การได้เห็นภาพอัลตราซาวด์ลูกน้อยในท้องเป็นครั้งแรก นับเป็นเสี้ยวนาทีแห่งความปลาบปลื้มของพ่อแม่ แต่ตอนนี้ว่าที่คุณพ่อคุณแม่ยังมีโอกาสได้อุ้มโมเดลลูกน้อยที่กำลังเติบโตอยู่ในมดลูกในขนาดจริง
เทคโนโลยีการแพทย์มหัศจรรย์นี้เป็นผลงานของนักศึกษาปริญญาเอกชาวบราซิลของรอยัล คอลเลจ ออฟ อาร์ต (อาร์ซีเอ) จอร์จี้ โลเปซ ที่บุกเบิกการแปลงข้อมูลจากภาพสแกนอัลตราซาวด์และเอ็มอาร์ไอกลายเป็นโมเดลปูนปลาสเตอร์ขนาดเท่าตัวจริงของตัวอ่อนในครรภ์ โดยใช้วิธีที่เรียกว่า การผลิตชิ้นงานต้นแบบอย่างรวดเร็ว
“พ่อแม่สามารถเห็นรูปร่างและขนาดของทารก ความรู้สึกที่ฉายบนใบหน้าของพวกเขาช่างแสนมหัศจรรย์
“เทคโนโลยีนี้ยังเป็นประโยชน์ในแง่จิตใจสำหรับพ่อแม่ ในกรณีที่ตัวอ่อนอาจมีรูปร่างผิดส่วนและต้องการการบำบัด” ฮิลลารี เฟรนช์ หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบผลิตภัณฑ์ กล่าว
วิธีง่ายๆ ในการทำความเข้าใจกลไกการทำงานของการผลิตชิ้นงานต้นแบบอย่างรวดเร็วคือ การนึกถึงพรินเตอร์ที่พิมพ์โมเดลพลาสติก 3 มิติออกมาแทนที่จะเป็นหมึกพิมพ์บนกระดาษ
“เป็นเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นมาก ที่อาร์ซีเอ เราใช้เทคโนโลยีนี้กับทุกอย่าง ตั้งแต่อุปกรณ์การแพทย์ใหม่ไปจนถึงชิ้นส่วนรถยนต์และโมเดลสถาปัตยกรรม” แอน ดัฟฟี จากอาร์ซีเอ กล่าว
ผลงานของดร.โลเปซนำออกแสดงในงานนิทรรศการที่อาร์ซีเอในลอนดอนเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปทดลองในคลินิกแห่งหนึ่งในริโอ เดอ จาเนโร
สจ๊วร์ต แคมป์เบลล์ หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์ คิงส์ คอลเลจ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของดร.โลเปซ บอกว่านวัตกรรมนี้ถือเป็นพัฒนาการที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและน่าอัศจรรย์
ศาสตราจารย์แคมป์เบลล์ ที่เป็นผู้บุกเบิกการใช้อัลตราซาวด์ในทศวรรษ 1980 ยังหวังว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับแม่ โดยเฉพาะแม่ที่ตาบอด ในแง่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกใกล้ชิดผูกพันกับลูกน้อยมากยิ่งขึ้น
“ผมไม่รู้ว่ากำลังดูผลงานทางวิทยาศาสตร์หรืองานศิลป์อยู่กันแน่” หนึ่งในคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ตรวจสอบผลงานของนักศึกษาปริญญาเอก บอก
ดร.โลเปซที่ได้ทุนจากรัฐบาลบราซิล เริ่มงานวิจัยนี้โดยการศึกษาวิธีสร้างโมเดลที่ใช้กันมาในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา เริ่มจากมัมมี่จนมาถึงไดโนเสาร์และตัวอ่อนในครรภ์
งานของดร.โลเปซใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์ล่าสุดที่แสดงโดยรอน เอราดในงานวีแอนด์เอช่วงเปลี่ยนผ่านศตวรรษที่ชื่อว่า เมด บาย แฮนด์, น็อต เมด อิน ไชน่า
ทั้งนี้ เอราด ซึ่งเป็นหนึ่งในดีไซเนอร์ชื่อดังของโลก และเป็นหัวหน้าภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ของอาร์ซีเอ วิจารณ์งานของดร.โลเปซว่าเป็นนวัตกรรมล้ำสมัยที่มีความสำคัญในระดับโลก
เทคโนโลยีการแพทย์มหัศจรรย์นี้เป็นผลงานของนักศึกษาปริญญาเอกชาวบราซิลของรอยัล คอลเลจ ออฟ อาร์ต (อาร์ซีเอ) จอร์จี้ โลเปซ ที่บุกเบิกการแปลงข้อมูลจากภาพสแกนอัลตราซาวด์และเอ็มอาร์ไอกลายเป็นโมเดลปูนปลาสเตอร์ขนาดเท่าตัวจริงของตัวอ่อนในครรภ์ โดยใช้วิธีที่เรียกว่า การผลิตชิ้นงานต้นแบบอย่างรวดเร็ว
“พ่อแม่สามารถเห็นรูปร่างและขนาดของทารก ความรู้สึกที่ฉายบนใบหน้าของพวกเขาช่างแสนมหัศจรรย์
“เทคโนโลยีนี้ยังเป็นประโยชน์ในแง่จิตใจสำหรับพ่อแม่ ในกรณีที่ตัวอ่อนอาจมีรูปร่างผิดส่วนและต้องการการบำบัด” ฮิลลารี เฟรนช์ หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมและการออกแบบผลิตภัณฑ์ กล่าว
วิธีง่ายๆ ในการทำความเข้าใจกลไกการทำงานของการผลิตชิ้นงานต้นแบบอย่างรวดเร็วคือ การนึกถึงพรินเตอร์ที่พิมพ์โมเดลพลาสติก 3 มิติออกมาแทนที่จะเป็นหมึกพิมพ์บนกระดาษ
“เป็นเทคโนโลยีที่น่าตื่นเต้นมาก ที่อาร์ซีเอ เราใช้เทคโนโลยีนี้กับทุกอย่าง ตั้งแต่อุปกรณ์การแพทย์ใหม่ไปจนถึงชิ้นส่วนรถยนต์และโมเดลสถาปัตยกรรม” แอน ดัฟฟี จากอาร์ซีเอ กล่าว
ผลงานของดร.โลเปซนำออกแสดงในงานนิทรรศการที่อาร์ซีเอในลอนดอนเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา และมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปทดลองในคลินิกแห่งหนึ่งในริโอ เดอ จาเนโร
สจ๊วร์ต แคมป์เบลล์ หัวหน้าภาควิชาสูติศาสตร์ คิงส์ คอลเลจ ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของดร.โลเปซ บอกว่านวัตกรรมนี้ถือเป็นพัฒนาการที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นและน่าอัศจรรย์
ศาสตราจารย์แคมป์เบลล์ ที่เป็นผู้บุกเบิกการใช้อัลตราซาวด์ในทศวรรษ 1980 ยังหวังว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับแม่ โดยเฉพาะแม่ที่ตาบอด ในแง่ที่ทำให้เกิดความรู้สึกใกล้ชิดผูกพันกับลูกน้อยมากยิ่งขึ้น
“ผมไม่รู้ว่ากำลังดูผลงานทางวิทยาศาสตร์หรืองานศิลป์อยู่กันแน่” หนึ่งในคณะกรรมการที่ทำหน้าที่ตรวจสอบผลงานของนักศึกษาปริญญาเอก บอก
ดร.โลเปซที่ได้ทุนจากรัฐบาลบราซิล เริ่มงานวิจัยนี้โดยการศึกษาวิธีสร้างโมเดลที่ใช้กันมาในช่วงหลายศตวรรษที่ผ่านมา เริ่มจากมัมมี่จนมาถึงไดโนเสาร์และตัวอ่อนในครรภ์
งานของดร.โลเปซใช้เทคนิคคอมพิวเตอร์ล่าสุดที่แสดงโดยรอน เอราดในงานวีแอนด์เอช่วงเปลี่ยนผ่านศตวรรษที่ชื่อว่า เมด บาย แฮนด์, น็อต เมด อิน ไชน่า
ทั้งนี้ เอราด ซึ่งเป็นหนึ่งในดีไซเนอร์ชื่อดังของโลก และเป็นหัวหน้าภาควิชาออกแบบผลิตภัณฑ์ของอาร์ซีเอ วิจารณ์งานของดร.โลเปซว่าเป็นนวัตกรรมล้ำสมัยที่มีความสำคัญในระดับโลก