ที่รัฐสภา วานนี้ (11 ส.ค.) กลุ่ม 40 ส.ว. นำโดย นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา น.ส.รสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ร่วมกันแถลงภายหลังการประชุมร่วมกลุ่ม 40 ส.ว.
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ที่ประชุมพิจารณาเรื่องการพิทักษ์แผ่นดินปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่เป็นของไทย โดยที่ประชุมได้มีมติคัดค้านกรอบการเจรจา ที่กระทรวงต่างประเทศเตรียมนำเสนอเข้าที่ประชุมรัฐสภา เพื่อให้ความเห็นชอบ โดยมีประเด็นที่อาจทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนดังนี้
1.ตามกรอบการเจรจาข้อที่ 1 ที่กำหนดให้ทหารทั้ง 2 ฝ่ายต้องถอนกำลังจากวัดบนพื้นที่ทับซ้อนที่อยู่ติดกับถนนที่ทางฝ่ายกัมพูชาได้สร้างขึ้น โดยกลุ่ม 40 ส.ว. เห็นว่าควรแก้ไขกรอบการเจรจานี้ และให้มีกำลังทหารฝ่ายไทยคงไว้ที่บริเวณวัดเพื่อควบคุมไม่ให้ประเทศกัมพูชานำบุคคลหรือคณะบุคคลมาแอบอ้างบุกรุกใช้ถนน ในดินแดนไทยอีก
และ 2.ควรมีการแก้ไขกรอบการเจรจาที่ระบุว่าให้ทั้ง 2 ฝ่ายต้องประชุมหารือ แก้ไขเรื่องเขตแดนอย่างเร่งรัด โดยหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอจะต้องดำเนินการทันที ซึ่งกลุ่ม 40 ส.ว.เห็นว่าฝ่ายที่เร่งรัดมีเพียงฝ่ายเดียว คือฝ่ายกัมพูชา ทำให้ฝ่ายไทย เสียประโยชน์ แต่ควรให้ทั้ง 2 ฝ่าย พิจารณาอันดับแรกว่าจะใช้เขตแดนตามสนธิสัญญาสยามกับประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2450 ที่ให้ใช้สันปันน้ำเป็นแขตแดน หรือให้ใช้ แผนที่ที่ฝรั่งเศสได้ทำขึ้น และหากตกลงกันได้แล้วจึงนำไปสู่การวัดเขตแดนในการปักปันเขตแดนต่อไป แต่หากยังตกลงกันไม่ได้ ก็ไม่ควรดำเนินการใดๆทั้งสิ้น
นายไพบูลย์ กล่าวว่า นอกจากนี้กลุ่ม 40 ส.ว.ขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล ให้พิจารณายกเลิกมติ ครม. ในเดือน มิ.ย.2546 ที่มีมติตกลงให้มีความร่วมมือเพื่อพัฒนาปราสาทพระวิหาร เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าฝ่ายกัมพูชาได้ปฏิบัติผิดข้อตกลง โดยนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งขัดกับข้อตกลง ตามมติ ครม.ร่วม 2 ฝ่าย
อย่างไรก็ตาม กลุ่ม 40 ส.ว.จะคัดค้านร่างกรอบการเจรจา หากมีการนำเข้าสู่ การพิจารณาในสภาอย่างเต็มที่แน่นอน เพราะเรื่องดังกล่าวรัฐบาลกำลังถูกฝ่ายกัมพูชา ล็อบบี้ให้ผ่านกรอบเจรจา เพื่อนำไปอ้างกับคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งจะประชุม ในเดือน ก.พ. 2553 นี้ รวมทั้งมีข้อสังเกตที่ชัดเจนกรณีที่นายฮอ นัมฮง รมว.ต่างประเทศ กัมพูชา และสมเด็จเฮง สัมริน ประธานสภาแห่งชาติกัมพูชา เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเร่งรัดเรื่องดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
น.ส.รสนา กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลชุดใหม่ที่นำโดยนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการคัดค้าน เฉกเช่นเดียวกับที่เป็นฝ่ายค้านที่ควรเพิกถอน แถลงการณ์ร่วมอย่างเป็นทางการ เพราะหากไม่ยกเลิกหรือเพิกถอนก็จะอดสงสัยไม่ได้ว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์จะสวมสิทธิ์รัฐบาลชุดเก่าที่หวังผลประโยชน์ทั้งก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน บนพื้นที่ทับซ้อนในทะเล
นายไพบูลย์ กล่าวว่า ที่ประชุมพิจารณาเรื่องการพิทักษ์แผ่นดินปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่เป็นของไทย โดยที่ประชุมได้มีมติคัดค้านกรอบการเจรจา ที่กระทรวงต่างประเทศเตรียมนำเสนอเข้าที่ประชุมรัฐสภา เพื่อให้ความเห็นชอบ โดยมีประเด็นที่อาจทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนดังนี้
1.ตามกรอบการเจรจาข้อที่ 1 ที่กำหนดให้ทหารทั้ง 2 ฝ่ายต้องถอนกำลังจากวัดบนพื้นที่ทับซ้อนที่อยู่ติดกับถนนที่ทางฝ่ายกัมพูชาได้สร้างขึ้น โดยกลุ่ม 40 ส.ว. เห็นว่าควรแก้ไขกรอบการเจรจานี้ และให้มีกำลังทหารฝ่ายไทยคงไว้ที่บริเวณวัดเพื่อควบคุมไม่ให้ประเทศกัมพูชานำบุคคลหรือคณะบุคคลมาแอบอ้างบุกรุกใช้ถนน ในดินแดนไทยอีก
และ 2.ควรมีการแก้ไขกรอบการเจรจาที่ระบุว่าให้ทั้ง 2 ฝ่ายต้องประชุมหารือ แก้ไขเรื่องเขตแดนอย่างเร่งรัด โดยหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอจะต้องดำเนินการทันที ซึ่งกลุ่ม 40 ส.ว.เห็นว่าฝ่ายที่เร่งรัดมีเพียงฝ่ายเดียว คือฝ่ายกัมพูชา ทำให้ฝ่ายไทย เสียประโยชน์ แต่ควรให้ทั้ง 2 ฝ่าย พิจารณาอันดับแรกว่าจะใช้เขตแดนตามสนธิสัญญาสยามกับประเทศฝรั่งเศส พ.ศ. 2450 ที่ให้ใช้สันปันน้ำเป็นแขตแดน หรือให้ใช้ แผนที่ที่ฝรั่งเศสได้ทำขึ้น และหากตกลงกันได้แล้วจึงนำไปสู่การวัดเขตแดนในการปักปันเขตแดนต่อไป แต่หากยังตกลงกันไม่ได้ ก็ไม่ควรดำเนินการใดๆทั้งสิ้น
นายไพบูลย์ กล่าวว่า นอกจากนี้กลุ่ม 40 ส.ว.ขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล ให้พิจารณายกเลิกมติ ครม. ในเดือน มิ.ย.2546 ที่มีมติตกลงให้มีความร่วมมือเพื่อพัฒนาปราสาทพระวิหาร เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าฝ่ายกัมพูชาได้ปฏิบัติผิดข้อตกลง โดยนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งขัดกับข้อตกลง ตามมติ ครม.ร่วม 2 ฝ่าย
อย่างไรก็ตาม กลุ่ม 40 ส.ว.จะคัดค้านร่างกรอบการเจรจา หากมีการนำเข้าสู่ การพิจารณาในสภาอย่างเต็มที่แน่นอน เพราะเรื่องดังกล่าวรัฐบาลกำลังถูกฝ่ายกัมพูชา ล็อบบี้ให้ผ่านกรอบเจรจา เพื่อนำไปอ้างกับคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งจะประชุม ในเดือน ก.พ. 2553 นี้ รวมทั้งมีข้อสังเกตที่ชัดเจนกรณีที่นายฮอ นัมฮง รมว.ต่างประเทศ กัมพูชา และสมเด็จเฮง สัมริน ประธานสภาแห่งชาติกัมพูชา เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเร่งรัดเรื่องดังกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
น.ส.รสนา กล่าวว่า อยากให้รัฐบาลชุดใหม่ที่นำโดยนาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ดำเนินการคัดค้าน เฉกเช่นเดียวกับที่เป็นฝ่ายค้านที่ควรเพิกถอน แถลงการณ์ร่วมอย่างเป็นทางการ เพราะหากไม่ยกเลิกหรือเพิกถอนก็จะอดสงสัยไม่ได้ว่า รัฐบาลนายอภิสิทธิ์จะสวมสิทธิ์รัฐบาลชุดเก่าที่หวังผลประโยชน์ทั้งก๊าซธรรมชาติ และน้ำมัน บนพื้นที่ทับซ้อนในทะเล