ASTVผู้จัดการรายวัน - ค่อนข้างแน่ไม่เลิกอีอ๊อกชั่น กรมบัญชีกลางกางตัวเลขประหยัดงบหลวงปีละหมื่นล้าน รวม 5 ปีประหยัดแล้ว 7 หมื่นล้าน พร้อมคลายเกณฑ์ร่างทีโออาร์ให้กว้างขึ้น ลดล็อกสเป๊กบางราย
นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยกรณีนายกรัฐมนตรีสั่งให้กรมบัญชีกลางศึกษาเพื่อปรับปรุงระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อีอ๊อกชั่น) ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือนนี้ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเรียกหน่วยงานภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ และภาครัฐเพื่อนำข้อมูลที่มีปัญหาจากอีอ๊อกชั่นมาหารือกัน ซึ่งเบื้องต้นคงจะไม่ยกเลิกระบบอีอ๊อกชั่นแต่จะปรับปรุงระเบียบครั้งใหญ่เพื่อผ่อนคลายเกณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการและเพิ่มความสะดวกแก่ทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานรัฐมากขึ้น
สำหรับปัญหาที่เกิดจากระบบอีอ๊อกชั่นที่ผ่านมานั้น มีทั้งที่หน่วยงานที่กำหนดเงื่อนไขประกวดราคา (ทีโออาร์) ได้ล็อกสเป๊กทีโออาร์เพื่อผู้เข้าร่วมประมูลบางราย หรือการฮั้วกันระหว่างหน่วยงานกับผู้เข้าร่วมประมูลโดยการขึ้นประกาศผ่านประกวดราคาผ่านเว็บไซต์ล่าช้ากว่ากำหนดจริง 3 วัน ทำให้ผู้ต้องการเข้าร่วมประมูลรายอื่นไม่มีโอกาสประกวดราคา ดังนั้นเพื่อให้ระบบอีอ๊อกชั่นป้องกันการทุจริตได้มากขึ้นจึงจะเสนอแก้ไขพระราชกฤษฎีกากำหนดทีโออาร์ให้กว้างขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากรมบัญชีกลางได้จัดทำรายละเอียดไว้แล้วบางส่วน รอเพียงหารือเพิ่มเติมก็พร้อมจะเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ตั้งแต่มีระบบอีอ๊อกชั่นเกิดขึ้นในปี 48 ช่วยให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณไปได้ถึง 70,464 ล้านบาท และเฉพาะในช่วงปีงบ 52 ตั้งแต่ต.ค.51-15 พ.ค.52 ประหยัดงบแล้ว 9,836 ล้านบาท หรือ 7% ของงบประมาณที่ใช้อีอ๊อกชั่นจำนวน 1.3 แสนล้านบาท ดังนั้นการมีระบบอีอ๊อกชั่นจึงสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติมาก
"การประกวดราคาผ่านอีอ๊อกชั่นแม้จะไม่ทำให้การทุจริตในระบบจัดซื้อจัดจ้างหมดไป แต่ถือว่ารัฐได้ประโยชน์มากที่สุดแล้วในระบบนี้ ไม่เพียงประหยัดงบประมาณต่อปีเกือบหมื่นล้าน ยังเป็นการลดการทิ้งงานของภาคเอกชน จากการการันตีของแบงก์ผ่านหนังสือค้ำประกัน"นายรังสรรค์กล่าว
แหล่งข่าวผู้รับเหมาเปิดเผยว่า ระบบอีอ๊อกชั่นแม้จะยังมีการคอร์รัปชั่นอยู่บ้าง แต่ก็ทำให้เอกชนจ่ายค่าฮั้วให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานรัฐน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้การก่อสร้างโครงการต่างๆ มีคุณภาพมากขึ้นกว่าการที่จะต้องนำเงินไปจ่ายใต้โต๊ะมาก อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรผ่อนคลายเกณฑ์ให้มากขึ้น.
นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยกรณีนายกรัฐมนตรีสั่งให้กรมบัญชีกลางศึกษาเพื่อปรับปรุงระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (อีอ๊อกชั่น) ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือนนี้ ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเรียกหน่วยงานภาคเอกชน รัฐวิสาหกิจ และภาครัฐเพื่อนำข้อมูลที่มีปัญหาจากอีอ๊อกชั่นมาหารือกัน ซึ่งเบื้องต้นคงจะไม่ยกเลิกระบบอีอ๊อกชั่นแต่จะปรับปรุงระเบียบครั้งใหญ่เพื่อผ่อนคลายเกณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการและเพิ่มความสะดวกแก่ทั้งภาคเอกชนและหน่วยงานรัฐมากขึ้น
สำหรับปัญหาที่เกิดจากระบบอีอ๊อกชั่นที่ผ่านมานั้น มีทั้งที่หน่วยงานที่กำหนดเงื่อนไขประกวดราคา (ทีโออาร์) ได้ล็อกสเป๊กทีโออาร์เพื่อผู้เข้าร่วมประมูลบางราย หรือการฮั้วกันระหว่างหน่วยงานกับผู้เข้าร่วมประมูลโดยการขึ้นประกาศผ่านประกวดราคาผ่านเว็บไซต์ล่าช้ากว่ากำหนดจริง 3 วัน ทำให้ผู้ต้องการเข้าร่วมประมูลรายอื่นไม่มีโอกาสประกวดราคา ดังนั้นเพื่อให้ระบบอีอ๊อกชั่นป้องกันการทุจริตได้มากขึ้นจึงจะเสนอแก้ไขพระราชกฤษฎีกากำหนดทีโออาร์ให้กว้างขึ้น ซึ่งที่ผ่านมากรมบัญชีกลางได้จัดทำรายละเอียดไว้แล้วบางส่วน รอเพียงหารือเพิ่มเติมก็พร้อมจะเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ รองอธิบดีกรมบัญชีกลาง กล่าวว่า ตั้งแต่มีระบบอีอ๊อกชั่นเกิดขึ้นในปี 48 ช่วยให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณไปได้ถึง 70,464 ล้านบาท และเฉพาะในช่วงปีงบ 52 ตั้งแต่ต.ค.51-15 พ.ค.52 ประหยัดงบแล้ว 9,836 ล้านบาท หรือ 7% ของงบประมาณที่ใช้อีอ๊อกชั่นจำนวน 1.3 แสนล้านบาท ดังนั้นการมีระบบอีอ๊อกชั่นจึงสร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติมาก
"การประกวดราคาผ่านอีอ๊อกชั่นแม้จะไม่ทำให้การทุจริตในระบบจัดซื้อจัดจ้างหมดไป แต่ถือว่ารัฐได้ประโยชน์มากที่สุดแล้วในระบบนี้ ไม่เพียงประหยัดงบประมาณต่อปีเกือบหมื่นล้าน ยังเป็นการลดการทิ้งงานของภาคเอกชน จากการการันตีของแบงก์ผ่านหนังสือค้ำประกัน"นายรังสรรค์กล่าว
แหล่งข่าวผู้รับเหมาเปิดเผยว่า ระบบอีอ๊อกชั่นแม้จะยังมีการคอร์รัปชั่นอยู่บ้าง แต่ก็ทำให้เอกชนจ่ายค่าฮั้วให้แก่เจ้าหน้าที่รัฐหรือหน่วยงานรัฐน้อยลง ซึ่งจะส่งผลให้การก่อสร้างโครงการต่างๆ มีคุณภาพมากขึ้นกว่าการที่จะต้องนำเงินไปจ่ายใต้โต๊ะมาก อย่างไรก็ตาม ภาครัฐควรผ่อนคลายเกณฑ์ให้มากขึ้น.