
คนระยองเริ่มลุกขึ้นสู้ เสียงสู้ฮิ สู้ฮิ สไตล์ระยอง ดังสนั่นไปทั้งแยกเนินสำลี สลับกับเสียงปราศรัยของแกนนำเป็นระยะๆ ท่ามกลางสายฝนที่ตกพรำต่อเนื่องทั้งวันไม่ได้หยุด...แต่ไม่ถอย
โถ...นักสู้เมืองระยอง และเพื่อนพ้องพันธมิตรฯ จากกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง คุ้นชินเสียแล้วกับการต่อสู้ท่ามกลางอากาศปรวนแปร มากกว่านี้ก็เคยมาแล้ว อะไรกะอีแค่ฝนตกหยุมหยิมยายฉิมเก็บเห็ด แค่นี้ไม่คณนามือนักสู้กระดูกเหล็ก หัวใจเพชรที่เคยผ่านสนามรบ 193 วันได้หรอก
“สุทธิ อัชฌาศัย” ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก และแกนนำพันธมิตรฯ ระยอง ต่อสู้กับปัญหามลภาวะเป็นพิษมาเนิ่นนาน แม้ไม่หัวเดียวกระเทียมลีบ แต่ก็ไม่ค่อยได้รับความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชนเท่าไรนัก ดีที่มาร่วมรบกับพันธมิตรฯ ทำให้การต่อสู้คราวนี้ของเครือข่ายได้แรงผสมโรงจากพี่น้องพันธมิตรฯ ช่วยไว้อักโขทีเดียว
แล้วอะไรที่ทำให้คนระยองตะโกนพร้อมกันว่า “พอกันที” ในวันนี้กับปัญหา “สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ” ถ้าไม่ใช่เพราะมติคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่ออกมาเมื่อกลางเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา มติที่เสมือน “มัจจุราช” ที่ไม่เพียงขัดใจ แต่ที่สำคัญคือ “ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67”
กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67 ว่า ด้วยเรื่องสิทธิชุมชน การมีส่วนร่วมในการพิทักษ์และคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการใดๆ ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนย่อมกระทำมิได้ เว้นแต่ได้ผ่านการประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ การจัดกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย และผ่านความเห็นประกอบขององค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ก่อนการออกใบอนุญาต หากไม่ทำดังนี้ชุมชนมีสิทธิฟ้องบังคับให้หน่วยงานปฏิบัติตามกระบวนการข้างต้นของเนื้อหาในมาตรานี้
ขนาดมีกฎหมายระบุโทนโท่ถึงเพียงนี้แล้ว คณะกรรมการร่วมรัฐและเอกชน (กรอ.) ยังฝืนมีมติจากการประชุมเมื่อ 19 สิงหาคม 2552 ให้ดำเนินการออกใบอนุญาตก่อสร้างโรงงงานอุตสาหกรรมได้อีก โดยไม่คำนึงถึงกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 67 แต่อย่างใด โดย กรอ.อ้างว่าได้ขอความเห็นจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
เอาละสิ...อย่างนี้ก็เป็นเรื่อง!!! เพราะมติ กรอ.นี้เองทำให้หน่วยงานราชการลุกลี้ลุกลนออกใบอนุญาตสร้างโรงงานเพิ่มอีกประมาณ 55 โรงงานรวด!!!
พ่อคุณ-แม่คุณเอ๋ย...ไปดูรายละเอียดจากใบอนุญาตแล้ว แต่ละที่เป็นโรงงานขนาดใหญ่บิ๊กเบิ้มทั้งนั้น แถมส่วนใหญ่ดันผ่าเป็นโรงงานปิโตรเคมี!!!
พอคนระยองรู้เรื่องนี้เท่านั้น ต่างคนต่างโทร.ถามไถ่กันให้วุ่น เพราะเท่าที่มีอยู่ยังแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมไม่ตก แล้วจะมาเพิ่มอีก 55 โรงงานอย่างนี้ จะอยู่จะกินกันอย่างไรเล่า
ร้อนอกร้อนใจกันอย่างนี้ ทางเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก โดยนายสุทธิ อัชฌาศัย และพวก จึงได้ทำหนังสือยื่นถึงนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ทันที
หนังสือฉบับนี้มีความประสงค์ให้รัฐบาลทบทวนมติ กรอ.และให้ยึดปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญทุกประการ โดยให้เหตุผลว่า พื้นที่จังหวัดระยองมีปัญหาสิ่งแวดล้อมสะสมมาอย่างยาวนานแล้ว การเพิ่มโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะปิโตรเคมีจะซ้ำเติมปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดระยองให้หนักขึ้นอีก ซึ่งระยองเป็นพื้นที่จังหวัดชายทะเลที่สวยงามแห่งหนึ่งของภาคตะวันออก และยังเป็นพื้นที่เรือกสวนไร่นาที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้วย
หลังจากนั้นกลุ่มเครือข่ายไม่ได้เห็นท่าที่อันใดจากรัฐบาลเลย สุทธิเล่าว่า เขาจึงได้ถามซ้ำไปยังผู้แทนราษฎรในพื้นที่จังหวัดระยอง ของพรรคประชาธิปัตย์ คือ นายสาธิต ปิตุเตชะ อีก 2 ครั้งในเวลาใกล้เคียงกัน สิ่งที่สุทธิ และคนระยองได้รับคำตอบ คือ “เดี๋ยวจะเรียนท่านนายกฯ ให้” เป็นอย่างนี้ถึง 2 ครั้งเช่นกัน
เมื่อดูท่าว่าจะไม่เป็นผล ทางเครือข่ายฯ จึงได้ประสานไปยังอาจารย์ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อหวังว่าอาจารย์ไกรศักดิ์จะนำเรียนท่านนายกรัฐมนตรีได้ดีกว่า และเร็วกว่า
แต่เรื่องก็เงียบหายอีก... จนเมื่อไปสอบถามกับอาจารย์ไกรศักดิ์หลายหน อาจารย์จึงให้เบอร์โทรศัพท์มือถือของท่านนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์กับคุณสุทธิ เพื่อสอบถามตามความกันเองให้รู้แล้วรู้รอดกันไป
เมื่อได้เบอร์โทร...ก็ต้องโทร...ทันทีทันใดนั้นแกนนำของเครือข่ายฯ ก็กดโทรศัพท์ถึงท่านนายกฯ ตามเบอร์ที่เพิ่งได้ เพียงไม่กี่อึดใจก็มีเสียงรับที่ปลายสาย สุทธิจำได้ขึ้นใจ เสียงนั้นคือ “คุณอภิสิทธิ์ นายกรัฐมนตรี” รับสายโทรศัพท์มือถือด้วยตัวเอง
คุณสุทธิใช้เวลากับนายกรัฐมนตรีทางโทรศัพท์มือถือเพียง “นิดเดียว” เท่านั้นคือ
สุทธิ “ท่านนายกฯ ครับ ผมสุทธิ ผู้ประสานงานเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ผมได้เบอร์ท่านมาจากอาจารย์ไกรศักดิ์ ครับ”
นายกฯอภิสิทธิ์ ตอบว่า “ผมรับทราบครับ ผมรู้จักคุณสุทธิ และเครือข่าย”
สุทธิ ถามต่อว่า “ผมมีเรื่องรบกวนปรึกษาเรื่องมติ กรอ. ครับ อยากให้ท่านทบทวนและยึดตามหลักรัฐธรรมนูญ”
นายกฯ อภิสิทธิ์ ตอบว่า “ไม่ต้องกังวล ผมได้นั่งพิจารณาทุกอย่างรอบคอบแล้ว โครงการที่จะลงทุนเพิ่มในมาบตาพุด ไม่มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมแต่อย่างใดครับ รวมถึงผมยังได้กำชับให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลอย่างดีแล้ว”
สุทธิได้ยินดังนั้นก็อึ้งพูดไม่ออก ถามต่อไม่ถูก ได้แต่พูดว่า “ครับ ครับ ก็ฝากช่วยดูแลระยองด้วยนะครับ งั้นไม่รบกวนแล้วนะครับ ขอบพระคุณท่านมากครับ” จากนั้นต่างฝ่ายต่างก็วางหูลงไป
ทางโน้นเป็นนายกรัฐมนตรีก็วุ่นวายขายปลาช่อนกับเรื่องการเมืองน้ำเน่าต่อไป
ส่วนทางนี้ที่ระยอง คนระยองและสุทธิไม่นิ่งเฉยอีกเป็นแน่แท้ พวกเขาทนมานานกับมาบตาพุด ทนมานานแล้วกับสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ จนเป็นผลต่อสุขภาพของเขาและลูกหลานอย่างเหลือจะอด
ถึงวันนี้ทุกคนตระหนักรู้แล้วในตัวบทกฎหมาย และสิทธิอันพึงมีพึงได้ ขอบคุณสวรรค์ที่ทำให้ประเทศนี้มี “พันธมิตรฯ” ซึ่งเรียนรู้ในการเมืองภาคประชาชนที่เข้มข้น ทำให้คนระยองรับมือกับปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมเห็นแก่ตัวได้เป็นอย่างดี การรวมตัวของพวกเขาในวันนี้ จึงเป็นการขอใช้สิทธิ และทำตามหน้าที่พลเมืองที่ดี เพื่อบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง ไม่หวังพึ่งใครโดยเฉพาะ “ราชการ” และ “นักการเมือง”
หลังคุยสายกับ “นายกฯ” พวกเขาไม่ “เชื่อมั่น” อีกต่อไป จากนั้นเครือข่ายฯตัดสินใจปลุกประชาชนให้รู้ตื่นและต่อสู้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษที่กำลังรุนแรงมากขึ้นในพื้นที่จ.ระยองจากมติ กรอ.ล่าสุด
การต่อสู้กับมติกดขี่ประชาชนเริ่มต้นเข้มข้นด้วย “การชุมนุม” ร่วมกับพันธมิตรฯจากพื้นที่ใกล้เคียง และยืดพื้นที่ทางเข้า “มาบตาพุด” เป็นสนามรบจัดการปราศรัยระดมมวลชนทั้งวันทั้งคืน จะยืนหยัดต่อสู้จนกว่ารัฐบาลจะมีคำตอบที่ชัดเจน
สุทธิบอกว่า วันนี้ไม่ทำอย่างนี้ไม่ได้แล้ว เพราะพื้นที่ระยองมีปัญหามลภาวะตั้งแต่อากาศ น้ำ และดิน มาตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นปีแรกของการเริ่มต้นเมืองอุตสาหกรรมที่ได้ชื่อว่าใหญ่ที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของประเทศและอันดับสามของภูมิภาคเอเชีย
การมาอยู่ของ “มาบตาพุด” ซึ่งมีทั้งหมด 136 โรงงาน ทำให้เกิดความเสียหายกับระยองไม่น้อย ตั้งแต่อากาศเสียจากสารพิษ น้ำเสียจากโรงงานปล่อยของเสียและทิ้งกากพิษ ดินเสียปนเปื้อนโลหะจากการลักลอบทิ้งของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคนระยอง ทำให้เกิดเป็น “มะเร็ง” และโรคระบบทางเดินหายใจมากขึ้น
สุทธิบอกว่า นอกจากนี้พื้นที่ชายฝั่งทะเลยังโดนกัดเซาะจากการถมทะเลเป็นเนื้อที่นับหมื่นไร่ เพื่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม น้ำทะเลเสียหายเป็นพิษปนเปื้อนโลหะหนักจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ถ่ายของเสียลงสู่ทะเล จุดนี้กำลังขยายตัวและกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยว อีกทั้งผลผลิตทางการเกษตรยังเสียหายมากมาย เมื่ออากาศเปลี่ยน ดินเปลี่ยน น้ำเสีย ผลผลิตน้อยลงไม่มีคุณภาพ
“แล้วคนระยองจะอยู่ได้อย่างไร เราอยู่ไม่ได้ที่อื่นก็อยู่ไม่ได้ เพราะผลกระทบต่อเนื่องกันไป”
นานแล้วที่คนเล็กๆ กลุ่มนี้ต่อสู้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษอย่างโดดเดี่ยวลำพัง แต่วันนี้พวกเขามีเพื่อนน้ำใจของพันธมิตรฯ การเมืองใหม่ยิ่งใหญ่อักโข พวกเขามุ่งหน้าไปสมทบกันที่ระยอง ร่วมกันต่อสู้เพื่อควบคุมมลพิษให้อยู่หมัด และสกัดการเติบโตของ “คนชั่ว” ที่เพิกเฉยกับความเป็นความตายของท้องถิ่น ไม่ให้ก้าวขึ้นมามีบทบาทอีกต่อไป
การต่อสู้ยกนี้ไม่มีถอย แพ้-ชนะให้เห็นดำเห็นแดงกันไปข้างหนึ่ง มิฉะนั้นก็อึงอลอยู่อย่างนี้ไม่รู้จบ นักสู้เมืองระยองบอกว่า “จะไม่นั่งเฉยรอวันตาย แต่จะสู้ แม้ตายก็ยอม”
ตัวจริงชัดเจนของแท้ห้อยท้ายด้วย “ฮิ”
สู้ไม่สู้...สู้ฮิ... สู้ฮิ ระยองลุกขึ้นสู้ เราสู้...ไม่ชนะไม่เลิก...ไม่ถอยจนกว่าจะชนะ