ASTV ผู้จัดการรายวัน – ตลาดหลักทรัพย์ฯ โชว์ผลงานครึ่งปีแรกบจ. แห่ระดมทุนรวม กว่า 3 แสนล้านบาท ผ่านตราสารหนี้สูงถึง 2.92 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันมีบจ.เตรียมเข้าจดทะเบียน 11 แห่ง มูลค่ารวม 21,515 ล้านบาทและกองทุนอสังหาริมทรัพย์อีก 3 แห่ง มูลค่าเกือบ 3 พันล้านบาท ด้าน “ภัทรียา” แจงครึ่งปีหลังเตรียมออกสินค้าใหม่เพิ่ม “กองทุนอิสลามิกฟันด์–ฟิวเจอร์อ้างอิงดอกเบี้ย” พร้อมดึงบริษัทที่ได้รับบีโอไอเข้าระดมทุนในตลาดหุ้น
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 ที่ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 52 ที่ผ่านมา ว่า ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 1/52 และปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 2/52 ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้น จากนักลงทุนคาดการณ์เศรษฐกิจโลกจะมีการปรับตัวดีขึ้น
โดยในช่วง 6 เดือนแรก มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยรวมในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) อยู่ที่ 15,126 ล้านบาทต่อวัน ขณะที่ตลาดอนุพันธ์ (TFEX) ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย 10,678 สัญญาต่อวัน และการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต มีมูลค่ารวม 363,817 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 20.2% ของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมด
สำหรับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET Index) ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2552 ปิดที่ 597.48 ปรับตัวสูงขึ้น 33%จากสิ้นปี 2551 มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) จำนวน 4.77 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% เช่นกัน ส่วนการซื้อขายแยกตามประเภทผู้ลงทุน ในช่วง 6 เดือนแรก พบว่า นักลงทุนต่างประเทศมียอดซื้อสุทธิ 20,128 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันยอดขายสุทธิ 14,611.77 ล้านบาท นักลงทุนภายในประเทศขายสุทธิ 5,516.23 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม จากการที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีสินค้าใหม่เข้ามาจดทะเบียนนั้น ทำให้นักลงทุนมีการซื้อขายสม่ำเสมอมากขึ้น (มีการซื้อขายอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบ 1 เดือน) โดย ณ 30 มิถุนายน 2552 มี Active Account จำนวน 129,704 บัญชี จากบัญชีที่เปิดกับโบรกเกอร์ทั้งสิ้น 549,502 บัญชี
ด้านการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดเอ็มเอไอ นั้น ในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ระดมทุนด้วยการออกหุ้นสามัญและตราสารหนี้รวม 304,832 ล้านบาท แบ่งเป็นการระดมทุนผ่านการออกหุ้นสามัญ 12,271 ล้านบาท และตราสารหนี้ 292,561ล้านบาท รวมทั้งเปิดทำการซื้อขายตราสารใหม่ๆ คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับทองคำ (Gold Futures) Single Stock Futures 11 ตัว และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือ Derivatives Warrant (DW)
ขณะเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เปิดตัว FTSE SET Shariah Index เพื่อให้เป็นดัชนีอ้างอิงเพื่อการออกตราสารใหม่ๆ และเร็วๆ นี้ จะเปิดให้มีการซื้อขายอีทีเอฟที่อ้างอิงดัชนี FTSE SET Large Cap หรือ ThaiDex FTSE SET Large Cap ETF รวมถึงในช่วงครึ่งปีหลังจะมีการออกสินค้าใหม่ต่อเนื่อง โดยเตรียมการออกกองทุนอีทีเอฟที่อ้างอิงดัชนี FTSE SET Shariah Index และกองทุน Islamic funds ซึ่งจะสามารถดึงดูดความสนใจผู้ลงทุนเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ตลาดอนุพันธ์อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการซื้อขายดอกเบี้ยล่วงหน้า (Interest Rate Futures) เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับผู้ลงทุน
สำหรับการเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนช่วง 6 เดือนแรก มีบริษัทเข้าจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 7 บริษัท แบ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 2 บริษัท และตลาดเอ็มเอไอ 5 บริษัท คิดเป็นมูลค่าตามราคาตลาด ณ ราคา ไอพีโอ 6,833 ล้านบาท และมีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีก 1 กอง ขนาดกองทุน 1,005 ล้านบาท โดยปัจจุบันมีบริษัทได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และอยู่ระหว่างรอเข้าซื้อขาย 11 บริษัท คือ SET 7 บริษัท และ mai 4 บริษัท มูลค่าตลาดประมาณ 21,515 ล้านบาท และมีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่รอเข้าจดทะเบียนอีก 3 กองทุน มูลค่า 2,881 ล้านบาท รวมถึงมีบริษัทที่อยู่ระหว่างยื่นคำขอกับสำนักงาน ก.ล.ต. อีก 10 บริษัท SET 1 บริษัท และ mai 9 บริษัท
นางภัทรียา กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเร่งเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียน หลังจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) อนุมัติมาตรการจูงใจให้กิจการทุกประเภทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน ให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากเดิมที่กำหนดวงเงินภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้น เป็นไม่จำกัดวงเงินภาษี โดยเริ่มมีผลตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึง 31 ธันวาคม 2555
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะร่วมกับบีโอไอ จัดสัมมนาให้กับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมบีโอไอ และบริษัททั่วไป รวมถึงที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้สอบบัญชี ให้ทราบถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน พร้อมทั้งร่วมโรดโชว์กับบีโอไอ และเข้าพบบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีบริษัททั้งขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญที่มีอัตรากำไรต่อเงินลงทุนสูงกว่าที่บีโอไอกำหนด อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมเบา เข้าจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังให้ความสำคัญและดูแลบริษัทที่เข้าจดทะเบียนแล้วอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เข้าพบเพื่อให้คำแนะนำแก่บริษัทจดทะเบียน ทั้งด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม และรับฟังข้อคิดเห็นทั้งด้านกฎเกณฑ์ การดำเนินงานด้านต่างๆ แล้ว 141 บริษัท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 200 บริษัท
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยถึง ผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 ที่ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 52 ที่ผ่านมา ว่า ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 1/52 และปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 2/52 ส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้น จากนักลงทุนคาดการณ์เศรษฐกิจโลกจะมีการปรับตัวดีขึ้น
โดยในช่วง 6 เดือนแรก มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยรวมในตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET) และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) อยู่ที่ 15,126 ล้านบาทต่อวัน ขณะที่ตลาดอนุพันธ์ (TFEX) ปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย 10,678 สัญญาต่อวัน และการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต มีมูลค่ารวม 363,817 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 20.2% ของมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมด
สำหรับดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (SET Index) ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2552 ปิดที่ 597.48 ปรับตัวสูงขึ้น 33%จากสิ้นปี 2551 มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เกตแคป) จำนวน 4.77 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% เช่นกัน ส่วนการซื้อขายแยกตามประเภทผู้ลงทุน ในช่วง 6 เดือนแรก พบว่า นักลงทุนต่างประเทศมียอดซื้อสุทธิ 20,128 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันยอดขายสุทธิ 14,611.77 ล้านบาท นักลงทุนภายในประเทศขายสุทธิ 5,516.23 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม จากการที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นและมีสินค้าใหม่เข้ามาจดทะเบียนนั้น ทำให้นักลงทุนมีการซื้อขายสม่ำเสมอมากขึ้น (มีการซื้อขายอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบ 1 เดือน) โดย ณ 30 มิถุนายน 2552 มี Active Account จำนวน 129,704 บัญชี จากบัญชีที่เปิดกับโบรกเกอร์ทั้งสิ้น 549,502 บัญชี
ด้านการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดเอ็มเอไอ นั้น ในช่วงครึ่งปีแรก บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ระดมทุนด้วยการออกหุ้นสามัญและตราสารหนี้รวม 304,832 ล้านบาท แบ่งเป็นการระดมทุนผ่านการออกหุ้นสามัญ 12,271 ล้านบาท และตราสารหนี้ 292,561ล้านบาท รวมทั้งเปิดทำการซื้อขายตราสารใหม่ๆ คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่อ้างอิงกับทองคำ (Gold Futures) Single Stock Futures 11 ตัว และใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ หรือ Derivatives Warrant (DW)
ขณะเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เปิดตัว FTSE SET Shariah Index เพื่อให้เป็นดัชนีอ้างอิงเพื่อการออกตราสารใหม่ๆ และเร็วๆ นี้ จะเปิดให้มีการซื้อขายอีทีเอฟที่อ้างอิงดัชนี FTSE SET Large Cap หรือ ThaiDex FTSE SET Large Cap ETF รวมถึงในช่วงครึ่งปีหลังจะมีการออกสินค้าใหม่ต่อเนื่อง โดยเตรียมการออกกองทุนอีทีเอฟที่อ้างอิงดัชนี FTSE SET Shariah Index และกองทุน Islamic funds ซึ่งจะสามารถดึงดูดความสนใจผู้ลงทุนเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ตลาดอนุพันธ์อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการซื้อขายดอกเบี้ยล่วงหน้า (Interest Rate Futures) เพื่อเป็นทางเลือกเพิ่มเติมสำหรับผู้ลงทุน
สำหรับการเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียนช่วง 6 เดือนแรก มีบริษัทเข้าจดทะเบียนเพิ่มขึ้น 7 บริษัท แบ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 2 บริษัท และตลาดเอ็มเอไอ 5 บริษัท คิดเป็นมูลค่าตามราคาตลาด ณ ราคา ไอพีโอ 6,833 ล้านบาท และมีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์อีก 1 กอง ขนาดกองทุน 1,005 ล้านบาท โดยปัจจุบันมีบริษัทได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. และอยู่ระหว่างรอเข้าซื้อขาย 11 บริษัท คือ SET 7 บริษัท และ mai 4 บริษัท มูลค่าตลาดประมาณ 21,515 ล้านบาท และมีกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ที่รอเข้าจดทะเบียนอีก 3 กองทุน มูลค่า 2,881 ล้านบาท รวมถึงมีบริษัทที่อยู่ระหว่างยื่นคำขอกับสำนักงาน ก.ล.ต. อีก 10 บริษัท SET 1 บริษัท และ mai 9 บริษัท
นางภัทรียา กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะเร่งเพิ่มจำนวนบริษัทจดทะเบียน หลังจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) อนุมัติมาตรการจูงใจให้กิจการทุกประเภทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน ให้ได้รับสิทธิประโยชน์จากเดิมที่กำหนดวงเงินภาษีเงินได้ที่ได้รับยกเว้น เป็นไม่จำกัดวงเงินภาษี โดยเริ่มมีผลตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึง 31 ธันวาคม 2555
ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะร่วมกับบีโอไอ จัดสัมมนาให้กับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมบีโอไอ และบริษัททั่วไป รวมถึงที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ปรึกษากฎหมาย ผู้สอบบัญชี ให้ทราบถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ในการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน พร้อมทั้งร่วมโรดโชว์กับบีโอไอ และเข้าพบบริษัทในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะมีบริษัททั้งขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่ ในกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญที่มีอัตรากำไรต่อเงินลงทุนสูงกว่าที่บีโอไอกำหนด อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตร ธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม และอุตสาหกรรมเบา เข้าจดทะเบียนเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ยังให้ความสำคัญและดูแลบริษัทที่เข้าจดทะเบียนแล้วอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้เข้าพบเพื่อให้คำแนะนำแก่บริษัทจดทะเบียน ทั้งด้านการสร้างมูลค่าเพิ่ม และรับฟังข้อคิดเห็นทั้งด้านกฎเกณฑ์ การดำเนินงานด้านต่างๆ แล้ว 141 บริษัท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 200 บริษัท