นายสุมิท แช่มประสิทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานชุมชนพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน (สพช.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แถลง วานนี้ (6 ส.ค.) ว่า การประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการชุมชนพอเพียง ที่มีนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ ได้พิจารณา ผลการสอบสวนการทุจริตใน โครงการชุมชนพอเพียง และมีมติให้ระงับการอนุมัติโครงการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ ที่ต้องมีการจัดซื้ออุปกรณ์ เนื่องจากยังมีผู้จำหน่ายอุปกรณ์ประเภทนี้น้อยราย
โดยส่วนใหญ่เป็นการซื้อตู้น้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ 99 โครงการ และ โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ 71 โครงการ รวม 170 โครงการเป็นเงินประมาณ 50 ล้านบาทโดยขณะนี้มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติ 3.1 หมื่นโครงการจาก 6 หมื่นชุมชน โอนเงินไปแล้ว 2.1 หมื่นโครงการ เป็นเงิน 5,300 ล้านบาทจากงบประมาณทั้งหมด 2.1 หมื่นล้านบาท
เรื่องการทุจริตที่เกิดขึ้นหากเทียบจำนวนโครงการถือว่าน้อยมาก เพราะจากโครงการ 3.1 หมื่นโครงการมีการร้องเรียนเข้ามา 300 เรื่อง พบว่ามีมูลแค่ 81 โครงการเท่านั้น ไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ และทางคณะกรรมการก็กำลังแก้ปัญหาอยู่
นายสุมิท ปฏิเสธว่าเรื่องที่ชื่อตนเองเข้าไปมีส่วนพัวพันกับเรื่องการทุจริตด้วยนั้นไม่เป็นความจริง เพราะตนเองได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการและประธานกรรมการ บริหาร ของ บจม.อินเตอร์เนชั่นแนลเอนจีเนียริ่ง (ไออีซี) ที่ทำธุรกิจพลังงานทดแทนตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. 2551 ทำงานเป็นเวลา 4 ปี ก่อนมารับตำแหน่งที่สำนักงานชุมชนพอเพียงในปี 2552
ผมยืนยันว่าที่ผ่านมาไม่มีส่วนเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองแน่นอน และก็ไม่สามารถเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนได้ เพราะไม่สามารถที่ระบุการซื้อสินค้าอะไรจากใครได้ และได้ทำหนังสือชี้แจงเรื่องนี้ต่อที่ประชุมแล้ว โดย นายกอร์ปศักดิ์ ได้แนะนำว่าขอให้สู้ด้วยความจริง ส่วนเรื่องที่มีกระแสข่าวว่า นายประโภชน์ สภาวสุ น้องชายคนเล็กของนายกอร์ปศักดิ์มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ด้วยเนื่องจากเป็น รองผู้อำนวยการรับผิดชอบในการอนุมัติฯนั้น ไม่ได้มีการพูดกันเรื่องนี้เพราะยังไม่มีประเด็นที่ชัดเจนแต่อย่างใด
นายสุมิท กล่าวว่า เรื่องการทุจริตได้ร้องทุกข์กับกองบังคับการกองปราบปราม ไว้แล้วว่ามีเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสอย่างน้อย 3 ราย มีการกระทำส่อไปในทางทุจริตและไม่ขอเปิดเผยชื่อเพราะถือว่าทั้ง 3 คนยังสุจริตอยู่ และขอให้เป็นเรื่องขอเจ้าหน้าที่ ในการสอบสวนต่อไปโดยทั้ง 3 คนถูกพักงานแล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับเส้นทางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ต้องสงสัย ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของ สพช. ในกลุ่มงานเสริมศักยภาพและการมีส่วนร่วม กับพ่อค้า จำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โดยมีการร้องเรียนว่า เจ้าหน้าที่คนที่ 1 และ 2 หรือผู้ต้องสงสัย มีความสัมพันธ์กับบริษัทฯนี้ ได้เสนอเอกสารโครงการมาเหมือนกัน โดยเฉพาะโครงการปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่มีลักษณะเหมือนกันใน 10 จังหวัด วงเงินที่ขอมา 23 ล้านบาท
ทั้งนี้มีการบันทึกข้อมูลโครงการเข้ามาเพื่อรอสำนักงานฯพิจารณา โดยขั้นนี้พบว่ามีผู้ต้องสงสัย (ระดับสูง)เป็นผู้อนุมัติ และผู้ต้องสงสัยจะเป็นผู้ตรวจสอบเงิน ก่อนโอนเข้าธนาคารซึ่งจะมีการประกาศทางเวปไซต์ของสำนักงานฯ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่คนที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการ
ส่วน เส้นทางที่มีการสวมเอกสารแทน พบว่า เส้นทางนี้เป็นการชี้นำโครการ แทนที่โครงการที่ชาวบ้านเสนอเข้ามา และพบว่า ผู้ต้องสงสัยเป็นผู้อนุมัติเพื่อเสนอคณะกรรมการชุดใหญ่ ในขั้นนี้จะมีการประกาศผ่านเวปไซต์แทนโครงการที่ชาวบ้านเสนอ เข้ามา ซึ่งผู้ต้องสงสัยคนที่ 1 จะเป็นผู้คัดค้านแล้วทำเอกสารเพื่อส่งมายื่น สำนักงานฯ เพื่อขอระงับโครงการ และนำโครงการที่ชี้นำกับพ่อค้ามาสวมแทน เพื่อเสนอคณะกรรมการฯชุดใหญ่ ซึ่งวันนี้คณะกรรมการชุดใหญ่ได้สั่งระงับทั้งหมด
ทั้งนี้โครงการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย ตู้น้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ ปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น
วันเดียวกัน น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ได้เดินทางมายื่นหนังสื่อต่อนาย วิลาศ จันทรพิทักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ตรวจสอบการกระทำอันอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน ที่พรรคเพื่อไทยได้ตรวจสอบพบความไม่ชอบมาพากลอย่างชัดเจนแล้ว
น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า ทราบข้อมูลเชิงลึกว่าหากปล่อยให้พรรคประชาธิปัตย์ตั้งคณะกรรมการสอบสวนกันเองผู้รับเคราะห์สุดท้ายก็ต้องเป็นนักการเมืองท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาเขตเท่านั้น ขณะที่ประเด็นคำถามว่าเหตุใดจึงให้อำนาจ รองผู้อำนวยการที่มีนามสกุลเดียวกับประธานคณะกรรมการบริหารโครงการ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นผู้เสนอให้อนุมัติโครงการ เท่ากับเข้าข่ายน้องชง พี่ตบหรือไม่
น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า จนถึงบัดนี้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ยังไม่ยอมแสดง ท่าทีใดๆ ที่จะออกมารับผิดชอบ ในวันที่ 7 ส.ค.พรรคเพื่อไทยจึงจะเดินทางไปยื่นหนังสือกระทุ้งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อให้ปลดนายกอร์ปศักดิ์ ออกจากประธานบอร์ดโครงการเศรษฐกิจพอเพียงฯและรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ หากยังเพิกเฉยฝ่ายค้านก็จะนำข้อมูลที่กำลังหลั่งไหลเข้ามาเรื่อยๆ มาเปิดให้เห็นถึงไส้พุงของแต่ละคนให้ชัดเจน
โดยส่วนใหญ่เป็นการซื้อตู้น้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ 99 โครงการ และ โคมไฟพลังงานแสงอาทิตย์ 71 โครงการ รวม 170 โครงการเป็นเงินประมาณ 50 ล้านบาทโดยขณะนี้มีโครงการที่ผ่านการอนุมัติ 3.1 หมื่นโครงการจาก 6 หมื่นชุมชน โอนเงินไปแล้ว 2.1 หมื่นโครงการ เป็นเงิน 5,300 ล้านบาทจากงบประมาณทั้งหมด 2.1 หมื่นล้านบาท
เรื่องการทุจริตที่เกิดขึ้นหากเทียบจำนวนโครงการถือว่าน้อยมาก เพราะจากโครงการ 3.1 หมื่นโครงการมีการร้องเรียนเข้ามา 300 เรื่อง พบว่ามีมูลแค่ 81 โครงการเท่านั้น ไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ และทางคณะกรรมการก็กำลังแก้ปัญหาอยู่
นายสุมิท ปฏิเสธว่าเรื่องที่ชื่อตนเองเข้าไปมีส่วนพัวพันกับเรื่องการทุจริตด้วยนั้นไม่เป็นความจริง เพราะตนเองได้ลาออกจากตำแหน่งกรรมการและประธานกรรมการ บริหาร ของ บจม.อินเตอร์เนชั่นแนลเอนจีเนียริ่ง (ไออีซี) ที่ทำธุรกิจพลังงานทดแทนตั้งแต่วันที่ 4 ก.พ. 2551 ทำงานเป็นเวลา 4 ปี ก่อนมารับตำแหน่งที่สำนักงานชุมชนพอเพียงในปี 2552
ผมยืนยันว่าที่ผ่านมาไม่มีส่วนเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองแน่นอน และก็ไม่สามารถเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนได้ เพราะไม่สามารถที่ระบุการซื้อสินค้าอะไรจากใครได้ และได้ทำหนังสือชี้แจงเรื่องนี้ต่อที่ประชุมแล้ว โดย นายกอร์ปศักดิ์ ได้แนะนำว่าขอให้สู้ด้วยความจริง ส่วนเรื่องที่มีกระแสข่าวว่า นายประโภชน์ สภาวสุ น้องชายคนเล็กของนายกอร์ปศักดิ์มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ด้วยเนื่องจากเป็น รองผู้อำนวยการรับผิดชอบในการอนุมัติฯนั้น ไม่ได้มีการพูดกันเรื่องนี้เพราะยังไม่มีประเด็นที่ชัดเจนแต่อย่างใด
นายสุมิท กล่าวว่า เรื่องการทุจริตได้ร้องทุกข์กับกองบังคับการกองปราบปราม ไว้แล้วว่ามีเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสอย่างน้อย 3 ราย มีการกระทำส่อไปในทางทุจริตและไม่ขอเปิดเผยชื่อเพราะถือว่าทั้ง 3 คนยังสุจริตอยู่ และขอให้เป็นเรื่องขอเจ้าหน้าที่ ในการสอบสวนต่อไปโดยทั้ง 3 คนถูกพักงานแล้ว
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับเส้นทางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ต้องสงสัย ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของ สพช. ในกลุ่มงานเสริมศักยภาพและการมีส่วนร่วม กับพ่อค้า จำหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ โดยมีการร้องเรียนว่า เจ้าหน้าที่คนที่ 1 และ 2 หรือผู้ต้องสงสัย มีความสัมพันธ์กับบริษัทฯนี้ ได้เสนอเอกสารโครงการมาเหมือนกัน โดยเฉพาะโครงการปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ที่มีลักษณะเหมือนกันใน 10 จังหวัด วงเงินที่ขอมา 23 ล้านบาท
ทั้งนี้มีการบันทึกข้อมูลโครงการเข้ามาเพื่อรอสำนักงานฯพิจารณา โดยขั้นนี้พบว่ามีผู้ต้องสงสัย (ระดับสูง)เป็นผู้อนุมัติ และผู้ต้องสงสัยจะเป็นผู้ตรวจสอบเงิน ก่อนโอนเข้าธนาคารซึ่งจะมีการประกาศทางเวปไซต์ของสำนักงานฯ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่คนที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการ
ส่วน เส้นทางที่มีการสวมเอกสารแทน พบว่า เส้นทางนี้เป็นการชี้นำโครการ แทนที่โครงการที่ชาวบ้านเสนอเข้ามา และพบว่า ผู้ต้องสงสัยเป็นผู้อนุมัติเพื่อเสนอคณะกรรมการชุดใหญ่ ในขั้นนี้จะมีการประกาศผ่านเวปไซต์แทนโครงการที่ชาวบ้านเสนอ เข้ามา ซึ่งผู้ต้องสงสัยคนที่ 1 จะเป็นผู้คัดค้านแล้วทำเอกสารเพื่อส่งมายื่น สำนักงานฯ เพื่อขอระงับโครงการ และนำโครงการที่ชี้นำกับพ่อค้ามาสวมแทน เพื่อเสนอคณะกรรมการฯชุดใหญ่ ซึ่งวันนี้คณะกรรมการชุดใหญ่ได้สั่งระงับทั้งหมด
ทั้งนี้โครงการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน พลังงานแสงอาทิตย์ ประกอบด้วย ตู้น้ำดื่มพลังงานแสงอาทิตย์ ปุ๋ยชีวภาพ เป็นต้น
วันเดียวกัน น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ได้เดินทางมายื่นหนังสื่อต่อนาย วิลาศ จันทรพิทักษ์ ประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ตรวจสอบการกระทำอันอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อยกระดับชุมชน ที่พรรคเพื่อไทยได้ตรวจสอบพบความไม่ชอบมาพากลอย่างชัดเจนแล้ว
น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า ทราบข้อมูลเชิงลึกว่าหากปล่อยให้พรรคประชาธิปัตย์ตั้งคณะกรรมการสอบสวนกันเองผู้รับเคราะห์สุดท้ายก็ต้องเป็นนักการเมืองท้องถิ่น หรือสมาชิกสภาเขตเท่านั้น ขณะที่ประเด็นคำถามว่าเหตุใดจึงให้อำนาจ รองผู้อำนวยการที่มีนามสกุลเดียวกับประธานคณะกรรมการบริหารโครงการ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นผู้เสนอให้อนุมัติโครงการ เท่ากับเข้าข่ายน้องชง พี่ตบหรือไม่
น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า จนถึงบัดนี้นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ ยังไม่ยอมแสดง ท่าทีใดๆ ที่จะออกมารับผิดชอบ ในวันที่ 7 ส.ค.พรรคเพื่อไทยจึงจะเดินทางไปยื่นหนังสือกระทุ้งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งที่ทำเนียบรัฐบาลเพื่อให้ปลดนายกอร์ปศักดิ์ ออกจากประธานบอร์ดโครงการเศรษฐกิจพอเพียงฯและรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ หากยังเพิกเฉยฝ่ายค้านก็จะนำข้อมูลที่กำลังหลั่งไหลเข้ามาเรื่อยๆ มาเปิดให้เห็นถึงไส้พุงของแต่ละคนให้ชัดเจน