เหยื่อน้ำท่วมท้ายเขื่อนศรีนครินทร์ คือ ผลพวงการจัดการด้านพลังงานไฟฟ้าที่ไม่เอาไหน
ขณะที่ความมั่นคงของพลังงานดูจะเกิดปัญหาขึ้นแล้ว
น่าผิดหวังพอสมควรที่ ครม.เมื่อวันอังคารที่แล้วพิจารณาเรื่องนี้แค่พอผ่าน ไม่ได้ให้น้ำหนักจริงจัง ไม่ได้สนใจอะไรไปมากกว่ารายงานของความเสียหายทางตัวเลขที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะรับผิดชอบต่อเหยื่อ
ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเมื่อวานนี้ (24 ส.ค.) ก็ละเลยไม่ใส่ใจกับสัญญาณเตือนภัยของอาการป่วยไข้ในระบบพลังงานเลยแม้แต่น้อย
เอกชนคนในวงการพลังงานกลับรู้ซึ้งปัญหานี้มากกว่า พยายามผลักดันพูดคุยผ่าน กฟผ.ให้ไปกระตุ้นต่อมวิสัยทัศน์ของฝ่ายนโยบายที่เหนือขึ้นไปให้ลดสัดส่วนการใช้ก๊าชเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สูงเกินไปลงบ้างได้หรือไม่
ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันโรงไฟฟ้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงภาคครัวเรือน ธุรกิจ อุตสาหกรรมน้อยใหญ่ในประเทศนี้ใช้ก๊าชเป็นเชื้อเพลิง 75%
สิ่งที่เกิดขึ้นกับแหล่งก๊าซทั้งอ่าวไทยและพม่าถี่ๆ โดยได้รับคำอธิบายว่า เป็นเหตุสุดวิสัยบ้าง เป็นอุบัติเหตุบ้าง ส่งผลให้ กฟผ.ต้องเร่งเปิดประตูน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าเท่าที่จะทำได้
คำถามก็คือว่า วันหนึ่งข้างหน้าหากก๊าซมีปัญหา ขณะที่โรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกอื่นๆ ยังไม่เกิด หรือที่มีอยู่เดิมมีการผลิตที่ไม่เพียงพอ เราจะทำกันอย่างไร?
คำว่า “ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง” ก็น่าจะเป็นคำที่เราคนไทยจะได้ยินจนชินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
กล่าวเฉพาะการจัดหาแหล่งก๊าซเข้ามาสู่กระบวนการผลิตไฟฟ้า ปตท.กอบโกยผลกำไรในแต่ละปีอย่างเอิกเกริก สัดส่วนรายได้หลายปีผ่านมาเป็นตัวบ่งชี้ว่า ปตท.ไม่เพียงแต่โกยกำไรด้านการค้าน้ำมันเท่านั้น
ล่าสุดงวดไตรมาส 2 แค่ไตรมาสเดียว ปตท.มีรายได้จากการขายก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น 1,751 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 2.3% จาก 76,897 ล้านบาทในไตรมาส 2 ของปีก่อนหน้าเป็น 78,648 ล้านบาท โดยมีกำไรเบื้องต้นอยู่ที่ 7,044 ล้านบาท!
ทำไม ปตท.จึงพอใจ ทำไมรัฐบาลนิ่งเฉยให้ขุดก๊าซในอ่าวไทย และรับซื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ควบคู่กันไป เพราะหากโรงไฟฟ้าไทยใช้ก๊าซไปเรื่อยๆมากๆ กำไรจากการค้าก๊าซก็ยิ่งสูงหรือไม่ ผมไม่กล้าคิด
ประมาณการกันว่า หากโรงไฟฟ้าในระบบของไทยที่ใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้า 75% นี้ใช้กันเพื่อทำกำไรสูงสุดแบบนี้ไปอย่างไม่บันยะบันยัง ความมั่นคงของพลังงานก๊าชในอ่าวไทยก็จะถูกสูบจนไม่เหลือหรอภายในไม่เกิน 1 ชั่วอายุของโรงไฟฟ้าโรงหนึ่ง หรือ 30-40 ปีข้างหน้า
ใจคอ ปตท.-กฟผ.หรือกระทั่งรัฐบาลจะขุดก๊าซมาใช้จนหมดเลยหรือ?
เมื่อวันนั้นมาถึง คนไทยรุ่นลูกรุ่นหลานคงทราบแต่ในตำราว่า ครั้งหนึ่งประเทศไทยเคยโชติช่วงชัชวาลย์มีก๊าซในอ่าวไทยมหาศาล แต่ก็ถูกนำมาใช้หมดไปอย่างสิ้นเปลืองภายในเวลาอันสั้น
แค่เรามีก๊าชเอง ค่าก๊าชที่ใช้ทางตรงกับครัวเรือน รถยนต์ หรือทางอ้อมที่จ่ายค่าไฟฟ้าพลังก๊าซที่ต้นทุนสูงจาก ปตท.ยังเท่านี้ หากเราต้องนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศมาใช้ ผมจินตนาการไม่ออกเหมือนกันว่า ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับก๊าซที่ใช้ๆ กันจะแพงลิบลิ่วเพียงใด
ก่อนที่จะป่วยหนัก ทิศทางของการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานจากนี้ไปผมคิดว่าจะต้องทบทวนโดยด่วน
ถ้าไม่เร่งแก้ มองจากภาพรวม ณ ปัจจุบัน ก็จะเห็นแนวโน้มอีกไม่กี่ปีข้างหน้าว่า คนไทยจะได้รับผลกระทบจากความไม่เอาไหนด้านพลังงานของรัฐอย่างสาหัส
ปัญหาน้ำมันแพงในสองสามปีที่ผ่านมา เป็นเพียงปลายของภูเขาน้ำแข็ง ส่วนหนึ่งเท่านั้น
เนื่องเพราะสิ่งที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ต้องยอมรับว่า สงครามแย่งชิงพลังงานได้เกิดขึ้นแล้วและจะทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อสัปดาห์ก่อนประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่อย่างจีนตกลงทำสัญญาซื้อขายก๊าซครั้งประวัติศาสตร์กับออสเตรเลีย
ข้อตกลงที่จีนโดยปิโตรไชน่าทำกับออสเตรเลียที่จะส่งก๊าซเหลว (LNG) ให้จีนในระยะเวลา 20 ปีมีมูลค่าถึง 41,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มากที่สุดเท่าที่ออสเตรเลียเคยขายมา
ก่อนหน้านี้จีนไม่กี่สัปดาห์ ออสเตรเลียก็เพิ่งขายก๊าซให้กับอินเดียในมูลค่าราว 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากซื้อก๊าซแล้ว จีนในยุคนี้ถือเป็นเศรษฐีเงินถุงเงินถังที่เที่ยวหอบเงินออกนอกประเทศไปกว้านซื้อพลังงานมาสู่ประเทศด้วยการไล่ซื้อหุ้นบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ทั้งหลายทั่วโลก
เหตุผลก็คือ ความมั่นคงด้านพลังงานที่รัฐบาลจีนพยายามจะทำให้สอดคล้องกับความต้องการยามที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา ก็คิดคล้ายๆ กัน ประเทศมหาอำนาจเหล่านี้ล้วนใช้ยุทธศาสตร์เสาะหา ทั้งการซื้อ และการไล่ซื้อกิจการบริษัทด้านพลังงานประเทศอื่นๆเพื่อรักษาสมดุลของพลังงานในประเทศและเก็บรักษาพลังงานของตนก่อนจะถูกผลาญกันจนหมด
สงครามพลังงานมาพร้อมกับผลประโยชน์อู้ฟู่ แนวโน้มนี้มีการทำนายกันไว้หลายปีก่อนไม่เช่นนั้นคงไม่ทำให้คนขายชาติในรัฐบาลทักษิณพยายามต่อรองกับเขมรเข้าไปตักตวงผลประโยชน์เพื่อความร่ำรวยส่วนตนและพวกพ้องในพื้นที่ซับซ้อนทางทะเลที่มีขุมทรัพย์ที่มีก๊าซใต้ทะเล แม้จะแลกด้วยการเสียดินแดน-อธิปไตยก็ยอม
เพื่อคำว่า “กำไร” และ “ประโยชน์ของผู้ถือหุ้น” ปตท.ไม่ผิดหรอกที่เข้าหาพม่า และดูดก๊าซจากแหล่งก๊าซในพม่ามาใช้ แต่ปัญหาก็คือ แทนที่ส่วนรวมจะได้ การใช้ก๊าซภายในประเทศจะลดสัดส่วนลง และเสริมสร้างความมั่นคงให้กับพลังงานทั้งระบบได้ กลายกลับเป็นว่า หยิบยืมจมูกคนอื่นหายใจ
เวลาพม่ามีปัญหา เราก็แทบจะหายใจไม่ทั่วท้องอย่างที่เห็นและเป็นอยู่!
ผมคิดว่า ปตท.เองก็รู้ว่า ธุรกิจก๊าซแม้จะสร้างความมั่งคั่งให้กับบริษัท แต่ก็จะไม่ยั่งยืนเพราะไม่นานก็จะหมดไป แผนการลงทุนของ ปตท.อีก 4-5 ปีข้างหน้า จึงเบนเป้าหมายกลับไปหาธุรกิจถ่านหิน
ปตท.เชื่อว่า ธุรกิจถ่านหินจะทำให้อนาคตของ ปตท.เข้มแข็งเพราะราคาถ่านหินไม่หวือหวาเหมือนก๊าซและน้ำมัน ขณะที่ถ่านหินยังเหลือไว้ใช้ได้ถึง 110 ปี แต่น้ำมัน และก๊าซเหลือเวลาอีกไม่มาก ซึ่งถึงเวลานั้นทั่วโลกจะหันกลับมาให้ความสำคัญกับถ่านหินเป็นพลังงานทางเลือกหลักอีกครั้ง
ปตท.วันนี้ พิสูจน์ชัดเจนว่า คือ องค์กรธุรกิจเต็มตัวที่เตรียมทางหนีทีไล่ให้ตัวเองและผู้ถือหุ้นไว้แล้ว แต่สำหรับประชาชนผมไม่ทราบว่า มีใครนึกถึงเตรียมทางเลือกไว้ให้บ้างหรือไม่.
ขณะที่ความมั่นคงของพลังงานดูจะเกิดปัญหาขึ้นแล้ว
น่าผิดหวังพอสมควรที่ ครม.เมื่อวันอังคารที่แล้วพิจารณาเรื่องนี้แค่พอผ่าน ไม่ได้ให้น้ำหนักจริงจัง ไม่ได้สนใจอะไรไปมากกว่ารายงานของความเสียหายทางตัวเลขที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะรับผิดชอบต่อเหยื่อ
ส่วนการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติที่นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเมื่อวานนี้ (24 ส.ค.) ก็ละเลยไม่ใส่ใจกับสัญญาณเตือนภัยของอาการป่วยไข้ในระบบพลังงานเลยแม้แต่น้อย
เอกชนคนในวงการพลังงานกลับรู้ซึ้งปัญหานี้มากกว่า พยายามผลักดันพูดคุยผ่าน กฟผ.ให้ไปกระตุ้นต่อมวิสัยทัศน์ของฝ่ายนโยบายที่เหนือขึ้นไปให้ลดสัดส่วนการใช้ก๊าชเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สูงเกินไปลงบ้างได้หรือไม่
ทั้งนี้ เพราะปัจจุบันโรงไฟฟ้าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงภาคครัวเรือน ธุรกิจ อุตสาหกรรมน้อยใหญ่ในประเทศนี้ใช้ก๊าชเป็นเชื้อเพลิง 75%
สิ่งที่เกิดขึ้นกับแหล่งก๊าซทั้งอ่าวไทยและพม่าถี่ๆ โดยได้รับคำอธิบายว่า เป็นเหตุสุดวิสัยบ้าง เป็นอุบัติเหตุบ้าง ส่งผลให้ กฟผ.ต้องเร่งเปิดประตูน้ำผลิตกระแสไฟฟ้าเท่าที่จะทำได้
คำถามก็คือว่า วันหนึ่งข้างหน้าหากก๊าซมีปัญหา ขณะที่โรงไฟฟ้าพลังงานทางเลือกอื่นๆ ยังไม่เกิด หรือที่มีอยู่เดิมมีการผลิตที่ไม่เพียงพอ เราจะทำกันอย่างไร?
คำว่า “ไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง” ก็น่าจะเป็นคำที่เราคนไทยจะได้ยินจนชินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
กล่าวเฉพาะการจัดหาแหล่งก๊าซเข้ามาสู่กระบวนการผลิตไฟฟ้า ปตท.กอบโกยผลกำไรในแต่ละปีอย่างเอิกเกริก สัดส่วนรายได้หลายปีผ่านมาเป็นตัวบ่งชี้ว่า ปตท.ไม่เพียงแต่โกยกำไรด้านการค้าน้ำมันเท่านั้น
ล่าสุดงวดไตรมาส 2 แค่ไตรมาสเดียว ปตท.มีรายได้จากการขายก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น 1,751 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 2.3% จาก 76,897 ล้านบาทในไตรมาส 2 ของปีก่อนหน้าเป็น 78,648 ล้านบาท โดยมีกำไรเบื้องต้นอยู่ที่ 7,044 ล้านบาท!
ทำไม ปตท.จึงพอใจ ทำไมรัฐบาลนิ่งเฉยให้ขุดก๊าซในอ่าวไทย และรับซื้อจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ควบคู่กันไป เพราะหากโรงไฟฟ้าไทยใช้ก๊าซไปเรื่อยๆมากๆ กำไรจากการค้าก๊าซก็ยิ่งสูงหรือไม่ ผมไม่กล้าคิด
ประมาณการกันว่า หากโรงไฟฟ้าในระบบของไทยที่ใช้ก๊าซผลิตไฟฟ้า 75% นี้ใช้กันเพื่อทำกำไรสูงสุดแบบนี้ไปอย่างไม่บันยะบันยัง ความมั่นคงของพลังงานก๊าชในอ่าวไทยก็จะถูกสูบจนไม่เหลือหรอภายในไม่เกิน 1 ชั่วอายุของโรงไฟฟ้าโรงหนึ่ง หรือ 30-40 ปีข้างหน้า
ใจคอ ปตท.-กฟผ.หรือกระทั่งรัฐบาลจะขุดก๊าซมาใช้จนหมดเลยหรือ?
เมื่อวันนั้นมาถึง คนไทยรุ่นลูกรุ่นหลานคงทราบแต่ในตำราว่า ครั้งหนึ่งประเทศไทยเคยโชติช่วงชัชวาลย์มีก๊าซในอ่าวไทยมหาศาล แต่ก็ถูกนำมาใช้หมดไปอย่างสิ้นเปลืองภายในเวลาอันสั้น
แค่เรามีก๊าชเอง ค่าก๊าชที่ใช้ทางตรงกับครัวเรือน รถยนต์ หรือทางอ้อมที่จ่ายค่าไฟฟ้าพลังก๊าซที่ต้นทุนสูงจาก ปตท.ยังเท่านี้ หากเราต้องนำเข้าก๊าซจากต่างประเทศมาใช้ ผมจินตนาการไม่ออกเหมือนกันว่า ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายให้กับก๊าซที่ใช้ๆ กันจะแพงลิบลิ่วเพียงใด
ก่อนที่จะป่วยหนัก ทิศทางของการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานจากนี้ไปผมคิดว่าจะต้องทบทวนโดยด่วน
ถ้าไม่เร่งแก้ มองจากภาพรวม ณ ปัจจุบัน ก็จะเห็นแนวโน้มอีกไม่กี่ปีข้างหน้าว่า คนไทยจะได้รับผลกระทบจากความไม่เอาไหนด้านพลังงานของรัฐอย่างสาหัส
ปัญหาน้ำมันแพงในสองสามปีที่ผ่านมา เป็นเพียงปลายของภูเขาน้ำแข็ง ส่วนหนึ่งเท่านั้น
เนื่องเพราะสิ่งที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ต้องยอมรับว่า สงครามแย่งชิงพลังงานได้เกิดขึ้นแล้วและจะทวีคูณขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อสัปดาห์ก่อนประเทศมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่อย่างจีนตกลงทำสัญญาซื้อขายก๊าซครั้งประวัติศาสตร์กับออสเตรเลีย
ข้อตกลงที่จีนโดยปิโตรไชน่าทำกับออสเตรเลียที่จะส่งก๊าซเหลว (LNG) ให้จีนในระยะเวลา 20 ปีมีมูลค่าถึง 41,000 ล้านเหรียญสหรัฐ มากที่สุดเท่าที่ออสเตรเลียเคยขายมา
ก่อนหน้านี้จีนไม่กี่สัปดาห์ ออสเตรเลียก็เพิ่งขายก๊าซให้กับอินเดียในมูลค่าราว 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากซื้อก๊าซแล้ว จีนในยุคนี้ถือเป็นเศรษฐีเงินถุงเงินถังที่เที่ยวหอบเงินออกนอกประเทศไปกว้านซื้อพลังงานมาสู่ประเทศด้วยการไล่ซื้อหุ้นบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่ทั้งหลายทั่วโลก
เหตุผลก็คือ ความมั่นคงด้านพลังงานที่รัฐบาลจีนพยายามจะทำให้สอดคล้องกับความต้องการยามที่เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
ประเทศอื่นๆ เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา ก็คิดคล้ายๆ กัน ประเทศมหาอำนาจเหล่านี้ล้วนใช้ยุทธศาสตร์เสาะหา ทั้งการซื้อ และการไล่ซื้อกิจการบริษัทด้านพลังงานประเทศอื่นๆเพื่อรักษาสมดุลของพลังงานในประเทศและเก็บรักษาพลังงานของตนก่อนจะถูกผลาญกันจนหมด
สงครามพลังงานมาพร้อมกับผลประโยชน์อู้ฟู่ แนวโน้มนี้มีการทำนายกันไว้หลายปีก่อนไม่เช่นนั้นคงไม่ทำให้คนขายชาติในรัฐบาลทักษิณพยายามต่อรองกับเขมรเข้าไปตักตวงผลประโยชน์เพื่อความร่ำรวยส่วนตนและพวกพ้องในพื้นที่ซับซ้อนทางทะเลที่มีขุมทรัพย์ที่มีก๊าซใต้ทะเล แม้จะแลกด้วยการเสียดินแดน-อธิปไตยก็ยอม
เพื่อคำว่า “กำไร” และ “ประโยชน์ของผู้ถือหุ้น” ปตท.ไม่ผิดหรอกที่เข้าหาพม่า และดูดก๊าซจากแหล่งก๊าซในพม่ามาใช้ แต่ปัญหาก็คือ แทนที่ส่วนรวมจะได้ การใช้ก๊าซภายในประเทศจะลดสัดส่วนลง และเสริมสร้างความมั่นคงให้กับพลังงานทั้งระบบได้ กลายกลับเป็นว่า หยิบยืมจมูกคนอื่นหายใจ
เวลาพม่ามีปัญหา เราก็แทบจะหายใจไม่ทั่วท้องอย่างที่เห็นและเป็นอยู่!
ผมคิดว่า ปตท.เองก็รู้ว่า ธุรกิจก๊าซแม้จะสร้างความมั่งคั่งให้กับบริษัท แต่ก็จะไม่ยั่งยืนเพราะไม่นานก็จะหมดไป แผนการลงทุนของ ปตท.อีก 4-5 ปีข้างหน้า จึงเบนเป้าหมายกลับไปหาธุรกิจถ่านหิน
ปตท.เชื่อว่า ธุรกิจถ่านหินจะทำให้อนาคตของ ปตท.เข้มแข็งเพราะราคาถ่านหินไม่หวือหวาเหมือนก๊าซและน้ำมัน ขณะที่ถ่านหินยังเหลือไว้ใช้ได้ถึง 110 ปี แต่น้ำมัน และก๊าซเหลือเวลาอีกไม่มาก ซึ่งถึงเวลานั้นทั่วโลกจะหันกลับมาให้ความสำคัญกับถ่านหินเป็นพลังงานทางเลือกหลักอีกครั้ง
ปตท.วันนี้ พิสูจน์ชัดเจนว่า คือ องค์กรธุรกิจเต็มตัวที่เตรียมทางหนีทีไล่ให้ตัวเองและผู้ถือหุ้นไว้แล้ว แต่สำหรับประชาชนผมไม่ทราบว่า มีใครนึกถึงเตรียมทางเลือกไว้ให้บ้างหรือไม่.