การที่กลุ่มคน “เสื้อแดง” พยายามที่จะถวายฎีกาโดยกระทำเพื่อให้อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ได้พ้นจากความผิดในคดีต่างๆ ทั้งๆ ที่กลุ่มเสื้อแดงก็ทราบโดยนัยว่า นอกจากจะไม่บังควรและระคายเคืองต่อเบื้องพระยุคลบาทแล้ว
คนพวกนี้ก็หาได้สำนึกไม่
อีกทั้งตัวคุณทักษิณและบริวารใกล้ชิดก็เป็นที่รู้กันดีว่า มิได้เคยมีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใดทั้งสิ้น เคยกล่าวบิดเบือนให้ร้ายราชวงศ์ และมีคดีความ บริวารจำนวนหนึ่งต้องหนีออกนอกประเทศอย่างชนิดหัวซุกหัวซุน
ทำไมคนเสื้อแดงจึงเอาบุคคลที่ป้ายสีสถาบันมาถวายฎีกาเป็นสิ่งที่คนไทยต้องตั้งคำถาม
โจทย์มีอยู่ว่า การถวายฎีกาเป็นแค่เครื่องมืออย่างหนึ่งในการทำลายสถาบันหรือไม่ ในเมื่อพวกเขารู้ว่าอย่างไรเสียฎีกาก็จะไม่ผ่าน
เหตุผลง่ายๆ คือฎีกานั้น เจ้าตัวต้องการกระทำด้วยตนเอง ให้ทำแทนไม่ได้
และไม่ใช่เรื่องคนหมู่มาก แต่เป็นเรื่องเฉพาะตัวเท่านั้น
การนำคนหมู่มากเข้ามาเช่นนี้ เท่ากับเป็นการระดมข่มขู่สถาบันพระมหากษัตริย์ใช่หรือไม่?
ประการสุดท้าย ถ้าคนพวกนี้รู้ว่าฎีกาไม่ผ่านเขาหวังผลอะไร
ก็ต้องดูว่าเขาเกณฑ์คนหลายล้านให้รับรู้ว่าไม่มีความหวังต่อสถาบันใช่หรือไม่
อาชญากรเยี่ยงทักษิณ คนที่หนีคดี คนที่ทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนแบบนี้หรือสมควรได้รับการอภัยโทษ
ก็เพราะเหตุนี้แหละประชาชนและข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปัญญาชนและคนรากหญ้า เขาจึงต้องรวมตัวกัน
ค้านการถวายฎีกา
และใช้วิธีเกลือจิ้มเกลือ
คือมีลายเซ็นเสนอการค้านอย่างเป็นระบบ
ไม่กี่วันเท่านั้น มีคนร่วมลงชื่อแล้วเกือบ 4 ล้านคน
และคาดว่าไม่ถึงเดือน ก็จะมีคนประมาณ 10 ล้านคนเป็นอย่างต่ำ
ทุกวันนี้ ขบวนการรวมตัวลงไปถึงรากหญ้าในระดับรากหญ้า แม้แต่ในโรงงานต่างๆ ก็เช่นกัน
ทุกจังหวัดมีโต๊ะให้ประชาชนได้รับความสะดวกที่จะเดินทางมาร่วมลงชื่อเหมือนคนไทยที่รักในหลวงทั่วประเทศในทุกจังหวัด
นี่คือการเคลื่อนไหวที่มาจากใจของคนและทำเพื่อสถาบัน
ไม่ได้ทำเพื่อคนคนเดียว ที่เป็นอาชญากรหนีคดีอยู่ต่างประเทศ
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินได้ชี้แจงเรื่องที่มีการถวายฎีกาขออภัยโทษให้อดีตนายกฯ ทักษิณ โดยกล่าวว่า ข้าราชการคนใดที่ไม่เห็นด้วยสามารถลงชื่อคัดค้านได้เลย และจะเก็บรวมรายชื่อให้ได้ก่อนวันที่ 16 สิงหา ศกนี้
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อาจขัดต่อกฎหมายได้ ดังนั้นกระทรวงยุติธรรมก็น่าที่จะเข้ามาดูแลด้วย
เรื่องเกี่ยวกับการถวายฎีกาและการคัดค้านจากประชาชนก็มีเท่านี้แหละครับ
ผมเองเห็นว่าการไปกำหนดจะรวมชื่อแค่วันที่ 16 ส.ค. นั้นมันเร็วเกินไป เพราะยังมีประชาชนอีกมากที่ไม่ทราบว่าจะเดินทางไปลงชื่อที่ไหน โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ นี่แหละ
สำหรับรัฐบาลนั้น ผลงานก็ไม่ได้เข้าตาประชาชนเท่าไรนักโดยเฉพาะเศรษฐกิจ นี่ก็ว่าจะเอาใจข้าราชการ โดยเกิดจะมีการแจกโบนัสกันอีก ไม่รู้ว่าเป็นความคิดใคร
การแจกโบนัสนั้นถือว่าเป็นเงินรางวัลครับ
ธุรกิจเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ เขาทำกันให้เป็นขวัญกำลังใจโดยดูจากผลประกอบการ และเป็นการผลักดันให้เป็นการทำงานให้ดีขึ้น
ส่วนใหญ่บริษัทจะตั้งเป้าผลดำเนินการ
การที่ทำเกินเป้าหมาย และเงินโบนัสก็เกิดจากเงินที่ทำได้เกินเป้านี่แหละ
รัฐวิสาหกิจนำมาใช้ก็เนื่องจากมีการตั้งเป้าหมายเช่นกัน โดยตั้งยอดขายไว้ ซึ่งการตลาดมีส่วนสำคัญมากที่จะทำให้ยอดขายขยายตัว เพราะมีการส่งเสริมการตลาดที่ดี พวกฝ่ายขายก็ส่งเสริมการขาย เช่น การลดราคา และแจกแถมผลิตภัณฑ์เป็นแรงกระตุ้นให้คนมาซื้อสินค้าของตนแทนที่จะไปซื้อของคู่แข่ง
สำหรับข้าราชการนั้น ผมยังนึกไม่ออกว่าจะตั้งเป้าอะไรไว้ เพราะข้าราชการนั้นทำงานในระบบรูทีน (routine) หรืองานประจำซึ่งเป็นงานในระบบปกติ และก็ไม่ได้ทำแบบคนเดียวเสียที่ไหน มีคนทำส่งเป็นทอดๆ บางงานนั้นแค่อ่านแล้วเซ็นชื่อส่งต่อกันเท่านั้น
อย่างนี้ให้โบนัสไม่ได้หรอก
การที่ผลงานไม่เข้าตาประชาชน แทนที่จะหาโครงการดีๆ ทำ รัฐบาลนี่พิลึก
คิดว่าประชาสัมพันธ์ไม่ดีก็เลยจะเปลี่ยนโฆษกขึ้นมางั้นแหละ
เป็นการ “เกาไม่ถูกที่คันนะครับ”
เพราะถ้างานไม่ดีจริงๆ ต่อให้ประชาสัมพันธ์ปากเปียกปากแฉะอย่างไร มันช่วยไม่ได้
สิ่งที่รัฐบาลต้องทำก็คือ ต้องรู้จักตัวเอง เมื่อรู้จักตัวเอง ก็ต้องดูว่าผลงานที่ทำมานั้นมันมีผลได้ผลเสียอย่างไร และข้าราชการเขาร่วมมือด้วยดีหรือไม่
ของอย่างนี้มันไม่ต้องให้มีใครมาสอนหรอก
มันต้องรู้ๆ กันอยู่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ก็ตั้งมาเก่าแก่ และเคยบริหารประเทศมาแล้วก็หลายสมัยมีคนเก่งก็แยะ
แต่เก่ง ทำงานไม่เป็นก็แย่นะ
คนพวกนี้ก็หาได้สำนึกไม่
อีกทั้งตัวคุณทักษิณและบริวารใกล้ชิดก็เป็นที่รู้กันดีว่า มิได้เคยมีความซื่อสัตย์ จงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แต่อย่างใดทั้งสิ้น เคยกล่าวบิดเบือนให้ร้ายราชวงศ์ และมีคดีความ บริวารจำนวนหนึ่งต้องหนีออกนอกประเทศอย่างชนิดหัวซุกหัวซุน
ทำไมคนเสื้อแดงจึงเอาบุคคลที่ป้ายสีสถาบันมาถวายฎีกาเป็นสิ่งที่คนไทยต้องตั้งคำถาม
โจทย์มีอยู่ว่า การถวายฎีกาเป็นแค่เครื่องมืออย่างหนึ่งในการทำลายสถาบันหรือไม่ ในเมื่อพวกเขารู้ว่าอย่างไรเสียฎีกาก็จะไม่ผ่าน
เหตุผลง่ายๆ คือฎีกานั้น เจ้าตัวต้องการกระทำด้วยตนเอง ให้ทำแทนไม่ได้
และไม่ใช่เรื่องคนหมู่มาก แต่เป็นเรื่องเฉพาะตัวเท่านั้น
การนำคนหมู่มากเข้ามาเช่นนี้ เท่ากับเป็นการระดมข่มขู่สถาบันพระมหากษัตริย์ใช่หรือไม่?
ประการสุดท้าย ถ้าคนพวกนี้รู้ว่าฎีกาไม่ผ่านเขาหวังผลอะไร
ก็ต้องดูว่าเขาเกณฑ์คนหลายล้านให้รับรู้ว่าไม่มีความหวังต่อสถาบันใช่หรือไม่
อาชญากรเยี่ยงทักษิณ คนที่หนีคดี คนที่ทำให้บ้านเมืองปั่นป่วนแบบนี้หรือสมควรได้รับการอภัยโทษ
ก็เพราะเหตุนี้แหละประชาชนและข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปัญญาชนและคนรากหญ้า เขาจึงต้องรวมตัวกัน
ค้านการถวายฎีกา
และใช้วิธีเกลือจิ้มเกลือ
คือมีลายเซ็นเสนอการค้านอย่างเป็นระบบ
ไม่กี่วันเท่านั้น มีคนร่วมลงชื่อแล้วเกือบ 4 ล้านคน
และคาดว่าไม่ถึงเดือน ก็จะมีคนประมาณ 10 ล้านคนเป็นอย่างต่ำ
ทุกวันนี้ ขบวนการรวมตัวลงไปถึงรากหญ้าในระดับรากหญ้า แม้แต่ในโรงงานต่างๆ ก็เช่นกัน
ทุกจังหวัดมีโต๊ะให้ประชาชนได้รับความสะดวกที่จะเดินทางมาร่วมลงชื่อเหมือนคนไทยที่รักในหลวงทั่วประเทศในทุกจังหวัด
นี่คือการเคลื่อนไหวที่มาจากใจของคนและทำเพื่อสถาบัน
ไม่ได้ทำเพื่อคนคนเดียว ที่เป็นอาชญากรหนีคดีอยู่ต่างประเทศ
นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินได้ชี้แจงเรื่องที่มีการถวายฎีกาขออภัยโทษให้อดีตนายกฯ ทักษิณ โดยกล่าวว่า ข้าราชการคนใดที่ไม่เห็นด้วยสามารถลงชื่อคัดค้านได้เลย และจะเก็บรวมรายชื่อให้ได้ก่อนวันที่ 16 สิงหา ศกนี้
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้เป็นเรื่องที่อาจขัดต่อกฎหมายได้ ดังนั้นกระทรวงยุติธรรมก็น่าที่จะเข้ามาดูแลด้วย
เรื่องเกี่ยวกับการถวายฎีกาและการคัดค้านจากประชาชนก็มีเท่านี้แหละครับ
ผมเองเห็นว่าการไปกำหนดจะรวมชื่อแค่วันที่ 16 ส.ค. นั้นมันเร็วเกินไป เพราะยังมีประชาชนอีกมากที่ไม่ทราบว่าจะเดินทางไปลงชื่อที่ไหน โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ นี่แหละ
สำหรับรัฐบาลนั้น ผลงานก็ไม่ได้เข้าตาประชาชนเท่าไรนักโดยเฉพาะเศรษฐกิจ นี่ก็ว่าจะเอาใจข้าราชการ โดยเกิดจะมีการแจกโบนัสกันอีก ไม่รู้ว่าเป็นความคิดใคร
การแจกโบนัสนั้นถือว่าเป็นเงินรางวัลครับ
ธุรกิจเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ เขาทำกันให้เป็นขวัญกำลังใจโดยดูจากผลประกอบการ และเป็นการผลักดันให้เป็นการทำงานให้ดีขึ้น
ส่วนใหญ่บริษัทจะตั้งเป้าผลดำเนินการ
การที่ทำเกินเป้าหมาย และเงินโบนัสก็เกิดจากเงินที่ทำได้เกินเป้านี่แหละ
รัฐวิสาหกิจนำมาใช้ก็เนื่องจากมีการตั้งเป้าหมายเช่นกัน โดยตั้งยอดขายไว้ ซึ่งการตลาดมีส่วนสำคัญมากที่จะทำให้ยอดขายขยายตัว เพราะมีการส่งเสริมการตลาดที่ดี พวกฝ่ายขายก็ส่งเสริมการขาย เช่น การลดราคา และแจกแถมผลิตภัณฑ์เป็นแรงกระตุ้นให้คนมาซื้อสินค้าของตนแทนที่จะไปซื้อของคู่แข่ง
สำหรับข้าราชการนั้น ผมยังนึกไม่ออกว่าจะตั้งเป้าอะไรไว้ เพราะข้าราชการนั้นทำงานในระบบรูทีน (routine) หรืองานประจำซึ่งเป็นงานในระบบปกติ และก็ไม่ได้ทำแบบคนเดียวเสียที่ไหน มีคนทำส่งเป็นทอดๆ บางงานนั้นแค่อ่านแล้วเซ็นชื่อส่งต่อกันเท่านั้น
อย่างนี้ให้โบนัสไม่ได้หรอก
การที่ผลงานไม่เข้าตาประชาชน แทนที่จะหาโครงการดีๆ ทำ รัฐบาลนี่พิลึก
คิดว่าประชาสัมพันธ์ไม่ดีก็เลยจะเปลี่ยนโฆษกขึ้นมางั้นแหละ
เป็นการ “เกาไม่ถูกที่คันนะครับ”
เพราะถ้างานไม่ดีจริงๆ ต่อให้ประชาสัมพันธ์ปากเปียกปากแฉะอย่างไร มันช่วยไม่ได้
สิ่งที่รัฐบาลต้องทำก็คือ ต้องรู้จักตัวเอง เมื่อรู้จักตัวเอง ก็ต้องดูว่าผลงานที่ทำมานั้นมันมีผลได้ผลเสียอย่างไร และข้าราชการเขาร่วมมือด้วยดีหรือไม่
ของอย่างนี้มันไม่ต้องให้มีใครมาสอนหรอก
มันต้องรู้ๆ กันอยู่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ก็ตั้งมาเก่าแก่ และเคยบริหารประเทศมาแล้วก็หลายสมัยมีคนเก่งก็แยะ
แต่เก่ง ทำงานไม่เป็นก็แย่นะ