xs
xsm
sm
md
lg

ลูกจ้างราชการเฮครม.อนุมัติให้บำนาญ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบเพิ่มสิทธิประโยชน์เกี่ยวกับบำนาญให้กับลูกจ้างประจำในหน่วยงานราชการทั่วประเทศ ตามที่เคยเรียกร้องมา
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กล่าวว่า งบประมาณปีละ 3 พันล้าน ที่จะให้กับลูกจ้างประจำของหน่วยงานราชการ กระทรวงการคลังสามารถรองรับได้ เพราะจะเป็นสวัสดิการที่ยุติธรรมกับลูกจ้างประจำ ในเกณฑ์ที่รับหน้าที่เกินกว่า 25 ปี ทั้งนี้ งบประมาณในปีแรกจะใช้ 1 พันล้านบาท โดยปีแรกมีผู้เกษียณอายุ 6 พันคน
ปัจจุบันลูกจ้างประจำของทางราชการ มีจำนวน 205,478 คน จะออกจากราชการเมื่ออายุ 60 ปี ประมาณปีละ 8,660 คน โดยมีสิทธิได้รับบำนาญ รายเดือนปีละ 6,260 คน เฉลี่ยเงินบำนาญรายเดือนคนละ 9,800 บาทต่อเดือน จะใช้เงินงบประมาณปีละ 6,001 ล้านบาท สำหรับภาระการคลังในระยะยาว ซึ่งประเมินจากลูกจ้างประจำกลุ่มสุดท้ายที่จะออกจากราชการในปี พ.ศ.2576 และใช้อายุเฉลี่ยของประชากรไทยที่อายุ 80 ปีแล้ว ภาระงบประมาณรายเดือนต้องจ่าย สำหรับกลุ่มสุดท้ายจะสิ้นสุดประมาณในปี พ.ศ. 2595 รวมระยะเวลา 43 ปี ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินงบประมาณสำหรับ 43 ปี รวมทั้งสิ้น 275,846 ล้านบาท
นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายเบื้องต้นประมาณปีละ 6 พันล้านบาทนั้น รมว.คลังแจ้งในที่ประชุมว่า ปีแรก ๆ อาจจะไม่ต้องใช้เงินมากขนาดนี้ เพราะลูกจ้างประจำจะไม่มีการรับเพิ่มอีก และเปลี่ยนจากลูกจ้างประจำรายเดือน
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังสอบถามว่า ร่างฉบันนี้จะซ้ำซ้อนกับกฎหมายบำเหน็จ บำนาญของข้าราชการหรือไม่ ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา แจ้งว่ากฎหมาย เป็นคนฉบับไม่เกี่ยวกับลูกจ้างประจำ จึงสามารถทำได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรี สอบถามว่า ทำไมถึงใช้คำว่ารายเดือน ซึ่งไม่ต้องการที่จะให้ซ้ำซ้อนกับบำเหน็จรายเดือนของ ข้าราชการ ดังนั้นจึงขอให้เปลี่ยนให้ใช้คำว่า บำนาญลูกจ้างแทน
สำหรับ สาระสำคัญของร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....เพื่อกำหนดให้ลูกจ้างประจำมีสิทธิได้รับบำเหน็จรายเดือน (บำนาญปกติที่ลูกจ้างประจำได้รับเป็นรายเดือน) และบำเหน็จพิเศษรายเดือน (บำนาญพิเศษสำหรับลูกจ้างประจำที่ได้รับอันตราย เจ็บป่วย หรือถูกประทุษร้ายจากการปฏิบัติงาน) โดยเป็นสิทธิเฉพาะตัวของลูกจ้างไม่รวมถึงบุคคลใน ครอบครัว เนื่องจากเห็นว่าลูกจ้างประจำมีกำหนดเวลาการปฏิบัติงานเช่นเดียวกับข้าราชการคือเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปี ปฏิบัติงานอยู่ในระบบราชการและทำคุณประโยชน์ให้กับทางราชการคล้ายคลึงกับข้าราชการมาเป็นเวลานาน รัฐบาลจึงควรดูแลโดยให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามสมควร
ทั้งนี้ สวัสดิการต่างๆ ที่ได้รับ และควรปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้เพิ่มมากขึ้น เมื่อลูกจ้างประจำออกจากราชการ ซึ่งปัจจุบันเมื่อออกจากราชการจะได้รับเงินบำเหน็จ ในคราวเดียว ทำให้ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากไม่มีรายได้เป็นรายเดือน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเรื่องค่าครองชีพ จึงได้แก้ไขระเบียบดังกล่าว โดยหลักการของระเบียบ คือ ลูกจ้างประจำซึ่งมีเวลาทำงานตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป หรือมีสิทธิได้รับบำเหน็จพิเศษ สามารถขอรับเป็นบำเหน็จรายเดือน หรือบำเหน็จพิเศษ รายเดือนแทนก็ได้ โดยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเมื่อเลือกขอรับอย่างใดอย่างหนึ่ง ไปแล้ว จะได้รับตั้งแต่ออกจากงานจนกระทั่งผู้นั้นถึงแก่ความตาย และยังกำหนดสิทธิ การได้รับบำเหน็จพิเศษรายเดือนในกรณีที่ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วยเพราะเหตุปฏิบัติงานในหน้าที่ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดอีกด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น