** ขอเจรจาสไตเออร์ฯนำรถดับเพลิงมาใช้
ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (25 ส.ค.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ครม. บัญชาโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติในหลักการ แต่งตั้งคณะกรรมการในการเจรจากับ บริษัทสไตเออร์ เคมเลอร์ พุด สเปเชียลฟาห์สซอย เอจี แอนด์ โค เคจี เกี่ยวกับสินค้าในระหว่าง รอผลคดีกรณีการจัดรถดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยระหว่างรัฐบาลไทยกับออสเตรีย ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าว ประกอบด้วยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) กรมบัญชีกลาง และกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทย เห็นว่า หากรอผลการพิจารณาของศาล ว่าสัญญาซื้อขายมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ จะต้องใช้เวลานาน และไม่แน่ชัดว่าผลดีจะเป็นประการใด ซึ่งต้องรอต่อไป อาจจะทำให้สินค้าเสื่อมสภาพ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าหน้าท่า ค่าภาษี ค่าปรับ ดังนั้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ จึงเห็นควรขออนุมัติหลักการในการเจรจากับบริษัทดังกล่าว เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าในระหว่างคดี
อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการดังกล่าวไม่กระทบต่อการโต้แย้ง หรือการดำเนินการในคดี ซึ่งทางสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ให้ความเห็นว่า คดีนี้ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดแล้ว และอยู่ระหว่างส่งเรื่องให้ศาลพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้การจ่ายค่างวด ครั้งที่ 1. เมื่อวันที่ 29 พ.ค.50 จำนวน 791 ล้านบาท ครั้งที่ 2. เมื่อวันที่ 10 ส.ค.50 จำนวน 777 ล้านบาท ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 51 จำนวน 785 ล้านบาท ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 51 จำนวน 832 ล้านบาท และครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 52 จำนวน 718 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 3,905 ล้านบาท ขณะที่เหลืออีก 4 งวด และจะต้องชำระงวดที่ 6 ในเดือน ส.ค.52 นี้
**เสนอจ้างงานเร่งด่วน 7.2 หมื่นคน
กระทรวงแรงงานเสนอขออนุมัติโครงการจ้างงานเร่งด่วน และพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ ปี 52 ระหว่างเดือนก.ค.–ก.ย.นี้ แบ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย คือการจ้างงานเร่งด่วน จ้างคนละ 150 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วัน จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 65,000 คน คิดเป็นเงิน 195 ล้านบาท
ขณะที่การพัฒนาทักษะ 450 รุ่นๆ ละ 16 คน คิดเป็นเงินรุ่นละ 1.9 แสนบาท รวมทั้งสิ้น 85 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการ 19 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สำนักงบประมาณ ให้ความเห็นว่า ควรอนุมัติในหลักการ แต่ควรใช้งบประมาณเพียง 119 ล้านบาทเท่านั้น
ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการ คือผู้ว่างงาน ผู้ประสบความเดือดร้อนในด้านอาชีพ จากวิกฤตเศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติ ในหมู่บ้าน ชุมชน จำนวน 72,200 คน ที่ต้องการทำงาน ฝึกอบรม และพัฒนาฝีมือแรงงาน
**เหมาจ่ายรถประจำตำแหน่งอัยการเดือนละ3.1 หมื่น
กระทรวงยุติธรรม ขอความเห็นชอบครม. ให้ข้าราชการอัยการในชั้น 5 (ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้เชี่ยวชาญ หรืออัยการพิเศษประจำกรม เทียบเท่าอัยการจังหวัด) มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่าย แทนการจัดหารถประจำตำแหน่งคนละ 31,800 บาท จำนวน 220 คน คิดเป็นงบประมาณเฉลี่ยเดือนละ 6.9 ล้านบาท ขณะที่อัยการในชั้น 5 ปัจจุบันมีเงินเดือนประจำ 66,480 บาท ต่อคนต่อเดือน และ มีเงินประจำตำแหน่งอยู่แล้ว 41,000 บาทต่อคน ต่อเดือน
**ขอเบี้ยยังชีพ กฟน. 2,000 บาท/คน/เดือน
กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอขอให้นำความเห็นชอบการจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง ในอัตรา 2,000 บาท ต่อคนต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวในอัตรา 2,000 บาทต่อคนต่อเดือน แบ่งเป็น 4 แนวทาง คือพนักงานที่เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท จำนวน 529 คน ระยะเวลา 6 เดือน ใช้งบประมาณ 6.34 ล้านบาท , พนักงานที่เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาทจำนวน 529 คนระยะเวลา 12 เดือน ใช้งบประมาณ 12 ล้านบาท
ขณะที่พนักงานที่เงินเดือนสูงกว่า 25,000 บาท จำนวน 2,341 คน ระยะเวลา 6 เดือน ใช้งบประมาณ 28 ล้านบาท และพนักงานที่เงินเดือนต่ำกว่า 50,000 บาท จำนวน 6,071 ระยะเวลา 12 เดือน ใช้งบประมาณ 145 ล้านบาท
**ร่างกม.ที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง เข้าครม.
นายกรณ์ จาติกวิณิช รมว.คลัง จะนำร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเข้าสู่การพิจารณา หลังจากทำการประชาพิจารณ์ ครั้งสุดท้ายที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา
สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ หากกฎหมายมีผลบังคับใช้ จะมีระยะเวลาผ่อนปรนเพื่อให้ประชาชนมีเวลาปรับตัว 2 ปี ดังนั้นกว่าจะมีการจัดเก็บภาษีจริง คงเป็นปี 2555 และเบื้องต้นกำหนดข้อยกเว้นการจัดเก็บภาษีสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย โดยหากมีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่มีทรัพย์สินไม่เกิน 1 ล้านบาท ก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่หากมีมูลค่าสูงกว่านั้น ก็จะต้องเสียในอัตราปกติ
ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวคาดว่าจะช่วยให้มีการใช้ประโยชน์ของที่ดินอย่างจริงจัง เพราะจากการสำรวจพบว่า ที่ดินในประเทศไทยไม่ได้ใช้ประโยชน์สูงถึง 75% และที่ดินส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในมือของประชากรจำนวน 10 % ของประเทศเท่านั้น ขณะที่คน 90% ของประเทศ ถือครองที่ดินไม่เกิน 1 ไร่
ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (25 ส.ค.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ครม. บัญชาโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี พิจารณาอนุมัติในหลักการ แต่งตั้งคณะกรรมการในการเจรจากับ บริษัทสไตเออร์ เคมเลอร์ พุด สเปเชียลฟาห์สซอย เอจี แอนด์ โค เคจี เกี่ยวกับสินค้าในระหว่าง รอผลคดีกรณีการจัดรถดับเพลิง และอุปกรณ์บรรเทาสาธารณภัยระหว่างรัฐบาลไทยกับออสเตรีย ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าว ประกอบด้วยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) กรมบัญชีกลาง และกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้กระทรวงมหาดไทย เห็นว่า หากรอผลการพิจารณาของศาล ว่าสัญญาซื้อขายมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือไม่ จะต้องใช้เวลานาน และไม่แน่ชัดว่าผลดีจะเป็นประการใด ซึ่งต้องรอต่อไป อาจจะทำให้สินค้าเสื่อมสภาพ รวมถึงมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าหน้าท่า ค่าภาษี ค่าปรับ ดังนั้นเพื่อรักษาผลประโยชน์ จึงเห็นควรขออนุมัติหลักการในการเจรจากับบริษัทดังกล่าว เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสินค้าในระหว่างคดี
อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการดังกล่าวไม่กระทบต่อการโต้แย้ง หรือการดำเนินการในคดี ซึ่งทางสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ให้ความเห็นว่า คดีนี้ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดแล้ว และอยู่ระหว่างส่งเรื่องให้ศาลพิจารณาต่อไป
ทั้งนี้การจ่ายค่างวด ครั้งที่ 1. เมื่อวันที่ 29 พ.ค.50 จำนวน 791 ล้านบาท ครั้งที่ 2. เมื่อวันที่ 10 ส.ค.50 จำนวน 777 ล้านบาท ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 8 ก.พ. 51 จำนวน 785 ล้านบาท ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 8 ส.ค. 51 จำนวน 832 ล้านบาท และครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 52 จำนวน 718 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 3,905 ล้านบาท ขณะที่เหลืออีก 4 งวด และจะต้องชำระงวดที่ 6 ในเดือน ส.ค.52 นี้
**เสนอจ้างงานเร่งด่วน 7.2 หมื่นคน
กระทรวงแรงงานเสนอขออนุมัติโครงการจ้างงานเร่งด่วน และพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนด้านอาชีพแก่ผู้ประสบภัยธรรมชาติ ปี 52 ระหว่างเดือนก.ค.–ก.ย.นี้ แบ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย คือการจ้างงานเร่งด่วน จ้างคนละ 150 บาทต่อวัน ไม่เกิน 20 วัน จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ 65,000 คน คิดเป็นเงิน 195 ล้านบาท
ขณะที่การพัฒนาทักษะ 450 รุ่นๆ ละ 16 คน คิดเป็นเงินรุ่นละ 1.9 แสนบาท รวมทั้งสิ้น 85 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการ 19 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สำนักงบประมาณ ให้ความเห็นว่า ควรอนุมัติในหลักการ แต่ควรใช้งบประมาณเพียง 119 ล้านบาทเท่านั้น
ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการ คือผู้ว่างงาน ผู้ประสบความเดือดร้อนในด้านอาชีพ จากวิกฤตเศรษฐกิจ และภัยธรรมชาติ ในหมู่บ้าน ชุมชน จำนวน 72,200 คน ที่ต้องการทำงาน ฝึกอบรม และพัฒนาฝีมือแรงงาน
**เหมาจ่ายรถประจำตำแหน่งอัยการเดือนละ3.1 หมื่น
กระทรวงยุติธรรม ขอความเห็นชอบครม. ให้ข้าราชการอัยการในชั้น 5 (ผู้ดำรงตำแหน่งอัยการผู้เชี่ยวชาญ หรืออัยการพิเศษประจำกรม เทียบเท่าอัยการจังหวัด) มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเหมาจ่าย แทนการจัดหารถประจำตำแหน่งคนละ 31,800 บาท จำนวน 220 คน คิดเป็นงบประมาณเฉลี่ยเดือนละ 6.9 ล้านบาท ขณะที่อัยการในชั้น 5 ปัจจุบันมีเงินเดือนประจำ 66,480 บาท ต่อคนต่อเดือน และ มีเงินประจำตำแหน่งอยู่แล้ว 41,000 บาทต่อคน ต่อเดือน
**ขอเบี้ยยังชีพ กฟน. 2,000 บาท/คน/เดือน
กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอขอให้นำความเห็นชอบการจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง ในอัตรา 2,000 บาท ต่อคนต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวในอัตรา 2,000 บาทต่อคนต่อเดือน แบ่งเป็น 4 แนวทาง คือพนักงานที่เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาท จำนวน 529 คน ระยะเวลา 6 เดือน ใช้งบประมาณ 6.34 ล้านบาท , พนักงานที่เงินเดือนต่ำกว่า 15,000 บาทจำนวน 529 คนระยะเวลา 12 เดือน ใช้งบประมาณ 12 ล้านบาท
ขณะที่พนักงานที่เงินเดือนสูงกว่า 25,000 บาท จำนวน 2,341 คน ระยะเวลา 6 เดือน ใช้งบประมาณ 28 ล้านบาท และพนักงานที่เงินเดือนต่ำกว่า 50,000 บาท จำนวน 6,071 ระยะเวลา 12 เดือน ใช้งบประมาณ 145 ล้านบาท
**ร่างกม.ที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง เข้าครม.
นายกรณ์ จาติกวิณิช รมว.คลัง จะนำร่าง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเข้าสู่การพิจารณา หลังจากทำการประชาพิจารณ์ ครั้งสุดท้ายที่ จ.อุบลราชธานี เมื่อ 21 ส.ค.ที่ผ่านมา
สาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ หากกฎหมายมีผลบังคับใช้ จะมีระยะเวลาผ่อนปรนเพื่อให้ประชาชนมีเวลาปรับตัว 2 ปี ดังนั้นกว่าจะมีการจัดเก็บภาษีจริง คงเป็นปี 2555 และเบื้องต้นกำหนดข้อยกเว้นการจัดเก็บภาษีสำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย โดยหากมีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่มีทรัพย์สินไม่เกิน 1 ล้านบาท ก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่หากมีมูลค่าสูงกว่านั้น ก็จะต้องเสียในอัตราปกติ
ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวคาดว่าจะช่วยให้มีการใช้ประโยชน์ของที่ดินอย่างจริงจัง เพราะจากการสำรวจพบว่า ที่ดินในประเทศไทยไม่ได้ใช้ประโยชน์สูงถึง 75% และที่ดินส่วนใหญ่ของประเทศอยู่ในมือของประชากรจำนวน 10 % ของประเทศเท่านั้น ขณะที่คน 90% ของประเทศ ถือครองที่ดินไม่เกิน 1 ไร่