"มาร์ค"เดินหน้านโยบายช่วยเหลือเกษตรกร ด้วยการยกเลิกการรับจำนำพืชผลทางการเกษตร หันมาใช้ระบบประกันราคา ดีเดย์ ส.ค.นี้ให้เกษตรกรมาขึ้นทะเบียนว่าจะผลิตสินค้าเกษตรตัวใด ปริมาณเท่าไร "สาธิต"หนุนรัฐบาลกล้าเปลี่ยนนโยบาย ชี้เป็นการตัดวงจรการทุจริต คอร์รัปชัน และทำให้เกษตรกรได้ประโยชน์สูงสุด
วานนี้ (19 ก.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ถึงเรื่องแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกร ว่า ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ใช้วิธีการจำนำ โดยการเข้าไปแทรกแซงและไปรับจำนำ ซึ่งในที่สุดก็กลายเป็นการรับซื้อ เพราะว่ามีการตั้งราคาจำนำไว้ค่อนข้างสูง ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างที่ตามมา แต่ว่าปัญหาใหญ่ที่สุดที่เราให้ความสนใจ ให้ความสำคัญคือว่าเอาเข้าจริงๆ การดำเนินการตามแนวทางนี้ มีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการไม่ถึงครึ่ง บางโครงการนั้นเพียงแค่ 1 ใน 5 หรือ 1 ใน 4 เท่านั้นเอง ซึ่งแนวทางของการที่จะแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตรต่อจากนี้ไป เราจะปรับเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบที่จะให้ความช่วยเหลือเกษตรกรทุกราย
ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในกรณีของข้าวโพดกับมันสำปะหลังไปแล้ว และในวันอังคารที่จะถึงนี้ จะมีการดำเนินการในเรื่องของข้าวนาปี โดยหลักการสำคัญจากนี้ไปคือว่า ขั้นตอนประมาณเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป คือการที่จะต้องมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรทั้งหมด เพราะแนวทางของการช่วยเหลือเกษตรกรตามแนวทางนี้ คือการที่เราจะต้องมีการจดทะเบียนเพื่อมีข้อมูลว่า เกษตรกรแต่ละราย ในแต่ละฤดูกาลนั้น กำลังมีการเพาะปลูกพืชผลตัวใด ในปริมาณเท่าไร และจะทำให้การเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนในเรื่องของรายได้ของพี่น้องเกษตรกรเป็นไปอย่างทั่วถึงอย่างแท้จริง
"ขอยืนยันว่าในฤดูกาลปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลัง ข้าวโพด และข้าว นั้น การปรับเปลี่ยนนโยบายของรัฐบาลในครั้งนี้ จะทำให้เกษตรกรทุกรายได้ประโยชน์ตรงนี้ ที่สำคัญที่สุดในเรื่องของข้าว ซึ่งจะคุยกันในรายละเอียดสัปดาห์หน้า"
นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ปัญหาที่พบจากโครงการรับจำนำคือ มันได้ทำลายกลไกตลาดในเรื่องของข้าว และทำให้หลายฝ่ายขณะนี้มองเห็น และมีความห่วงใยว่าข้าวไทยกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก การปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งนี้ จะเป็นตัวสำคัญในการหยุดยั้งปัญหานี้ และแก้ไขปัญหานี้เพื่อที่จะให้ข้าวไทยสามารถที่จะแข่งขันในตลาดโลกได้ต่อไป
นายสาธิต ปิตุเตชะ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขอสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการช่วยเหลือเกษตรกร จากการรับจำนำพืชผลการเกษตรมาใช้การประกันราคาพืชผล ซึ่งถือว่า เป็นความกล้าหาญของรัฐบาล ที่กล้าเปลี่ยนแปลง เพราะพิจารณาแล้วว่าผลประโยชน์ หรือรายรับที่เกษตรกรควรได้จากการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ เพื่อให้การรับจำนำอย่างที่รัฐบาลต่างๆ เคยทำมา ไม่เคยตกถึงมือเกษตรกรโดยตรง เพราะยังมีการทุจริต คอร์รัปชัน ระหว่างผู้ประกอบการรับจำนำสินค้าเกษตร กับข้าราชการ รวมถึงผู้มีอิทธิพลในพื้นที่จังหวัดต่างๆ
ดังนั้น การใช้นโยบายประกันราคาสินค้าเกษตรนั้น จะมีผลดีคือ 1. ตัดวงจรการทุจริตคอร์รัปชันในขั้นตอนต่างๆ 2. ช่วยประหยัดงบประมาณของรัฐ ที่จะถูกคอร์รัปชันไปตามกระบวนการต่างๆ ได้มากมาย
3. ช่วยเหลือให้เกษตรกรได้รับประโยชน์โดยตรง และเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งเป็นการสร้างความหวังให้เกษตรกรว่า ลงทุนลงแรงไปแล้วจะไม่สูญเปล่า แม้จะมีปัญหาในชั้นปฏิบัติบ้าง เพราะเป็นการเริ่มใช้นโยบายนี้ในปีแรกที่ต้องมีการลงข้อมูลประวัติของเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชประเภทต่างๆ เพื่อทำฐานข้อมูลโดยภาครัฐจะได้ให้การช่วยเหลือได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอุดช่องว่างหรือรูรั่วที่จะเปิดให้มีการทุจริตตามมา ซึ่งจะเป็นปัญหาไม่จบสิ้น
วานนี้ (19 ก.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ถึงเรื่องแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกร ว่า ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ใช้วิธีการจำนำ โดยการเข้าไปแทรกแซงและไปรับจำนำ ซึ่งในที่สุดก็กลายเป็นการรับซื้อ เพราะว่ามีการตั้งราคาจำนำไว้ค่อนข้างสูง ทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างที่ตามมา แต่ว่าปัญหาใหญ่ที่สุดที่เราให้ความสนใจ ให้ความสำคัญคือว่าเอาเข้าจริงๆ การดำเนินการตามแนวทางนี้ มีเกษตรกรที่ได้รับประโยชน์จากโครงการไม่ถึงครึ่ง บางโครงการนั้นเพียงแค่ 1 ใน 5 หรือ 1 ใน 4 เท่านั้นเอง ซึ่งแนวทางของการที่จะแก้ไขปัญหาพืชผลทางการเกษตรต่อจากนี้ไป เราจะปรับเปลี่ยนมาเป็นรูปแบบที่จะให้ความช่วยเหลือเกษตรกรทุกราย
ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในกรณีของข้าวโพดกับมันสำปะหลังไปแล้ว และในวันอังคารที่จะถึงนี้ จะมีการดำเนินการในเรื่องของข้าวนาปี โดยหลักการสำคัญจากนี้ไปคือว่า ขั้นตอนประมาณเดือนสิงหาคมเป็นต้นไป คือการที่จะต้องมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรทั้งหมด เพราะแนวทางของการช่วยเหลือเกษตรกรตามแนวทางนี้ คือการที่เราจะต้องมีการจดทะเบียนเพื่อมีข้อมูลว่า เกษตรกรแต่ละราย ในแต่ละฤดูกาลนั้น กำลังมีการเพาะปลูกพืชผลตัวใด ในปริมาณเท่าไร และจะทำให้การเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนในเรื่องของรายได้ของพี่น้องเกษตรกรเป็นไปอย่างทั่วถึงอย่างแท้จริง
"ขอยืนยันว่าในฤดูกาลปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลัง ข้าวโพด และข้าว นั้น การปรับเปลี่ยนนโยบายของรัฐบาลในครั้งนี้ จะทำให้เกษตรกรทุกรายได้ประโยชน์ตรงนี้ ที่สำคัญที่สุดในเรื่องของข้าว ซึ่งจะคุยกันในรายละเอียดสัปดาห์หน้า"
นายกรัฐมนตรี กล่าวด้วยว่า ปัญหาที่พบจากโครงการรับจำนำคือ มันได้ทำลายกลไกตลาดในเรื่องของข้าว และทำให้หลายฝ่ายขณะนี้มองเห็น และมีความห่วงใยว่าข้าวไทยกำลังสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก การปรับเปลี่ยนนโยบายครั้งนี้ จะเป็นตัวสำคัญในการหยุดยั้งปัญหานี้ และแก้ไขปัญหานี้เพื่อที่จะให้ข้าวไทยสามารถที่จะแข่งขันในตลาดโลกได้ต่อไป
นายสาธิต ปิตุเตชะ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ขอสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการช่วยเหลือเกษตรกร จากการรับจำนำพืชผลการเกษตรมาใช้การประกันราคาพืชผล ซึ่งถือว่า เป็นความกล้าหาญของรัฐบาล ที่กล้าเปลี่ยนแปลง เพราะพิจารณาแล้วว่าผลประโยชน์ หรือรายรับที่เกษตรกรควรได้จากการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ เพื่อให้การรับจำนำอย่างที่รัฐบาลต่างๆ เคยทำมา ไม่เคยตกถึงมือเกษตรกรโดยตรง เพราะยังมีการทุจริต คอร์รัปชัน ระหว่างผู้ประกอบการรับจำนำสินค้าเกษตร กับข้าราชการ รวมถึงผู้มีอิทธิพลในพื้นที่จังหวัดต่างๆ
ดังนั้น การใช้นโยบายประกันราคาสินค้าเกษตรนั้น จะมีผลดีคือ 1. ตัดวงจรการทุจริตคอร์รัปชันในขั้นตอนต่างๆ 2. ช่วยประหยัดงบประมาณของรัฐ ที่จะถูกคอร์รัปชันไปตามกระบวนการต่างๆ ได้มากมาย
3. ช่วยเหลือให้เกษตรกรได้รับประโยชน์โดยตรง และเต็มเม็ดเต็มหน่วย ทั้งเป็นการสร้างความหวังให้เกษตรกรว่า ลงทุนลงแรงไปแล้วจะไม่สูญเปล่า แม้จะมีปัญหาในชั้นปฏิบัติบ้าง เพราะเป็นการเริ่มใช้นโยบายนี้ในปีแรกที่ต้องมีการลงข้อมูลประวัติของเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชประเภทต่างๆ เพื่อทำฐานข้อมูลโดยภาครัฐจะได้ให้การช่วยเหลือได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการอุดช่องว่างหรือรูรั่วที่จะเปิดให้มีการทุจริตตามมา ซึ่งจะเป็นปัญหาไม่จบสิ้น