ASTVผู้จัดการรายวัน – เศษไม้ไผ่เหลือทิ้ง ถูกนำมาสร้างสรรค์เป็นเจ้าหุ่นไม้ไผ่อารมณ์ดี เรียกรอยยิ้มจากผู้พบเห็นได้เสมอ แถมยังสอดแทรกวัฒนธรรมท้องถิ่นไว้อย่างลงตัว โดยผลงานดังกล่าวเป็นฝีมือประดิษฐ์ของ “วิษณุศักดิ์ บัวลา” หนุ่มวัย 36 ปี จาก จ.อำนาจเจริญ ภายใต้ความช่วยเหลือของนักออกแบบมืออาชีพ
เจ้าของผลงาน เล่าว่า ยึดอาชีพทำผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 มีสินค้าหลากหลายเกือบ 40 ชนิด ตั้งแต่ชิ้นเล็กๆ อย่างพวงกุญแจ โคมไฟ ไปจนถึงชิ้นใหญ่ เช่น โต๊ะกินข้าว ชุดรับแขก เป็นต้น โดยการออกแบบส่วนใหญ่จะคิดขึ้นเอง จากประสบการณ์และใช้คำแนะนำของลูกค้ามาปรับปรุง
ทั้งนี้ ในการคิดสินค้าใหม่ๆ พยายามสอบถามและหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ อย่างหุ่นไม้ไผ่ เกิดจากที่ภาครัฐส่งนักวิชาการมาแนะนำการออกแบบ เพื่อยกระดับสินค้าให้ตอบความต้องการตลาดได้ดีขึ้น จึงโอกาสได้พบกับ “อ.เดชา อนันต์อิทธิ” อาจารย์พิเศษคณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ซึ่งให้ความช่วยเหลือในการออกแบบ และเป็นที่ปรึกษาในการสร้างสรรค์ผลงานหุ่นไม้ไผ่
“งานไม้ไผ่มีการแข่งขันกันสูง จำเป็นต้องพัฒนาสินค้าไปเรื่อยๆ ซึ่ง อ.เดชา ช่วยออกแบบ โดยบอกแนวคิดว่า หุ่นไม้ไผ่ควรจะรักษาเอกลักษณ์รูปทรงของไม้ไผ่ ลักษณะคล้ายของเล่นเด็ก เห็นแล้วอารมณ์ดี รู้สึกคลายเครียด”
เนื่องจากมีเซียนออกแบบเป็นกุนซือ หุ่นไม้ไผ่จึงตอบโจทย์ได้ทั้งเหตุผลและอารมณ์ โดยด้านอารมณ์เจ้าหุ่นไม้ไผ่จะเป็นตัวแทนสะท้อนวิถีชาวบ้าน ผ่านการละเล่นของเด็กไทยโบราณ หรือเป็นสัตว์คู่ท้องถิ่น อย่างควาย เป็นต้น ส่วนด้านเหตุผล ใช้ประโยชน์ได้ ออกแบบเป็นโคมไฟ เชิงเทียน กระปุกออมสิน และที่เสียบปากกา เป็นต้น มีลูกเล่นที่ชิ้นส่วนต่างๆ สามารถถอดประกอบได้ เพื่อสะดวกต่อการใช้งานจริง เช่น สามารถถอดเปลี่ยนหลอดไฟ เป็นต้น
สำหรับราคาขาย เพียงตัวละ 150 – 280 บาท เริ่มออกตลาดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้ผลตอบรับอย่างสูงจากลูกค้าที่รักการตกแต่งบ้าน เจ้าของธุรกิจรีสอร์ต และโรงแรมสั่งไปตกแต่งสถานที่
อย่างไรก็ตาม วิษณุศักดิ์ ยอมรับว่า ไม่นานต้องถูกทำลักษณะใกล้เคียงกันออกมาแข่งขัน ซึ่งในมุมมองของเขา กลับเห็นว่าเป็นเรื่องดีที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ จะมาแข่งขันกันพัฒนาสินค้า ซึ่งส่วนตัวเขาเอง ก็จะไม่หยุดพัฒนาเช่นกัน โดยปรับปรุงหุ่นไม้ไผ่ให้มีรูปแบบหลากหลายยิ่งขึ้นไปอีก
ทั้งนี้ เส้นทางอาชีพของหนุ่มรายนี้ น่าสนใจเช่นกัน เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของคนสู้ชีวิต ที่ไม่รอพึ่งโชคชะตา แต่พยายามมุ่งพัฒนาตัวเอง จนทุกวันนี้ มีอาชีพมั่นคง
วิษณุศักดิ์ เล่าว่า ครอบครัวฐานะยากจน ทำให้ไม่มีโอกาสศึกษาในระดับสูงนัก ช่วงวัยรุ่นต้องเดินทางไปขายแรงงานที่ประเทศไต้หวัน ก่อนจะกลับมาอยู่บ้านเกิดที่ จ.อำนาจเจริญ
“ตอนกลับมาอยู่บ้าน ผมก็เห็นตอไม้ไผ่ที่ถูกตัดลำไปแล้ว เหลือทิ้งเต็มไปหมด ก็ไปขอซื้อมาแค่ 60 บาท ส่วนอุปกรณ์ช่างไม้ก็ยืมเอาจากชาวบ้าน ลองมาฝึกทำเฟอร์นิเจอร์ใช้เอง จากนั้น ก็ลองทำขายในชุมชน ก็มีคนซื้อ ทำให้ผมมีทุนพัฒนาสินค้ามาเรื่อยๆ”
จุดเด่นงานไม้ไผ่ของหนุ่มรายนี้ อยู่ที่จะเลือกใช้วัตถุดิบเฉพาะไม้ไผ่สีสุก ซึ่งมีความแน่นเหนียว โดยจะรับซื้อจากชาวบ้านในท้องถิ่น ราคาลำละ 60-80 บาท จากนั้น มีเคล็ดลับสำคัญต้องนำไม้ไผ่ไปพักเก็บไว้ 4-5 เดือน แล้วอบด้วยความร้อน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหามอดกัดกินไม้ไผ่ ซึ่งเทคนิคดังกล่าว ใช้เวลาลองผิดลองถูกเรียนรู้ด้วยตัวเองนานเป็นปีทีเดียว
จากทำตัวคนเดียว กับทุนเริ่มต้นแค่ 60 บาท วิษณุศักดิ์ค่อยๆ ขยายกิจการ จนในปี พ.ศ.2543 สามารถรวบรวมสมาชิกตั้งเป็นกลุ่มอาชีพเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ และในอีก 3 ปีต่อมา ได้รับคัดสรรเป็นหนึ่งในสินค้าโอทอปของ จ.อำนาจเจริญ
ปัจจุบัน กลุ่มของเขา ถือเป็นผู้ผลิตสินค้าไม้ไผ่รายเดียวของภาคอีสาน รายได้ยังไม่หักค่าใช้จ่ายเข้ากลุ่มประมาณ 35,000-100,000 บาทต่อเดือน ช่วยสร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่มที่ปัจจุบันมีราว 20 คน ประมาณ 3,000-4,000 บาทต่อคนต่อเดือน
วิษณุศักดิ์ ฝากถึงคนที่กำลังท้อถอยต่อสภาพเศรษฐกิจ ให้ดูเส้นทางอาชีพของเขาเป็นตัวอย่าง แทบจะเริ่มต้นจากศูนย์ แต่ด้วยความมุ่งมั่น และพยายาม ปัจจุบันสามารถยืนด้วยลำแข้งของตัวเองได้
“ถ้าคิดอยากจะทำอะไรให้ลงมือทำเลย ดูอย่างตัวผมเอง เริ่มต้นจากเงินแค่ 60 บาท ค่อยๆ พัฒนาฝีมือค่อยเป็นค่อยไป บางคนบอกว่า ไม่มีทุนก็เลยทำไม่ได้ แต่ผมอยากให้คิดว่า ถ้าไม่ยอมลงมือทำอะไรเลย มันก็จะไม่มีผลงานอะไรเกิดขึ้น หน่วยงานที่เขาต้องการให้ทุน ก็ไม่รู้จะมาให้ได้อย่างไร ดังนั้น ถ้าเริ่มลงมือเสียก่อน และมุ่งมั่นจริงๆ โอกาสต่างๆ จะเข้ามาเอง”
โทร.08-7255-9041
เจ้าของผลงาน เล่าว่า ยึดอาชีพทำผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543 มีสินค้าหลากหลายเกือบ 40 ชนิด ตั้งแต่ชิ้นเล็กๆ อย่างพวงกุญแจ โคมไฟ ไปจนถึงชิ้นใหญ่ เช่น โต๊ะกินข้าว ชุดรับแขก เป็นต้น โดยการออกแบบส่วนใหญ่จะคิดขึ้นเอง จากประสบการณ์และใช้คำแนะนำของลูกค้ามาปรับปรุง
ทั้งนี้ ในการคิดสินค้าใหม่ๆ พยายามสอบถามและหาความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ อย่างหุ่นไม้ไผ่ เกิดจากที่ภาครัฐส่งนักวิชาการมาแนะนำการออกแบบ เพื่อยกระดับสินค้าให้ตอบความต้องการตลาดได้ดีขึ้น จึงโอกาสได้พบกับ “อ.เดชา อนันต์อิทธิ” อาจารย์พิเศษคณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร ซึ่งให้ความช่วยเหลือในการออกแบบ และเป็นที่ปรึกษาในการสร้างสรรค์ผลงานหุ่นไม้ไผ่
“งานไม้ไผ่มีการแข่งขันกันสูง จำเป็นต้องพัฒนาสินค้าไปเรื่อยๆ ซึ่ง อ.เดชา ช่วยออกแบบ โดยบอกแนวคิดว่า หุ่นไม้ไผ่ควรจะรักษาเอกลักษณ์รูปทรงของไม้ไผ่ ลักษณะคล้ายของเล่นเด็ก เห็นแล้วอารมณ์ดี รู้สึกคลายเครียด”
เนื่องจากมีเซียนออกแบบเป็นกุนซือ หุ่นไม้ไผ่จึงตอบโจทย์ได้ทั้งเหตุผลและอารมณ์ โดยด้านอารมณ์เจ้าหุ่นไม้ไผ่จะเป็นตัวแทนสะท้อนวิถีชาวบ้าน ผ่านการละเล่นของเด็กไทยโบราณ หรือเป็นสัตว์คู่ท้องถิ่น อย่างควาย เป็นต้น ส่วนด้านเหตุผล ใช้ประโยชน์ได้ ออกแบบเป็นโคมไฟ เชิงเทียน กระปุกออมสิน และที่เสียบปากกา เป็นต้น มีลูกเล่นที่ชิ้นส่วนต่างๆ สามารถถอดประกอบได้ เพื่อสะดวกต่อการใช้งานจริง เช่น สามารถถอดเปลี่ยนหลอดไฟ เป็นต้น
สำหรับราคาขาย เพียงตัวละ 150 – 280 บาท เริ่มออกตลาดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ได้ผลตอบรับอย่างสูงจากลูกค้าที่รักการตกแต่งบ้าน เจ้าของธุรกิจรีสอร์ต และโรงแรมสั่งไปตกแต่งสถานที่
อย่างไรก็ตาม วิษณุศักดิ์ ยอมรับว่า ไม่นานต้องถูกทำลักษณะใกล้เคียงกันออกมาแข่งขัน ซึ่งในมุมมองของเขา กลับเห็นว่าเป็นเรื่องดีที่ผู้ผลิตรายอื่นๆ จะมาแข่งขันกันพัฒนาสินค้า ซึ่งส่วนตัวเขาเอง ก็จะไม่หยุดพัฒนาเช่นกัน โดยปรับปรุงหุ่นไม้ไผ่ให้มีรูปแบบหลากหลายยิ่งขึ้นไปอีก
ทั้งนี้ เส้นทางอาชีพของหนุ่มรายนี้ น่าสนใจเช่นกัน เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของคนสู้ชีวิต ที่ไม่รอพึ่งโชคชะตา แต่พยายามมุ่งพัฒนาตัวเอง จนทุกวันนี้ มีอาชีพมั่นคง
วิษณุศักดิ์ เล่าว่า ครอบครัวฐานะยากจน ทำให้ไม่มีโอกาสศึกษาในระดับสูงนัก ช่วงวัยรุ่นต้องเดินทางไปขายแรงงานที่ประเทศไต้หวัน ก่อนจะกลับมาอยู่บ้านเกิดที่ จ.อำนาจเจริญ
“ตอนกลับมาอยู่บ้าน ผมก็เห็นตอไม้ไผ่ที่ถูกตัดลำไปแล้ว เหลือทิ้งเต็มไปหมด ก็ไปขอซื้อมาแค่ 60 บาท ส่วนอุปกรณ์ช่างไม้ก็ยืมเอาจากชาวบ้าน ลองมาฝึกทำเฟอร์นิเจอร์ใช้เอง จากนั้น ก็ลองทำขายในชุมชน ก็มีคนซื้อ ทำให้ผมมีทุนพัฒนาสินค้ามาเรื่อยๆ”
จุดเด่นงานไม้ไผ่ของหนุ่มรายนี้ อยู่ที่จะเลือกใช้วัตถุดิบเฉพาะไม้ไผ่สีสุก ซึ่งมีความแน่นเหนียว โดยจะรับซื้อจากชาวบ้านในท้องถิ่น ราคาลำละ 60-80 บาท จากนั้น มีเคล็ดลับสำคัญต้องนำไม้ไผ่ไปพักเก็บไว้ 4-5 เดือน แล้วอบด้วยความร้อน ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหามอดกัดกินไม้ไผ่ ซึ่งเทคนิคดังกล่าว ใช้เวลาลองผิดลองถูกเรียนรู้ด้วยตัวเองนานเป็นปีทีเดียว
จากทำตัวคนเดียว กับทุนเริ่มต้นแค่ 60 บาท วิษณุศักดิ์ค่อยๆ ขยายกิจการ จนในปี พ.ศ.2543 สามารถรวบรวมสมาชิกตั้งเป็นกลุ่มอาชีพเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่ และในอีก 3 ปีต่อมา ได้รับคัดสรรเป็นหนึ่งในสินค้าโอทอปของ จ.อำนาจเจริญ
ปัจจุบัน กลุ่มของเขา ถือเป็นผู้ผลิตสินค้าไม้ไผ่รายเดียวของภาคอีสาน รายได้ยังไม่หักค่าใช้จ่ายเข้ากลุ่มประมาณ 35,000-100,000 บาทต่อเดือน ช่วยสร้างรายได้ให้สมาชิกกลุ่มที่ปัจจุบันมีราว 20 คน ประมาณ 3,000-4,000 บาทต่อคนต่อเดือน
วิษณุศักดิ์ ฝากถึงคนที่กำลังท้อถอยต่อสภาพเศรษฐกิจ ให้ดูเส้นทางอาชีพของเขาเป็นตัวอย่าง แทบจะเริ่มต้นจากศูนย์ แต่ด้วยความมุ่งมั่น และพยายาม ปัจจุบันสามารถยืนด้วยลำแข้งของตัวเองได้
“ถ้าคิดอยากจะทำอะไรให้ลงมือทำเลย ดูอย่างตัวผมเอง เริ่มต้นจากเงินแค่ 60 บาท ค่อยๆ พัฒนาฝีมือค่อยเป็นค่อยไป บางคนบอกว่า ไม่มีทุนก็เลยทำไม่ได้ แต่ผมอยากให้คิดว่า ถ้าไม่ยอมลงมือทำอะไรเลย มันก็จะไม่มีผลงานอะไรเกิดขึ้น หน่วยงานที่เขาต้องการให้ทุน ก็ไม่รู้จะมาให้ได้อย่างไร ดังนั้น ถ้าเริ่มลงมือเสียก่อน และมุ่งมั่นจริงๆ โอกาสต่างๆ จะเข้ามาเอง”
โทร.08-7255-9041