ASTVผู้จัดการรายวัน - บิ๊กสรรพากรเปิดทางขอคืนภาษีดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ย้อนหลัง 3 ปีหลังยกเว้นภาษีส่วนของรายได้ที่ไม่เกิน 2 หมื่นบาทต่อปี ด้านแบงก์พร้อมสนองนโยบายไม่หักภาษีหากผู้ฝากไม่แจ้ง
นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยภายหลังหารือกับผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับประกาศยกเว้นหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้จากดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่ไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี ว่า ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งพร้อมจะดำเนินการ เพราะสามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ใหม่ โดยกรมเพียงเพิ่มเติมประเด็นให้ผู้ฝากเงินที่ทราบว่ามีเงินได้เกินกว่าที่กำหนดหรือมีเงินฝากรวมกันทุกบัญชีเดินกว่า 4 ล้านบาทเลือกที่จะแจ้งให้ธนาคารหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไว้หรือสามารถนำรายได้ดังกล่าวมารวมเป็นรายพึงประเมินเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้
ส่วนกรณีที่ไม่ดำเนินการในทางใดทางหนึ่ง กรมสรรพากรมีข้อมูลที่ตรวจสอบได้ว่า ใครมีรายได้ดอกเบี้ยออมทรัพย์มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดและต้องเสียภาษีอยู่แล้ว โดยมาตรการดังกล่าวมีผลตั้งแต่ 1 ม.ค.2552 แต่ให้มีผลย้อนหลัง 3 ปีภาษีกรณีของผู้ที่ต้องการขอคืนภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ก่อนหน้านี้ก็สามารถมายื่นขอคืนได้ทันทีซึ่งกรมจะพิจารณาให้โดยเร็ว
“ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ยออมทรัพย์เกิน 2 หมื่นบาทต่อปีนั้นมีไม่มากนัก เพราะหากประเมินจากดอกเบี้ยออมทรัพย์ปัจจุบันที่ 0.5% นั้นจะต้องมีบัญชีเงินฝากตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น เชื่อว่าผู้ฝากเงินคงเลือกที่จะนำเงินไปฝากประจำมากกว่า เพราะแม้ว่าจะถูกหักภาษี 15% แต่ดอกเบี้ยที่ได้รับจะคุ้มกว่านำเงินมาฝากเงินออมทรัพย์ โดยส่วนของเงินฝากออมทรัพย์ที่ผ่านมาเก็บภาษีแค่ 300-400 บาทต่อปี ส่วนเงินฝากประจำยังเก็บได้หลายพันล้านบาท”นายวินัยกล่าวและว่าการยกเว้นภาษีดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรแต่อย่างใด เมื่อเทียบกับรายได้รมของกรมฯ 1.32 ล้านล้านบาท แต่เชื่อว่าจะเห็นผลดีต่อการกระตุ้นการบริโภคได้มากกว่า เพราะทำให้ประชาชนมีเงินในมือมากขึ้น โดยทั้งปียังมั่นใจว่าเก็บรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ซึ่งต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1.7 แสนล้านบาท.
นายวินัย วิทวัสการเวช อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยภายหลังหารือกับผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจในหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับประกาศยกเว้นหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้จากดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่ไม่เกิน 20,000 บาทต่อปี ว่า ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งพร้อมจะดำเนินการ เพราะสามารถทำได้ทันทีโดยไม่ต้องปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ใหม่ โดยกรมเพียงเพิ่มเติมประเด็นให้ผู้ฝากเงินที่ทราบว่ามีเงินได้เกินกว่าที่กำหนดหรือมีเงินฝากรวมกันทุกบัญชีเดินกว่า 4 ล้านบาทเลือกที่จะแจ้งให้ธนาคารหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไว้หรือสามารถนำรายได้ดังกล่าวมารวมเป็นรายพึงประเมินเพื่อยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ได้
ส่วนกรณีที่ไม่ดำเนินการในทางใดทางหนึ่ง กรมสรรพากรมีข้อมูลที่ตรวจสอบได้ว่า ใครมีรายได้ดอกเบี้ยออมทรัพย์มากกว่าเกณฑ์ที่กำหนดและต้องเสียภาษีอยู่แล้ว โดยมาตรการดังกล่าวมีผลตั้งแต่ 1 ม.ค.2552 แต่ให้มีผลย้อนหลัง 3 ปีภาษีกรณีของผู้ที่ต้องการขอคืนภาษีจากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ก่อนหน้านี้ก็สามารถมายื่นขอคืนได้ทันทีซึ่งกรมจะพิจารณาให้โดยเร็ว
“ผู้ที่มีรายได้จากดอกเบี้ยออมทรัพย์เกิน 2 หมื่นบาทต่อปีนั้นมีไม่มากนัก เพราะหากประเมินจากดอกเบี้ยออมทรัพย์ปัจจุบันที่ 0.5% นั้นจะต้องมีบัญชีเงินฝากตั้งแต่ 4 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น เชื่อว่าผู้ฝากเงินคงเลือกที่จะนำเงินไปฝากประจำมากกว่า เพราะแม้ว่าจะถูกหักภาษี 15% แต่ดอกเบี้ยที่ได้รับจะคุ้มกว่านำเงินมาฝากเงินออมทรัพย์ โดยส่วนของเงินฝากออมทรัพย์ที่ผ่านมาเก็บภาษีแค่ 300-400 บาทต่อปี ส่วนเงินฝากประจำยังเก็บได้หลายพันล้านบาท”นายวินัยกล่าวและว่าการยกเว้นภาษีดังกล่าวจะไม่มีผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรแต่อย่างใด เมื่อเทียบกับรายได้รมของกรมฯ 1.32 ล้านล้านบาท แต่เชื่อว่าจะเห็นผลดีต่อการกระตุ้นการบริโภคได้มากกว่า เพราะทำให้ประชาชนมีเงินในมือมากขึ้น โดยทั้งปียังมั่นใจว่าเก็บรายได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ซึ่งต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1.7 แสนล้านบาท.