ทางการพม่าเปิดปฏิบัติการทางทหารปราบปรามกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบที่เป็นชนชาติส่วนน้อยกลุ่มหนึ่ง ทำให้มีผู้อพยพหลายหมื่นคนทีเดียวหลบหนีข้ามพรมแดนทางตอนใต้ของจีนเพื่อเข้าไปหลบภัย และก็ทำให้พม่ากับจีนซึ่งปกติเป็นชาติเพื่อนบ้านที่เป็นพันธมิตรกัน กลับเกิดความตึงเครียดระหว่างกัน
เวลานี้มีความหวั่นเกรงกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ปฏิบัติการของกองทัพพม่าต่อกองกำลังอาวุธชนชาติโกก้าง (Kokang) ที่ใช้ชื่อว่า "กองทัพพันธมิตรชาติประชาธิปไตยพม่า" (Myanmar National Democratic Alliance Army หรือ MNDAA) คราวนี้ อาจจะระเบิดกลายเป็นความขัดแย้งที่ใหญ่โตกว้างขวางยิ่งขึ้น เมื่อกลุ่มที่ทำข้อตกลงหยุดยิงไว้กับคณะทหารพม่ากลุ่มอื่นๆ เป็นต้นว่า กองทัพสหภาพรัฐว้า (United Wa State Army หรือ UWSA) ซึ่งมีอาวุธจำนวนมาก ถูกลากเข้าสู่การสู้รบด้วย
ข้อตกลงหยุดยิงอายุ 20 ปีระหว่างคณะทหารผู้ปกครองประเทศกับ MNDAA มีอันถูกฉีกทิ้งไป เนื่องจากทางรัฐบาลกำลังพยายามที่จะอ้างสิทธิ์สำแดงอำนาจเหนือพื้นที่ชายแดนต่างๆ ก่อนที่จะจัดการเลือกตั้งขึ้นในปีหน้า นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่า กองจรยุทธ์ของ MNDAA ประสบความเสียหายอย่างหนักจากการถูกโจมตีคราวนี้ โดยกำลังพลติดอาวุธของกลุ่มนี้ซึ่งประมาณการกันว่ามี 1,500 คน อย่างน้อยครึ่งหนึ่งทีเดียวได้หลบหนีเข้าไปในดินแดนจีน
เพื่อรับมือกับสถานการณ์ความไม่สงบ ปักกิ่งก็ได้ระดมกำลังทหารและตำรวจติดอาวุธเพิ่มเติมเข้ามายังพื้นที่เหล่านี้ เป็นการระวังป้องกันไม่ให้ความรุนแรงทะลักบานปลายข้ามเข้ามายังชายแดนของตน นอกจากนั้นจีนยังส่งผู้แทนระดับอาวุโสคนหนึ่งไปยังเมืองหลวงเนย์ปิดอว์ของพม่า เพื่อแจ้งให้ทราบถึง "ความวิตกอย่างแรงกล้า" ต่อสถานการณ์คราวนี้ของปักกิ่ง ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลจีนผู้หนึ่ง ที่พูดโดยขอไม่ให้เปิดเผยนาม
นับถึงช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ลี้ภัยประมาณ 50,000 คนหลบหนีจากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าเข้ามาในจีน เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนในท้องถิ่นในเมืองคุนหมิง มณฑลหยุนหนาน (ยุนนาน) ของจีน บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์โดยขอไม่ให้เปิดเผยชื่อเช่นกัน
ขณะที่ คิตตี้ แมคคินซีย์ โฆษกระดับภูมิภาคของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประจำอยู่ในกรุงเทพฯ บอกว่า ก่อนหน้านี้ในเดือนนี้มีประชาชนจำนวนมากอาจจะถึง 30,000 คน อพยพจากพื้นที่ชนชาติโกก้าง ในรัฐฉาน ที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า ข้ามเข้าไปในตำบลหนานซาน (Nansan) และหมู่บ้านอื่นๆ ใกล้เคียงในมณฑลยุนนานของจีน "เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของจีนกำลังจัดหาอาหาร, ที่พัก, และการรักษาพยาบาลแบบฉุกเฉินให้แก่คนเหล่านี้" เธอกล่าว
เจ้าหน้าที่จีนผู้หนึ่งซึ่งขอไม่ให้เปิดเผยชื่อ บอกว่าทางเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในส่วนกลางของจีน "รู้สึกสับสนเป็นอย่างยิ่ง" เกี่ยวกับผลกระทบซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิบัติการของทหารพม่า และ "รู้สึกโกรธกริ้ว" ที่พวกเขาไม่ได้รับการเตือนล่วงหน้าเกี่ยวกับการรุกโจมตีคราวนี้ ส่วนตามปากคำของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศพม่าผู้หนึ่ง หลังจากมีการติดต่อทางการทูตกันอย่างสับสนวุ่นวายทั้งในกรุงปักกิ่งและกรุงเนย์ปิดอว์ พม่าก็ได้ "ขอโทษ" ที่ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพข้ามชายแดนเข้าไปในจีน
ดูเหมือนว่าปฏิบัติทางทหารครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดอยู่ที่การเข้ายึดโรงงานอาวุธแห่งหนึ่งของพวกโกก้าง นี่เป็นคำบอกเล่าที่พวกผู้นำพม่าแจ้งต่อผู้นำจีน ทว่านักวิเคราะห์เรื่องพม่าหลายๆ รายยังคงสงสัยข้องใจ และเชื่อว่าอย่างมากที่สุดเรื่องนี้ก็เพียงแค่ถูกใช้เป็นข้ออ้างบังหน้า "คณะทหารผู้ปกครองประเทศทราบดีว่า จะต้องลงมือปลดอาวุธกลุ่มกบฏชนชาติต่างๆ เหล่านี้ และพวกโกก้างก็เป็นกลุ่มที่อ่อนแอที่สุดในทางการทหาร" วิน มิน (Win Min) นักวิชาการชาวพม่าซึ่งเป็นผู้ชำนาญการเรื่องทหารพม่า และเวลานี้ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ "ก่อนที่ฝ่ายทหารจะเปิดการการโจมตีคราวนี้ ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของพม่าก็มีความพยายามที่จะวาดภาพพวกผู้นำโกก้างว่าเป็นพวกค้ายาเสพติด"
โกก้างนั้นในทางเชื้อชาติแล้วเป็นคนจีน และพูดจาด้วยภาษาจีนกลางสำเนียงท้องถิ่น แต่พวกเขาได้พำนักอาศัยอยู่ในพม่ามาหลายสิบปี พวกเขามีกองกำลังอาวุธของตัวเอง และต่อสู้กับกองทัพพม่ามาหลายสิบปีแล้วเช่นกัน โดยเรียกร้องต้องการสิทธิในการปกครองตนเอง พวกเขาเคยเป็นส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า และยินยอมทำข้อตกลงหยุดยิงเมื่อปี 1989 ซึ่งก็ได้รับการปฏิบัติตามเรื่อยมาจนกระทั่งถึงตอนนี้
พวกโกก้างยังมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับการค้ายาเสพติด และขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นผู้ผลิตฝิ่นรายใหญ่ แม้ตามข้อมูลของสหประชาชาติ เขตพื้นที่ของพวกเขาไม่มีการปลูกฝิ่นอีกนับตั้งแต่ปี 2003
พวกนักวิเคราะห์เชื่อว่า กลุ่มชนชาติที่ทำข้อตกลงหยุดยิงกับทางการพม่ากลุ่มอื่นๆ ก็อาจจะตกเป็นเป้าหมายถัดไปที่จะถูกโจมตีปราบปราม
เวลานี้มีความเสี่ยงสูงมากๆ ที่สถานการณ์ตามแนวชายแดนจีน-พม่าจะหวนกลับไปสู่การต่อสู้กันด้วยอาวุธอย่างกว้างขวาง เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนผู้หนึ่งที่ติดตามเหตุการณ์ในพม่าอย่างใกล้ชิดกล่าว "ปัญหาอยู่ที่ว่าพวกว้าเป็นพวกที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลจีนมากๆ และเป็นเรื่องยากมากๆ สำหรับรัฐบาลจีนที่จะทอดทิ้งพวกเขาในเวลาอันสำคัญยิ่งยวดนี้" เขากล่าวต่อ
เวลานี้มีความหวั่นเกรงกันมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า ปฏิบัติการของกองทัพพม่าต่อกองกำลังอาวุธชนชาติโกก้าง (Kokang) ที่ใช้ชื่อว่า "กองทัพพันธมิตรชาติประชาธิปไตยพม่า" (Myanmar National Democratic Alliance Army หรือ MNDAA) คราวนี้ อาจจะระเบิดกลายเป็นความขัดแย้งที่ใหญ่โตกว้างขวางยิ่งขึ้น เมื่อกลุ่มที่ทำข้อตกลงหยุดยิงไว้กับคณะทหารพม่ากลุ่มอื่นๆ เป็นต้นว่า กองทัพสหภาพรัฐว้า (United Wa State Army หรือ UWSA) ซึ่งมีอาวุธจำนวนมาก ถูกลากเข้าสู่การสู้รบด้วย
ข้อตกลงหยุดยิงอายุ 20 ปีระหว่างคณะทหารผู้ปกครองประเทศกับ MNDAA มีอันถูกฉีกทิ้งไป เนื่องจากทางรัฐบาลกำลังพยายามที่จะอ้างสิทธิ์สำแดงอำนาจเหนือพื้นที่ชายแดนต่างๆ ก่อนที่จะจัดการเลือกตั้งขึ้นในปีหน้า นักวิเคราะห์บางรายเชื่อว่า กองจรยุทธ์ของ MNDAA ประสบความเสียหายอย่างหนักจากการถูกโจมตีคราวนี้ โดยกำลังพลติดอาวุธของกลุ่มนี้ซึ่งประมาณการกันว่ามี 1,500 คน อย่างน้อยครึ่งหนึ่งทีเดียวได้หลบหนีเข้าไปในดินแดนจีน
เพื่อรับมือกับสถานการณ์ความไม่สงบ ปักกิ่งก็ได้ระดมกำลังทหารและตำรวจติดอาวุธเพิ่มเติมเข้ามายังพื้นที่เหล่านี้ เป็นการระวังป้องกันไม่ให้ความรุนแรงทะลักบานปลายข้ามเข้ามายังชายแดนของตน นอกจากนั้นจีนยังส่งผู้แทนระดับอาวุโสคนหนึ่งไปยังเมืองหลวงเนย์ปิดอว์ของพม่า เพื่อแจ้งให้ทราบถึง "ความวิตกอย่างแรงกล้า" ต่อสถานการณ์คราวนี้ของปักกิ่ง ทั้งนี้ตามคำบอกเล่าของเจ้าหน้าที่อาวุโสของรัฐบาลจีนผู้หนึ่ง ที่พูดโดยขอไม่ให้เปิดเผยนาม
นับถึงช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ลี้ภัยประมาณ 50,000 คนหลบหนีจากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่าเข้ามาในจีน เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนในท้องถิ่นในเมืองคุนหมิง มณฑลหยุนหนาน (ยุนนาน) ของจีน บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์โดยขอไม่ให้เปิดเผยชื่อเช่นกัน
ขณะที่ คิตตี้ แมคคินซีย์ โฆษกระดับภูมิภาคของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ ซึ่งประจำอยู่ในกรุงเทพฯ บอกว่า ก่อนหน้านี้ในเดือนนี้มีประชาชนจำนวนมากอาจจะถึง 30,000 คน อพยพจากพื้นที่ชนชาติโกก้าง ในรัฐฉาน ที่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า ข้ามเข้าไปในตำบลหนานซาน (Nansan) และหมู่บ้านอื่นๆ ใกล้เคียงในมณฑลยุนนานของจีน "เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบของจีนกำลังจัดหาอาหาร, ที่พัก, และการรักษาพยาบาลแบบฉุกเฉินให้แก่คนเหล่านี้" เธอกล่าว
เจ้าหน้าที่จีนผู้หนึ่งซึ่งขอไม่ให้เปิดเผยชื่อ บอกว่าทางเจ้าหน้าที่รับผิดชอบในส่วนกลางของจีน "รู้สึกสับสนเป็นอย่างยิ่ง" เกี่ยวกับผลกระทบซึ่งเกิดขึ้นจากปฏิบัติการของทหารพม่า และ "รู้สึกโกรธกริ้ว" ที่พวกเขาไม่ได้รับการเตือนล่วงหน้าเกี่ยวกับการรุกโจมตีคราวนี้ ส่วนตามปากคำของเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศพม่าผู้หนึ่ง หลังจากมีการติดต่อทางการทูตกันอย่างสับสนวุ่นวายทั้งในกรุงปักกิ่งและกรุงเนย์ปิดอว์ พม่าก็ได้ "ขอโทษ" ที่ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพข้ามชายแดนเข้าไปในจีน
ดูเหมือนว่าปฏิบัติทางทหารครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดอยู่ที่การเข้ายึดโรงงานอาวุธแห่งหนึ่งของพวกโกก้าง นี่เป็นคำบอกเล่าที่พวกผู้นำพม่าแจ้งต่อผู้นำจีน ทว่านักวิเคราะห์เรื่องพม่าหลายๆ รายยังคงสงสัยข้องใจ และเชื่อว่าอย่างมากที่สุดเรื่องนี้ก็เพียงแค่ถูกใช้เป็นข้ออ้างบังหน้า "คณะทหารผู้ปกครองประเทศทราบดีว่า จะต้องลงมือปลดอาวุธกลุ่มกบฏชนชาติต่างๆ เหล่านี้ และพวกโกก้างก็เป็นกลุ่มที่อ่อนแอที่สุดในทางการทหาร" วิน มิน (Win Min) นักวิชาการชาวพม่าซึ่งเป็นผู้ชำนาญการเรื่องทหารพม่า และเวลานี้ประจำอยู่ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกกับเอเชียไทมส์ออนไลน์ "ก่อนที่ฝ่ายทหารจะเปิดการการโจมตีคราวนี้ ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่รับผิดชอบของพม่าก็มีความพยายามที่จะวาดภาพพวกผู้นำโกก้างว่าเป็นพวกค้ายาเสพติด"
โกก้างนั้นในทางเชื้อชาติแล้วเป็นคนจีน และพูดจาด้วยภาษาจีนกลางสำเนียงท้องถิ่น แต่พวกเขาได้พำนักอาศัยอยู่ในพม่ามาหลายสิบปี พวกเขามีกองกำลังอาวุธของตัวเอง และต่อสู้กับกองทัพพม่ามาหลายสิบปีแล้วเช่นกัน โดยเรียกร้องต้องการสิทธิในการปกครองตนเอง พวกเขาเคยเป็นส่วนหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์พม่า และยินยอมทำข้อตกลงหยุดยิงเมื่อปี 1989 ซึ่งก็ได้รับการปฏิบัติตามเรื่อยมาจนกระทั่งถึงตอนนี้
พวกโกก้างยังมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับการค้ายาเสพติด และขึ้นชื่อลือชาว่าเป็นผู้ผลิตฝิ่นรายใหญ่ แม้ตามข้อมูลของสหประชาชาติ เขตพื้นที่ของพวกเขาไม่มีการปลูกฝิ่นอีกนับตั้งแต่ปี 2003
พวกนักวิเคราะห์เชื่อว่า กลุ่มชนชาติที่ทำข้อตกลงหยุดยิงกับทางการพม่ากลุ่มอื่นๆ ก็อาจจะตกเป็นเป้าหมายถัดไปที่จะถูกโจมตีปราบปราม
เวลานี้มีความเสี่ยงสูงมากๆ ที่สถานการณ์ตามแนวชายแดนจีน-พม่าจะหวนกลับไปสู่การต่อสู้กันด้วยอาวุธอย่างกว้างขวาง เจ้าหน้าที่รัฐบาลจีนผู้หนึ่งที่ติดตามเหตุการณ์ในพม่าอย่างใกล้ชิดกล่าว "ปัญหาอยู่ที่ว่าพวกว้าเป็นพวกที่มีความใกล้ชิดกับรัฐบาลจีนมากๆ และเป็นเรื่องยากมากๆ สำหรับรัฐบาลจีนที่จะทอดทิ้งพวกเขาในเวลาอันสำคัญยิ่งยวดนี้" เขากล่าวต่อ