ASTVผู้จัดการรายวัน- กระทรวงการท่องเที่ยวฯเล็งสร้างมูฟวี่ทาวน์ครบวงจรในพื้นที่รอยัลโคสต์ สั่ง สพท.เร่งศึกษา พร้อมชงเรื่องของบประมาณจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจฉุกเฉินรอบ 2 มั่นใจใช้เป็นแม็กเน็ต ดูดการลงทุนในธุรกิจเกี่ยวเนื่อง และยังเป็นเครื่องมือการให้อินเซนทีฟกองถ่ายทำ ด้าน สพท.ระบุเบื้องต้นวาง 3 แนวทางการลงทุน คาดใช้งบเกือบ 3,000 ล้านบาท
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) ไปเร่งศึกษาความเป็นไปได้ถึงการจัดสร้างมูฟวี่ทาวน์ ในพื้นที่โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย หรือรอยัลโคสต์(The Royal Coast) โดยกรอบที่วางไว้ คือต้องไม่เกิดการแข่งขันกับภาคเอกชน แต่กลับเป็นการเกื้อหนุนให้เกิดธุรกิจต่อเนื่องและเป็นแม็กเน็ตดึงนักลงทุนเข้ามาในพื้นที่ได้มากขึ้น
ทั้งนี้โครงการมูฟวี่ทาวน์อาจเป็นเรื่องของการสร้างสตูดิโอให้เช่าถ่ายทำภาพยนตร์ และ ธุรกิจบริการ พี-โพสต์ โปรดักชั่น เพื่อให้การบริการถ่ายทำภาพยนตร์ของประเทศไทยเป็นไปแบบครบวงจร โดยโครงการนี้จะต้องเข้ามาเสริมและสอดคล้องกับโครงการสร้างท่าจอดเรือยอร์ชและเรือสำราญเพื่อการท่องเที่ยวด้วย
“เราต้องการให้โปรเจครอยัลโคสต์เป็นรูปร่างชัดเจน โดยเฉพาะด้านนโยบาย เพื่อ ดึงดูดนักธุรกิจเข้ามาลงทุนในพื้นที่ ซึ่งส่วนหนึ่งรัฐจะต้องเป็นผู้ลงทุนนำร่อง ทั้งด้านสาธารณูปโภค และอื่นๆเท่าที่จำเป็น ซึ่งโครงการมูฟวี่ทานว์นี้ ทุนประเดิมเบื้องต้นจะเสนอขอใช้เงินจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจฉุกเฉินในรอบสองนี้” ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าว
**ชง3โปรเจคใช้งบกว่า 3 พันล.
ทางด้านนาย เสกสรร นาควงศ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (สพท.) กล่าวว่า สพท.นำเสนอ 2-3 โครงการเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจฉุกเฉินรอบสองนี้ ได้แก่ โครงการมูฟวี่ทาวน์ ,โครงการพัฒนาระบบข้อมูลด้านพื้นที่ท่องเที่ยว และโครงการ เรสท์แอร์เรีย เพื่อสร้างจุดพักรถบนถนนสายต่างๆทั่วประเทศ เพื่อความปลอดภัยของการเดินทาง ซึ่งโครงการที่กล่าวมาทั้งหมดจะเป็นโครงการต่อเนื่องใช้งบผูกพันอย่างน้อย 2-3 ปี รวมมูลค่าโครงการมากกว่า 2,000-3,000 ล้านบาท
สำหรับโครงการมูฟวี่ทาวน์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาใน 3 ทางเลือก ได้แก่ 1.รัฐลงทุนเองทั้งหมด 2.รัฐและเอกชนร่วมลงทุน และ 3.รัฐลงทุนด้านสาธารณูปโภค แต่สัมปทานให้เอกชนลงทุนด้านสตูดิโอ และนำส่งรายได้ให้รัฐตามสัญญาข้อตกลง อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 รูปแบบยังเป็นกรอบกว้างๆ ยังไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด ส่วนพื้นที่อยู่ระหว่างการจัดหา คาดว่าต้องใช้ไม่น้อยกว่า 300 ไร่ เงินลงทุนเบื้องต้นกว่า 200 ล้านบาท
“เริ่มแรกคิดว่าจะทำเป็นโรงถ่ายภาพยนตร์ ซึ่งต้องใช้เงินและพื้นที่จำนวนมาก ดังนั้นภาคเอกชนจึงเสนอให้ทำในรูปแบบสตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์ ซึ่งลงทุนน้อยกว่า แต่ให้มาเน้นด้านการให้บริการโพสต์โปรดักชั่น เพื่อให้กองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างชาติ ได้ใช้บริการแบบครบวงจร จุดประสงค์โครงการนี้รัฐจะไม่แข่งขันกับเอกชน แต่การที่รัฐมีโรงถ่ายทำเอง จะง่ายสำหรับการให้อินเซนทีฟแก่กองถ่ายภาพยนตร์ สร้างแรงจูงใจให้เขาตัดสินใจเลือกมาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย”
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีสตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่รอยัลโคสต์นี้ มั่นใจว่าจะช่วยให้เกิดธุรกิจต่อเนื่องมากมาย เกิดความคุกคักด้านการลงทุนและการท่องเที่ยวแบบครบวงจร ทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
นายเสกสรรค์ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการพัฒนาระบบข้อมูลด้านพื้นที่ท่องเที่ยว เป็นการวบรวมแหล่งท่องเที่ยวโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นเข้ามาจัดเก็บในฐานข้อมูล ขณะที่ สพท. เมื่อได้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวจะลงพื้นที่สำรวจ และวางแผนการทำงานตามความเหมาะสม เช่น โปรโมตเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม เป็นต้น เป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี (2553-2555) งบประมาณ 210 ล้านบาท ทุนประเดิมปีแรก 50 ล้านบาท
ส่วนโครงการเรสท์ แอร์เรีย หรือ จุดพักรถระหว่างทาง เพื่อการขับขี่ปลอดภัยของผู้โดยสาร และผู้ใช้รถใช้ถนน ที่ตั้งโจทย์ ให้ เป็นจุดพักรถบัส และรถขนาดใหญ่ จะได้ไม่ต้องไปแออัดในปั๊มน้ำมัน ซึ่งมีพื้นที่จำกัด โดยจะทำในทุก 200 ก.ม. ภายในจุดพักรถ จะมีร้านค้าโอท็อป สินค้าชุมชน และ ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวด้วย
นางสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว(สพท.) ไปเร่งศึกษาความเป็นไปได้ถึงการจัดสร้างมูฟวี่ทาวน์ ในพื้นที่โครงการพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอ่าวไทย หรือรอยัลโคสต์(The Royal Coast) โดยกรอบที่วางไว้ คือต้องไม่เกิดการแข่งขันกับภาคเอกชน แต่กลับเป็นการเกื้อหนุนให้เกิดธุรกิจต่อเนื่องและเป็นแม็กเน็ตดึงนักลงทุนเข้ามาในพื้นที่ได้มากขึ้น
ทั้งนี้โครงการมูฟวี่ทาวน์อาจเป็นเรื่องของการสร้างสตูดิโอให้เช่าถ่ายทำภาพยนตร์ และ ธุรกิจบริการ พี-โพสต์ โปรดักชั่น เพื่อให้การบริการถ่ายทำภาพยนตร์ของประเทศไทยเป็นไปแบบครบวงจร โดยโครงการนี้จะต้องเข้ามาเสริมและสอดคล้องกับโครงการสร้างท่าจอดเรือยอร์ชและเรือสำราญเพื่อการท่องเที่ยวด้วย
“เราต้องการให้โปรเจครอยัลโคสต์เป็นรูปร่างชัดเจน โดยเฉพาะด้านนโยบาย เพื่อ ดึงดูดนักธุรกิจเข้ามาลงทุนในพื้นที่ ซึ่งส่วนหนึ่งรัฐจะต้องเป็นผู้ลงทุนนำร่อง ทั้งด้านสาธารณูปโภค และอื่นๆเท่าที่จำเป็น ซึ่งโครงการมูฟวี่ทานว์นี้ ทุนประเดิมเบื้องต้นจะเสนอขอใช้เงินจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจฉุกเฉินในรอบสองนี้” ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ กล่าว
**ชง3โปรเจคใช้งบกว่า 3 พันล.
ทางด้านนาย เสกสรร นาควงศ์ รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว (สพท.) กล่าวว่า สพท.นำเสนอ 2-3 โครงการเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจฉุกเฉินรอบสองนี้ ได้แก่ โครงการมูฟวี่ทาวน์ ,โครงการพัฒนาระบบข้อมูลด้านพื้นที่ท่องเที่ยว และโครงการ เรสท์แอร์เรีย เพื่อสร้างจุดพักรถบนถนนสายต่างๆทั่วประเทศ เพื่อความปลอดภัยของการเดินทาง ซึ่งโครงการที่กล่าวมาทั้งหมดจะเป็นโครงการต่อเนื่องใช้งบผูกพันอย่างน้อย 2-3 ปี รวมมูลค่าโครงการมากกว่า 2,000-3,000 ล้านบาท
สำหรับโครงการมูฟวี่ทาวน์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาใน 3 ทางเลือก ได้แก่ 1.รัฐลงทุนเองทั้งหมด 2.รัฐและเอกชนร่วมลงทุน และ 3.รัฐลงทุนด้านสาธารณูปโภค แต่สัมปทานให้เอกชนลงทุนด้านสตูดิโอ และนำส่งรายได้ให้รัฐตามสัญญาข้อตกลง อย่างไรก็ตาม ทั้ง 3 รูปแบบยังเป็นกรอบกว้างๆ ยังไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด ส่วนพื้นที่อยู่ระหว่างการจัดหา คาดว่าต้องใช้ไม่น้อยกว่า 300 ไร่ เงินลงทุนเบื้องต้นกว่า 200 ล้านบาท
“เริ่มแรกคิดว่าจะทำเป็นโรงถ่ายภาพยนตร์ ซึ่งต้องใช้เงินและพื้นที่จำนวนมาก ดังนั้นภาคเอกชนจึงเสนอให้ทำในรูปแบบสตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์ ซึ่งลงทุนน้อยกว่า แต่ให้มาเน้นด้านการให้บริการโพสต์โปรดักชั่น เพื่อให้กองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างชาติ ได้ใช้บริการแบบครบวงจร จุดประสงค์โครงการนี้รัฐจะไม่แข่งขันกับเอกชน แต่การที่รัฐมีโรงถ่ายทำเอง จะง่ายสำหรับการให้อินเซนทีฟแก่กองถ่ายภาพยนตร์ สร้างแรงจูงใจให้เขาตัดสินใจเลือกมาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย”
อย่างไรก็ตาม เมื่อมีสตูดิโอถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่รอยัลโคสต์นี้ มั่นใจว่าจะช่วยให้เกิดธุรกิจต่อเนื่องมากมาย เกิดความคุกคักด้านการลงทุนและการท่องเที่ยวแบบครบวงจร ทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
นายเสกสรรค์ กล่าวอีกว่า สำหรับโครงการพัฒนาระบบข้อมูลด้านพื้นที่ท่องเที่ยว เป็นการวบรวมแหล่งท่องเที่ยวโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม ในการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นเข้ามาจัดเก็บในฐานข้อมูล ขณะที่ สพท. เมื่อได้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวจะลงพื้นที่สำรวจ และวางแผนการทำงานตามความเหมาะสม เช่น โปรโมตเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ การฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวเสื่อมโทรม เป็นต้น เป็นโครงการต่อเนื่อง 3 ปี (2553-2555) งบประมาณ 210 ล้านบาท ทุนประเดิมปีแรก 50 ล้านบาท
ส่วนโครงการเรสท์ แอร์เรีย หรือ จุดพักรถระหว่างทาง เพื่อการขับขี่ปลอดภัยของผู้โดยสาร และผู้ใช้รถใช้ถนน ที่ตั้งโจทย์ ให้ เป็นจุดพักรถบัส และรถขนาดใหญ่ จะได้ไม่ต้องไปแออัดในปั๊มน้ำมัน ซึ่งมีพื้นที่จำกัด โดยจะทำในทุก 200 ก.ม. ภายในจุดพักรถ จะมีร้านค้าโอท็อป สินค้าชุมชน และ ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยวด้วย