เอเอฟพี/ASTVผู้จัดการรายวัน - กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ออกมาเตือนเมื่อวันพฤหัสบดี (30) ว่าหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในบรรดาประเทศพัฒนาแล้วรายใหญ่ๆ อาจจะกลายเป็นตัวขัดขวางความพยายามที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว
ระดับหนี้ภาครัฐที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นตัวทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุน อีกทั้งดันให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้น และในท้ายที่สุดก็จะทำให้เศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้นไปบ้างเกิดการดิ่งลงมา ไอเอ็มเอฟระบุเอาไว้ในสิ่งพิมพ์ทางออนไลน์ใหม่ของตนที่ใช้ชื่อว่า The State of Public Finances: A Cross-Country Fiscal Monitor (สถานะของการเงินภาคสาธารณะ: ติดตามฐานะการคลังระดับข้ามประเทศ) โดยที่ฉบับปฐมฤกษ์ออกเผยแพร่ในวันพฤหัสบดี และจะมีฉบับใหม่ๆ ออกมาอีกเป็นประจำ
ในสิ่งพิมพ์ทางออนไลน์นี้ ไอเอ็มเอฟระบุว่า หนี้สาธารณะของ 9 ประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าที่อยู่ในกลุ่มจี20 นั้น จะทะยานขึ้นสู่ระดับเท่ากับ 120% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2014 หรือเท่ากับเพิ่มขึ้นถึง 40% นับตั้งแต่ที่เริ่มเกิดวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจทั่วโลกเมื่อปี 2007
ทั้งนี้ 9 ประเทศที่สิ่งพิมพ์ของไอเอ็มเอฟกล่าวถึงเหล่านี้ ก็คือ กลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก(จี7)ทั้งหมด อันได้แก่ อังกฤษ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เยอรมนีและสหรัฐฯ แล้วบวกด้วยประเทศอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่จี7 อีก 2 ราย คือ ออสเตรเลียกับเกาหลีใต้
ไอเอ็มเอฟได้เรียกร้องให้ประเทศก้าวหน้าเหล่านี้ต้องทำอะไรให้มากขึ้นเพื่อลดการขาดทุนงบประมาณของพวกตนลงให้ได้ในระยะปานกลาง
"ถึงแม้เป็นที่คาดหมายกันว่า ภาวะความสมดุลทางการคลังจะกระเตื้องดีขึ้นในระยะไม่กี่ปีต่อจากนี้ไป สืบเนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ทว่าภาพรวมเรื่องหนี้สาธารณะของประเทศจำนวนมาก ก็จะน่าเป็นห่วงมากขึ้น" สิ่งพิมพ์ล่าสุดของไอเอ็มเอฟบอก
เมื่อพิจารณากลุ่มจี20 โดยองค์รวมทั้งในส่วนที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วและที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา อัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 62.4%.ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตปี 2007 แล้วพุ่งขึ้นสู่ระดับ 82.1% ในปี 2009 โดยคาดหมายว่าจะแตะระดับ 86.6% ในปี 2014
ขณะที่สำหรับประเทศพัฒนาแล้วฝ่ายเดียวนั้น อัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีโดยเฉลี่ยเพิ่มจาก 78.6% ของปี 2007 มาเป็น 100.6% ในปีนี้ และเมื่อถึงปี 2014 หนี้สาธารณะของประเทศเหล่านี้โดยเฉลี่ยน่าจะพุ่งสู่ระดับเท่ากับ 119.7% ของจีดีพี
"ในขณะที่นโยบายการคลังควรจะต้องสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไป จนกว่าการฟื้นตัวจะมีความมั่นคง แต่ในระยะปานกลางแล้ว จำเป็นที่จะต้องมียุทธศาสตร์อันชัดเจน เพื่อรวบรวมกำลังที่จะทำให้เกิดความสมดุลทางการคลัง เมื่อเงื่อนไขต่างๆ กระเตื้องดีขึ้นมาแล้ว และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ารัฐบาลจะรักษาความสามารถในการชำระหนี้ไว้ได้"
สิ่งพิมพ์ใหม่ของไอเอ็มเอฟชี้ว่า ในปัจจุบันที่การขาดทุนและหนี้สินกำลังเพิ่มขึ้นเช่นนี้ ทำให้เกิดสภาพของการยื่นหมูยื่นแมวที่ซับซ้อนมาก และผู้วางนโยบายจำเป็นจะต้องสร้างสมดุลระหว่าง 2 แนวโน้มแห่งความเสี่ยง
"ในด้านหนึ่งการเลิกใช้มาตรการกระตุ้นทางการคลังอย่างรีบร้อนเกินไป ก็เสี่ยงที่จะกลายเป็นการเด็ดภาวะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทิ้งไปตั้งแต่ที่มันยังเป็นแค่หน่ออ่อน"
"ในอีกด้านหนึ่ง การที่นักลงทุนซึ่งยังลังเลไม่ถอนตัวออกไป อาจจะเกิดความกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืน(ของการฟื้นตัว)กันมากขึ้นเรื่อยๆ ย่อมทำให้ตราสารหนี้ของรัฐบาลต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น, บ่อนทำลายการฟื้นตัว, รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงว่าหนี้จะพอกพูนขึ้นอย่างมหาศาล"
กระนั้นก็ตาม ไอเอ็มเอฟสรุปว่า ในขั้นตอนขณะนี้ "ยังเร็วเกินไปที่จะเลิกใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ"
ระดับหนี้ภาครัฐที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อาจเป็นตัวทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุน อีกทั้งดันให้อัตราดอกเบี้ยพุ่งขึ้น และในท้ายที่สุดก็จะทำให้เศรษฐกิจที่กระเตื้องขึ้นไปบ้างเกิดการดิ่งลงมา ไอเอ็มเอฟระบุเอาไว้ในสิ่งพิมพ์ทางออนไลน์ใหม่ของตนที่ใช้ชื่อว่า The State of Public Finances: A Cross-Country Fiscal Monitor (สถานะของการเงินภาคสาธารณะ: ติดตามฐานะการคลังระดับข้ามประเทศ) โดยที่ฉบับปฐมฤกษ์ออกเผยแพร่ในวันพฤหัสบดี และจะมีฉบับใหม่ๆ ออกมาอีกเป็นประจำ
ในสิ่งพิมพ์ทางออนไลน์นี้ ไอเอ็มเอฟระบุว่า หนี้สาธารณะของ 9 ประเทศเศรษฐกิจก้าวหน้าที่อยู่ในกลุ่มจี20 นั้น จะทะยานขึ้นสู่ระดับเท่ากับ 120% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2014 หรือเท่ากับเพิ่มขึ้นถึง 40% นับตั้งแต่ที่เริ่มเกิดวิกฤตทางการเงินและเศรษฐกิจทั่วโลกเมื่อปี 2007
ทั้งนี้ 9 ประเทศที่สิ่งพิมพ์ของไอเอ็มเอฟกล่าวถึงเหล่านี้ ก็คือ กลุ่ม 7 ชาติอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก(จี7)ทั้งหมด อันได้แก่ อังกฤษ, แคนาดา, ฝรั่งเศส, อิตาลี, ญี่ปุ่น, เยอรมนีและสหรัฐฯ แล้วบวกด้วยประเทศอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่จี7 อีก 2 ราย คือ ออสเตรเลียกับเกาหลีใต้
ไอเอ็มเอฟได้เรียกร้องให้ประเทศก้าวหน้าเหล่านี้ต้องทำอะไรให้มากขึ้นเพื่อลดการขาดทุนงบประมาณของพวกตนลงให้ได้ในระยะปานกลาง
"ถึงแม้เป็นที่คาดหมายกันว่า ภาวะความสมดุลทางการคลังจะกระเตื้องดีขึ้นในระยะไม่กี่ปีต่อจากนี้ไป สืบเนื่องจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ทว่าภาพรวมเรื่องหนี้สาธารณะของประเทศจำนวนมาก ก็จะน่าเป็นห่วงมากขึ้น" สิ่งพิมพ์ล่าสุดของไอเอ็มเอฟบอก
เมื่อพิจารณากลุ่มจี20 โดยองค์รวมทั้งในส่วนที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วและที่เป็นประเทศกำลังพัฒนา อัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 62.4%.ในช่วงก่อนเกิดวิกฤตปี 2007 แล้วพุ่งขึ้นสู่ระดับ 82.1% ในปี 2009 โดยคาดหมายว่าจะแตะระดับ 86.6% ในปี 2014
ขณะที่สำหรับประเทศพัฒนาแล้วฝ่ายเดียวนั้น อัตราส่วนหนี้ต่อจีดีพีโดยเฉลี่ยเพิ่มจาก 78.6% ของปี 2007 มาเป็น 100.6% ในปีนี้ และเมื่อถึงปี 2014 หนี้สาธารณะของประเทศเหล่านี้โดยเฉลี่ยน่าจะพุ่งสู่ระดับเท่ากับ 119.7% ของจีดีพี
"ในขณะที่นโยบายการคลังควรจะต้องสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่อไป จนกว่าการฟื้นตัวจะมีความมั่นคง แต่ในระยะปานกลางแล้ว จำเป็นที่จะต้องมียุทธศาสตร์อันชัดเจน เพื่อรวบรวมกำลังที่จะทำให้เกิดความสมดุลทางการคลัง เมื่อเงื่อนไขต่างๆ กระเตื้องดีขึ้นมาแล้ว และเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่ารัฐบาลจะรักษาความสามารถในการชำระหนี้ไว้ได้"
สิ่งพิมพ์ใหม่ของไอเอ็มเอฟชี้ว่า ในปัจจุบันที่การขาดทุนและหนี้สินกำลังเพิ่มขึ้นเช่นนี้ ทำให้เกิดสภาพของการยื่นหมูยื่นแมวที่ซับซ้อนมาก และผู้วางนโยบายจำเป็นจะต้องสร้างสมดุลระหว่าง 2 แนวโน้มแห่งความเสี่ยง
"ในด้านหนึ่งการเลิกใช้มาตรการกระตุ้นทางการคลังอย่างรีบร้อนเกินไป ก็เสี่ยงที่จะกลายเป็นการเด็ดภาวะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจทิ้งไปตั้งแต่ที่มันยังเป็นแค่หน่ออ่อน"
"ในอีกด้านหนึ่ง การที่นักลงทุนซึ่งยังลังเลไม่ถอนตัวออกไป อาจจะเกิดความกังวลเกี่ยวกับความยั่งยืน(ของการฟื้นตัว)กันมากขึ้นเรื่อยๆ ย่อมทำให้ตราสารหนี้ของรัฐบาลต้องจ่ายอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น, บ่อนทำลายการฟื้นตัว, รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงว่าหนี้จะพอกพูนขึ้นอย่างมหาศาล"
กระนั้นก็ตาม ไอเอ็มเอฟสรุปว่า ในขั้นตอนขณะนี้ "ยังเร็วเกินไปที่จะเลิกใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ"