กกต.สอบเงินบริจาค ปชป.ไม่คืบ แฉมีความพยายามตัดตอนพยาน หวังให้สาวไม่ถึงแกนนำ ปชป. เพื่อจะได้ไม่ถูกเสนอยุบพรรค ด้าน“เจ๊สด” รับตามพยานไม่ได้ มีผลต่อการสอบสวน เตรียมประสานดีเอสไอ ใช้วิธีออกหมายเรียก หมายจับ แต่ยันไม่ยุติเรื่องง่ายๆ ชี้ใช้พยานแวดล้อมเอาผิดได้ ส่วนกรณี 28 ส.ส.ถือหุ้นสัมปทานรัฐ คาดลงมติ 14 ก.ค.นี้
จากกรณีที่ กกต.ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนสำนวนที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งให้ตรวจสอบการรับเงินบริจาคของพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 258 ล้านบาท และการนำเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนในปี48 จำนวน 29 ล้านบาทไปใช้จ่ายผิดวัตถุประสงค์ที่พ.ร.บ.พรรคการเมืองกำหนด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ขอขยายเวลาการสอบสวนออกไปอีก30วัน โดยจะครบกำหนดในวันที่ 21 ก.ค.นี้
ทั้งนี้ มีรายงานว่า การสอบสวนไม่ค่อยคืบหน้า มีความพยายามที่จะตัดตอนไม่ให้สามารถนำพยานมาสืบได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้อนุกรรมการสอบสวนเสนอ กกต.ยุติเรื่องและ กกต.ไม่เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์
แหล่งข่าวจาก กกต.ระบุว่า พยานที่ทางอนุฯสอบสวนมีหนังสือเชิญมาให้ปากคำในกรณีนี้เบื้องต้นมีทั้งหมด 56 คน โดยเป็นผู้เกี่ยวข้องที่เคยให้ปากคำไว้กับดีเอสไอแล้ว แต่ที่ กกต.ต้องเชิญมาสอบใหม่ทั้งหมด เนื่องจากการสอบของดีเอสไอเป็นการสอบตามความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ 2535 ในส่วนอนุฯ จึงต้องสอบตามความผิด พ.ร.บ.พรรคการเมือง ซึ่งหากแล้วเสร็จก็จะมีการเชิญนักการเมืองที่ถูกอ้างว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ในฐานะเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น นายนิพนธ์ บุญญามณี นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ในฐานหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น นายอภิสทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะผู้รับรองงบดุลปี 48 ของพรรคที่เสนอต่อ กกต. นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารบริษัททีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
"ที่ผ่านมาอนุสอบสวนได้มีการเชิญผู้ที่รู้เรื่องทางบัญชีของบริษัทแมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด เช่น พนักงานบัญชี ผู้จัดการบริษัทมาสอบ ซึ่งก็มาให้ปากคำแล้ว แต่ไม่สามารถติดต่อกับนายประจวบ สังข์ขาว กรรมการบริษัท ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของเรื่องนี้ โดยพยายามใช้ทุกช่องทางที่มี เพื่อที่จะให้นายประจวบมาให้ปากคำ ทั้งผ่านทางดีเอสไอ ที่เคยให้ข้อมูลว่า นายประจวบ อาศัยอยู่กับบุคคลที่ให้ความปลอดภัยกับเขาได้ หากกกต.ต้องการสอบปากคำก็พร้อมจะพามาพบ แต่จนขณะนี้ก็ยังติดต่อไม่ได้ รวมทั้งนายธงชัย ดลศรีชัย ลูกพี่ลูกน้องของนายประดิษฐ์ ทางผู้ใกล้ชิดก็ยืนยันว่า นายธงชัย เดินทางไปต่างประเทศแล้ว และไม่รู้ว่ากลับเมื่อใด โดยความพยายามที่จะตัดตอนพยานปากสำคัญเหล่านี้ เพื่อให้กกต.สอบต่อไม่ได้ หรือหากมีการฟ้องร้องดำเนินคดี ก็ไม่มีพยานยืนยันในการกระทำต่างได้ชัดเจน ซึ่งก็จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์รอดจากการถูกสั่งยุบพรรคได้" แหล่งข่าวกล่าว
นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง ยอมรับว่า ได้รับทราบถึงอุปสรรคในการทำงานของอนุสอบสวนว่า พยานบางปากไม่สามารถติดตามมาให้ปากคำได้ อย่างนายประจวบ ที่ไม่ได้สามารถตามตัวได้ อนุฯ ก็ใช้วิธีเรียกเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ที่เป็นผู้สอบปากคำนายประจวบมาให้ปากคำแทน หรือบางปากก็ทราบว่าเดินทางไปต่างประเทศแล้ว ซึ่งในการตามพยานนั้นทางดีเอสไอ ก็แจ้งว่าเขามีอำนาจที่จะออกหมายเรียก หมายจับ หากทางกกต.ต้องการ ก็สามารถประสานขอความร่วมมือใช้ช่องทางนี้ได้ เพราะเขาเป็นพนักงานสอบสวน
นางสดศรี กล่าวด้วยว่า การตามพยานมาสอบไม่ได้ มีผลต่อการสอบสวนเหมือนกัน เพราะที่มีการอ้างนั้นส่วนใหญ่เป็นพยานบุคคล และพยานเอกสาร 3 พันกว่าหน้า ที่ดีเอสไอส่งให้กกต. ก็ต้องให้พยานบุคคลมารับรองเอกสารเช่นเดียวกัน ประกอบกับต้องมาให้การว่า จะยังยืนยันถ้อยคำที่ให้ปากคำไว้กับดีเอสไอหรือไม่
“ยอมรับว่าก็ได้ยินข่าวเหมือนกันว่าพยายามจะตัดตอนพยานกัน แต่ไม่มีผลให้กกต.ต้องพิจารณายุติเรื่อง หรือยกประโยชน์ให้กับประชาธิปัตย์ เพราะกกต.สามารถใช้พยานแวดล้อมได้ อย่างมีข้อมูลว่า มีการนำเช็คไปขึ้นเงิน หรือที่อ้างว่าเป็นการกู้ยืมเงินกันนั้นเหล่านี้อนุสอบฯ ก็จะดูว่ามันจริงหรือเปล่า และมันน่าเชื่อหรือเปล่า ตอนนี้อยากจะขอให้พยานให้ความร่วมมือกับกกต. ในการมาให้ปากคำเพื่อที่เรื่องนี้จะได้มีความกระจ่าง" นางสดศรีกล่าว
**คาด 14 ก.ค.ลงมติหุ้น ส.ส. 28 คนได้
นางสดศรี ยังกล่าวถึงกรณี นายศุภชัย ใจสุมทร โฆษกพรรคภูมิใจไทยร้องขอให้กกต.ตรวจสอบการสิ้นสมาชิกภาพความเป็นส.ส.ของส.ส. 28 คน เนื่องจากถือหุ้นในธุรกิจสื่อ และในบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ ซึ่งขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 48 และ 265 ว่า ในวันที่ 14 ก.ค.นี้ กกต.น่าจะลงมติกรณีดังกล่าวได้ แม้จะมีปัญหาเรื่องหุ้นกู้ หุ้นสามัญ ของส.ส.รายหนึ่งที่ถือครองอยู่ แต่ส่วนตัวมองว่า กฎหมายไม่ได้บัญญัติแยกแยะว่าหุ้นใดถือได้ไม่ได้ จึงคิดว่ากกต.น่าจะพิจารณาวินิจฉัยได้เลย
**เตรียมชี้คุณสมบัติ "กษิต"
ส่วนกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ยื่นหนังสือถึงประธานกรรม กกต. ขอให้ตรวจสอบ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ว่ามีการกระทำขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ประกอบมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 265 วรรคสาม เนื่องจากภรรยาถือหุ้นของบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นั้น อนุกรรมการสอบสวนยังไม่ได้สรุปเรื่องเสนอมาที่กกต. หากมีการสรุปเรื่องเสนอเข้ามา และนำเข้าสู่ที่ประชุมกกต.แล้ว คาดว่าจะลงมติได้เลย อนุฯคงไม่ขอขยายเวลาสอบเพิ่มแล้ว เพราะขยายมารวม 3 ครั้งแล้ว โดยครั้งล่าสุดครบระยะเวลาขยายเมื่อวันที่ 6 ก.ค. ทั้งนี้การพิจารณาเรื่องดังกล่าวจะคล้ายกับกรณีของนายไชยา สะสมทรัพย์ อดีต รมว.สาธารณสุข ที่ภรรยาเข้าไปถือครองหุ้นในบริษัท โดยนายไชยาไม่ได้มีสถานภาพเป็น ส.ส. แต่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพียงอย่างเดียว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีของนายไชยา สะสมทรัพย์ อดีตรมว.สาธารณสุข ที่ภรรยาถือหุ้นบริษัทเอกชนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด กกต.มีมติเสียงข้างมากส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคุณสมบัติของนายไชยา
จากกรณีที่ กกต.ได้มีการตั้งคณะอนุกรรมการสอบสวนสำนวนที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ส่งให้ตรวจสอบการรับเงินบริจาคของพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 258 ล้านบาท และการนำเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนในปี48 จำนวน 29 ล้านบาทไปใช้จ่ายผิดวัตถุประสงค์ที่พ.ร.บ.พรรคการเมืองกำหนด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนที่ขอขยายเวลาการสอบสวนออกไปอีก30วัน โดยจะครบกำหนดในวันที่ 21 ก.ค.นี้
ทั้งนี้ มีรายงานว่า การสอบสวนไม่ค่อยคืบหน้า มีความพยายามที่จะตัดตอนไม่ให้สามารถนำพยานมาสืบได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้อนุกรรมการสอบสวนเสนอ กกต.ยุติเรื่องและ กกต.ไม่เสนอเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคประชาธิปัตย์
แหล่งข่าวจาก กกต.ระบุว่า พยานที่ทางอนุฯสอบสวนมีหนังสือเชิญมาให้ปากคำในกรณีนี้เบื้องต้นมีทั้งหมด 56 คน โดยเป็นผู้เกี่ยวข้องที่เคยให้ปากคำไว้กับดีเอสไอแล้ว แต่ที่ กกต.ต้องเชิญมาสอบใหม่ทั้งหมด เนื่องจากการสอบของดีเอสไอเป็นการสอบตามความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ 2535 ในส่วนอนุฯ จึงต้องสอบตามความผิด พ.ร.บ.พรรคการเมือง ซึ่งหากแล้วเสร็จก็จะมีการเชิญนักการเมืองที่ถูกอ้างว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ ในฐานะเป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ในขณะนั้น นายนิพนธ์ บุญญามณี นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ในฐานหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนั้น นายอภิสทธิ์ เวชชาชีวะ ในฐานะผู้รับรองงบดุลปี 48 ของพรรคที่เสนอต่อ กกต. นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้บริหารบริษัททีพีไอโพลีน จำกัด (มหาชน) เป็นต้น
"ที่ผ่านมาอนุสอบสวนได้มีการเชิญผู้ที่รู้เรื่องทางบัญชีของบริษัทแมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด เช่น พนักงานบัญชี ผู้จัดการบริษัทมาสอบ ซึ่งก็มาให้ปากคำแล้ว แต่ไม่สามารถติดต่อกับนายประจวบ สังข์ขาว กรรมการบริษัท ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของเรื่องนี้ โดยพยายามใช้ทุกช่องทางที่มี เพื่อที่จะให้นายประจวบมาให้ปากคำ ทั้งผ่านทางดีเอสไอ ที่เคยให้ข้อมูลว่า นายประจวบ อาศัยอยู่กับบุคคลที่ให้ความปลอดภัยกับเขาได้ หากกกต.ต้องการสอบปากคำก็พร้อมจะพามาพบ แต่จนขณะนี้ก็ยังติดต่อไม่ได้ รวมทั้งนายธงชัย ดลศรีชัย ลูกพี่ลูกน้องของนายประดิษฐ์ ทางผู้ใกล้ชิดก็ยืนยันว่า นายธงชัย เดินทางไปต่างประเทศแล้ว และไม่รู้ว่ากลับเมื่อใด โดยความพยายามที่จะตัดตอนพยานปากสำคัญเหล่านี้ เพื่อให้กกต.สอบต่อไม่ได้ หรือหากมีการฟ้องร้องดำเนินคดี ก็ไม่มีพยานยืนยันในการกระทำต่างได้ชัดเจน ซึ่งก็จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์รอดจากการถูกสั่งยุบพรรคได้" แหล่งข่าวกล่าว
นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง ยอมรับว่า ได้รับทราบถึงอุปสรรคในการทำงานของอนุสอบสวนว่า พยานบางปากไม่สามารถติดตามมาให้ปากคำได้ อย่างนายประจวบ ที่ไม่ได้สามารถตามตัวได้ อนุฯ ก็ใช้วิธีเรียกเจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ที่เป็นผู้สอบปากคำนายประจวบมาให้ปากคำแทน หรือบางปากก็ทราบว่าเดินทางไปต่างประเทศแล้ว ซึ่งในการตามพยานนั้นทางดีเอสไอ ก็แจ้งว่าเขามีอำนาจที่จะออกหมายเรียก หมายจับ หากทางกกต.ต้องการ ก็สามารถประสานขอความร่วมมือใช้ช่องทางนี้ได้ เพราะเขาเป็นพนักงานสอบสวน
นางสดศรี กล่าวด้วยว่า การตามพยานมาสอบไม่ได้ มีผลต่อการสอบสวนเหมือนกัน เพราะที่มีการอ้างนั้นส่วนใหญ่เป็นพยานบุคคล และพยานเอกสาร 3 พันกว่าหน้า ที่ดีเอสไอส่งให้กกต. ก็ต้องให้พยานบุคคลมารับรองเอกสารเช่นเดียวกัน ประกอบกับต้องมาให้การว่า จะยังยืนยันถ้อยคำที่ให้ปากคำไว้กับดีเอสไอหรือไม่
“ยอมรับว่าก็ได้ยินข่าวเหมือนกันว่าพยายามจะตัดตอนพยานกัน แต่ไม่มีผลให้กกต.ต้องพิจารณายุติเรื่อง หรือยกประโยชน์ให้กับประชาธิปัตย์ เพราะกกต.สามารถใช้พยานแวดล้อมได้ อย่างมีข้อมูลว่า มีการนำเช็คไปขึ้นเงิน หรือที่อ้างว่าเป็นการกู้ยืมเงินกันนั้นเหล่านี้อนุสอบฯ ก็จะดูว่ามันจริงหรือเปล่า และมันน่าเชื่อหรือเปล่า ตอนนี้อยากจะขอให้พยานให้ความร่วมมือกับกกต. ในการมาให้ปากคำเพื่อที่เรื่องนี้จะได้มีความกระจ่าง" นางสดศรีกล่าว
**คาด 14 ก.ค.ลงมติหุ้น ส.ส. 28 คนได้
นางสดศรี ยังกล่าวถึงกรณี นายศุภชัย ใจสุมทร โฆษกพรรคภูมิใจไทยร้องขอให้กกต.ตรวจสอบการสิ้นสมาชิกภาพความเป็นส.ส.ของส.ส. 28 คน เนื่องจากถือหุ้นในธุรกิจสื่อ และในบริษัทที่เป็นคู่สัญญาสัมปทานกับรัฐ ซึ่งขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 48 และ 265 ว่า ในวันที่ 14 ก.ค.นี้ กกต.น่าจะลงมติกรณีดังกล่าวได้ แม้จะมีปัญหาเรื่องหุ้นกู้ หุ้นสามัญ ของส.ส.รายหนึ่งที่ถือครองอยู่ แต่ส่วนตัวมองว่า กฎหมายไม่ได้บัญญัติแยกแยะว่าหุ้นใดถือได้ไม่ได้ จึงคิดว่ากกต.น่าจะพิจารณาวินิจฉัยได้เลย
**เตรียมชี้คุณสมบัติ "กษิต"
ส่วนกรณีนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ส.ว.สรรหา ยื่นหนังสือถึงประธานกรรม กกต. ขอให้ตรวจสอบ นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ว่ามีการกระทำขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ประกอบมาตรา 265 วรรคหนึ่ง (2) และมาตรา 265 วรรคสาม เนื่องจากภรรยาถือหุ้นของบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นั้น อนุกรรมการสอบสวนยังไม่ได้สรุปเรื่องเสนอมาที่กกต. หากมีการสรุปเรื่องเสนอเข้ามา และนำเข้าสู่ที่ประชุมกกต.แล้ว คาดว่าจะลงมติได้เลย อนุฯคงไม่ขอขยายเวลาสอบเพิ่มแล้ว เพราะขยายมารวม 3 ครั้งแล้ว โดยครั้งล่าสุดครบระยะเวลาขยายเมื่อวันที่ 6 ก.ค. ทั้งนี้การพิจารณาเรื่องดังกล่าวจะคล้ายกับกรณีของนายไชยา สะสมทรัพย์ อดีต รมว.สาธารณสุข ที่ภรรยาเข้าไปถือครองหุ้นในบริษัท โดยนายไชยาไม่ได้มีสถานภาพเป็น ส.ส. แต่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเพียงอย่างเดียว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีของนายไชยา สะสมทรัพย์ อดีตรมว.สาธารณสุข ที่ภรรยาถือหุ้นบริษัทเอกชนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด กกต.มีมติเสียงข้างมากส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคุณสมบัติของนายไชยา