ฟอร์จูน - งานวิจัยชิ้นใหม่แนะการคิดบวกเป็นเกราะแข็งแกร่งที่สุดจากความเหนื่อยล้าหรือปัญหาในการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้คุณผ่านพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจอย่างราบรื่น
ชอว์น แอกเคอร์ ประธานบริษัทที่ปรึกษาแอสไพแรนต์ ที่มีลูกค้าอย่างไมโครซอฟท์, อเมริกัน เอกซ์เพรส และยูบีเอส ฯลฯ มาขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีรักษาสภาพจิตใจและประสิทธิภาพการทำงานในโมงยามแห่งความยากลำบากนี้ บอกว่าคนส่วนใหญ่คิดผิดว่าความสำเร็จนำทางสู่ความสุข ทั้งที่จริงๆ แล้วการมองโลกแง่บวกต่างหากที่ทำให้เรามีความยืดหยุ่น มีพลังและความสามารถในการโน้มน้าวผู้อื่นมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยในการสร้างความสำเร็จ
แอกเคอร์ ผู้สอนวิชาจิตวิทยาที่ฮาร์วาร์ด ได้ทำวิจัยเรื่องจิตวิทยาเชิงบวกมา 5 ปี และพบประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิ เกณฑ์บ่งชี้ความสำเร็จสองอย่างที่สำคัญในอันดับต้น ๆ คือ เราคิดว่าตัวเองสามารถสร้างความแตกต่างได้หรือไม่ และสอง วิธีการจัดการกับความเครียด
และต่อไปนี้คือหกวิธีการในการฝึกสมองให้มองเห็นแต่เรื่องดีๆ
1 ฝึกคิดถึงเรื่องดีงาม: แอกเคอร์อ้างอิงงานศึกษาหลายฉบับที่แสดงให้เห็นว่าคนที่มี 'รายการสิ่งที่ต้องขอบคุณ' จะมีความสุขและประสบความสำเร็จมากกว่า
ขั้นตอนก็คือ ก่อนนอนทุกคืน ให้คิดถึงเรื่องดีๆ ที่ชวนอิ่มใจที่ได้เจอในวันนั้นสามเรื่อง และพูดออกมาดังๆ ข้อสำคัญอย่างน้อยหนึ่งในนั้นควรเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงาน วิธีนี้จะฝึกให้สมองตัดปัญหาประจำวันทิ้งไปและมองเห็นแต่แง่มุมดีงามของงาน
2 หาเรื่องสนุกๆ: งานวิจัยของแอกเคอร์พบว่า งานกับความสนุกสนานสามารถไปด้วยกันได้ เนื่องจากความสุขไม่ว่าจากการยิ้มกับเพื่อนร่วมงาน การดูคลิปขำๆ ในยูทูบ ทำให้สมองโปร่งและมีความคิดสร้างสรรค์
3 ตกแต่งพื้นที่ทำงาน: บรรยากาศรอบข้างล้วนมีผลต่อจิตใจ และเราสามารถควบคุมบรรยากาศแวดล้อมได้ด้วยตัวเอง อาจโดยการนำภาพประทับใจหรือสิ่งที่ทำให้คุณคิดบวกมาตั้งบนโต๊ะ วิธีนี้จะทำให้ทั้งสมองและอารมณ์ของคุณสดใสยิ่งขึ้น
4 เขียนบันทึก: ถ้าพบว่าตัวเองกังวลกับข่าวร้าย ข่าวลือ หรือข่าวชวนเครียด ใช้เวลาสามนาทีเขียนระบายความรู้สึกลงในกระดาษหรือพิมพ์ลงในคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือระวังคนอื่นมาอ่านเจอ
นักประสาทวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า การระบายความคิดแง่ลบออกมาเป็นคำพูดหรือตัวหนังสือจะช่วยบรรเทาความกังวลได้
5 ลงทุนกับคน: แอกเคอร์บอกว่าคนฉลาดกลับพลาดทำเรื่องโง่ๆ เวลาเครียด เช่น ปิดเครือข่ายสังคมเพื่อหันมาทุ่มเทให้งาน แต่จากการทำงานร่วมกับบริษัททั่วโลก ทำให้เขาพบว่าตัวบ่งชี้ความสำเร็จที่ชัดเจนที่สุดระหว่างช่วงเวลาที่มีปัญหาคือ คุณภาพและปริมาณของความสัมพันธ์
การวิจัยที่ใช้เวลานานนับสิบปีพบว่า การใกล้ชิดกับครอบครัวและเพื่อนช่วยส่งเสริมความสุขได้ดีที่สุด และอาจทำให้อายุยืนยาวขึ้น ซึ่งอาจเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการติดต่อกับเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัววันละคน
6 คิดว่างานเป็นแค่การวิ่งร้อยเมตร ไม่ใช่วิ่งมาราธอน: อย่างที่รู้กัน การนั่งทำงานนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อตึง สายตาอ่อนล้า และพลังงานหดหาย
แต่สิ่งที่หลายคนยังไม่รู้ก็คือ การนั่งทำงานต่อเนื่องสองชั่วโมง จะทำให้การทำงานของสมองเนือยลง ร่างกายเริ่มสะสมความเครียดและเมื่อยล้า
ดังนั้น ควรแบ่งเวลาการทำงานออกเป็นช่วงๆ ละ 90-120 นาทีและพัก 5 นาทีด้วยการออกไปเดินยืดเส้นยืดสายหน้าห้องทำงาน โทรหาเพื่อน ฟังเพลง หรือบิดขี้เกียจ หรือกินของกินเล่นที่มีโปรตีนสูง ซึ่งไม่ได้เพียงทำให้เหนื่อยล้าน้อยลง แต่ยังช่วยให้สมาธิและประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย
ชอว์น แอกเคอร์ ประธานบริษัทที่ปรึกษาแอสไพแรนต์ ที่มีลูกค้าอย่างไมโครซอฟท์, อเมริกัน เอกซ์เพรส และยูบีเอส ฯลฯ มาขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีรักษาสภาพจิตใจและประสิทธิภาพการทำงานในโมงยามแห่งความยากลำบากนี้ บอกว่าคนส่วนใหญ่คิดผิดว่าความสำเร็จนำทางสู่ความสุข ทั้งที่จริงๆ แล้วการมองโลกแง่บวกต่างหากที่ทำให้เรามีความยืดหยุ่น มีพลังและความสามารถในการโน้มน้าวผู้อื่นมากขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยในการสร้างความสำเร็จ
แอกเคอร์ ผู้สอนวิชาจิตวิทยาที่ฮาร์วาร์ด ได้ทำวิจัยเรื่องจิตวิทยาเชิงบวกมา 5 ปี และพบประเด็นที่น่าสนใจหลายอย่าง อาทิ เกณฑ์บ่งชี้ความสำเร็จสองอย่างที่สำคัญในอันดับต้น ๆ คือ เราคิดว่าตัวเองสามารถสร้างความแตกต่างได้หรือไม่ และสอง วิธีการจัดการกับความเครียด
และต่อไปนี้คือหกวิธีการในการฝึกสมองให้มองเห็นแต่เรื่องดีๆ
1 ฝึกคิดถึงเรื่องดีงาม: แอกเคอร์อ้างอิงงานศึกษาหลายฉบับที่แสดงให้เห็นว่าคนที่มี 'รายการสิ่งที่ต้องขอบคุณ' จะมีความสุขและประสบความสำเร็จมากกว่า
ขั้นตอนก็คือ ก่อนนอนทุกคืน ให้คิดถึงเรื่องดีๆ ที่ชวนอิ่มใจที่ได้เจอในวันนั้นสามเรื่อง และพูดออกมาดังๆ ข้อสำคัญอย่างน้อยหนึ่งในนั้นควรเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงาน วิธีนี้จะฝึกให้สมองตัดปัญหาประจำวันทิ้งไปและมองเห็นแต่แง่มุมดีงามของงาน
2 หาเรื่องสนุกๆ: งานวิจัยของแอกเคอร์พบว่า งานกับความสนุกสนานสามารถไปด้วยกันได้ เนื่องจากความสุขไม่ว่าจากการยิ้มกับเพื่อนร่วมงาน การดูคลิปขำๆ ในยูทูบ ทำให้สมองโปร่งและมีความคิดสร้างสรรค์
3 ตกแต่งพื้นที่ทำงาน: บรรยากาศรอบข้างล้วนมีผลต่อจิตใจ และเราสามารถควบคุมบรรยากาศแวดล้อมได้ด้วยตัวเอง อาจโดยการนำภาพประทับใจหรือสิ่งที่ทำให้คุณคิดบวกมาตั้งบนโต๊ะ วิธีนี้จะทำให้ทั้งสมองและอารมณ์ของคุณสดใสยิ่งขึ้น
4 เขียนบันทึก: ถ้าพบว่าตัวเองกังวลกับข่าวร้าย ข่าวลือ หรือข่าวชวนเครียด ใช้เวลาสามนาทีเขียนระบายความรู้สึกลงในกระดาษหรือพิมพ์ลงในคอมพิวเตอร์ สิ่งสำคัญคือระวังคนอื่นมาอ่านเจอ
นักประสาทวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า การระบายความคิดแง่ลบออกมาเป็นคำพูดหรือตัวหนังสือจะช่วยบรรเทาความกังวลได้
5 ลงทุนกับคน: แอกเคอร์บอกว่าคนฉลาดกลับพลาดทำเรื่องโง่ๆ เวลาเครียด เช่น ปิดเครือข่ายสังคมเพื่อหันมาทุ่มเทให้งาน แต่จากการทำงานร่วมกับบริษัททั่วโลก ทำให้เขาพบว่าตัวบ่งชี้ความสำเร็จที่ชัดเจนที่สุดระหว่างช่วงเวลาที่มีปัญหาคือ คุณภาพและปริมาณของความสัมพันธ์
การวิจัยที่ใช้เวลานานนับสิบปีพบว่า การใกล้ชิดกับครอบครัวและเพื่อนช่วยส่งเสริมความสุขได้ดีที่สุด และอาจทำให้อายุยืนยาวขึ้น ซึ่งอาจเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการติดต่อกับเพื่อนหรือสมาชิกครอบครัววันละคน
6 คิดว่างานเป็นแค่การวิ่งร้อยเมตร ไม่ใช่วิ่งมาราธอน: อย่างที่รู้กัน การนั่งทำงานนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อตึง สายตาอ่อนล้า และพลังงานหดหาย
แต่สิ่งที่หลายคนยังไม่รู้ก็คือ การนั่งทำงานต่อเนื่องสองชั่วโมง จะทำให้การทำงานของสมองเนือยลง ร่างกายเริ่มสะสมความเครียดและเมื่อยล้า
ดังนั้น ควรแบ่งเวลาการทำงานออกเป็นช่วงๆ ละ 90-120 นาทีและพัก 5 นาทีด้วยการออกไปเดินยืดเส้นยืดสายหน้าห้องทำงาน โทรหาเพื่อน ฟังเพลง หรือบิดขี้เกียจ หรือกินของกินเล่นที่มีโปรตีนสูง ซึ่งไม่ได้เพียงทำให้เหนื่อยล้าน้อยลง แต่ยังช่วยให้สมาธิและประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้นอีกด้วย