ASTVผู้จัดการรายวัน-รมว.ยุติธรรม เข้าชี้แจงการตรวจสอบ กบข. ต่อกฤษฎีกาวันนี้ ด้านเลขาป.ป.ท.ยันการตรวจสอบ กบข. เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐตามนโยบาย รมว.ยุติธรรม เนื่องจากมีความเสียหายเกิดขึ้นจริง
วานนี้(30 มิ.ย.) ที่กระทรวงยุติธรรม นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่กรมบัญชีกลางขอหารือคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1 เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสำนักงานป.ป.ท.ในการตรวจสอบการบริหารงานขาดทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งกระทรวงยุติธรรมเห็นว่า การขอหารือดังกล่าว เป็นเรื่องสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของสำนักงานป.ป.ท. และภาพรวมการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม จึงมีหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอเข้าชี้แจงด้วยตนเอง ในวันนี้(1 ก.ค.) เวลา14.00น. เพื่อให้ข้อมูลก่อนที่คณะกรรมการกฤษฎีกาฯจะมีมติใดๆ
นายธาริต กล่าวว่า สำหรับคำชี้แจงของป.ป.ท.ที่เข้าไปตรวจสอบข้อร้องเรียนการบริหารงานของ กบข. นั้น ทางป.ป.ท.ได้ส่งข้อมูลคำชี้แจงจำนวน 4 หน้า ไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 1 แล้วเพื่อเป็นข้อมูลให้กับคณะกรรมการกฤษฎีกาฯ ก่อนที่นายพีระพันธุ์ จะเข้าชี้แจงด้วยตนเองในวันนี้
สำหรับคำชี้แจงระบุถึงภารกิจและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานป.ป.ท.ที่เป็นหน่วยงานในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อ รมว.ยุติธรรม การเข้าไปตรวจสอบ กบข.ไม่ได้ใช้อำนาจตามกฎหมายมาตรการของฝ่ายบริหาร ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่ต้องดำเนินการตามมติบอร์ด ป.ป.ท. ซึ่งยังไม่มี แต่เป็นการเข้าตรวจสอบตามคำสั่งรมว.ยุติธรรม ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ที่กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการฯ กำหนดให้สำนักงานป.ป.ท.มีภารกิจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
ดังนั้น การที่สำนักงานป.ป.ท.ตรวจสอบการดำเนินงานของกบข. เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ตามนโยบาย ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่ใช่การไต่สวนข้อเท็จจริงที่สำนักงานป.ป.ท.จะต้องใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารฯ
นายธาริต กล่าวด้วยว่า เหตุผลที่ป.ป.ท.ต้องเข้าไปตรวจสอบการดำเนินงานของกบข.เนื่องจากได้รับร้องเรียนจากข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิก กบข. ที่เสียหาย และกระทบต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาล ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ข้าราชการรวมกลุ่มกันยื่นข้อร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ป.ป.ท.ที่มีภารกิจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ จึงไม่อาจเพิกเฉยได้ ประกอบกับการร้องเรียนกรณีนี้มีข้อเท็จจริงปรากฏขึ้นอย่างชัดแจ้ง ผู้ร้องเรียนมีตัวตน ไม่ใช่เพียงบัตรสนเท่ห์ และเมื่อสำนักงานป.ป.ท.เข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ยังพบว่ามีมูลอันน่าเชื่อได้ว่าการกระทำของ กบข.มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ข้าราชการส่วนใหญ่ของประเทศ และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการเงินของประเทศ
ส่วนการที่ป.ป.ท.มีหนังสือขอตรวจสอบการดำเนินงานของ กบข. เพราะ กบข.เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ได้สังกัดหรืออยู่ภายใต้ รมว.ยุติธรรม ทางป.ป.ท.จึงมีหนังสือประสานความร่วมมือตามวิธีปฏิบัติราชการปกติในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอก ที่ควรต้องทำเป็นหนังสือราชการ โดยมุ่งหมายที่จะได้รับความร่วมมือจาก กบข. เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเท่านั้น ไม่ใช่การไต่สวนข้อเท็จจริง
วานนี้(30 มิ.ย.) ที่กระทรวงยุติธรรม นายธาริต เพ็งดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่กรมบัญชีกลางขอหารือคณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 1 เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสำนักงานป.ป.ท.ในการตรวจสอบการบริหารงานขาดทุนของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ซึ่งกระทรวงยุติธรรมเห็นว่า การขอหารือดังกล่าว เป็นเรื่องสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของสำนักงานป.ป.ท. และภาพรวมการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม จึงมีหนังสือถึงเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอเข้าชี้แจงด้วยตนเอง ในวันนี้(1 ก.ค.) เวลา14.00น. เพื่อให้ข้อมูลก่อนที่คณะกรรมการกฤษฎีกาฯจะมีมติใดๆ
นายธาริต กล่าวว่า สำหรับคำชี้แจงของป.ป.ท.ที่เข้าไปตรวจสอบข้อร้องเรียนการบริหารงานของ กบข. นั้น ทางป.ป.ท.ได้ส่งข้อมูลคำชี้แจงจำนวน 4 หน้า ไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะที่ 1 แล้วเพื่อเป็นข้อมูลให้กับคณะกรรมการกฤษฎีกาฯ ก่อนที่นายพีระพันธุ์ จะเข้าชี้แจงด้วยตนเองในวันนี้
สำหรับคำชี้แจงระบุถึงภารกิจและอำนาจหน้าที่ของสำนักงานป.ป.ท.ที่เป็นหน่วยงานในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อ รมว.ยุติธรรม การเข้าไปตรวจสอบ กบข.ไม่ได้ใช้อำนาจตามกฎหมายมาตรการของฝ่ายบริหาร ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่ต้องดำเนินการตามมติบอร์ด ป.ป.ท. ซึ่งยังไม่มี แต่เป็นการเข้าตรวจสอบตามคำสั่งรมว.ยุติธรรม ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ที่กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการฯ กำหนดให้สำนักงานป.ป.ท.มีภารกิจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ
ดังนั้น การที่สำนักงานป.ป.ท.ตรวจสอบการดำเนินงานของกบข. เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ ตามนโยบาย ซึ่งเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นเท่านั้น ยังไม่ใช่การไต่สวนข้อเท็จจริงที่สำนักงานป.ป.ท.จะต้องใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ว่าด้วยมาตรการของฝ่ายบริหารฯ
นายธาริต กล่าวด้วยว่า เหตุผลที่ป.ป.ท.ต้องเข้าไปตรวจสอบการดำเนินงานของกบข.เนื่องจากได้รับร้องเรียนจากข้าราชการซึ่งเป็นสมาชิก กบข. ที่เสียหาย และกระทบต่อความเชื่อมั่นที่มีต่อรัฐบาล ซึ่งจะเห็นได้จากการที่ข้าราชการรวมกลุ่มกันยื่นข้อร้องเรียนต่อนายกรัฐมนตรี สำนักงาน ป.ป.ท.ที่มีภารกิจในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ จึงไม่อาจเพิกเฉยได้ ประกอบกับการร้องเรียนกรณีนี้มีข้อเท็จจริงปรากฏขึ้นอย่างชัดแจ้ง ผู้ร้องเรียนมีตัวตน ไม่ใช่เพียงบัตรสนเท่ห์ และเมื่อสำนักงานป.ป.ท.เข้าไปตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว ยังพบว่ามีมูลอันน่าเชื่อได้ว่าการกระทำของ กบข.มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ข้าราชการส่วนใหญ่ของประเทศ และอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบการเงินของประเทศ
ส่วนการที่ป.ป.ท.มีหนังสือขอตรวจสอบการดำเนินงานของ กบข. เพราะ กบข.เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ได้สังกัดหรืออยู่ภายใต้ รมว.ยุติธรรม ทางป.ป.ท.จึงมีหนังสือประสานความร่วมมือตามวิธีปฏิบัติราชการปกติในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายนอก ที่ควรต้องทำเป็นหนังสือราชการ โดยมุ่งหมายที่จะได้รับความร่วมมือจาก กบข. เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงเท่านั้น ไม่ใช่การไต่สวนข้อเท็จจริง