ASTVผู้จัดการรายวัน- ขนมพายถือเป็นของฝากชื่อดังประจำจังหวัดสระบุรี ไม่ว่าจะเดินทางไปพื้นที่ใดภายในจังหวัดนี้ จะมีร้านค้าต่างๆ วางขายทั่วไปหมด ซึ่งในความเป็นจริง ขนมพายเหล่านี้เกือบครึ่งจะรับมาจากผู้ผลิตรายเดียวกัน และที่น่าสนใจกว่านั้น ผู้ผลิตดังกล่าว อดีตเป็นเพียงแม่บ้านธรรมดาๆ ที่รักการทำขนม ค่อยๆ พัฒนาจนกลายเป็นอาชีพหลัก จนประสบความสำเร็จอย่างในปัจจุบัน
ปรียวัลย์ พันธุ์อนุกุล เจ้าของกิจการ “อันนา เบเกอรี่” ผู้ผลิตและค้าปลีกค้าส่งขนมปังเบเกอรี่ ใน จ.สระบุรี เล่าว่า เริ่มทำธุรกิจมากว่า 12 ปีแล้ว จากเดิมเคยทำงานประจำเป็นพนักงานขาย แล้วลาออกมาช่วยครอบครัวเปิดร้านขายของชำอยู่ที่บ้าน ขณะที่ส่วนตัวรักการทำอาหารมาก เมื่อมีเวลาว่าง จะฝึกทำขนมชนิดต่างๆ ทั้งกินเอง และแจกจ่ายให้คนใกล้ชิดได้ลิ้มลอง
แทบทุกคนที่ได้สัมผัสขนมฝีมือของแม่บ้านรายนี้ ต่างชื่นชมในความอร่อย และเริ่มว่าจ้างให้ทำขนมมาขายส่ง กลายเป็นแรงบันดาลใจ ทำขนมปังเบเกอรี่ขายเป็นรายได้เสริม
ปรียวัลย์ เล่าเสริมว่า เริ่มจากเล็กๆ ลงทุนแค่หลักพันบาท ทำคนเดียวทุกอย่าง แล้วนำไปฝากขายตามร้านค้าต่างๆ วันละไม่กี่สิบชิ้น ซึ่งได้ผลตอบรับดีอย่างต่อเนื่อง ยิ่งนานวันไปกระแสบอกต่อยิ่งมากขึ้น จนสามารถขยายตลาดส่งตามปั้มน้ำมันต่างๆ ใน จ.สระบุรี
จุดเด่นที่ทำให้ลูกค้าติดใจนั้น เจ้าของธุรกิจ ระบุว่า อยู่ที่ความสดใหม่ สะอาด ทำวันต่อวัน ใช้วัตถุดิบคุณภาพดี ขณะเดียวกัน รูปร่างหน้าตาสวยงามดึงดูดความสนใจ นับแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน ทำขนมปังเบเกอรี่ออกขายกว่า 100 รายการ เช่น เค้ก ขนมปัง โดนัท พิซซ่า ขนมเปี้ยะ ฯลฯ แต่ที่ขายดีที่สุด ได้แก่ พาย ซึ่งถือเป็นขนมดังประจำท้องถิ่น โดยปัจจุบัน ขนมพายที่ขายตามร้านค้าต่างๆ ในสระบุรี เกือบครึ่งจะมารับจากที่นี่เพื่อไปขายต่อ
“ดิฉันเริ่มจากทำคนเดียวทุกอย่าง ถึงตอนนี้มีพนักงานกว่า 50-70 คน โดยค่อยๆ ขยายกำลังผลิตให้ทันความต้องการของตลาด พยายามให้มีคำสั่งซื้อแน่นอนก่อนแล้วค่อยเพิ่มกำลังผลิต ซึ่งระยะแรกจะทำกันแบบครัวเรือน จนเข้าปีที่ 6 จึงปรับการผลิตเป็นแบบกึ่งอุตสาหกรรม ลงทุนกว่า 10 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคารโรงงาน และซื้อเครื่องจักร” ปรียวัลย์ เผย
ด้วยยอดการผลิตค่อนข้างสูง ถือเป็นข้อได้เปรียบ เพราะสามารถซื้อวัตถุดิบต่างๆ ได้โดยตรงจากโรงงาน ช่วยลดต้นทุน สามารถจะผลิตเพื่อขายส่งได้ในราคาไม่สูง และแม้ว่า กำไรต่อหน่อยที่ได้จะไม่มากนัก แต่ชดเชยด้วยการขายส่งในปริมาณมากทดแทน
สำหรับตลาดนั้น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.ตลาดล่างเป็นขนมปังราคาถูก เน้นขายส่งตามตลาดนัดทั่วไป 2.ตลาดระดับกลางผลิตส่งร้านค้าทั่วไป และ 3.ตลาดบน บรรจุเป็นสินค้าของฝากและผลิตตามคำสั่งซื้อสำหรับเป็นอาหารว่าง เสิร์ฟในงานสัมมนาหรือจัดเลี้ยงตามโรงแรม โดยที่ผ่านมา สัดส่วนรายได้จาก 3 ตลาดดังกล่าว แบ่งเป็นร้อยละ 70 ร้อยละ 20 และร้อยละ 10 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบ การผลิต และค่าขนส่งที่สูงขึ้น ทำให้แผนธุรกิจระยะหลังพยายามย้ายตลาดหลัก จากเดิมเน้นขายตลาดล่าง เปลี่ยนเป็นเน้นเพิ่มสัดส่วนในตลาดระดับกลางและตลาดบนแทน
“ที่ผ่านมา รายได้หลักจะมาจากขายตลาดล่าง แต่ปัจจุบันต้นทุนต่างๆ เพิ่มขึ้นมา แม้ยอดขายกลุ่มตลาดล่างจะเท่าเดิม แต่กำไรที่ได้กลับน้อยลงไปมาก บางครั้งขาดทุนด้วยซ้ำ ดังนั้น ดิฉันพยายามปรับตัว โดยเพิ่มสัดส่วนตลาดระดับกลางและบนให้กว้างยิ่งขึ้น” ปรียวัลย์ ระบุ
กลยุทธ์เพื่อขยายตลาดใหม่นั้น ทำหลายๆ ด้านควบคู่กันไป เช่น เริ่มผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ตัวเอง ในชื่อ “อันนาเบเกอรี่” โดยมีบรรจุภัณฑ์เหมาะเป็นของฝาก รวมถึง คิดค้นขนมปังเมนูใหม่ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและหลากหลาย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
นอกจากนั้น ได้ปรับรูปแบบธุรกิจครั้งสำคัญ จากเดิมซื้อขายเป็นเงินสดอย่างเดียว มาสู่การให้เครดิตลูกค้า เพื่อจะขยายตลาดเข้าสู่กลุ่มโรงแรม และงานจัดเลี้ยง
“วิธีซื้อขายเป็นเงินสด มีข้อดีที่ความเสี่ยงต่ำและมีเงินสดมาช่วยหมุนเวียนได้ทันที แต่ก็มีข้อเสีย ที่ลูกค้ากลุ่มบริษัท องค์กร หรือโรงแรมต่างๆ ที่ต้องการสั่งสินค้า ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องการเครดิต จุดนี้ ที่ผ่านมาทำให้เราเสียโอกาสธุรกิจไปเยอะมาก จนกระทั่ง แต่ปัจจุบัน ดิฉันมั่นใจว่า มีฐานลูกค้าโรงแรมค่อนข้างแน่นอนแล้ว จึงขอสินเชื่อจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เพื่อสำรองเป็นทุนหมุนเวียน สามารถจะให้เครดิตลูกค้าได้” ปรียวัลย์ เผย และกล่าวในตอนท้ายว่า
ช่องทางตลาดขณะนี้ มีทั้งขายปลีกและส่งใน จ.สระบุรี และใกล้เคียง รวมถึง ส่งขายร้านสินค้าที่ระลึกทั่วประเทศ โดยยอดการผลิตในปีที่ผ่านมา (2551) เฉลี่ยประมาณวันละ 12,000 ชิ้น ส่วนเป้าในปีนี้ (2552) หากแผนการตลาดเป็นไปอย่างที่วางไว้ คาดว่ายอดผลิตจะเพิ่มเป็น 20,000 ชิ้นต่อวันทีเดียว
โทร.036-316-598 , 08-1994-9074
ปรียวัลย์ พันธุ์อนุกุล เจ้าของกิจการ “อันนา เบเกอรี่” ผู้ผลิตและค้าปลีกค้าส่งขนมปังเบเกอรี่ ใน จ.สระบุรี เล่าว่า เริ่มทำธุรกิจมากว่า 12 ปีแล้ว จากเดิมเคยทำงานประจำเป็นพนักงานขาย แล้วลาออกมาช่วยครอบครัวเปิดร้านขายของชำอยู่ที่บ้าน ขณะที่ส่วนตัวรักการทำอาหารมาก เมื่อมีเวลาว่าง จะฝึกทำขนมชนิดต่างๆ ทั้งกินเอง และแจกจ่ายให้คนใกล้ชิดได้ลิ้มลอง
แทบทุกคนที่ได้สัมผัสขนมฝีมือของแม่บ้านรายนี้ ต่างชื่นชมในความอร่อย และเริ่มว่าจ้างให้ทำขนมมาขายส่ง กลายเป็นแรงบันดาลใจ ทำขนมปังเบเกอรี่ขายเป็นรายได้เสริม
ปรียวัลย์ เล่าเสริมว่า เริ่มจากเล็กๆ ลงทุนแค่หลักพันบาท ทำคนเดียวทุกอย่าง แล้วนำไปฝากขายตามร้านค้าต่างๆ วันละไม่กี่สิบชิ้น ซึ่งได้ผลตอบรับดีอย่างต่อเนื่อง ยิ่งนานวันไปกระแสบอกต่อยิ่งมากขึ้น จนสามารถขยายตลาดส่งตามปั้มน้ำมันต่างๆ ใน จ.สระบุรี
จุดเด่นที่ทำให้ลูกค้าติดใจนั้น เจ้าของธุรกิจ ระบุว่า อยู่ที่ความสดใหม่ สะอาด ทำวันต่อวัน ใช้วัตถุดิบคุณภาพดี ขณะเดียวกัน รูปร่างหน้าตาสวยงามดึงดูดความสนใจ นับแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน ทำขนมปังเบเกอรี่ออกขายกว่า 100 รายการ เช่น เค้ก ขนมปัง โดนัท พิซซ่า ขนมเปี้ยะ ฯลฯ แต่ที่ขายดีที่สุด ได้แก่ พาย ซึ่งถือเป็นขนมดังประจำท้องถิ่น โดยปัจจุบัน ขนมพายที่ขายตามร้านค้าต่างๆ ในสระบุรี เกือบครึ่งจะมารับจากที่นี่เพื่อไปขายต่อ
“ดิฉันเริ่มจากทำคนเดียวทุกอย่าง ถึงตอนนี้มีพนักงานกว่า 50-70 คน โดยค่อยๆ ขยายกำลังผลิตให้ทันความต้องการของตลาด พยายามให้มีคำสั่งซื้อแน่นอนก่อนแล้วค่อยเพิ่มกำลังผลิต ซึ่งระยะแรกจะทำกันแบบครัวเรือน จนเข้าปีที่ 6 จึงปรับการผลิตเป็นแบบกึ่งอุตสาหกรรม ลงทุนกว่า 10 ล้านบาท เพื่อสร้างอาคารโรงงาน และซื้อเครื่องจักร” ปรียวัลย์ เผย
ด้วยยอดการผลิตค่อนข้างสูง ถือเป็นข้อได้เปรียบ เพราะสามารถซื้อวัตถุดิบต่างๆ ได้โดยตรงจากโรงงาน ช่วยลดต้นทุน สามารถจะผลิตเพื่อขายส่งได้ในราคาไม่สูง และแม้ว่า กำไรต่อหน่อยที่ได้จะไม่มากนัก แต่ชดเชยด้วยการขายส่งในปริมาณมากทดแทน
สำหรับตลาดนั้น แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1.ตลาดล่างเป็นขนมปังราคาถูก เน้นขายส่งตามตลาดนัดทั่วไป 2.ตลาดระดับกลางผลิตส่งร้านค้าทั่วไป และ 3.ตลาดบน บรรจุเป็นสินค้าของฝากและผลิตตามคำสั่งซื้อสำหรับเป็นอาหารว่าง เสิร์ฟในงานสัมมนาหรือจัดเลี้ยงตามโรงแรม โดยที่ผ่านมา สัดส่วนรายได้จาก 3 ตลาดดังกล่าว แบ่งเป็นร้อยละ 70 ร้อยละ 20 และร้อยละ 10 ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ด้วยปัจจัยทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะต้นทุนวัตถุดิบ การผลิต และค่าขนส่งที่สูงขึ้น ทำให้แผนธุรกิจระยะหลังพยายามย้ายตลาดหลัก จากเดิมเน้นขายตลาดล่าง เปลี่ยนเป็นเน้นเพิ่มสัดส่วนในตลาดระดับกลางและตลาดบนแทน
“ที่ผ่านมา รายได้หลักจะมาจากขายตลาดล่าง แต่ปัจจุบันต้นทุนต่างๆ เพิ่มขึ้นมา แม้ยอดขายกลุ่มตลาดล่างจะเท่าเดิม แต่กำไรที่ได้กลับน้อยลงไปมาก บางครั้งขาดทุนด้วยซ้ำ ดังนั้น ดิฉันพยายามปรับตัว โดยเพิ่มสัดส่วนตลาดระดับกลางและบนให้กว้างยิ่งขึ้น” ปรียวัลย์ ระบุ
กลยุทธ์เพื่อขยายตลาดใหม่นั้น ทำหลายๆ ด้านควบคู่กันไป เช่น เริ่มผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ตัวเอง ในชื่อ “อันนาเบเกอรี่” โดยมีบรรจุภัณฑ์เหมาะเป็นของฝาก รวมถึง คิดค้นขนมปังเมนูใหม่ๆ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและหลากหลาย เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า
นอกจากนั้น ได้ปรับรูปแบบธุรกิจครั้งสำคัญ จากเดิมซื้อขายเป็นเงินสดอย่างเดียว มาสู่การให้เครดิตลูกค้า เพื่อจะขยายตลาดเข้าสู่กลุ่มโรงแรม และงานจัดเลี้ยง
“วิธีซื้อขายเป็นเงินสด มีข้อดีที่ความเสี่ยงต่ำและมีเงินสดมาช่วยหมุนเวียนได้ทันที แต่ก็มีข้อเสีย ที่ลูกค้ากลุ่มบริษัท องค์กร หรือโรงแรมต่างๆ ที่ต้องการสั่งสินค้า ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องการเครดิต จุดนี้ ที่ผ่านมาทำให้เราเสียโอกาสธุรกิจไปเยอะมาก จนกระทั่ง แต่ปัจจุบัน ดิฉันมั่นใจว่า มีฐานลูกค้าโรงแรมค่อนข้างแน่นอนแล้ว จึงขอสินเชื่อจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) เพื่อสำรองเป็นทุนหมุนเวียน สามารถจะให้เครดิตลูกค้าได้” ปรียวัลย์ เผย และกล่าวในตอนท้ายว่า
ช่องทางตลาดขณะนี้ มีทั้งขายปลีกและส่งใน จ.สระบุรี และใกล้เคียง รวมถึง ส่งขายร้านสินค้าที่ระลึกทั่วประเทศ โดยยอดการผลิตในปีที่ผ่านมา (2551) เฉลี่ยประมาณวันละ 12,000 ชิ้น ส่วนเป้าในปีนี้ (2552) หากแผนการตลาดเป็นไปอย่างที่วางไว้ คาดว่ายอดผลิตจะเพิ่มเป็น 20,000 ชิ้นต่อวันทีเดียว
โทร.036-316-598 , 08-1994-9074