ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”เล็งทบทวนเป้าเงินเฟ้อทั้งปีใหม่ หลังรัฐบาลต่ออายุมาตรการช่วยลดค่าครองชีพไปจนถึงสิ้นปี
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงฯ อาจปรับลดเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 2552 ลงจากเดิมที่คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อปีนี้จะขยายตัว 0-0.5% หลังจากที่รัฐบาลต่อระยะเวลามาตรการลดค่าครองชีพประชาชนทั้งค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า รถเมล์ ต่อไปอีก 5 เดือน หรือจากที่จะหมดอายุในเดือนก.ค.นี้ เป็นหมดอายุในเดือนธ.ค. ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง
“เป้าหมายเงินเฟ้อเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 0-0.5% แต่ยังไม่รวมการต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพ ดังนั้น เมื่อรัฐบาลต่ออายุ ก็อาจมีผลต่อเงินเฟ้อทั้งปีให้ลดลงได้อีก แต่ต้องดูปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันและค่าเงินบาทประกอบด้วย” นายศิริพลกล่าว
ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ แม้จะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง แต่ไม่มีผลต่อการเกิดภาวะเงินฝืด เพราะมาตรการดังกล่าวส่งผลดีช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน ที่จะช่วยเพิ่มอำนาจการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของประชาชนมากขึ้นด้วย มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันและราคาสินค้ายังมีการเคลื่อนไหว
สำหรับผลกระทบของการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 นั้น อาจมีผลกระทบทำให้ประชาชนไปใช้บริการสถานบริการบันเทิงและห้างสรรพสินค้าน้อยลง เพราะอาจวิตกต่อการแพร่ระบาดของเชื้อในพื้นที่ที่มีการติดเครื่องปรับอากาศ แต่โดยภาพรวมการจับจ่ายใช้สอยยังปกติ และคนหันมาซื้อสินค้าตามพื้นที่โล่งในตลาดสดหรือตลาดนัด ซึ่งถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งให้กับผู้บริโภค
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพประชาชน ไม่ได้ส่งผลกดดันให้อัตราเงินเฟ้อติดลบหรือทำให้เกิดปัญหาเงินฝืดเพิ่มขึ้น เพราะมาตรการลดค่าครองชีพเป็นโครงการที่ใช้ต่อเนื่องตั้งแต่ ก.ค. ปีที่แล้ว และถือเป็นฐานการคิดคำนวณเดิมทำให้ไม่ส่งผลให้การใช้จ่ายลดลงเมื่อเทียบกันปีต่อปี
อย่างไรก็ตาม แม้มาตรการดังกล่าวจะไม่ทำให้เงินเฟ้อติดลบเพิ่มขึ้น แต่โอกาสที่เงินเฟ้อกลับมาเป็นบวกจะช้าลง จากเดิมคาดว่าในครึ่งปีจะเป็นบวก แต่ขณะนี้อาจต้องรอไปถึงไตรมาส 4 เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่ดี และได้รับผลกระทบจากปัญหาไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ทำให้ประชาชนใช้จ่ายน้อยลงอีก ดังนั้น เป้าหมายเงินเฟ้อที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ 0-0.5% มีโอกาส 50-50 แต่อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะมีปัจจัยนอกเหนือการคาดการณ์เดิมเข้ามาเกี่ยวข้องมาก ซึ่งส่วนตัวคาดว่าโอกาสดัชนีราคาผู้บริโภคมีโอกาสเคลื่อนไหวในแดนลบเช่นกัน
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กระทรวงฯ อาจปรับลดเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 2552 ลงจากเดิมที่คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อปีนี้จะขยายตัว 0-0.5% หลังจากที่รัฐบาลต่อระยะเวลามาตรการลดค่าครองชีพประชาชนทั้งค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า รถเมล์ ต่อไปอีก 5 เดือน หรือจากที่จะหมดอายุในเดือนก.ค.นี้ เป็นหมดอายุในเดือนธ.ค. ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มลดลง
“เป้าหมายเงินเฟ้อเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 0-0.5% แต่ยังไม่รวมการต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพ ดังนั้น เมื่อรัฐบาลต่ออายุ ก็อาจมีผลต่อเงินเฟ้อทั้งปีให้ลดลงได้อีก แต่ต้องดูปัจจัยเรื่องราคาน้ำมันและค่าเงินบาทประกอบด้วย” นายศิริพลกล่าว
ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพ แม้จะทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลง แต่ไม่มีผลต่อการเกิดภาวะเงินฝืด เพราะมาตรการดังกล่าวส่งผลดีช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชน ที่จะช่วยเพิ่มอำนาจการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของประชาชนมากขึ้นด้วย มีผลต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันและราคาสินค้ายังมีการเคลื่อนไหว
สำหรับผลกระทบของการแพร่ระบาดไข้หวัดใหญ่ 2009 นั้น อาจมีผลกระทบทำให้ประชาชนไปใช้บริการสถานบริการบันเทิงและห้างสรรพสินค้าน้อยลง เพราะอาจวิตกต่อการแพร่ระบาดของเชื้อในพื้นที่ที่มีการติดเครื่องปรับอากาศ แต่โดยภาพรวมการจับจ่ายใช้สอยยังปกติ และคนหันมาซื้อสินค้าตามพื้นที่โล่งในตลาดสดหรือตลาดนัด ซึ่งถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งให้กับผู้บริโภค
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพประชาชน ไม่ได้ส่งผลกดดันให้อัตราเงินเฟ้อติดลบหรือทำให้เกิดปัญหาเงินฝืดเพิ่มขึ้น เพราะมาตรการลดค่าครองชีพเป็นโครงการที่ใช้ต่อเนื่องตั้งแต่ ก.ค. ปีที่แล้ว และถือเป็นฐานการคิดคำนวณเดิมทำให้ไม่ส่งผลให้การใช้จ่ายลดลงเมื่อเทียบกันปีต่อปี
อย่างไรก็ตาม แม้มาตรการดังกล่าวจะไม่ทำให้เงินเฟ้อติดลบเพิ่มขึ้น แต่โอกาสที่เงินเฟ้อกลับมาเป็นบวกจะช้าลง จากเดิมคาดว่าในครึ่งปีจะเป็นบวก แต่ขณะนี้อาจต้องรอไปถึงไตรมาส 4 เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่ดี และได้รับผลกระทบจากปัญหาไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ทำให้ประชาชนใช้จ่ายน้อยลงอีก ดังนั้น เป้าหมายเงินเฟ้อที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ 0-0.5% มีโอกาส 50-50 แต่อาจไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เพราะมีปัจจัยนอกเหนือการคาดการณ์เดิมเข้ามาเกี่ยวข้องมาก ซึ่งส่วนตัวคาดว่าโอกาสดัชนีราคาผู้บริโภคมีโอกาสเคลื่อนไหวในแดนลบเช่นกัน