ASTV-ผู้จัดการรายวัน – นายกสมาคมมัคคุเทศก์ เตรียมชงที่ประชุมคณะกรรมการ สทท. สางปัญหาใบอนุญาตทำทัวร์ทับซ้อน ระบุขอความเห็นที่ประชุม ยุบ-ไม่ยุบทำทัวร์เฉพาะพื้นที่ เหตุชอบรับงานนอกเขตพื้นที่ ส่งผลทัวร์ในประเทศเดือดร้อน ก่อนนำส่ง”ศศิธารา”พิจารณา
นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ ในฐานะคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เปิดเผยว่า ในการประชุมสมาชิกสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.)วันที่ 16 มิ.ย.นี้ จะเสนอให้มีการพิจารณาเรื่องประเภทใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ว่าควรปรับลดค่าธรรมเนียม หรือ แยกประเภทผู้จดทะเบียนหรือไม่ อย่างไร
เพราะประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานว่าทำอย่างไรจึงเหมาะสม อีกทั้งล่าสุด น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้มอบหมายให้ภาคเอกชนในธุรกิจนำเที่ยวมาหาข้อสรุปเพื่อจะได้เร่งดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
สำหรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ปัจจุบัน มี 4 ประเภท ได้แก่ ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ เก็บหลักประกัน 10,000 บาท, ใบอนุญาตฯ ในประเทศ เก็บหลักประกัน 50,000 บาท, ใบอนุญาตฯ นำนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาในไทย(อินบาวด์) เก็บหลักประกัน 100,000 บาท และใบอนุญาตฯ นำนักท่องเที่ยวในไทยไปต่างประเทศ(เอาท์บาวด์) เก็บหลักประกัน 200,000 บาท
ทำให้เกิดปัญหาอยู่บ่อยครั้งว่ารายที่ขอใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จ่ายเงินค้ำประกันต่ำสุด แต่กลับทำธุรกิจนำเที่ยวทั่วประเทศ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ถือว่าไม่ยุติธรรมแก่กลุ่มอื่นๆ ที่เสียเงินค้ำประกันสูงกว่า 5 เท่า
เชื่อว่าปัญหาการทำทัวร์นอกเขตพื้นที่ที่ได้รับใบอนุญาต สะท้อนให้เห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ผล เพราะผู้กระทำผิดไม่ได้ถูกปราบปรามจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างจริงจัง ซึ่งเข้มงวดโดยเริ่มจากหน่วยงานที่กำกับดูแล โดยมีการปราบปรามอย่างจริงจัง และโดยส่วนตัวมองว่าสมควรที่จะให้มีใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ต่อไป
เพื่อให้ชุมชนขนาดเล็กได้มีโอกาสสร้างงานสร้างรายได้ แต่ในส่วนของผู้ขอใบอนุญาตในประเทศ ภาครัฐจะต้องมีวิธีดูแลไม่ให้เกิดการเสียเปรียบกับกลุ่มเฉพาะพื้นที่ เช่น การลดวงเงินหลักประกันจากที่เก็บอยู่ 50,000 บาท
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาก็มีบางความคิดเห็นที่ต้องการให้ยุบใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ ให้เหลือเพียงใบอนุญาตในประเทศเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อคนระดับชุมชนท้องถิ่นที่มีเงินทุนน้อย โดยเฉพาะกลุ่มที่ปฎิบัติตามกฎถูกต้อง คือ ให้บริการแค่ในท้องถิ่นเท่านั้น หากคนกลุ่มนี้ต้องไปเสียค่าหลักประกันแบบในประเทศ ซึ่งมีราคาแพงกว่าถึง
5 เท่า จะเกิดปัญหาไม่มีเงินจ่าย อาจถึงขั้นลักลอบดำเนินการแบบผิดกฎหมาย โดยสมาชิกบางรายแนะนำว่า ให้รัฐบาลลดค่าหลักประกันใบอนุญาตในประเทศให้เหลือ 10,000 บาท เท่ากับระดับท้องถิ่น แต่ก็จะทำให้มีการจดทะเบียนได้ง่ายเกินไป เป็นช่องทางให้กลุ่มมิจฉาชีพเข้ามาฉวยโอกาสหลอกลวงนักท่องเที่ยวได้ ดังนั้นการประชุมคณะกรรมการ
สทท.และสมาชิกครั้งนี้จะต้องเลือกแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ซึ่งมีปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯเป็นประธาน ในลำดับต่อไป
นายวิโรจน์ สิตประเสริฐนันท์ นายกสมาคมมัคคุเทศก์อาชีพ ในฐานะคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ เปิดเผยว่า ในการประชุมสมาชิกสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.)วันที่ 16 มิ.ย.นี้ จะเสนอให้มีการพิจารณาเรื่องประเภทใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ว่าควรปรับลดค่าธรรมเนียม หรือ แยกประเภทผู้จดทะเบียนหรือไม่ อย่างไร
เพราะประเด็นนี้เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานว่าทำอย่างไรจึงเหมาะสม อีกทั้งล่าสุด น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้มอบหมายให้ภาคเอกชนในธุรกิจนำเที่ยวมาหาข้อสรุปเพื่อจะได้เร่งดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
สำหรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยว ปัจจุบัน มี 4 ประเภท ได้แก่ ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจนำเที่ยวเฉพาะพื้นที่ เก็บหลักประกัน 10,000 บาท, ใบอนุญาตฯ ในประเทศ เก็บหลักประกัน 50,000 บาท, ใบอนุญาตฯ นำนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาในไทย(อินบาวด์) เก็บหลักประกัน 100,000 บาท และใบอนุญาตฯ นำนักท่องเที่ยวในไทยไปต่างประเทศ(เอาท์บาวด์) เก็บหลักประกัน 200,000 บาท
ทำให้เกิดปัญหาอยู่บ่อยครั้งว่ารายที่ขอใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ ซึ่งเป็นกลุ่มที่จ่ายเงินค้ำประกันต่ำสุด แต่กลับทำธุรกิจนำเที่ยวทั่วประเทศ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ถือว่าไม่ยุติธรรมแก่กลุ่มอื่นๆ ที่เสียเงินค้ำประกันสูงกว่า 5 เท่า
เชื่อว่าปัญหาการทำทัวร์นอกเขตพื้นที่ที่ได้รับใบอนุญาต สะท้อนให้เห็นถึงการบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ผล เพราะผู้กระทำผิดไม่ได้ถูกปราบปรามจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างจริงจัง ซึ่งเข้มงวดโดยเริ่มจากหน่วยงานที่กำกับดูแล โดยมีการปราบปรามอย่างจริงจัง และโดยส่วนตัวมองว่าสมควรที่จะให้มีใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ต่อไป
เพื่อให้ชุมชนขนาดเล็กได้มีโอกาสสร้างงานสร้างรายได้ แต่ในส่วนของผู้ขอใบอนุญาตในประเทศ ภาครัฐจะต้องมีวิธีดูแลไม่ให้เกิดการเสียเปรียบกับกลุ่มเฉพาะพื้นที่ เช่น การลดวงเงินหลักประกันจากที่เก็บอยู่ 50,000 บาท
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาก็มีบางความคิดเห็นที่ต้องการให้ยุบใบอนุญาตเฉพาะพื้นที่ ให้เหลือเพียงใบอนุญาตในประเทศเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อคนระดับชุมชนท้องถิ่นที่มีเงินทุนน้อย โดยเฉพาะกลุ่มที่ปฎิบัติตามกฎถูกต้อง คือ ให้บริการแค่ในท้องถิ่นเท่านั้น หากคนกลุ่มนี้ต้องไปเสียค่าหลักประกันแบบในประเทศ ซึ่งมีราคาแพงกว่าถึง
5 เท่า จะเกิดปัญหาไม่มีเงินจ่าย อาจถึงขั้นลักลอบดำเนินการแบบผิดกฎหมาย โดยสมาชิกบางรายแนะนำว่า ให้รัฐบาลลดค่าหลักประกันใบอนุญาตในประเทศให้เหลือ 10,000 บาท เท่ากับระดับท้องถิ่น แต่ก็จะทำให้มีการจดทะเบียนได้ง่ายเกินไป เป็นช่องทางให้กลุ่มมิจฉาชีพเข้ามาฉวยโอกาสหลอกลวงนักท่องเที่ยวได้ ดังนั้นการประชุมคณะกรรมการ
สทท.และสมาชิกครั้งนี้จะต้องเลือกแนวทางที่ดีที่สุด เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ซึ่งมีปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวฯเป็นประธาน ในลำดับต่อไป