ASTVผู้จัดการรายวัน- ผลสำรวจประชาชนผู้ใช้บริการสาธารณะ เห็นพ้องรถไฟให้บริการห่วยสุด เข้าขั้นวิกฤต แนะต้องปรับปรุงด้านบริการ และความตรงต่อเวลา หวั่นงบกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นกับดักรัฐบาล เพราะไม่มีการวางแผนระยะยาว
ผศ.ดร.ณดา จันทร์สม ผู้อำนวยการสำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะกรรมการบริหารนโยบายและคณะทำงานปัญญาสมาพันธ์ เพื่อการวิจัยความคิดเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย ( W-PORT)เปิดเผยว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง” คนไทยคิดอย่างไร บริการสาธารณะดีพอแล้ว”ตั้งแต่วันที่ 10-20 ก.ค.2552 พบว่า การสำรวจความพึงพอใจ ของการใช้ บริการสาธารณะด้านระบบการขนส่งทั้งรถโดยสารและรถไฟมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยที่ระดับ 5.4-6.3 น้อยกว่าบริการสาธารณะอื่น เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์พื้นฐานและไปรษณีย์ ที่มีคะแนนเฉลี่ย7.0-7.1 (1=พอใจน้อยที่สุด และ10=พอใจมากที่สุด) ซึ่งปัจจัยหลักที่ผู้ใช้บริการไม่พึงพอใจ อันดับแรก คือ ค่าบริการแพงเกินไป คุณภาพบริการไม่ดี
โดยภาพรวมแล้วคะแนนเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของแต่ละบริการคือ รถโดยสารเพื่อการเดินทางภายในจังหวัด 5.9 ,รถโดยสารเพื่อการเดินทางข้างจังหวัด 5.9 ,รถไฟเพื่อการเดินทางภายในจังหวัด 5.4 ,รถไฟเพื่อการเดินทางข้ามจังหวัด 6.3 ไฟฟ้า 7.2 ประปา 7.0 โทรศัพท์พื้นฐาน 7..2 และไปรษณีย์ 7.0
จากการสำรวจอย่างเจาะลึกพบว่าผู้ใช้บริการ ร้อยละ58.7 เห็นว่าการบริการไฟของไทย โดยเฉพาะรถไฟระหว่างจังหวัดมีปัญหาการให้บริการอยู่ในระดับวิกฤตมาก และต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ ประเภทชั้น 1 และชั้น 2 ให้ได้มาตรฐานสากล โดยสามารถที่จะเพิ่มอัตราค่าบริการให้เหมาะสมกับการให้บริการ รวมถึงต้องมีการปรับปรุงให้ตรงต่อเวลา
นอกจากนี้แล้ว คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่สหภาพแรงงานของการรถไฟจะหยุดงานโดยไม่แจ้งให้กับประชาชนทราบล่วงหน้า โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ3.3 (1 =เห็นด้วยอย่างยิ่ง และ 4= ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง)
ผศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร ผู้ช่วยรองอธิการบดีและผู้อำนวยการฝ่ายวางแผน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า งบกระตุ้นเศรษฐกิจระยะ 2 ของรัฐบาลนั้น เฉพาะกระทรวงคมนาคมได้รับงบถึง 600,000 ล้านบาท เห็นว่างบประมาณต่างๆต้องใช้ในเสร็จในระยะสั้นเพราะโครงการต่างๆเป็นโครงการระยะสั้น ไม่ได้มีการวางแผนระยะยาว ซึ่งเกรงว่าการวางแผนดังกล่าวนั้นจะกลายเป็นกับดักให้กับรัฐบาล และจากความไม่สงบที่ผ่านมา 4-5 ปี ก็ยังไม่เห็นว่าโครงการเมกะโปรเจ็กต์ใดเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามได้วางแผนโครงข่ายรถไฟฟ้าความเร็วสูงไปแล้ว
ผศ.ดร.ณดา จันทร์สม ผู้อำนวยการสำนักวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะกรรมการบริหารนโยบายและคณะทำงานปัญญาสมาพันธ์ เพื่อการวิจัยความคิดเห็นสาธารณะแห่งประเทศไทย ( W-PORT)เปิดเผยว่า จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเรื่อง” คนไทยคิดอย่างไร บริการสาธารณะดีพอแล้ว”ตั้งแต่วันที่ 10-20 ก.ค.2552 พบว่า การสำรวจความพึงพอใจ ของการใช้ บริการสาธารณะด้านระบบการขนส่งทั้งรถโดยสารและรถไฟมีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยที่ระดับ 5.4-6.3 น้อยกว่าบริการสาธารณะอื่น เช่น ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์พื้นฐานและไปรษณีย์ ที่มีคะแนนเฉลี่ย7.0-7.1 (1=พอใจน้อยที่สุด และ10=พอใจมากที่สุด) ซึ่งปัจจัยหลักที่ผู้ใช้บริการไม่พึงพอใจ อันดับแรก คือ ค่าบริการแพงเกินไป คุณภาพบริการไม่ดี
โดยภาพรวมแล้วคะแนนเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของแต่ละบริการคือ รถโดยสารเพื่อการเดินทางภายในจังหวัด 5.9 ,รถโดยสารเพื่อการเดินทางข้างจังหวัด 5.9 ,รถไฟเพื่อการเดินทางภายในจังหวัด 5.4 ,รถไฟเพื่อการเดินทางข้ามจังหวัด 6.3 ไฟฟ้า 7.2 ประปา 7.0 โทรศัพท์พื้นฐาน 7..2 และไปรษณีย์ 7.0
จากการสำรวจอย่างเจาะลึกพบว่าผู้ใช้บริการ ร้อยละ58.7 เห็นว่าการบริการไฟของไทย โดยเฉพาะรถไฟระหว่างจังหวัดมีปัญหาการให้บริการอยู่ในระดับวิกฤตมาก และต้องเร่งปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ ประเภทชั้น 1 และชั้น 2 ให้ได้มาตรฐานสากล โดยสามารถที่จะเพิ่มอัตราค่าบริการให้เหมาะสมกับการให้บริการ รวมถึงต้องมีการปรับปรุงให้ตรงต่อเวลา
นอกจากนี้แล้ว คนไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยที่สหภาพแรงงานของการรถไฟจะหยุดงานโดยไม่แจ้งให้กับประชาชนทราบล่วงหน้า โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ3.3 (1 =เห็นด้วยอย่างยิ่ง และ 4= ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง)
ผศ.ดร.ภูเบศร์ สมุทรจักร ผู้ช่วยรองอธิการบดีและผู้อำนวยการฝ่ายวางแผน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวว่า งบกระตุ้นเศรษฐกิจระยะ 2 ของรัฐบาลนั้น เฉพาะกระทรวงคมนาคมได้รับงบถึง 600,000 ล้านบาท เห็นว่างบประมาณต่างๆต้องใช้ในเสร็จในระยะสั้นเพราะโครงการต่างๆเป็นโครงการระยะสั้น ไม่ได้มีการวางแผนระยะยาว ซึ่งเกรงว่าการวางแผนดังกล่าวนั้นจะกลายเป็นกับดักให้กับรัฐบาล และจากความไม่สงบที่ผ่านมา 4-5 ปี ก็ยังไม่เห็นว่าโครงการเมกะโปรเจ็กต์ใดเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนามได้วางแผนโครงข่ายรถไฟฟ้าความเร็วสูงไปแล้ว