ASTV ผู้จัดการรายวัน – ค่ายรถอินเดีย “ทาทา” ยันเศรษฐกิจชะลอตัวไม่สะเทือน โชว์กำไรกว่า 7 พันล้านบาท ยืนยันไร้ปัญหาสภาพคล่อง ประกาศเดินหน้าลงทุนโครงการอีโคคาร์ มูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท แบบไม่ต้องหาแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินในไทย ส่วน “วอลโว่” กลับเป็นหนังคนละม้วน ยอมรับปิดโรงงานยาวจนถึงสิ้นปี
นายอาจิต เวนคาทารามัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทาทา มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์สัญชาติอินเดียยี่ห้อ “ทาทา” ในประเทศไทย เปิดเผยว่า ทาทามีนโยบายชัดเจนที่จะดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในประเทศไทย และพร้อมสนับสนุนนโยบายอุตสาหกรรมยานยนต์ของรัฐบาลไทย โดยตั้งแต่เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยเมื่อปี 2550 ได้ลงทุนขึ้นไลน์ผลิตปิกอัพทาทา ซีนอน รวมมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านบาท และเตรียมตั้งโรงงานแห่งใหม่ผลิตรถยนต์อีโคคาร์ในไทยมูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท เพื่อทำตลาดในปี 2554 ตามแผนงานทุกอย่าง
“แม้วิกฤตเศรษฐกิจโลกจะกระทบอุตสาหกรรมรถยนต์โดยรวม แต่ทาทายังไม่มีการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานในไทย และมีความพร้อมที่จะลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องแต่อย่างใด ซึ่งในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ แม่ ทาทา มอเตอร์ส ประเทศอินเดีย มีผลประกอบการกำไรมากกว่า 7 พันล้านบาท นั่นแสดงให้เห็นถึงสถานะทางการเงินของทาทาเป็นอย่างดี ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้”
ที่สำคัญผลการดำเนินงานดังกล่าว เป็นตัวเลขที่อยู่ในช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เพราะรอบบัญชีเริ่มจากเมษายน 2551 ถึงเดือนมีนาคม 2552 และที่สำคัญยังไม่นับรวมรถยนต์เล็ก ทาทา นาโน ซึ่งเปิดตัวในอินเดียเพียงไม่กี่สัปดาห์ มียอดจองจากลูกค้าที่วางเงินมัดจำล่วงหน้าถึง 203,000 คัน หรือคิดเป็นมูลค่า 2.5 หมื่นล้านรูปี
นายอาจิตกล่าวว่า ดังนั้นกระแสข่าวทาทามีปัญหาขาดสภาพคล่องจึงไม่ใช่แน่นอน และสิ่งที่บ่งชี้อีกอย่างทาทาสามารถระดมทุนได้ถึง 840 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการออกหุ้นกู้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเป็นหนึ่งในการออกหุ้นกู้มูลค่ามากที่สุดของบริษัทอินเดีย และเป็นการออกหุ้นกู้ประเภท Secure Non-Convertible ครั้งแรกของตลาดทุนในประเทศ โดยได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากนักลงทุน
“ดังนั้นการดำเนินงานในไทยของทาทาจึงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด และบริษัทแม่ได้เตรียมเงินลงทุนสำหรับโครงการอีโคคาร์ไว้แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องหาแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินในไทย หรือขอร้องให้รัฐบาลไทยช่วยเหลือ ส่วนหากจะมีแหล่งเงินทุนที่ถูกกว่าในไทย เป็นทำธรรมดาของธุรกิจที่จะพิจารณา แต่ยืนยันทาทามีฐานะการเงินพร้อมลงทุนในไทยแน่นอน”นายอาจิตกล่าว
ทั้งนี้ บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทลูกเพียงแห่งเดียวที่ ทาทา มอเตอร์ส ลงทุนเองทั้งหมดภายนอกประเทศอินเดีย ซึ่งปกติจะใช้ตัวแทนจำหน่ายหรือดิสติบิวเตอร์ในการขายรถของทาทา ฉะนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า ทาทา มอเตอร์ส ให้ความสำคัญกับประเทศไทยมาเป็นลำดับต้นๆ
อนึ่ง นายพอลล์ สโตคส์ ประธานบริหาร บริษัท วลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้กระทบตลาดรถยนต์ในไทย โดยในส่วนของวอลโว่ได้มีการปิดโรงงานไทยสวีดิช เอสแซมบลี เป็นการชั่วคราวไปจนถึงสิ้นปี
“เรามีสต็อกรถที่สามารถรองรับได้จนถึงสิ้นปี จึงไม่มีปัญหาต่อการทำตลาดแต่อย่างใด แต่เพื่อตอบสนองลูกค้าวอลโว่ได้มีการปรับนโยบาย ด้วยการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศมาทำตลาดมากขึ้น เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกหลากหลาย และไม่ต้องรอรถประกอบในประเทศนาน อย่างล่าสุดวอลโว่ เอ็กซ์ซี60 ไทยนับเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียที่เปิดตัวทำตลาดรถรุ่นนี้”
สำหรับปีนี้วอลโว่มีแผนที่จะนำเข้ารถยนต์รุ่นใหม่มาทำตลาดอีก 2 รุ่น และจากการเพิ่มทางเลือกหลากหลาย ทำให้บริษัทตั้งเป้ายอดขายปีนี้ไว้ที่ประมาณ 400-500 คัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาทำได้ 560 คัน ซึ่งในสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์อย่างรุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มในกลุ่มรถยนต์หรู การที่วอลโว่สามารถรักษายอดขายใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาก็น่าพอใจแล้ว
นายอาจิต เวนคาทารามัน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทาทา มอเตอร์ส(ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายรถยนต์สัญชาติอินเดียยี่ห้อ “ทาทา” ในประเทศไทย เปิดเผยว่า ทาทามีนโยบายชัดเจนที่จะดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนในประเทศไทย และพร้อมสนับสนุนนโยบายอุตสาหกรรมยานยนต์ของรัฐบาลไทย โดยตั้งแต่เข้ามาดำเนินธุรกิจในไทยเมื่อปี 2550 ได้ลงทุนขึ้นไลน์ผลิตปิกอัพทาทา ซีนอน รวมมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านบาท และเตรียมตั้งโรงงานแห่งใหม่ผลิตรถยนต์อีโคคาร์ในไทยมูลค่ากว่า 6 พันล้านบาท เพื่อทำตลาดในปี 2554 ตามแผนงานทุกอย่าง
“แม้วิกฤตเศรษฐกิจโลกจะกระทบอุตสาหกรรมรถยนต์โดยรวม แต่ทาทายังไม่มีการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินงานในไทย และมีความพร้อมที่จะลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยไม่มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องแต่อย่างใด ซึ่งในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ แม่ ทาทา มอเตอร์ส ประเทศอินเดีย มีผลประกอบการกำไรมากกว่า 7 พันล้านบาท นั่นแสดงให้เห็นถึงสถานะทางการเงินของทาทาเป็นอย่างดี ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้”
ที่สำคัญผลการดำเนินงานดังกล่าว เป็นตัวเลขที่อยู่ในช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ เพราะรอบบัญชีเริ่มจากเมษายน 2551 ถึงเดือนมีนาคม 2552 และที่สำคัญยังไม่นับรวมรถยนต์เล็ก ทาทา นาโน ซึ่งเปิดตัวในอินเดียเพียงไม่กี่สัปดาห์ มียอดจองจากลูกค้าที่วางเงินมัดจำล่วงหน้าถึง 203,000 คัน หรือคิดเป็นมูลค่า 2.5 หมื่นล้านรูปี
นายอาจิตกล่าวว่า ดังนั้นกระแสข่าวทาทามีปัญหาขาดสภาพคล่องจึงไม่ใช่แน่นอน และสิ่งที่บ่งชี้อีกอย่างทาทาสามารถระดมทุนได้ถึง 840 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการออกหุ้นกู้เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคมที่ผ่านมา โดยเป็นหนึ่งในการออกหุ้นกู้มูลค่ามากที่สุดของบริษัทอินเดีย และเป็นการออกหุ้นกู้ประเภท Secure Non-Convertible ครั้งแรกของตลาดทุนในประเทศ โดยได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากนักลงทุน
“ดังนั้นการดำเนินงานในไทยของทาทาจึงไม่มีปัญหาแต่อย่างใด และบริษัทแม่ได้เตรียมเงินลงทุนสำหรับโครงการอีโคคาร์ไว้แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องหาแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงินในไทย หรือขอร้องให้รัฐบาลไทยช่วยเหลือ ส่วนหากจะมีแหล่งเงินทุนที่ถูกกว่าในไทย เป็นทำธรรมดาของธุรกิจที่จะพิจารณา แต่ยืนยันทาทามีฐานะการเงินพร้อมลงทุนในไทยแน่นอน”นายอาจิตกล่าว
ทั้งนี้ บริษัท ทาทา มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทลูกเพียงแห่งเดียวที่ ทาทา มอเตอร์ส ลงทุนเองทั้งหมดภายนอกประเทศอินเดีย ซึ่งปกติจะใช้ตัวแทนจำหน่ายหรือดิสติบิวเตอร์ในการขายรถของทาทา ฉะนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า ทาทา มอเตอร์ส ให้ความสำคัญกับประเทศไทยมาเป็นลำดับต้นๆ
อนึ่ง นายพอลล์ สโตคส์ ประธานบริหาร บริษัท วลโว่ คาร์ (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า จากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทำให้กระทบตลาดรถยนต์ในไทย โดยในส่วนของวอลโว่ได้มีการปิดโรงงานไทยสวีดิช เอสแซมบลี เป็นการชั่วคราวไปจนถึงสิ้นปี
“เรามีสต็อกรถที่สามารถรองรับได้จนถึงสิ้นปี จึงไม่มีปัญหาต่อการทำตลาดแต่อย่างใด แต่เพื่อตอบสนองลูกค้าวอลโว่ได้มีการปรับนโยบาย ด้วยการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศมาทำตลาดมากขึ้น เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกหลากหลาย และไม่ต้องรอรถประกอบในประเทศนาน อย่างล่าสุดวอลโว่ เอ็กซ์ซี60 ไทยนับเป็นประเทศที่ 3 ในเอเชียที่เปิดตัวทำตลาดรถรุ่นนี้”
สำหรับปีนี้วอลโว่มีแผนที่จะนำเข้ารถยนต์รุ่นใหม่มาทำตลาดอีก 2 รุ่น และจากการเพิ่มทางเลือกหลากหลาย ทำให้บริษัทตั้งเป้ายอดขายปีนี้ไว้ที่ประมาณ 400-500 คัน ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาทำได้ 560 คัน ซึ่งในสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์อย่างรุนแรง โดยเฉพาะกลุ่มในกลุ่มรถยนต์หรู การที่วอลโว่สามารถรักษายอดขายใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาก็น่าพอใจแล้ว