“กูรู” เผยสาเหตุคาร์แรกเตอร์การ์ตูนไทยไม่โต เหตุการ์ตูนนอกบูมกว่า ชี้ทางออกทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ช่วยคลีเอทคาร์แรกเตอร์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
วานนี้ (23 มิ.ย.) จากงานเสวนา “เปิดตัวเครือข่ายการ์ตูนไทยสร้างสรรค์สังคม และโอกาสทางธุรกิจของคาร์แรกเตอร์ไทย” โดยบริษัท บางกอก อีเว้นท์ แอนด์ เอ็กซิบิชั่น จำกัด เป็นผู้จัดขึ้น ภายในหัวข้อ “อุตหกรรมคาร์แรกเตอร์ไทย จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ” โดยนายรณพงศ์ คำนวนทิพย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้คาร์แรกเตอร์ เพื่อการพาณิชย์ เปิดเผยว่า คาร์แรกเตอร์ตัวการ์ตูนถือเป็นส่วนสำคัญในเชิงธุรกิจ ในด้านการทำเอ็นเตอร์เทนเม้นท์มาร์เก็ตติ้ง เช่นเดียวกับ กีฬา ภาพยนตร์ และดนตรี ซึ่งการเกิดของคาร์แรกเตอร์การ์ตูน มีหลายรูปแบบ เช่น จากหนังสือการ์ตูน จากภาพยนตร์อะนิเมชั่น หรือจากเมอร์ชั่นไดร์ฟ
ปัจจุบันอุตสาหกรรมคาร์แรกเตอร์การ์ตูนในเมืองไทย กว่า 90% จะเป็นคาร์แรกเตอร์จากต่างชาติ ทั้งฝั่งอเมริกาและญี่ปุ่น ขณะที่ 10% เป็นคาร์แรกเตอร์ตัวการ์ตูนที่ถูกพัฒนาโดยคนไทย ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก แต่โอกาสเติบโตก็มีมากเช่นกัน ทั้งนี้สาเหตุที่คาร์แรกเตอร์การ์ตูนไทยไม่โตนั้น เนื่องจากการ์ตูนไทยไม่เป็นที่นิยม และยังไม่เป็นที่รู้จักอีกทั้งเพิ่งจะมีการพัฒนาขึ้นมา ลูกค้าที่จะต่อยอดนำคาร์แรกเตอร์ไปใช้อาจจะไม่มั่นใจเท่าการซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนจากต่างประเทศมากกว่า
นายศักดา เอียว อุปนายกสมาคมการ์ตูนไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ทุกฝ่ายควรเข้ามาช่วยกัน พร้อมทั้งปรับตัว ปรับระบบการคิด กระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ในการพัฒนาคาร์แรกเตอร์ตัวการ์ตูนขึ้นมา มองหากลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และต้องมองถึงการต่อยอดเพิ่มมูลค่าควบคู่ไปด้วย รวมไปถึงการทำตลาดโฆษณาประชาสัมพันธ์
ก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมการ์ตูนไทยเติบโตขึ้นมาได้
ด้านนายกฤษณ์ ณ ลำเลียง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทูสปอต คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาคาร์แรกเตอร์การ์ตูน กล่าวในงานเสวนาหัวข้อ “ธุรกิจคาร์แรกเตอร์ไทยในระดับโลก”ว่า โอกาสที่คาร์แรกเตอร์การ์ตูนไทยจะไปตลาดโลกนั้นไม่ยากเท่าการที่คาร์แรกเตอร์การ์ตูนไทยจะเติบโตในประเทศไทยมากกว่า
เหตุเพราะคนไทยคุ้นเคยกับคาร์แรกเตอร์การ์ตูนจากต่างประเทศมากกว่า ดังนั้นเวลาพัฒนาคาร์แรกเตอร์ขึ้นมา จะต้องวางกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน สร้างความนิยมให้เกิดขึ้น
ปัจจุบันมูลค่าตลาดคาร์แรกเตอร์การ์ตูน โดยเฉพาะการ์ตูนไทยสูงถึงปีละ 1,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต10-15% ทุกปี โดยมีการขายลิขสิทธ์ในต่างประเทศได้ปีละประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งคาร์แรกเตอร์ที่พอจะเกิดในตลาดต่างประเทศได้ คือ ก้านกล้วย
วานนี้ (23 มิ.ย.) จากงานเสวนา “เปิดตัวเครือข่ายการ์ตูนไทยสร้างสรรค์สังคม และโอกาสทางธุรกิจของคาร์แรกเตอร์ไทย” โดยบริษัท บางกอก อีเว้นท์ แอนด์ เอ็กซิบิชั่น จำกัด เป็นผู้จัดขึ้น ภายในหัวข้อ “อุตหกรรมคาร์แรกเตอร์ไทย จากต้นน้ำถึงปลายน้ำ” โดยนายรณพงศ์ คำนวนทิพย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้คาร์แรกเตอร์ เพื่อการพาณิชย์ เปิดเผยว่า คาร์แรกเตอร์ตัวการ์ตูนถือเป็นส่วนสำคัญในเชิงธุรกิจ ในด้านการทำเอ็นเตอร์เทนเม้นท์มาร์เก็ตติ้ง เช่นเดียวกับ กีฬา ภาพยนตร์ และดนตรี ซึ่งการเกิดของคาร์แรกเตอร์การ์ตูน มีหลายรูปแบบ เช่น จากหนังสือการ์ตูน จากภาพยนตร์อะนิเมชั่น หรือจากเมอร์ชั่นไดร์ฟ
ปัจจุบันอุตสาหกรรมคาร์แรกเตอร์การ์ตูนในเมืองไทย กว่า 90% จะเป็นคาร์แรกเตอร์จากต่างชาติ ทั้งฝั่งอเมริกาและญี่ปุ่น ขณะที่ 10% เป็นคาร์แรกเตอร์ตัวการ์ตูนที่ถูกพัฒนาโดยคนไทย ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก แต่โอกาสเติบโตก็มีมากเช่นกัน ทั้งนี้สาเหตุที่คาร์แรกเตอร์การ์ตูนไทยไม่โตนั้น เนื่องจากการ์ตูนไทยไม่เป็นที่นิยม และยังไม่เป็นที่รู้จักอีกทั้งเพิ่งจะมีการพัฒนาขึ้นมา ลูกค้าที่จะต่อยอดนำคาร์แรกเตอร์ไปใช้อาจจะไม่มั่นใจเท่าการซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนจากต่างประเทศมากกว่า
นายศักดา เอียว อุปนายกสมาคมการ์ตูนไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ทุกฝ่ายควรเข้ามาช่วยกัน พร้อมทั้งปรับตัว ปรับระบบการคิด กระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ในการพัฒนาคาร์แรกเตอร์ตัวการ์ตูนขึ้นมา มองหากลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน และต้องมองถึงการต่อยอดเพิ่มมูลค่าควบคู่ไปด้วย รวมไปถึงการทำตลาดโฆษณาประชาสัมพันธ์
ก็จะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะทำให้อุตสาหกรรมการ์ตูนไทยเติบโตขึ้นมาได้
ด้านนายกฤษณ์ ณ ลำเลียง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทูสปอต คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนาคาร์แรกเตอร์การ์ตูน กล่าวในงานเสวนาหัวข้อ “ธุรกิจคาร์แรกเตอร์ไทยในระดับโลก”ว่า โอกาสที่คาร์แรกเตอร์การ์ตูนไทยจะไปตลาดโลกนั้นไม่ยากเท่าการที่คาร์แรกเตอร์การ์ตูนไทยจะเติบโตในประเทศไทยมากกว่า
เหตุเพราะคนไทยคุ้นเคยกับคาร์แรกเตอร์การ์ตูนจากต่างประเทศมากกว่า ดังนั้นเวลาพัฒนาคาร์แรกเตอร์ขึ้นมา จะต้องวางกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน สร้างความนิยมให้เกิดขึ้น
ปัจจุบันมูลค่าตลาดคาร์แรกเตอร์การ์ตูน โดยเฉพาะการ์ตูนไทยสูงถึงปีละ 1,000 ล้านบาท มีอัตราการเติบโต10-15% ทุกปี โดยมีการขายลิขสิทธ์ในต่างประเทศได้ปีละประมาณ 100 ล้านบาท ซึ่งคาร์แรกเตอร์ที่พอจะเกิดในตลาดต่างประเทศได้ คือ ก้านกล้วย