ASTVผู้จัดการรายวัน - การเคหะฯ รับลูกธอส.หวั่นแบงก์ไม่ปล่อยกู้เพิ่ม สำรองงบ 1,000 ล้านบาทสำหรับซื้อคืนหนี้เสียในโครงการบ้านเอื้ออาทร ในระหว่างรอกระทรวงการคลังเจียดงบให้
เมื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เริ่มไม่มั่นใจว่ากระทรวงการคลังจะยอมอนุมัติให้สามารถขอชดเชยหนี้เสียที่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาล ด้วยการแยกบัญชีบริการสาธารณะ (พีเอสเอ) เพื่อที่ธอส.จะได้ไม่ต้องรับผิดชอบหนี้เสียที่เกิดจากโครงการบ้านเอื้ออาทร แต่ธอส.เพราะกลับถูกกระทรวงการคลังทวงถามว่าน่าจะเป็นหน้าที่ของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบซื้อหนี้เสียคืนในกรณีที่หนี้เสียเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 5 ปีแรก
เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง เนื่องจากปัจจุบันยอดเอ็นพีแอลของโครงการนี้อยู่ในระดับสูงถึง 10% อีกทั้งยอดปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั้งในปัจจุบันปล่อยเฉลี่ยเดือนละ 1,000 ล้านบาท กอรปกับยอดวงเงินค้ำประกันที่กคช.มีไว้สำหรับซื้อคืนจำนวน 780 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการใกล้ใช้หมดเต็มที ทำให้ธอส.จำเป็นต้องเสนอไปยังกคช. เพื่อขอวงเงินค้ำประกันเพิ่ม
ด้านนายสุชาติ ศิริโยธิพันธุ์ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กล่าวว่า สำหรับการขอเพิ่มวงเงินประกันความเสียง (โอดี) นั้น กคช.ได้เสนอขอขยายวงเงินโอดีดังกล่าว ต่อกระทรวงการคลังเพิ่มอีก 1,000 ล้านบาท หลังจากที่มีการอนุมัติวงเงินดังกล่าวไว้รองรับการซื้อคืนบ้านเอื้อฯจากสถาบันการเงินในงวดแรกจำนวน 780 ล้านบาท แต่กระทรวงการคลังได้ยืนยันมาว่าจะยังไมขยายเพิ่มวงเงินโอดี เพิ่ม แต่ให้ กชค. บริหารวงเงินดังกล่าวให้ครบคลุมปริมาณสินเชื่อที่เสนอกู้ต่อสถาบันการเงินไป ซึ่งขณะนั้นมียอดบ้านเอื้อที่ต้องยื่นขอสินเชื่ออยู่จำนวน 40,000 หน่วย ซึ่ง กคช. เองก็ดำเนินการตามที่กระทรวงคลังมีคำสั่งมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม วงเงิน 780 ล้านบาทดังกล่าว กระทรวงการคลังได้สั่งให้บริหารภายใต้กรอบปริมาณการยื่นขอสินเชื่อบ้านเอื้อจำนวน 40,000 หน่วย
ทั้งนี้ ในปัจจุบันจำนวนการยื่นขอสินเชื่อบ้านเอื้ออาทรมีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 80,000 หน่วยแล้ว ซึ่งตามหลักการ กคช. ต้องขอเพิ่มวงเงินโอดีเพื่อรองรับการซื้อคืนหนี้เสียจากสถาบันการเงินเพิ่มอีก ประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลยังมีปัญหาด้านการกระจายงบประมาณทำให้ กคช. ยังชะลอแผนการเสนอขอวงเงินโอดี อีก 1,000 ล้านบาทออกไป
อย่างไรก็ดี แม้ว่าขณะนี้ กคช. จะยังไม่ได้รับการขยายเพิ่มวงเงินโอดีเข้ามา แต่เพื่อรองรับปัญหาการเกิดหนี้เสียที่เกิดขึ้น กคช.เองได้เตรียมวงเงินไว้รองรับการซื้อคืนบ้านเอื้ออาทรจากสถาบันการเงินแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท ในกรณีที่จำเป็นต้องซื้อคืนหนี้เสียที่เกิดขึ้น เนื่องจากหาก กคช.ไม่ซื้อหนี้เสียดังกล่าวคืน สถาบันการเงินอาจไม่ยอมอนุมัติสินเชื่อให้แก่ลูกค้าบ้านเอื้ออาทรรายใหม่ที่ กคช. ยื่นเสนอกู้ไปได้
เมื่อธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เริ่มไม่มั่นใจว่ากระทรวงการคลังจะยอมอนุมัติให้สามารถขอชดเชยหนี้เสียที่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อตามนโยบายของรัฐบาล ด้วยการแยกบัญชีบริการสาธารณะ (พีเอสเอ) เพื่อที่ธอส.จะได้ไม่ต้องรับผิดชอบหนี้เสียที่เกิดจากโครงการบ้านเอื้ออาทร แต่ธอส.เพราะกลับถูกกระทรวงการคลังทวงถามว่าน่าจะเป็นหน้าที่ของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบซื้อหนี้เสียคืนในกรณีที่หนี้เสียเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 5 ปีแรก
เพื่อป้องกันปัญหาหนี้เสียที่อาจเกิดขึ้นตามมาในภายหลัง เนื่องจากปัจจุบันยอดเอ็นพีแอลของโครงการนี้อยู่ในระดับสูงถึง 10% อีกทั้งยอดปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกระทั้งในปัจจุบันปล่อยเฉลี่ยเดือนละ 1,000 ล้านบาท กอรปกับยอดวงเงินค้ำประกันที่กคช.มีไว้สำหรับซื้อคืนจำนวน 780 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มต้นโครงการใกล้ใช้หมดเต็มที ทำให้ธอส.จำเป็นต้องเสนอไปยังกคช. เพื่อขอวงเงินค้ำประกันเพิ่ม
ด้านนายสุชาติ ศิริโยธิพันธุ์ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ (กคช.) กล่าวว่า สำหรับการขอเพิ่มวงเงินประกันความเสียง (โอดี) นั้น กคช.ได้เสนอขอขยายวงเงินโอดีดังกล่าว ต่อกระทรวงการคลังเพิ่มอีก 1,000 ล้านบาท หลังจากที่มีการอนุมัติวงเงินดังกล่าวไว้รองรับการซื้อคืนบ้านเอื้อฯจากสถาบันการเงินในงวดแรกจำนวน 780 ล้านบาท แต่กระทรวงการคลังได้ยืนยันมาว่าจะยังไมขยายเพิ่มวงเงินโอดี เพิ่ม แต่ให้ กชค. บริหารวงเงินดังกล่าวให้ครบคลุมปริมาณสินเชื่อที่เสนอกู้ต่อสถาบันการเงินไป ซึ่งขณะนั้นมียอดบ้านเอื้อที่ต้องยื่นขอสินเชื่ออยู่จำนวน 40,000 หน่วย ซึ่ง กคช. เองก็ดำเนินการตามที่กระทรวงคลังมีคำสั่งมาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม วงเงิน 780 ล้านบาทดังกล่าว กระทรวงการคลังได้สั่งให้บริหารภายใต้กรอบปริมาณการยื่นขอสินเชื่อบ้านเอื้อจำนวน 40,000 หน่วย
ทั้งนี้ ในปัจจุบันจำนวนการยื่นขอสินเชื่อบ้านเอื้ออาทรมีจำนวนทั้งสิ้นกว่า 80,000 หน่วยแล้ว ซึ่งตามหลักการ กคช. ต้องขอเพิ่มวงเงินโอดีเพื่อรองรับการซื้อคืนหนี้เสียจากสถาบันการเงินเพิ่มอีก ประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลยังมีปัญหาด้านการกระจายงบประมาณทำให้ กคช. ยังชะลอแผนการเสนอขอวงเงินโอดี อีก 1,000 ล้านบาทออกไป
อย่างไรก็ดี แม้ว่าขณะนี้ กคช. จะยังไม่ได้รับการขยายเพิ่มวงเงินโอดีเข้ามา แต่เพื่อรองรับปัญหาการเกิดหนี้เสียที่เกิดขึ้น กคช.เองได้เตรียมวงเงินไว้รองรับการซื้อคืนบ้านเอื้ออาทรจากสถาบันการเงินแล้วกว่า 1,000 ล้านบาท ในกรณีที่จำเป็นต้องซื้อคืนหนี้เสียที่เกิดขึ้น เนื่องจากหาก กคช.ไม่ซื้อหนี้เสียดังกล่าวคืน สถาบันการเงินอาจไม่ยอมอนุมัติสินเชื่อให้แก่ลูกค้าบ้านเอื้ออาทรรายใหม่ที่ กคช. ยื่นเสนอกู้ไปได้