แม้มีขนาดเล็ก แต่สิงคโปร์กลับมีพื้นที่สีเขียวกว้างใหญ่ถึง 3,300 เฮกตาร์ หรือเกือบ 5% ของพื้นที่ทั้งหมดบนบก โดยพื้นที่สีเขียวเหล่านี้รวมถึงสวนสาธารณะ ป่าฝนและพื้นที่สงวน
สำนักผังเมือง (ยูอาร์เอ) และคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติแดนลอดช่องหวังจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 50 เฮกตาร์ภายในปี 2030 ผ่านโครงการสำคัญสองโครงการที่เปิดตัวกันไปเมื่อเดือนเมษายน
โครงการแรกชื่อว่า โปรแกรม ลัช (การจัดวางภูมิทัศน์สำหรับพื้นที่เมืองและตึกสูง) และอีกโครงการเป็นโครงการจูงใจเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวบนอาคารและหลังคาบ้าน ทั้งสองโครงการมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือส่งเสริมให้ชาวสิงคโปร์เพิ่มพื้นที่สีเขียวในบ้าน ที่ทำงาน และบริเวณพักผ่อนหย่อนใจ
แต่แรกที่อัลเบิร์ต เก๊ก ย้ายเข้าอยู่ในชั้นบนสุดของอพาร์ตเมนท์ 8 ชั้น เขาผิดหวังกับพื้นที่ที่จำกัดในการตอบสนองความรักในการทำสวนของตัวเอง ทั้งหมดที่เขามีคือระเบียงขนาด 1 ตารางเมตร แค่พอให้ภรรยาใช้ตากเสื้อผ้าเท่านั้น
แต่แล้วสมองเขาก็แล่น หนึ่งปีผ่านไป สวนของเก๊กที่มีดอกไม้ เฟิร์นและสมุนไพรมากกว่า 10 พันธุ์ไต่อยู่บนผนังเขียวขจี โดดเด่นจากห้องของเพื่อนร่วมอพาร์ตเมนท์ทั้งหมด
ทางการแดนลอดช่องหวังว่าประชาชนทั่วไปจะเลียนแบบเก๊ก และทำให้มหานครที่เขียวขจีอยู่แล้วกลายเป็นเมืองที่แม้แต่ตึกสูงระฟ้ายังเขียวชอุ่ม
นักท่องเที่ยวมากมายหลงเสน่ห์สวนสาธารณะและถนนหนทางที่ร่มรื่นด้วยพืชพันธุ์ของสิงคโปร์ อันเป็นผลจากกลยุทธ์การวางผังเมืองระยะยาว
โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในบางพื้นที่ถูกกำหนดให้ออกแบบอาคารโดยผนวกรวมพื้นที่สวนไว้ด้วย
“เรามองหาวิธีเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่อง” เฉินซิงเหยา รองผู้อำนวยการออกแบบผังเมืองของยูอาร์เอบอก
อาคารหลักของหอสมุดแห่งชาติ ที่รวมสวนบนดาดฟ้าไว้ในการออกแบบสถาปัตยกรรม บอกว่าผู้มาใช้บริการเพลิดเพลินกับการได้หลีกเร้นจากบรรยากาศของความเป็นเมืองด้วยความชุ่มชื่นของต้นไม้ดอกไม้
“นอกจากความสวยงามแล้ว ผู้มาใช้บริการและเจ้าหน้าที่ต่างยินดีกับความสะดวกสบายในการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวกลางแจ้งใจกลางเมืองแบบนี้” โฆษกหอสมุดกล่าวและว่า มีเจ้าหน้าที่จากทั่วภูมิภาคและสหรัฐฯ มาเยี่ยมเยียนเพื่อศึกษาพื้นที่สีเขียวของอาคาร
นอกจากนี้ พื้นที่สีเขียวยังถูกใช้เป็นจุดขายสำหรับบางธุรกิจ รวมถึงร้านอาหารญี่ปุ่นที่ชื่อเคยากิ ในสวนบนดาดฟ้าโรงแรมห้าดาว แพน แปซิฟิก สวนญี่ปุ่นทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนหลุดจากการตกแต่งแนวสมัยนิยมภายในโรงแรมอย่างทันทีทันใด
วัน จอร์จ สตรีท อาคารสำนักงานที่เป็นที่ตั้งของบรรษัทข้ามชาติหลายแห่ง บอกว่าพนักงานที่ทำงานในตึกต่างชื่นชมความเงียบสงบของ ‘สวนลอยฟ้า’
“นอกจากทำให้สบายตาจากความแออัดของย่านธุรกิจกลางเมืองแล้ว สวนเหล่านี้ยังทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้น ลดอุณหภูมิโดยรอบ และช่วยลดการใช้พลังงาน” แคปิตาคอมเมอร์เชียล เจ้าของอาคาร กล่าว
เก๊ก เจ้าของบ้านที่ริเริ่มแนวทาง ‘ทำสวนแนวดิ่งด้วยตัวเอง’ บอกว่าสวนลอยฟ้าไปกันได้ดีกับสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้นของสิงคโปร์
“สวนเหล่านี้ใช้พื้นที่น้อย ดูแลง่าย ทั้งยังช่วยให้อุณหภูมิภายในห้องเย็นลง”
เก๊กไม่ได้คิดจะหยุดที่ความสวยงามเท่านั้น
“ผมอยากปลูกผลไม้และพริกไว้ทำอาหารด้วย”
สำนักผังเมือง (ยูอาร์เอ) และคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติแดนลอดช่องหวังจะเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีก 50 เฮกตาร์ภายในปี 2030 ผ่านโครงการสำคัญสองโครงการที่เปิดตัวกันไปเมื่อเดือนเมษายน
โครงการแรกชื่อว่า โปรแกรม ลัช (การจัดวางภูมิทัศน์สำหรับพื้นที่เมืองและตึกสูง) และอีกโครงการเป็นโครงการจูงใจเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวบนอาคารและหลังคาบ้าน ทั้งสองโครงการมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือส่งเสริมให้ชาวสิงคโปร์เพิ่มพื้นที่สีเขียวในบ้าน ที่ทำงาน และบริเวณพักผ่อนหย่อนใจ
แต่แรกที่อัลเบิร์ต เก๊ก ย้ายเข้าอยู่ในชั้นบนสุดของอพาร์ตเมนท์ 8 ชั้น เขาผิดหวังกับพื้นที่ที่จำกัดในการตอบสนองความรักในการทำสวนของตัวเอง ทั้งหมดที่เขามีคือระเบียงขนาด 1 ตารางเมตร แค่พอให้ภรรยาใช้ตากเสื้อผ้าเท่านั้น
แต่แล้วสมองเขาก็แล่น หนึ่งปีผ่านไป สวนของเก๊กที่มีดอกไม้ เฟิร์นและสมุนไพรมากกว่า 10 พันธุ์ไต่อยู่บนผนังเขียวขจี โดดเด่นจากห้องของเพื่อนร่วมอพาร์ตเมนท์ทั้งหมด
ทางการแดนลอดช่องหวังว่าประชาชนทั่วไปจะเลียนแบบเก๊ก และทำให้มหานครที่เขียวขจีอยู่แล้วกลายเป็นเมืองที่แม้แต่ตึกสูงระฟ้ายังเขียวชอุ่ม
นักท่องเที่ยวมากมายหลงเสน่ห์สวนสาธารณะและถนนหนทางที่ร่มรื่นด้วยพืชพันธุ์ของสิงคโปร์ อันเป็นผลจากกลยุทธ์การวางผังเมืองระยะยาว
โครงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในบางพื้นที่ถูกกำหนดให้ออกแบบอาคารโดยผนวกรวมพื้นที่สวนไว้ด้วย
“เรามองหาวิธีเพิ่มพื้นที่สีเขียวอย่างต่อเนื่อง” เฉินซิงเหยา รองผู้อำนวยการออกแบบผังเมืองของยูอาร์เอบอก
อาคารหลักของหอสมุดแห่งชาติ ที่รวมสวนบนดาดฟ้าไว้ในการออกแบบสถาปัตยกรรม บอกว่าผู้มาใช้บริการเพลิดเพลินกับการได้หลีกเร้นจากบรรยากาศของความเป็นเมืองด้วยความชุ่มชื่นของต้นไม้ดอกไม้
“นอกจากความสวยงามแล้ว ผู้มาใช้บริการและเจ้าหน้าที่ต่างยินดีกับความสะดวกสบายในการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวกลางแจ้งใจกลางเมืองแบบนี้” โฆษกหอสมุดกล่าวและว่า มีเจ้าหน้าที่จากทั่วภูมิภาคและสหรัฐฯ มาเยี่ยมเยียนเพื่อศึกษาพื้นที่สีเขียวของอาคาร
นอกจากนี้ พื้นที่สีเขียวยังถูกใช้เป็นจุดขายสำหรับบางธุรกิจ รวมถึงร้านอาหารญี่ปุ่นที่ชื่อเคยากิ ในสวนบนดาดฟ้าโรงแรมห้าดาว แพน แปซิฟิก สวนญี่ปุ่นทำให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนหลุดจากการตกแต่งแนวสมัยนิยมภายในโรงแรมอย่างทันทีทันใด
วัน จอร์จ สตรีท อาคารสำนักงานที่เป็นที่ตั้งของบรรษัทข้ามชาติหลายแห่ง บอกว่าพนักงานที่ทำงานในตึกต่างชื่นชมความเงียบสงบของ ‘สวนลอยฟ้า’
“นอกจากทำให้สบายตาจากความแออัดของย่านธุรกิจกลางเมืองแล้ว สวนเหล่านี้ยังทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้น ลดอุณหภูมิโดยรอบ และช่วยลดการใช้พลังงาน” แคปิตาคอมเมอร์เชียล เจ้าของอาคาร กล่าว
เก๊ก เจ้าของบ้านที่ริเริ่มแนวทาง ‘ทำสวนแนวดิ่งด้วยตัวเอง’ บอกว่าสวนลอยฟ้าไปกันได้ดีกับสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้นของสิงคโปร์
“สวนเหล่านี้ใช้พื้นที่น้อย ดูแลง่าย ทั้งยังช่วยให้อุณหภูมิภายในห้องเย็นลง”
เก๊กไม่ได้คิดจะหยุดที่ความสวยงามเท่านั้น
“ผมอยากปลูกผลไม้และพริกไว้ทำอาหารด้วย”