ไม่ว่าระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับคณะราษฎร ฝ่ายใดจะคิดเรื่องเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองขึ้นมาก่อน และไม่ว่าการปฏิวัติเมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 จะเป็นความใจร้อนหรือการชิงสุกก่อนห่ามตามที่ผู้หยิบยกมาโจมตีคณะราษฎรหรือไม่ก็ตาม ผมมีมุมมองว่า ณ ห้วงเวลาระหว่างวันที่ 24 – 27 มิถุนายน 2475 เป็น...
การปฏิวัติที่งดงาม
การปฏิวัติที่มีวัฒนธรรม
เป็นความงดงามและวัฒนธรรมที่เกิดจากทั้งพระราชปณิธานและปณิธานของทั้ง 2 ฝ่ายโดยแท้
ห้วงเวลา 3 วันหลังการปฏิวัติครั้งนั้น หากพิจารณาจาก “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ซึ่งนอกจากจะถือเป็น รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นการแสดงลักษณะเฉพาะของการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ที่ดำเนินไปด้วยความยินยอมพร้อมใจและความเคารพนับถือต่อกันของผู้ปฏิวัติและพระองค์ผู้ถูกปฏิวัติ
ถือเป็นความต่อเนื่องทางนิติศาสตร์ระหว่าง 2 ระบอบการเมืองที่แตกต่างกัน
สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยก็คือเป็นพระบรมราชโองการ !
ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงลงพระปรมาภิไธยด้วยพระองค์เอง โดยไม่มีบุคคลใดในคณะราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
ความหมายก็คือ คณะราษฎร ณ ห้วงเวลา 3 วันหลังการปฏิวัติยังคงยอมรับในความเป็น “องค์อธิปัตย์” ของในหลวงรัชกาลที่ 7
แต่ครั้นเมื่อธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราวมีผลใช้บังคับแล้ว ฐานภาพของระบอบการเมืองในประเทศไทยจึงแปรเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญทันที พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในระบอบการเมืองใหม่จึงต้องมีผู้มีอำนาจหน้าที่เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ บทบัญญัติในธรรมนูญการปกครองมาตรา 7 จึงกำหนดให้ “กรรมการราษฎร” ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
ตั้งแต่นั้นมา บรรดาพระราชบัญญัติและพระบรมราชโองการต่าง ๆ ตลอดจนรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 จึงมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จึงกล่าวได้ว่า...
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นเป็นการโอนถ่ายอำนาจรัฐาธิปัตย์จากพระมหากษัตริย์ให้แก่ประชาชนโดยผลของรัฐธรรมนูญ ซึ่งพระมหากษัตริย์ได้ทรงตราขึ้นโดยพระราชอำนาจของพระองค์เอง
คณะราษฎรไม่ได้อ้างว่าตนเป็นรัฐาธิปัตย์ !
เพราะถ้าอ้างเช่นนั้นก็ต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญเอง โดยไม่ต้องขอพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ ตามทฤษฎีพื้นฐานทั่วไปทางรัฐศาสตร์ที่ว่า รัฐาธิปัตย์จะออกกฎหมายหรือไม่ออกกฎหมายใดก็ได้ ไม่มีอำนาจใดอยู่เหนืออำนาจของรัฐาธิปัตย์
คณะราษฎรขอพระราชทานรัฐธรรมนูญจากพระมหากษัตริย์ ดังคำปรารภของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ว่า
"โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม เพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น และโดยที่ทรงยอมรับตามคำขอร้องของคณะราษฎร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยมาตราต่อไปนี้.”
นี่คือความต่อเนื่องของ 2 ระบอบที่งดงามยิ่ง
ยิ่งกว่านั้น คณะราษฎรยังได้ขอพระราชทานพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้ตนเองจากในหลวงรัชกาลที่ 7 อีกต่างหาก
ทั้ง ๆ ที่ตามทฤษฎีแล้วรัฐาธิปัตย์ไม่มีทางทำผิดกฎหมายได้
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น 2 วันหลังการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2475 โดยคณะผู้ก่อการส่วนใหญ่ขอเข้าเฝ้าในหลวงรัชกาลที่ 7 ที่วังศุโขทัย กราบบังคมทูลถึงเหตุผลในการปฏิวัติ พระองค์ทรงพระราชทานอภัยโดยตราเป็นกฎหมายใช้ชื่อเป็นพระราชกำหนด
ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงลงพระปรมาภิไธยโดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
เพราะขณะนั้นยังเป็นเวลา 1 วันก่อนวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ บุคคลใดในคณะราษฎรจึงไม่มีอำนาจและฐานะที่จะลงนามรับสนองพระบรมราชโองการได้ ทั้งนี้ตามทฤษฎีที่คณะราษฎรยึดถือ
คณะราษฎรไม่เคยใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออกกฎหมายในรูปของประกาศคณะปฏิวัติและ/หรือคำสั่งคณะปฏิวัติเลยแม้แต่ฉบับเดียว !
การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 แม้จะมีความหมายเป็น “การปฏิวัติ” ในทางรัฐศาสตร์ แต่ในมุมมองของทางนิติศาสตร์ถือว่า เป็นความต่อเนื่องของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ความต่อเนื่องอันเป็นความงดงามและเป็นวัฒนธรรมนี้ ดำเนินมาจนถึงการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ที่คณะรัฐประหารตั้งตนเป็นรัฐาธิปัตย์เสียเอง
จุดเริ่มต้นของ “วงจรอุบาทว์” และความอัปลักษณ์ตลอดจนลักษณะอนารยะอยู่ตรงนั้น
น่าเสียดายว่าขณะนั้นคณะราษฎรแตกแยกกันเอง และผู้ได้รับประโยชน์จากการรัฐประหารครั้งนั้นก็คือหนึ่งในคณะผู้ก่อการของคณะราษฎรเอง
ก่อนจะมาวิบัติไปจนหมดเชื้อสายคณะราษฎรในปี 2500
ผมเคยแจกแจงเรื่องเหล่านี้มาหลายครั้งเมื่อหลายปีที่ผ่านมาในฐานะคนรุ่นปัจจุบันที่ขอระลึกถึงความงดงามและความมีวัฒนธรรมในการใช้อำนาจ
ด้านหนึ่ง พยายามคืนความชอบธรรมทางประวัติศาสตร์ให้กับคณะราษฎรที่ถูกให้ร้ายป้ายสีมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมา
อีกด้านหนึ่ง ก็เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระราชปณิธานอันสูงส่งในองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย เพราะถ้าไม่มีพระองค์ท่านเสียแล้ว การปฏิวัติจะไม่มีทางสำเร็จสมบูรณ์โดยไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อ
ด้านหนึ่งพระองค์ทรง “ถูกปฏิวัติ” แต่อีกด้านหนึ่งพระองค์ก็ทรง “ร่วมปฏิวัติ” ด้วย
การปฏิวัติที่งดงาม
การปฏิวัติที่มีวัฒนธรรม
เป็นความงดงามและวัฒนธรรมที่เกิดจากทั้งพระราชปณิธานและปณิธานของทั้ง 2 ฝ่ายโดยแท้
ห้วงเวลา 3 วันหลังการปฏิวัติครั้งนั้น หากพิจารณาจาก “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ซึ่งนอกจากจะถือเป็น รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรฉบับแรกของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นการแสดงลักษณะเฉพาะของการปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ที่ดำเนินไปด้วยความยินยอมพร้อมใจและความเคารพนับถือต่อกันของผู้ปฏิวัติและพระองค์ผู้ถูกปฏิวัติ
ถือเป็นความต่อเนื่องทางนิติศาสตร์ระหว่าง 2 ระบอบการเมืองที่แตกต่างกัน
สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศไทยก็คือเป็นพระบรมราชโองการ !
ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงลงพระปรมาภิไธยด้วยพระองค์เอง โดยไม่มีบุคคลใดในคณะราษฎรเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
ความหมายก็คือ คณะราษฎร ณ ห้วงเวลา 3 วันหลังการปฏิวัติยังคงยอมรับในความเป็น “องค์อธิปัตย์” ของในหลวงรัชกาลที่ 7
แต่ครั้นเมื่อธรรมนูญการปกครองแผ่นดินชั่วคราวมีผลใช้บังคับแล้ว ฐานภาพของระบอบการเมืองในประเทศไทยจึงแปรเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญทันที พระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ในระบอบการเมืองใหม่จึงต้องมีผู้มีอำนาจหน้าที่เป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ บทบัญญัติในธรรมนูญการปกครองมาตรา 7 จึงกำหนดให้ “กรรมการราษฎร” ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
ตั้งแต่นั้นมา บรรดาพระราชบัญญัติและพระบรมราชโองการต่าง ๆ ตลอดจนรัฐธรรมนูญฉบับ 10 ธันวาคม 2475 จึงมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จึงกล่าวได้ว่า...
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็น ระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นเป็นการโอนถ่ายอำนาจรัฐาธิปัตย์จากพระมหากษัตริย์ให้แก่ประชาชนโดยผลของรัฐธรรมนูญ ซึ่งพระมหากษัตริย์ได้ทรงตราขึ้นโดยพระราชอำนาจของพระองค์เอง
คณะราษฎรไม่ได้อ้างว่าตนเป็นรัฐาธิปัตย์ !
เพราะถ้าอ้างเช่นนั้นก็ต้องประกาศใช้รัฐธรรมนูญเอง โดยไม่ต้องขอพระราชทานจากพระมหากษัตริย์ ตามทฤษฎีพื้นฐานทั่วไปทางรัฐศาสตร์ที่ว่า รัฐาธิปัตย์จะออกกฎหมายหรือไม่ออกกฎหมายใดก็ได้ ไม่มีอำนาจใดอยู่เหนืออำนาจของรัฐาธิปัตย์
คณะราษฎรขอพระราชทานรัฐธรรมนูญจากพระมหากษัตริย์ ดังคำปรารภของพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475 ว่า
"โดยที่คณะราษฎรได้ขอร้องให้อยู่ภายใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม เพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น และโดยที่ทรงยอมรับตามคำขอร้องของคณะราษฎร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยมาตราต่อไปนี้.”
นี่คือความต่อเนื่องของ 2 ระบอบที่งดงามยิ่ง
ยิ่งกว่านั้น คณะราษฎรยังได้ขอพระราชทานพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมให้ตนเองจากในหลวงรัชกาลที่ 7 อีกต่างหาก
ทั้ง ๆ ที่ตามทฤษฎีแล้วรัฐาธิปัตย์ไม่มีทางทำผิดกฎหมายได้
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น 2 วันหลังการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2475 โดยคณะผู้ก่อการส่วนใหญ่ขอเข้าเฝ้าในหลวงรัชกาลที่ 7 ที่วังศุโขทัย กราบบังคมทูลถึงเหตุผลในการปฏิวัติ พระองค์ทรงพระราชทานอภัยโดยตราเป็นกฎหมายใช้ชื่อเป็นพระราชกำหนด
ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงลงพระปรมาภิไธยโดยไม่มีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
เพราะขณะนั้นยังเป็นเวลา 1 วันก่อนวันพระราชทานรัฐธรรมนูญ บุคคลใดในคณะราษฎรจึงไม่มีอำนาจและฐานะที่จะลงนามรับสนองพระบรมราชโองการได้ ทั้งนี้ตามทฤษฎีที่คณะราษฎรยึดถือ
คณะราษฎรไม่เคยใช้อำนาจนิติบัญญัติในการออกกฎหมายในรูปของประกาศคณะปฏิวัติและ/หรือคำสั่งคณะปฏิวัติเลยแม้แต่ฉบับเดียว !
การปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 แม้จะมีความหมายเป็น “การปฏิวัติ” ในทางรัฐศาสตร์ แต่ในมุมมองของทางนิติศาสตร์ถือว่า เป็นความต่อเนื่องของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
ความต่อเนื่องอันเป็นความงดงามและเป็นวัฒนธรรมนี้ ดำเนินมาจนถึงการรัฐประหารเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 ที่คณะรัฐประหารตั้งตนเป็นรัฐาธิปัตย์เสียเอง
จุดเริ่มต้นของ “วงจรอุบาทว์” และความอัปลักษณ์ตลอดจนลักษณะอนารยะอยู่ตรงนั้น
น่าเสียดายว่าขณะนั้นคณะราษฎรแตกแยกกันเอง และผู้ได้รับประโยชน์จากการรัฐประหารครั้งนั้นก็คือหนึ่งในคณะผู้ก่อการของคณะราษฎรเอง
ก่อนจะมาวิบัติไปจนหมดเชื้อสายคณะราษฎรในปี 2500
ผมเคยแจกแจงเรื่องเหล่านี้มาหลายครั้งเมื่อหลายปีที่ผ่านมาในฐานะคนรุ่นปัจจุบันที่ขอระลึกถึงความงดงามและความมีวัฒนธรรมในการใช้อำนาจ
ด้านหนึ่ง พยายามคืนความชอบธรรมทางประวัติศาสตร์ให้กับคณะราษฎรที่ถูกให้ร้ายป้ายสีมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมา
อีกด้านหนึ่ง ก็เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระราชปณิธานอันสูงส่งในองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย เพราะถ้าไม่มีพระองค์ท่านเสียแล้ว การปฏิวัติจะไม่มีทางสำเร็จสมบูรณ์โดยไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อ
ด้านหนึ่งพระองค์ทรง “ถูกปฏิวัติ” แต่อีกด้านหนึ่งพระองค์ก็ทรง “ร่วมปฏิวัติ” ด้วย