ภายหลัง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ หรือ ก.ต.ช.ถูกคณะกรรมการ ก.ต.ช.สุมหัวรุมกินโต๊ะ ด้วยการโหวตคว่ำมติไม่เอา พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ เป็น ผบ.ตร.คนใหม่ ตามที่นายกรัฐมนตรี เสนอ ส่งผลทำให้ การเลือก ผบ.ตร.คนใหม่ ยังไม่ได้ชื่อตามที่ นายกรัฐมนตรี คาดหวังไว้ก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าววงใน แจ้งว่าในที่ประชุม ก.ต.ช.ในวาระเลือก ผบ.ตร.นั้น นายกรัฐมนตรีได้เสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ(จตช.)เพียงคนเดียว ให้กับคณะกรรมการ ก.ต.ช.พิจารณา ขณะที่นายนพดล อินนา ผู้ทรงวุฒิด้านพัฒนาองค์กร ได้คัดค้านเนื่องจากเห็นว่าโดยหลักการแล้วไม่ควรเสนอชื่อคนที่จะเป็น ผบ.ตร.เพียงคนเดียว จากนั้นได้มีการเสนอให้มีการลงมติว่าจะรับหลักการในการเสนอชื่อคนที่จะเป็นผบ.ตร.เพียงคนเดียวหรือไม่
ทั้งนี้นายนภดลได้สอบถามว่าจะให้โหวตลับหรือไม่ลับ โดยที่นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้โหวตอย่างเปิดเผย ผลการโหวตออกมามีมติ 5 ต่อ 4 ไม่รับหลักการ โดยนายกรัฐมนตรีและนายนพดล งดออกเสียง นายกรัฐมนตรีจึงเสนอเลื่อนการประชุมออกไปก่อนโดยไม่มีกำหนด
ในขณะเดียวกันก็มีคณะกรรมการ ก.ต.ช.บางท่านท้วงติงว่าทำไมเสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป เพียงรายเดียว ทำให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.แสดงตัวตนที่แท้จริง ด้วยการเสนอชื่อ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รอง ผบ.ตร.หักหน้านายกฯโดยมีชื่อผู้รับรองครบตามจำนวน แต่นายกฯซึ่งตามกฎหมายจะเป็นเพียงผู้เดียวที่สามารถเสนอรายชื่อได้ ไม่เสนอชื่อ พล.ต.อ.จุมพล ในที่ประชุม ก.ต.ช. แล้วชิงปิดประชุม จึงไม่มีการโหวตชื่อ พล.ต.อ.จุมพล แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามมีรายงานแจ้งว่า ก่อนหน้าที่จะมีการเริ่มการประชุม นายอภิสิทธิ์ ทราบก่อนหน้านั้นแล้วว่าจะมีการคัดค้าน พล.ต.อ.ปทีป เนื่องจากก่อนหน้านี้มีความพยายามของฝ่ายที่สนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล ได้พยายามล็อบบี้ คณะกรรมการ ก.ต.ช. เพื่อให้ลงมติไม่เห็นชอบให้ พล.ต.อ.ปทีป เป็น ผบ.ตร. ทำให้คณะกรรมการ ก.ต.ช.บางคนถึงกับปิดโทรศัพท์มือถือ และเก็บตัวเงียบตลอดทั้งวัน
ซึ่งสอดรับกับข่าวลือที่แพร่สะพัด ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก่อนการประชุม ก.ต.ช.เมื่อคืนที่ผ่านมา นายเนวิน ชิดชอบ ผู้สนับสนุนคนสำคัญพรรคภูมิใจไทย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีการเคลื่อนไหวเพื่อทำการล็อบบี้คณะกรรมการ ก.ต.ช.ซึ่งมีทั้งหมด 11 คน รวมทั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธาน ก.ต.ช.เพื่อต้องการให้ ก.ต.ช.สนับสนุนให้ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รอง ผบ.ตร.ขึ้นเป็น ผบ.ตร.คนใหม่ โดยมีรายงานว่า การล็อบบี้ของกลุ่มนายเนวิน นายสุเทพสามารถล็อบบี้ ก.ต.ช.ได้แล้ว ประมาณ 7-8 คน
นอกจากนั้น มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของกลุ่มข้าราชการตำรวจ โดยส่วนใหญ่คาดการณ์กันว่าหากที่ประชุม ก.ต.ช.เปิดให้มีการโหวตเลือก ผบ.ตร.คนใหม่ โดยมีชื่อ พล.ต.อ.จุมพล รวมอยู่ด้วย ก็เชื่อได้ว่า พล.ต.อ.จุมพล น่าจะเป็นบุคคลที่มีโอกาสสูงที่จะชนะการโหวตให้รับการแต่งตั้งเป็น ผบ.ตร.
อย่างไรก็ตามในที่ประชุมได้มีการคาดว่า การประชุมครั้งหน้านายกรัฐมนตรี จะเสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป อีกครั้ง ซึ่งตามขั้นตอนของกฏหมายสามารถทำได้ โดยสามารถให้เหตุผลว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของ พล.ต.อ.ปทีป เพิ่มขึ้นมาอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าทันทีหลังการประชุมนายกรัฐมนตรีได้เรียกนายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเข้าพบ แต่ปรากฎว่าครั้งแรกนายสุรชัยไม่ได้เข้าพบ และนายกรัฐมนตรีได้เรียกกลับมาเข้าพบอีกครั้ง จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้หารือต่อกับนายนิพนธ์ นายพีระพันธุ์ และนายศิริโชค โดยใช้เวลาหารือกันนานเกือบ 3 ชั่วโมง
ส่วน ก.ต.ช.ที่ถือเป็นอุปสรรค ขัดขวางการเลือก ผบ.ตร.คนใหม่ คือ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ที่กล้าหักหน้านายกรัฐมนตรี โดยเสนอชื่อ พล.ต.อ.จุมพล และคัดค้าน พล.ต.อ.ปทีป ถือเป็นบุคคลที่อาจจะถูกกำจัดออกไปในการประชุม ก.ต.ช.ครั้งต่อไป โดยแหล่งข่าวคาดว่า การที่ นายกรัฐมนตรี หารือข้อกฎหมายกับผู้เกี่ยวข้อง หลังการประชุม ก.ต.ช.อาจจะเกี่ยวกับตัวของ พล.ต.อ.พัชวาท ด้วยการมีคำสั่งให้ไปปฎิบัติราชการที่ใดที่หนึ่ง และตั้งรักษาราชการแทน ผบ.ตร.หรือ หนทางสุดท้าย หากนายกรัฐมนตรี ไม่สามารถ แก้ปัญหานี้ได้ ก็อาจจะตัดสินใจ ปลด พล.ต.อ.พัชรวาท ก่อนวันเกษียณก็เป็นได้
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าววงใน แจ้งว่าในที่ประชุม ก.ต.ช.ในวาระเลือก ผบ.ตร.นั้น นายกรัฐมนตรีได้เสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ จเรตำรวจแห่งชาติ(จตช.)เพียงคนเดียว ให้กับคณะกรรมการ ก.ต.ช.พิจารณา ขณะที่นายนพดล อินนา ผู้ทรงวุฒิด้านพัฒนาองค์กร ได้คัดค้านเนื่องจากเห็นว่าโดยหลักการแล้วไม่ควรเสนอชื่อคนที่จะเป็น ผบ.ตร.เพียงคนเดียว จากนั้นได้มีการเสนอให้มีการลงมติว่าจะรับหลักการในการเสนอชื่อคนที่จะเป็นผบ.ตร.เพียงคนเดียวหรือไม่
ทั้งนี้นายนภดลได้สอบถามว่าจะให้โหวตลับหรือไม่ลับ โดยที่นายกรัฐมนตรีได้เสนอให้โหวตอย่างเปิดเผย ผลการโหวตออกมามีมติ 5 ต่อ 4 ไม่รับหลักการ โดยนายกรัฐมนตรีและนายนพดล งดออกเสียง นายกรัฐมนตรีจึงเสนอเลื่อนการประชุมออกไปก่อนโดยไม่มีกำหนด
ในขณะเดียวกันก็มีคณะกรรมการ ก.ต.ช.บางท่านท้วงติงว่าทำไมเสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป เพียงรายเดียว ทำให้ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.แสดงตัวตนที่แท้จริง ด้วยการเสนอชื่อ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รอง ผบ.ตร.หักหน้านายกฯโดยมีชื่อผู้รับรองครบตามจำนวน แต่นายกฯซึ่งตามกฎหมายจะเป็นเพียงผู้เดียวที่สามารถเสนอรายชื่อได้ ไม่เสนอชื่อ พล.ต.อ.จุมพล ในที่ประชุม ก.ต.ช. แล้วชิงปิดประชุม จึงไม่มีการโหวตชื่อ พล.ต.อ.จุมพล แต่อย่างใด
อย่างไรก็ตามมีรายงานแจ้งว่า ก่อนหน้าที่จะมีการเริ่มการประชุม นายอภิสิทธิ์ ทราบก่อนหน้านั้นแล้วว่าจะมีการคัดค้าน พล.ต.อ.ปทีป เนื่องจากก่อนหน้านี้มีความพยายามของฝ่ายที่สนับสนุน พล.ต.อ.จุมพล ได้พยายามล็อบบี้ คณะกรรมการ ก.ต.ช. เพื่อให้ลงมติไม่เห็นชอบให้ พล.ต.อ.ปทีป เป็น ผบ.ตร. ทำให้คณะกรรมการ ก.ต.ช.บางคนถึงกับปิดโทรศัพท์มือถือ และเก็บตัวเงียบตลอดทั้งวัน
ซึ่งสอดรับกับข่าวลือที่แพร่สะพัด ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก่อนการประชุม ก.ต.ช.เมื่อคืนที่ผ่านมา นายเนวิน ชิดชอบ ผู้สนับสนุนคนสำคัญพรรคภูมิใจไทย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง และนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้มีการเคลื่อนไหวเพื่อทำการล็อบบี้คณะกรรมการ ก.ต.ช.ซึ่งมีทั้งหมด 11 คน รวมทั้งนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นประธาน ก.ต.ช.เพื่อต้องการให้ ก.ต.ช.สนับสนุนให้ พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย รอง ผบ.ตร.ขึ้นเป็น ผบ.ตร.คนใหม่ โดยมีรายงานว่า การล็อบบี้ของกลุ่มนายเนวิน นายสุเทพสามารถล็อบบี้ ก.ต.ช.ได้แล้ว ประมาณ 7-8 คน
นอกจากนั้น มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ของกลุ่มข้าราชการตำรวจ โดยส่วนใหญ่คาดการณ์กันว่าหากที่ประชุม ก.ต.ช.เปิดให้มีการโหวตเลือก ผบ.ตร.คนใหม่ โดยมีชื่อ พล.ต.อ.จุมพล รวมอยู่ด้วย ก็เชื่อได้ว่า พล.ต.อ.จุมพล น่าจะเป็นบุคคลที่มีโอกาสสูงที่จะชนะการโหวตให้รับการแต่งตั้งเป็น ผบ.ตร.
อย่างไรก็ตามในที่ประชุมได้มีการคาดว่า การประชุมครั้งหน้านายกรัฐมนตรี จะเสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป อีกครั้ง ซึ่งตามขั้นตอนของกฏหมายสามารถทำได้ โดยสามารถให้เหตุผลว่ามีข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของ พล.ต.อ.ปทีป เพิ่มขึ้นมาอีก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าทันทีหลังการประชุมนายกรัฐมนตรีได้เรียกนายสุรชัย ภู่ประเสริฐ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีเข้าพบ แต่ปรากฎว่าครั้งแรกนายสุรชัยไม่ได้เข้าพบ และนายกรัฐมนตรีได้เรียกกลับมาเข้าพบอีกครั้ง จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้หารือต่อกับนายนิพนธ์ นายพีระพันธุ์ และนายศิริโชค โดยใช้เวลาหารือกันนานเกือบ 3 ชั่วโมง
ส่วน ก.ต.ช.ที่ถือเป็นอุปสรรค ขัดขวางการเลือก ผบ.ตร.คนใหม่ คือ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ที่กล้าหักหน้านายกรัฐมนตรี โดยเสนอชื่อ พล.ต.อ.จุมพล และคัดค้าน พล.ต.อ.ปทีป ถือเป็นบุคคลที่อาจจะถูกกำจัดออกไปในการประชุม ก.ต.ช.ครั้งต่อไป โดยแหล่งข่าวคาดว่า การที่ นายกรัฐมนตรี หารือข้อกฎหมายกับผู้เกี่ยวข้อง หลังการประชุม ก.ต.ช.อาจจะเกี่ยวกับตัวของ พล.ต.อ.พัชวาท ด้วยการมีคำสั่งให้ไปปฎิบัติราชการที่ใดที่หนึ่ง และตั้งรักษาราชการแทน ผบ.ตร.หรือ หนทางสุดท้าย หากนายกรัฐมนตรี ไม่สามารถ แก้ปัญหานี้ได้ ก็อาจจะตัดสินใจ ปลด พล.ต.อ.พัชรวาท ก่อนวันเกษียณก็เป็นได้