โรคคอร์รัปชันนั้นไม่ได้เป็นโรคใหม่ในแวดวงการเมืองไทย แต่มีมาควบคู่กับต้นธารของระบอบประชาธิปไตยนานมาแล้วละครับ
เหตุที่ผมกล่าวมา มีมาพร้อมกับการเริ่มต้นใช้ระบอบประชาธิปไตยก็เพราะมันมีเหตุผลอยู่หลายประการ และหนึ่งในบรรดาเหตุผลก็เป็นเพราะคนไทยเรานั้นขี้เกียจหรือไม่ชอบไปเลือกตั้ง
พูดง่ายๆ ก็คือชอบนอนหลับทับสิทธิ์
มันมีเหตุผลนะว่าทำไมคนไทยไม่เห็นความสำคัญ
เรื่องมันก็คืออย่างแรกไม่ศรัทธา “การเมือง” และ “ไม่ศรัทธา” ในตัวผู้มาสมัครเป็น ส.ส.
ทั้ง 2 อย่างนี้ทำให้คนเราไม่อยากไปเลือกตั้ง
ชอบประชาธิปไตยก็จริง แต่ไม่เห็นว่าคนที่มาอาสาเป็นผู้แทนจะมีคุณวุฒิวัยวุฒิสมราคา
ความจริงแล้วประชาชนในต่างจังหวัดยังมีอีกสาเหตุหนึ่งครับ
นั่นคือ พวกเขาขาดแรงกระตุ้น และต้องการแรงจูงใจ
มันหมายถึง “ช่องโหว่” ที่ผู้สมัคร “ใช้เงิน” เป็นแรงกระตุ้น
ผมมีเพื่อนอยู่คนหนึ่งมีการศึกษาดีมาก จบไฮสกูลระดับเกรดเอ มีแต่ลูกขุนนาง และเศรษฐีผู้ดีอังกฤษเรียนกันเล่นกีฬา เช่น รักบี้, ฟุตบอล, สควอช, กรีฑา ฯลฯ เก่งได้เป็นหัวหน้าทีมโรงเรียน ต่อมาก็ติดทีมระดับภาค ยังจบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยชั้นนำมีชื่อเสียงด้วย
กลับมาเป็นอาจารย์จุฬาฯ ที่สอนดีมาก และกลับไปจังหวัดบ้านเกิด
ผมไปช่วยหาเสียง และทำ VDO หาเสียงติดตั้งเครื่องมือแบบไฮเทคคือระบบทีวีเปิด ตั้งเสาอากาศภายในรถผม ส่งสัญญาณไกลคลุมทั้งหมู่บ้าน แต่ในหมู่บ้านที่มีทีวีต้องจูนช่องรอรับไว้ก่อน
ผมฉาย VDO ซึ่งถ่ายทำ, ติดต่อ และให้เพลงพร้อมทั้ง Voice Over เป็นภาพยนตร์มีเพื่อนเดินเข้ากล้องแนะนำตัวเอง และหาเสียง ใช้เวลาไม่ถึง 3 นาที ต่อด้วยภาพยนตร์ไทยระดับฉายโรงใหญ่
คนดูกันตรึมครับ เวลานั้นเขาให้เล่นมหรสพได้ และไม่ผิดกติกา
การหาเสียงคราวนั้นเป็นครั้งแรก แถมเป็นหน้าฝน ชาวบ้านอยู่ในบ้านดูแต่ทีวี มีช่องพิเศษของผมนี้แหละ
ฮือฮากันมาก คู่แข่งมึนครับ ไม่รู้ว่าทำอย่างไรจึงมีทีวีแบบนี้ได้
เพื่อนลอยลำเป็นผู้แทนแบบทิ้งห่าง
แต่ที่ผมจะเขียนคือ เพื่อนคนนี้ยังไงก็ต้องจ่ายเงิน แม้จะร่วม 20 กว่าปีมาแล้ว เวลานั้นแจกหัวละ 20-40 บาทเท่านั้น ในเมืองแค่ 50 บาทเองครับ
ผมค้านแล้วว่าไม่จำเป็นเลย แค่หาเสียงเขาก็ได้เลือกแล้ว
เพื่อนบอกว่า เงินเป็นตัวกระตุ้นประกันให้คนมา
ทุกวันนี้เพื่อนบอกสู้รายอื่นที่เป็นคู่แข่งไม่ไหว แจกกันหัวละ 200-300 ครับ ในเมืองหัวละ 1,000
เรื่องจริงครับ ผมไปเยี่ยมญาติที่ศรีษะเกสยังได้มา 1,000 บาท ไม่รับไม่ได้ เพราะหัวคะแนนรับมาแล้วไม่งั้นจะโดนเช็กบิล ผมก็เลยบริจาคให้วัดไป
นี่แหละครับ
เรื่องประชาธิปไตยเป็นการลงทุนด้วยเงินทุนแท้ๆ
มันจะดีกว่านี้เมื่อจะมี “การเมืองใหม่” โดยพรรคใหม่ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
วันนี้ผมไปฟังคุณสนธิอธิบายให้ฟังถึงปัญหาของชาติบ้านเมือง และวิธีแก้ซึ่งก็เห็นว่ามันแก้ได้
ถ้าไม่มีคอร์รัปชัน
และจะไม่มีคอร์รัปชันเลยถ้าตรงไปตรงมา
คอมมิชชันมีได้ แต่ควรนำไปเป็นกองทุนเพื่อสาธารณประโยชน์ เพราะทุกประเทศเขาก็ให้ค่าคอมมิชชันกัน
การคอร์รัปชันนั้นตามที่คุณสนธิเล่า, ผมฟังแล้วก็ขนหัวลุก มันมีหลายแบบตั้งแต่เล็กๆ ไปจนใหญ่ๆ เช่น วางนโยบายมาโกงกิน, คิดโครงการมากิน ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ถ้าพรรคพันธมิตรฯ มีส่วนบริหาร ประเทศจะคอร์รัปชันกันน้อยมาก
ผมเชื่อและมั่นใจเช่นนั้นนะ
ทุกวันนี้ปัญหาของประชาธิปไตยไม่ได้อยู่ที่แค่การซื้อขายเสียงหรือคนไปเลือกตั้งกันน้อย
แต่กลไกการเลือกตั้งไปจนถึงอุดมการณ์ทางการเมืองและพรรคการเมืองของเราเองก็ย่ำอยู่กับที่
ไม่มีการพัฒนาไปเลยตลอดเวลากว่า 20-30 ปี
เรามีนักการเมืองใหม่ๆ เข้ามาทุก 4 ปี แต่โดนครอบด้วยกลไกและระบบเก่าๆ
มันไม่เกิดอะไรใหม่และมีอะไรดีขึ้นหรอก
การเมืองไทยมันจึงต้องผ่าตัดเอาฝีเอาหนอง และเอาเนื้อร้ายเฉือนทิ้งไปเสีย
มิเช่นนั้นก็อย่าหวังเลยว่า คนรุ่นหลังจะได้เห็นการพัฒนาทางการเมืองให้ก้าวไปสู่ระดับสากล
อย่าลืมว่าถ้าการเมืองดี คอร์รัปชันก็จะไม่มี
งบประมาณแต่ละปีโดนโกงไปปีละไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท เงินจำนวนนี้ไปทำอะไรได้เยอะมากครับ
ผมรออยู่ว่า ยุบสภาเมื่อไหร่ และพรรคใหม่พร้อมเมื่อไหร่
เราจะได้เปลี่ยนการเมืองไทยให้ “ใหม่” เสียที
เหตุที่ผมกล่าวมา มีมาพร้อมกับการเริ่มต้นใช้ระบอบประชาธิปไตยก็เพราะมันมีเหตุผลอยู่หลายประการ และหนึ่งในบรรดาเหตุผลก็เป็นเพราะคนไทยเรานั้นขี้เกียจหรือไม่ชอบไปเลือกตั้ง
พูดง่ายๆ ก็คือชอบนอนหลับทับสิทธิ์
มันมีเหตุผลนะว่าทำไมคนไทยไม่เห็นความสำคัญ
เรื่องมันก็คืออย่างแรกไม่ศรัทธา “การเมือง” และ “ไม่ศรัทธา” ในตัวผู้มาสมัครเป็น ส.ส.
ทั้ง 2 อย่างนี้ทำให้คนเราไม่อยากไปเลือกตั้ง
ชอบประชาธิปไตยก็จริง แต่ไม่เห็นว่าคนที่มาอาสาเป็นผู้แทนจะมีคุณวุฒิวัยวุฒิสมราคา
ความจริงแล้วประชาชนในต่างจังหวัดยังมีอีกสาเหตุหนึ่งครับ
นั่นคือ พวกเขาขาดแรงกระตุ้น และต้องการแรงจูงใจ
มันหมายถึง “ช่องโหว่” ที่ผู้สมัคร “ใช้เงิน” เป็นแรงกระตุ้น
ผมมีเพื่อนอยู่คนหนึ่งมีการศึกษาดีมาก จบไฮสกูลระดับเกรดเอ มีแต่ลูกขุนนาง และเศรษฐีผู้ดีอังกฤษเรียนกันเล่นกีฬา เช่น รักบี้, ฟุตบอล, สควอช, กรีฑา ฯลฯ เก่งได้เป็นหัวหน้าทีมโรงเรียน ต่อมาก็ติดทีมระดับภาค ยังจบปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยชั้นนำมีชื่อเสียงด้วย
กลับมาเป็นอาจารย์จุฬาฯ ที่สอนดีมาก และกลับไปจังหวัดบ้านเกิด
ผมไปช่วยหาเสียง และทำ VDO หาเสียงติดตั้งเครื่องมือแบบไฮเทคคือระบบทีวีเปิด ตั้งเสาอากาศภายในรถผม ส่งสัญญาณไกลคลุมทั้งหมู่บ้าน แต่ในหมู่บ้านที่มีทีวีต้องจูนช่องรอรับไว้ก่อน
ผมฉาย VDO ซึ่งถ่ายทำ, ติดต่อ และให้เพลงพร้อมทั้ง Voice Over เป็นภาพยนตร์มีเพื่อนเดินเข้ากล้องแนะนำตัวเอง และหาเสียง ใช้เวลาไม่ถึง 3 นาที ต่อด้วยภาพยนตร์ไทยระดับฉายโรงใหญ่
คนดูกันตรึมครับ เวลานั้นเขาให้เล่นมหรสพได้ และไม่ผิดกติกา
การหาเสียงคราวนั้นเป็นครั้งแรก แถมเป็นหน้าฝน ชาวบ้านอยู่ในบ้านดูแต่ทีวี มีช่องพิเศษของผมนี้แหละ
ฮือฮากันมาก คู่แข่งมึนครับ ไม่รู้ว่าทำอย่างไรจึงมีทีวีแบบนี้ได้
เพื่อนลอยลำเป็นผู้แทนแบบทิ้งห่าง
แต่ที่ผมจะเขียนคือ เพื่อนคนนี้ยังไงก็ต้องจ่ายเงิน แม้จะร่วม 20 กว่าปีมาแล้ว เวลานั้นแจกหัวละ 20-40 บาทเท่านั้น ในเมืองแค่ 50 บาทเองครับ
ผมค้านแล้วว่าไม่จำเป็นเลย แค่หาเสียงเขาก็ได้เลือกแล้ว
เพื่อนบอกว่า เงินเป็นตัวกระตุ้นประกันให้คนมา
ทุกวันนี้เพื่อนบอกสู้รายอื่นที่เป็นคู่แข่งไม่ไหว แจกกันหัวละ 200-300 ครับ ในเมืองหัวละ 1,000
เรื่องจริงครับ ผมไปเยี่ยมญาติที่ศรีษะเกสยังได้มา 1,000 บาท ไม่รับไม่ได้ เพราะหัวคะแนนรับมาแล้วไม่งั้นจะโดนเช็กบิล ผมก็เลยบริจาคให้วัดไป
นี่แหละครับ
เรื่องประชาธิปไตยเป็นการลงทุนด้วยเงินทุนแท้ๆ
มันจะดีกว่านี้เมื่อจะมี “การเมืองใหม่” โดยพรรคใหม่ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
วันนี้ผมไปฟังคุณสนธิอธิบายให้ฟังถึงปัญหาของชาติบ้านเมือง และวิธีแก้ซึ่งก็เห็นว่ามันแก้ได้
ถ้าไม่มีคอร์รัปชัน
และจะไม่มีคอร์รัปชันเลยถ้าตรงไปตรงมา
คอมมิชชันมีได้ แต่ควรนำไปเป็นกองทุนเพื่อสาธารณประโยชน์ เพราะทุกประเทศเขาก็ให้ค่าคอมมิชชันกัน
การคอร์รัปชันนั้นตามที่คุณสนธิเล่า, ผมฟังแล้วก็ขนหัวลุก มันมีหลายแบบตั้งแต่เล็กๆ ไปจนใหญ่ๆ เช่น วางนโยบายมาโกงกิน, คิดโครงการมากิน ฯลฯ
ทั้งหมดนี้ถ้าพรรคพันธมิตรฯ มีส่วนบริหาร ประเทศจะคอร์รัปชันกันน้อยมาก
ผมเชื่อและมั่นใจเช่นนั้นนะ
ทุกวันนี้ปัญหาของประชาธิปไตยไม่ได้อยู่ที่แค่การซื้อขายเสียงหรือคนไปเลือกตั้งกันน้อย
แต่กลไกการเลือกตั้งไปจนถึงอุดมการณ์ทางการเมืองและพรรคการเมืองของเราเองก็ย่ำอยู่กับที่
ไม่มีการพัฒนาไปเลยตลอดเวลากว่า 20-30 ปี
เรามีนักการเมืองใหม่ๆ เข้ามาทุก 4 ปี แต่โดนครอบด้วยกลไกและระบบเก่าๆ
มันไม่เกิดอะไรใหม่และมีอะไรดีขึ้นหรอก
การเมืองไทยมันจึงต้องผ่าตัดเอาฝีเอาหนอง และเอาเนื้อร้ายเฉือนทิ้งไปเสีย
มิเช่นนั้นก็อย่าหวังเลยว่า คนรุ่นหลังจะได้เห็นการพัฒนาทางการเมืองให้ก้าวไปสู่ระดับสากล
อย่าลืมว่าถ้าการเมืองดี คอร์รัปชันก็จะไม่มี
งบประมาณแต่ละปีโดนโกงไปปีละไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท เงินจำนวนนี้ไปทำอะไรได้เยอะมากครับ
ผมรออยู่ว่า ยุบสภาเมื่อไหร่ และพรรคใหม่พร้อมเมื่อไหร่
เราจะได้เปลี่ยนการเมืองไทยให้ “ใหม่” เสียที