เอเอฟพี-โฟล์คสวาเกน ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของยุโรป บรรลุข้อตกลงเมื่อวันพฤหัสบดี (13) ที่ผ่านมา ในการควบรวมกิจการของบริษัทผลิตรถยนต์หรู ปอร์เช่ ให้เสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2011 แล้ว พร้อมกับยืนยันว่ามีเป้าจะแซง "โตโยต้า" เป็นค่ายรถยนต์ใหญ่ที่สุดของโลกภายในปี 2018
ศาสตราจารย์ ดร. มาร์ติน วินเทอร์คอร์น ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร(ซีอีโอ) วัย 62 ปีของโฟล์คสวาเกน เอจี ซึ่งเพิ่งได้รับการแต่งตั้งจากบอร์ดบริหารของบริษัท ให้ควบตำแหน่งซีอีโอของทั้งโฟล์คสวาเกนและปอร์เช่ภายหลังการบรรลุข้อตกลงรวมกิจการครั้งประวัติศาสตร์นี้ ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ที่นครแฟรงค์เฟิร์ตของเยอรมันเมื่อวันพฤหัสบดีโดยระบุว่า " รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ความพยายามตลอด 4 ปีที่ผ่านมาของโฟล์คสวาเกน ในการควบรวมกิจการของปอร์เช่ประสบความสำเร็จ และนับจากนี้ โฟล์คสวาเกนจะเดินหน้าต่อไปเพื่อขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์โลก"
นักวิเคราะห์ระบุว่าความสำเร็จในการควบรวมกิจการของปอร์เช่ครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของเฟอร์ดินานด์ พีช ผู้บริหารสูงสุดชาวออสเตรีย วัย 72 ปี ของโฟล์คสวาเกน ที่สื่อเยอรมันตั้งฉายาให้เป็น "พ่อใหญ่" และเป็นหลายชายแท้ๆ ของเฟอร์ดินานด์ ปอร์เช่ผู้ก่อตั้งบริษัทปอร์เช่อีกด้วย ขณะเดียวกันก็ถือเป็นความล้มเหลวของผู้บริหารปอร์เช่ ที่ก่อนหน้านี้พยายามจะเป็นฝ่ายเทคโอเวอร์กิจการของโฟล์คสวาเกนมาเป็นของตนตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2005
ภายใต้ข้อตกลงครั้งนี้ โฟล์คสวาเกนจะเข้ามาซื้อหุ้นร้อยละ 42 ของปอร์เช่ด้วยวงเงินมูลค่า 3,300 ล้านยูโร หรือประมาณ 160,000 ล้านบาทภายในช่วงสิ้นปีนี้ และโฟล์คสวาเกนจะทยอยเพิ่มทุนของตนในกิจการของปอร์เช่อย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2010 ก่อนที่เป้าหมายในการรวมกิจการของปอร์เช่จะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2011 ซึ่งจะทำให้ปอร์เช่กลายเป็นรถยนต์ " ยี่ห้อที่ 10 " ภายใต้สังกัดของโฟล์คสวาเกนต่อจาก ออดี, เบนท์ลีย์, บูกัตติ, ลัมบอร์กินี, เซียต, สโคดา, สแกนเนีย, รวมทั้ง รถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ภายใต้แบรนด์ของโฟล์คสวาเกนอีก 2 ยี่ห้อ
ข้อตกลงดังกล่าวยังมีผลทำให้ฮันส์ ดีเตอร์ โพตช์ ประธานฝ่ายการเงินของโฟล์คสวาเกนจะได้เข้าไปควบตำแหน่งเดียวกันในบริษัทปอร์เช่เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ดร. วินเทอร์คอร์น ซึ่งดำรงตำแหน่งซีอีโอของโฟล์คสวาเกนมาตั้งแต่ปี 2007 ยืนยันว่าปอร์เช่จะยังคงมีอิสระอย่างเต็มที่ในการผลิตรถยนต์ภายใต้ยี่ห้อของตนต่อไป หลังการรวมกิจการและข้อตกลงครั้งนี้จะช่วยให้ปอร์เช่มีโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างความเติบโตให้กับตัวเอง
ขณะเดียวกัน วินเทอร์คอร์น เปิดเผยว่าทางโฟล์คสวาเกน จะยังคงเดินหน้าเจรจากับบรรษัทเพื่อการลงทุนของรัฐบาลกาตาร์ ที่ก่อนหน้านี้เคยแสดงความจำนงที่ต้องการเข้ามาซื้อหุ้นร้อยละ 17 ของโฟล์คสวาเกนต่อไปเช่นกัน แม้ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลกาตาร์ในการเข้ามาร่วมลงทุนครั้งนี้อย่างชัดเจนก็ตาม
ซีอีโอของโฟล์คสวาเกนยังแสดงความมั่นใจว่า เป้าหมายของบริษัทที่ต้องการแซงหน้าโตโยต้า ผู้ผลิตรถยนต์ชื่อดังของญี่ปุ่น ขึ้นเป็นค่ายรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกภายในปี 2018จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน เนื่องจากขณะนี้ทางบริษัทมีคนงานทั่วโลกอยู่มากกว่า 400,000 คน และมีกำลังการผลิตรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ ออกสู่ตลาดโลกได้มากถึงปีละ 6.4 ล้านคัน ขณะที่ผลประกอบการของบริษัทในไตรมาส 2 ปีนี้ก็ยังได้กำไรถึง 398 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 13,583.62 ล้านบาทท่ามกลางภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ค่ายรถยนต์อื่นๆ ต่างประสบภาวะขาดทุนโดยถ้วนหน้า
ศาสตราจารย์ ดร. มาร์ติน วินเทอร์คอร์น ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร(ซีอีโอ) วัย 62 ปีของโฟล์คสวาเกน เอจี ซึ่งเพิ่งได้รับการแต่งตั้งจากบอร์ดบริหารของบริษัท ให้ควบตำแหน่งซีอีโอของทั้งโฟล์คสวาเกนและปอร์เช่ภายหลังการบรรลุข้อตกลงรวมกิจการครั้งประวัติศาสตร์นี้ ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ที่นครแฟรงค์เฟิร์ตของเยอรมันเมื่อวันพฤหัสบดีโดยระบุว่า " รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ความพยายามตลอด 4 ปีที่ผ่านมาของโฟล์คสวาเกน ในการควบรวมกิจการของปอร์เช่ประสบความสำเร็จ และนับจากนี้ โฟล์คสวาเกนจะเดินหน้าต่อไปเพื่อขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในอุตสาหกรรมยานยนต์โลก"
นักวิเคราะห์ระบุว่าความสำเร็จในการควบรวมกิจการของปอร์เช่ครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะครั้งสำคัญของเฟอร์ดินานด์ พีช ผู้บริหารสูงสุดชาวออสเตรีย วัย 72 ปี ของโฟล์คสวาเกน ที่สื่อเยอรมันตั้งฉายาให้เป็น "พ่อใหญ่" และเป็นหลายชายแท้ๆ ของเฟอร์ดินานด์ ปอร์เช่ผู้ก่อตั้งบริษัทปอร์เช่อีกด้วย ขณะเดียวกันก็ถือเป็นความล้มเหลวของผู้บริหารปอร์เช่ ที่ก่อนหน้านี้พยายามจะเป็นฝ่ายเทคโอเวอร์กิจการของโฟล์คสวาเกนมาเป็นของตนตั้งแต่เดือนกันยายนปี 2005
ภายใต้ข้อตกลงครั้งนี้ โฟล์คสวาเกนจะเข้ามาซื้อหุ้นร้อยละ 42 ของปอร์เช่ด้วยวงเงินมูลค่า 3,300 ล้านยูโร หรือประมาณ 160,000 ล้านบาทภายในช่วงสิ้นปีนี้ และโฟล์คสวาเกนจะทยอยเพิ่มทุนของตนในกิจการของปอร์เช่อย่างต่อเนื่องในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2010 ก่อนที่เป้าหมายในการรวมกิจการของปอร์เช่จะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2011 ซึ่งจะทำให้ปอร์เช่กลายเป็นรถยนต์ " ยี่ห้อที่ 10 " ภายใต้สังกัดของโฟล์คสวาเกนต่อจาก ออดี, เบนท์ลีย์, บูกัตติ, ลัมบอร์กินี, เซียต, สโคดา, สแกนเนีย, รวมทั้ง รถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ภายใต้แบรนด์ของโฟล์คสวาเกนอีก 2 ยี่ห้อ
ข้อตกลงดังกล่าวยังมีผลทำให้ฮันส์ ดีเตอร์ โพตช์ ประธานฝ่ายการเงินของโฟล์คสวาเกนจะได้เข้าไปควบตำแหน่งเดียวกันในบริษัทปอร์เช่เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม ดร. วินเทอร์คอร์น ซึ่งดำรงตำแหน่งซีอีโอของโฟล์คสวาเกนมาตั้งแต่ปี 2007 ยืนยันว่าปอร์เช่จะยังคงมีอิสระอย่างเต็มที่ในการผลิตรถยนต์ภายใต้ยี่ห้อของตนต่อไป หลังการรวมกิจการและข้อตกลงครั้งนี้จะช่วยให้ปอร์เช่มีโอกาสใหม่ๆ ในการสร้างความเติบโตให้กับตัวเอง
ขณะเดียวกัน วินเทอร์คอร์น เปิดเผยว่าทางโฟล์คสวาเกน จะยังคงเดินหน้าเจรจากับบรรษัทเพื่อการลงทุนของรัฐบาลกาตาร์ ที่ก่อนหน้านี้เคยแสดงความจำนงที่ต้องการเข้ามาซื้อหุ้นร้อยละ 17 ของโฟล์คสวาเกนต่อไปเช่นกัน แม้ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลกาตาร์ในการเข้ามาร่วมลงทุนครั้งนี้อย่างชัดเจนก็ตาม
ซีอีโอของโฟล์คสวาเกนยังแสดงความมั่นใจว่า เป้าหมายของบริษัทที่ต้องการแซงหน้าโตโยต้า ผู้ผลิตรถยนต์ชื่อดังของญี่ปุ่น ขึ้นเป็นค่ายรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกภายในปี 2018จะประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน เนื่องจากขณะนี้ทางบริษัทมีคนงานทั่วโลกอยู่มากกว่า 400,000 คน และมีกำลังการผลิตรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ ออกสู่ตลาดโลกได้มากถึงปีละ 6.4 ล้านคัน ขณะที่ผลประกอบการของบริษัทในไตรมาส 2 ปีนี้ก็ยังได้กำไรถึง 398 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 13,583.62 ล้านบาทท่ามกลางภาวะถดถอยของเศรษฐกิจโลกที่ทำให้ค่ายรถยนต์อื่นๆ ต่างประสบภาวะขาดทุนโดยถ้วนหน้า