“เพียร ยงหนู” นำทีมสหภาพ กฟน. บุกสภายื่นหนังสือ “วิทยา” จี้รัฐบาลจ่ายค่าไฟ ขู่หากพรุ่งนี้ไม่ติดต่อเจรจาเจอตัดไฟแน่ ปัดไล่เบี้ยวรัฐบาลไม่เกี่ยวถูกเบรกเงินค่าครองชีพ 2 พัน ยันต้องทวงหนี้เป็นเรื่องปกติ
วันนี้ (9 ก.ค.) ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 11.30 น. ตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 40 คน นำโดย นายเพียร ยงหนู ประธานสหภาพฯ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนาย วิทยา บุรณศิริ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 53 รัฐสภา ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้านเพื่อขอให้ตรวจสอบสอบงบประมาณรายจ่ายในส่วนของราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีหนี้ค่าไฟฟ้าค้างชำระ
โดย นายเพียรกล่าวว่า จากที่สหภาพเคยประกาศให้หน่วยราชการต่างๆ มาชำระหนี้ค่าไฟ บัดนี้ครบ 7 วันแล้ว หากวันพรุ่งนี้ (10 ก.ค.) ยังไม่มีการมาติดต่อขอเจรจาหรือยังคงเพิกเฉยสหภาพฯ ก็จะประกาศวันที่จะทำการตัดกระแสไฟฟ้าที่ชัดเจนให้ทราบล่วงหน้า เพราะต้องการใช้มาตรฐานเดียวกับการชำระค่าไฟฟ้าของประชาชนทั่วประเทศที่ติดหนี้เพียง 50 สตางค์ก็ต้องถูกตัดไฟ
ผู้สื่อข่าวถามว่าไม่เกรงว่าประชาชนจะมองว่าเป็นการทำเพราะไม่พอใจที่รัฐบาลไม่อนุมัติขึ้นค่าครองชีพหรือไม่ นายเพียรกล่าวว่า ไม่เกี่ยวกันเลย ถึงพวกตนจะได้ค่าครองชีพก็ต้องทวงหนี้ในส่วนนี้อยู่ดี เพราะเป็นประโยชน์ของสหภาพฯ ที่จะต้องเร่งรัดเงินในส่วนนี้
นายเพียรกล่าวด้วยว่า จากการตรวจสอบการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ณ วันที่ 31 พ.ค.52 มีหนี้ค่าไฟฟ้าค้างชำระสะสมจำนวน 1,102.99 ล้านบาท เปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 52 จำนวน 1,102.86 ล้านบาท ลดลงเพียง 79.87 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.24 จำแนกเป็นหนี้ค้างของส่วนราชการจำนวน 902.99 ล้านบาท และหนี้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 120 ล้านบาท โดยหน่วยราชการอ้างว่าที่ชำระหนี้ไม่ได้เพราะงบประมาณถูกปรับลดลง
ขณะที่ นายวิทยากล่าวหลังรับหนังสือว่า ตนจะติดตามทุกองค์กรเพื่อให้รับผิดชอบ และจะนำไปซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการงบประมาณด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับรายงานหนี้ค่าไฟฟ้าสะสมของหน่วยงานต่างๆ ณ วันที่ 31 พ.ค.52 พบว่าอันดับ 1 คือ กระทรวงกลาโหม จำนวน 203,547,400.59 บาท อันดับ 2 หน่วยงานที่ไม่สังกัดสำนักนายกฯ กระทรวง ทบวง กรม จำนวน 176,380.454 บาท อันดับ 3 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร จำนวน 157,736,412.59 บาท อันดับ 4 ทบวงมหาวิทยาลัย จำนวน 120,176,756.69 บาท อันดับ 5 กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 66,155,666.10 บาท อันดับ 6 กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 48,237,342.33 บาท อันดับ 7 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 13,771,276.11 บาท อันดับ 8 องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอ จังหวัด จำนวน 12,154,991.01 บาท อันดับ 9 กระทรวงยุติธรรม จำนวน 9,927,135.93 บาท และอันดับ 10 กระทรวงมหาดไทยจำนวน 9,824,131.63 บาท
วันนี้ (9 ก.ค.) ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 11.30 น. ตัวแทนสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 40 คน นำโดย นายเพียร ยงหนู ประธานสหภาพฯ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อนาย วิทยา บุรณศิริ รองประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 53 รัฐสภา ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้านเพื่อขอให้ตรวจสอบสอบงบประมาณรายจ่ายในส่วนของราชการและรัฐวิสาหกิจที่มีหนี้ค่าไฟฟ้าค้างชำระ
โดย นายเพียรกล่าวว่า จากที่สหภาพเคยประกาศให้หน่วยราชการต่างๆ มาชำระหนี้ค่าไฟ บัดนี้ครบ 7 วันแล้ว หากวันพรุ่งนี้ (10 ก.ค.) ยังไม่มีการมาติดต่อขอเจรจาหรือยังคงเพิกเฉยสหภาพฯ ก็จะประกาศวันที่จะทำการตัดกระแสไฟฟ้าที่ชัดเจนให้ทราบล่วงหน้า เพราะต้องการใช้มาตรฐานเดียวกับการชำระค่าไฟฟ้าของประชาชนทั่วประเทศที่ติดหนี้เพียง 50 สตางค์ก็ต้องถูกตัดไฟ
ผู้สื่อข่าวถามว่าไม่เกรงว่าประชาชนจะมองว่าเป็นการทำเพราะไม่พอใจที่รัฐบาลไม่อนุมัติขึ้นค่าครองชีพหรือไม่ นายเพียรกล่าวว่า ไม่เกี่ยวกันเลย ถึงพวกตนจะได้ค่าครองชีพก็ต้องทวงหนี้ในส่วนนี้อยู่ดี เพราะเป็นประโยชน์ของสหภาพฯ ที่จะต้องเร่งรัดเงินในส่วนนี้
นายเพียรกล่าวด้วยว่า จากการตรวจสอบการชำระหนี้ค่าไฟฟ้าของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ณ วันที่ 31 พ.ค.52 มีหนี้ค่าไฟฟ้าค้างชำระสะสมจำนวน 1,102.99 ล้านบาท เปรียบเทียบกับเดือนเมษายน 52 จำนวน 1,102.86 ล้านบาท ลดลงเพียง 79.87 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.24 จำแนกเป็นหนี้ค้างของส่วนราชการจำนวน 902.99 ล้านบาท และหนี้ของรัฐวิสาหกิจจำนวน 120 ล้านบาท โดยหน่วยราชการอ้างว่าที่ชำระหนี้ไม่ได้เพราะงบประมาณถูกปรับลดลง
ขณะที่ นายวิทยากล่าวหลังรับหนังสือว่า ตนจะติดตามทุกองค์กรเพื่อให้รับผิดชอบ และจะนำไปซักถามในที่ประชุมคณะกรรมาธิการงบประมาณด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับรายงานหนี้ค่าไฟฟ้าสะสมของหน่วยงานต่างๆ ณ วันที่ 31 พ.ค.52 พบว่าอันดับ 1 คือ กระทรวงกลาโหม จำนวน 203,547,400.59 บาท อันดับ 2 หน่วยงานที่ไม่สังกัดสำนักนายกฯ กระทรวง ทบวง กรม จำนวน 176,380.454 บาท อันดับ 3 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร จำนวน 157,736,412.59 บาท อันดับ 4 ทบวงมหาวิทยาลัย จำนวน 120,176,756.69 บาท อันดับ 5 กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 66,155,666.10 บาท อันดับ 6 กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 48,237,342.33 บาท อันดับ 7 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 13,771,276.11 บาท อันดับ 8 องค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอ จังหวัด จำนวน 12,154,991.01 บาท อันดับ 9 กระทรวงยุติธรรม จำนวน 9,927,135.93 บาท และอันดับ 10 กระทรวงมหาดไทยจำนวน 9,824,131.63 บาท