วานนี้ ( 15 ก.ค.)นางอมรา พงศาพิชญ์ ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าว
ภายหลัง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประชุมมอบนโยบายให้กับเจ้าหน้าที่ ภายในสำนักงานกรรมการ
สิทธิฯ ว่า ได้มุ่งเน้นในเรื่องการสร้างวัฒนธรรม และการสำนึกเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย รวม
ทั้งมุ่งเน้นแก้ปัญหาความขัดแย้งด้านสิทธิฯ ทั้งที่มีผู้ร้องมา และที่คณะกรรมการฯเห็นว่าสำคัญ รวมถึง
การติดตามตรวจสอบ คลี่คลายและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ ยังต้องปรับวิธีการทำงาน โดยจะไม่ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ เป็นเอ็นจีโอ
ระดับชาติ หรือเป็นสำนักงานทนายความ อีกทั้งจะไม่แก้ปัญหา หรือส่งฟ้องเป็นรายๆไป แต่จะต้องไปให้
ไกลกว่านั้น เพราะการแก้ไขปัญหาทีละรายอาจไม่ถูกต้อง จึงเห็นว่าต้องยกระดับเป็นปัญหาสิทธิมนุษย
ชนของสังคม ที่ต้องจัดการแก้ไขทั้งระบบ ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้มีปัญหาในประเด็นเดียวกันเกิดขึ้น
มาอีก นอกจากนี้ ยังต้องเน้นการคลี่คลายปัญหาด้วยการประสานงานกับรัฐบาลและหน่วยงานรัฐไป
พร้อมๆกัน แทนวิธีเดิม ที่จะต้องส่งข้อเสนอไปยังรัฐบาลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลังได้ข้อสรุป
“เราเลือกวิธีการทำงานด้วยกันมากกว่าการเสนอแนะ แต่ที่บอกอย่างนี้ ไม่ใช่เชียร์รัฐบาล แต่
เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาด้วยกัน”
นางอมรา กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ควรที่จะมีการปรับโครงสร้างการบริหารงานภายในสำนักงาน
คณะกรรมการสิทธิฯ อาทิ งานบุคคล และโครงสร้างองค์กร เพื่อเป็นการรองรับอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่
ให้ไว้ โดยเฉพาะกรณีที่รัฐธรรมนูญเพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการสิทธิฯ สามารถยื่นฟ้องร้องคดีต่อศาลได้เอง
อีกทั้งยังต้องสร้างเครือข่ายพันธมิตรฯ เพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือในการฟ้องร้องคดี
นอกจากนี้ยังต้องจัดกลุ่มคณะอนุกรรมการฯขึ้นมาใหม่ จากเดิมที่มีกว่า 40 คณะ แต่โครงสร้าง
ใหม่จะจัดให้เหลือไม่กี่คณะเท่านั้น โดยจะมีคณะกรรมการสิทธิฯ แต่ละคนลงไปควบคุมและดูแลงาน
ตามที่ตัวเองถนัด ซึ่งในสัปดาห์หน้า จะมีการประชุมแบ่งงานกันอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าการปรับองค์กรเบื้อง
ต้นจะใช้เวลาไม่นานแต่หลังจากนี้ต้องมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การทำงานใหม่ด้วย
นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับโครงสร้างการบริหารบุคคล เพื่อให้รองรับกับภารกิจและสร้าง
วัฒนธรรมภายในองค์กรใหม่ เพื่อให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ เป็นองค์กรอิสระที่แท้จริงไม่ใช่เอ็นจีโอ
และจะได้ไม่ถูกมองว่า ทำหน้าที่เหมือนเป็นฝ่ายค้านของรัฐบาล อย่างที่ผ่านมา
เมื่อถามว่า การเข้ามาปรับโครงสร้างใหม่ จะทำให้ถูกมองว่าเข้ามาล้างบางหรือไม่ นางอมรา
กล่าวว่า คงไม่ใช่ เพราะที่ทราบมาว่า เจ้าหน้าที่ทุกคนก็บ่นเรื่องนี้ และต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น
ดังนั้นคงไม่ยากนักที่จะทำเรื่องนี้
ภายหลัง กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติประชุมมอบนโยบายให้กับเจ้าหน้าที่ ภายในสำนักงานกรรมการ
สิทธิฯ ว่า ได้มุ่งเน้นในเรื่องการสร้างวัฒนธรรม และการสำนึกเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในสังคมไทย รวม
ทั้งมุ่งเน้นแก้ปัญหาความขัดแย้งด้านสิทธิฯ ทั้งที่มีผู้ร้องมา และที่คณะกรรมการฯเห็นว่าสำคัญ รวมถึง
การติดตามตรวจสอบ คลี่คลายและแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
นอกจากนี้ ยังต้องปรับวิธีการทำงาน โดยจะไม่ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ เป็นเอ็นจีโอ
ระดับชาติ หรือเป็นสำนักงานทนายความ อีกทั้งจะไม่แก้ปัญหา หรือส่งฟ้องเป็นรายๆไป แต่จะต้องไปให้
ไกลกว่านั้น เพราะการแก้ไขปัญหาทีละรายอาจไม่ถูกต้อง จึงเห็นว่าต้องยกระดับเป็นปัญหาสิทธิมนุษย
ชนของสังคม ที่ต้องจัดการแก้ไขทั้งระบบ ซึ่งจะเป็นการป้องกันไม่ให้มีปัญหาในประเด็นเดียวกันเกิดขึ้น
มาอีก นอกจากนี้ ยังต้องเน้นการคลี่คลายปัญหาด้วยการประสานงานกับรัฐบาลและหน่วยงานรัฐไป
พร้อมๆกัน แทนวิธีเดิม ที่จะต้องส่งข้อเสนอไปยังรัฐบาลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลังได้ข้อสรุป
“เราเลือกวิธีการทำงานด้วยกันมากกว่าการเสนอแนะ แต่ที่บอกอย่างนี้ ไม่ใช่เชียร์รัฐบาล แต่
เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาด้วยกัน”
นางอมรา กล่าวต่อว่า หลังจากนี้ควรที่จะมีการปรับโครงสร้างการบริหารงานภายในสำนักงาน
คณะกรรมการสิทธิฯ อาทิ งานบุคคล และโครงสร้างองค์กร เพื่อเป็นการรองรับอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่
ให้ไว้ โดยเฉพาะกรณีที่รัฐธรรมนูญเพิ่มอำนาจให้คณะกรรมการสิทธิฯ สามารถยื่นฟ้องร้องคดีต่อศาลได้เอง
อีกทั้งยังต้องสร้างเครือข่ายพันธมิตรฯ เพื่อให้เข้ามาช่วยเหลือในการฟ้องร้องคดี
นอกจากนี้ยังต้องจัดกลุ่มคณะอนุกรรมการฯขึ้นมาใหม่ จากเดิมที่มีกว่า 40 คณะ แต่โครงสร้าง
ใหม่จะจัดให้เหลือไม่กี่คณะเท่านั้น โดยจะมีคณะกรรมการสิทธิฯ แต่ละคนลงไปควบคุมและดูแลงาน
ตามที่ตัวเองถนัด ซึ่งในสัปดาห์หน้า จะมีการประชุมแบ่งงานกันอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าการปรับองค์กรเบื้อง
ต้นจะใช้เวลาไม่นานแต่หลังจากนี้ต้องมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การทำงานใหม่ด้วย
นอกจากนี้ยังต้องมีการปรับโครงสร้างการบริหารบุคคล เพื่อให้รองรับกับภารกิจและสร้าง
วัฒนธรรมภายในองค์กรใหม่ เพื่อให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ เป็นองค์กรอิสระที่แท้จริงไม่ใช่เอ็นจีโอ
และจะได้ไม่ถูกมองว่า ทำหน้าที่เหมือนเป็นฝ่ายค้านของรัฐบาล อย่างที่ผ่านมา
เมื่อถามว่า การเข้ามาปรับโครงสร้างใหม่ จะทำให้ถูกมองว่าเข้ามาล้างบางหรือไม่ นางอมรา
กล่าวว่า คงไม่ใช่ เพราะที่ทราบมาว่า เจ้าหน้าที่ทุกคนก็บ่นเรื่องนี้ และต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น
ดังนั้นคงไม่ยากนักที่จะทำเรื่องนี้