ASTVผู้จัดการรายวัน – ก.อุตฯ โดย สสว. เตรียมตั้งโต๊ะหารือ ก.คลัง และเอสเอ็มอีแบงก์ วางกรอบพักและขยายเวลาชำระหนี้แก่ลูกค้าชั้นดีที่กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง ตั้งเป้าช่วย ผปก.ได้กว่า 5 พันราย เล็งขยายโครงการสู่แบงก์รัฐอื่นๆ
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่า จากนโยบายของนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องการให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) พักชำระเงินต้น และยืดอายุการชำระหนี้แก่ลูกค้าชั้นดีออกไปสูงสุดถึง 25 ปี ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปเมื่อวันอังคารที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา
แนวทางทำงานจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดย สสว. จะหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง และเอสเอ็มอีแบงก์ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการที่จะได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว โดยจะมีข้อสรุปชัดเจนภายในเดือนมิถุนายนนี้ และเปิดรับสมัครเอสเอ็มอีให้เข้าโครงการตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ซึ่งเบื้องต้นกำหนดเกณฑ์ควรจะเป็นเอสเอ็มอีที่มีประวัติดี และกำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน นอกจากนั้น ระยะเวลาในการยืดเวลาชำระหนี้จะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป แต่ละรายจะไม่เท่ากัน โดยสูงสุดไม่เกิน 25 ปี
นอกจากนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมต้องจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เอสเอ็มอีที่เข้าร่วมดังกล่าว เพื่อเสริมสภาพคล่องและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเอสเอ็มอี ตามความจำเป็นและเหมาะสม เช่น ที่ปรึกษาแนะนำ วิเคราะห์ปัญหาของธุรกิจ พัฒนาความรู้ด้านบริหารจัดการตลาด และการแสวงหาตลาดใหม่ เป็นต้น
นายภักดิ์ ระบุต่อว่า ปัจจุบัน เอสเอ็มอีแบงก์มีลูกค้าชั้นดีประมาณ 10,000 ราย โดยเฉลี่ยมีกำหนดชำระหนี้ภายใน 10-15 ปี ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งเป้าว่า จะมีผู้ประกอบการได้รับสิทธิพิเศษจากโครงการนี้ประมาณ 5,000 ราย และหากการดำเนินการประสบความสำเร็จ จะขยายความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไปยังธนาคารของรัฐแห่งอื่นๆ ต่อไป
สำหรับกรณีที่สินเชื่อเพื่อธุรกิจท่องเที่ยว มูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันตัวเงินยังลงไม่ถึงตัวผู้ประกอบการมากนักนั้น นายภักดิ์ ระบุว่า ปัญหาที่ผู้ประกอบการได้สะท้อนมาคือ การให้ผู้กู้ค้ำประกันไขว้กัน ยังไม่เพียงพอที่จะเอื้อต่อการเข้าถึงแหล่งทุน เนื่องจากทั้งผู้กู้และผู้ค้ำประกันต่างเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ สถาบันการเงินจึงไม่สามารถปล่อยกู้ได้ ดังนั้น หากขยายหลักเกณฑ์ค้ำประกันให้กว้างยิ่งขึ้น อาจจะช่วยให้เอสเอ็มอีท่องเที่ยวเข้าถึงเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ สสว. ได้ร่วมกับกระทรวงต่างประเทศ ทำโครงการสนับสนุนการใช้นวัตกรรมแก่ SMEs ไทย โดยเปิดศูนย์ให้บริการความช่วยเหลือ ใน3 ด้านหลัก ได้แก่ ปรึกษาแนะนำนวัตกรรมใหม่ รับรองมาตรฐานนวัตกรรม และสร้างเครือข่ายนวัตกรรม ซึ่งผลการดำเนินการที่ผ่านมาในระยะที่ 1 ประสบความสำเร็จด้วยดี และเตรียมจะดำเนินการในระยะที่ 2 ต่อไป
นายภักดิ์ ทองส้ม รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยว่า จากนโยบายของนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องการให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) พักชำระเงินต้น และยืดอายุการชำระหนี้แก่ลูกค้าชั้นดีออกไปสูงสุดถึง 25 ปี ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปเมื่อวันอังคารที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา
แนวทางทำงานจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดย สสว. จะหารือร่วมกับกระทรวงการคลัง และเอสเอ็มอีแบงก์ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมสำหรับผู้ประกอบการที่จะได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าว โดยจะมีข้อสรุปชัดเจนภายในเดือนมิถุนายนนี้ และเปิดรับสมัครเอสเอ็มอีให้เข้าโครงการตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป ซึ่งเบื้องต้นกำหนดเกณฑ์ควรจะเป็นเอสเอ็มอีที่มีประวัติดี และกำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องจากภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน นอกจากนั้น ระยะเวลาในการยืดเวลาชำระหนี้จะพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป แต่ละรายจะไม่เท่ากัน โดยสูงสุดไม่เกิน 25 ปี
นอกจากนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมต้องจัดกิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้เอสเอ็มอีที่เข้าร่วมดังกล่าว เพื่อเสริมสภาพคล่องและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเอสเอ็มอี ตามความจำเป็นและเหมาะสม เช่น ที่ปรึกษาแนะนำ วิเคราะห์ปัญหาของธุรกิจ พัฒนาความรู้ด้านบริหารจัดการตลาด และการแสวงหาตลาดใหม่ เป็นต้น
นายภักดิ์ ระบุต่อว่า ปัจจุบัน เอสเอ็มอีแบงก์มีลูกค้าชั้นดีประมาณ 10,000 ราย โดยเฉลี่ยมีกำหนดชำระหนี้ภายใน 10-15 ปี ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งเป้าว่า จะมีผู้ประกอบการได้รับสิทธิพิเศษจากโครงการนี้ประมาณ 5,000 ราย และหากการดำเนินการประสบความสำเร็จ จะขยายความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไปยังธนาคารของรัฐแห่งอื่นๆ ต่อไป
สำหรับกรณีที่สินเชื่อเพื่อธุรกิจท่องเที่ยว มูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันตัวเงินยังลงไม่ถึงตัวผู้ประกอบการมากนักนั้น นายภักดิ์ ระบุว่า ปัญหาที่ผู้ประกอบการได้สะท้อนมาคือ การให้ผู้กู้ค้ำประกันไขว้กัน ยังไม่เพียงพอที่จะเอื้อต่อการเข้าถึงแหล่งทุน เนื่องจากทั้งผู้กู้และผู้ค้ำประกันต่างเป็นหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ สถาบันการเงินจึงไม่สามารถปล่อยกู้ได้ ดังนั้น หากขยายหลักเกณฑ์ค้ำประกันให้กว้างยิ่งขึ้น อาจจะช่วยให้เอสเอ็มอีท่องเที่ยวเข้าถึงเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ สสว. ได้ร่วมกับกระทรวงต่างประเทศ ทำโครงการสนับสนุนการใช้นวัตกรรมแก่ SMEs ไทย โดยเปิดศูนย์ให้บริการความช่วยเหลือ ใน3 ด้านหลัก ได้แก่ ปรึกษาแนะนำนวัตกรรมใหม่ รับรองมาตรฐานนวัตกรรม และสร้างเครือข่ายนวัตกรรม ซึ่งผลการดำเนินการที่ผ่านมาในระยะที่ 1 ประสบความสำเร็จด้วยดี และเตรียมจะดำเนินการในระยะที่ 2 ต่อไป