เราต่างรู้ว่าควรระวังรอบเอวเพราะเป็นดัชนีบ่งชี้ความเสี่ยงของโรคเบาหวานและโรคหัวใจ แต่ไซส์กางเกงไม่ใช่สิ่งเดียวที่เป็นสัญญาณเตือนภัยโรคต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญชี้ความสูงจนถึงขนาดเท้า สามารถบอกได้ว่าสุขภาพของคุณเสี่ยงต่อโรคใดบ้าง
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซังยุงวอนของเกาหลีใต้พบว่า ยิ่งสูงเท่าไหร่ คนเรายิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นมะเร็ง และต่อไปนี้คือดัชนีความเสี่ยงจากร่างกายของคนเรา
สูงเกินไป
มะเร็งเต้านม
ผู้หญิงที่สูง 175 เซนติเมตรขึ้นไปมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะเป็นมะเร็งเต้านมและเสียชีวิตจากโรคนี้ ผลการศึกษาสองฉบับจากสหรัฐฯ ระบุแบบนี้ โดยฉบับหนึ่งอธิบายความเป็นไปได้ว่าเกิดจากฮอร์โมนที่มีผลต่อความสูงของผู้หญิง ซึ่งมีส่วนในการเพิ่มจำนวนเนื้อเยื่อท่อน้ำนมในเต้านม และเนื้อร้ายในเต้านมส่วนใหญ่มักเกิดจากเนื้อเยื่อนี้
มะเร็งต่อมลูกหมาก
ผู้ชายที่สูง 182 เซนติเมตรขึ้นไปมีความเสี่ยงโรคนี้มากขึ้น ในการศึกษาของโรงพยาบาลบริกแฮม แอนด์ วีเมนส์ในบอสตัน โดยการศึกษาและติดตามผลผู้ชาย 22,000 คนนานกว่า 12 ปี พบว่าผู้ชายที่สูง 182 เซนติเมตรขึ้นไปมีความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้น 58% เมื่อเทียบกับผู้ชายที่สูงไม่ถึง 170 เซนติเมตร
ผลศึกษาจากมหาวิทยาลัยบริสตอลของอังกฤษยังแสดงให้เห็นว่า ความสูงที่เพิ่มขึ้นทุก 10 เซนติเมตร ทำให้ความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้น 6%
ทฤษฎีหนึ่งคือ ผู้ชายตัวสูงมักมีสารกระตุ้นการเติบโตที่คล้ายอินซูลิน (IGF-1) สูง และการมีสารชนิดนี้ในระดับสูงทำให้ความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น
มะเร็งตับอ่อน
ผู้ชายที่สูง 185 เซนติเมตรขึ้นไป และผู้หญิงที่สูง 165 เซนติเมตรขึ้นไป มีความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้น 81%
นักวิจัยจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติของสหรัฐฯ ระบุว่าความสูงที่เพิ่มขึ้นแต่ละนิ้ว (2.5 เซนติเมตร) เพิ่มความเสี่ยงโรคนี้ 6-10% และจากข้อมูลของมหาวิทยาลัยวอชิงตันชี้ว่า เรื่องนี้อาจเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่ว่าฮอร์โมนตัวเดียวกันและสารกระตุ้นการเติบโตอื่นๆ เพิ่มโอกาสที่เซลล์จะเติบโตผิดปกติ
เท้าใหญ่
มะเร็งเต้านม
ผู้หญิงที่เท้า ลำตัว และหัวไหล่ใหญ่ตอนเด็ก มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ทั้งนี้ จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยบริสตอล
ขนาดเท้าที่ใหญ่ขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับในวัยเด็ก ซึ่งเชื่อมโยงอีกทอดกับความเสี่ยงของโรคนี้
ไม่สูง
หัวใจวาย
รายงานของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ ระบุว่าผู้ชายตัวเตี้ย (ไม่ถึง 168 เซนติเมตร) มีแนวโน้มที่จะมีอาการหัวใจวายมากกว่าผู้ชายที่สูง 185 เซนติเมตรขึ้นไป หรืออีกนัยหนึ่งคือ ผู้ชายตัวสูงมีแนวโน้มมีอาการนี้น้อยลง 35% ความสูงที่เพิ่มขึ้นทุกหนึ่งนิ้ว ลดความเสี่ยงลงได้ 2-3%
ผลศึกษาของอเมริกาอีกฉบับพบว่า ผู้ชายตัวเตี้ยมีความเสี่ยงหัวใจวายเพิ่มขึ้น 60% เมื่อเทียบกับผู้ชายที่สูง 185 เซนติเมตรขึ้นไป ทฤษฎีหนึ่งก็คือ ผู้ชายตัวเตี้ยอาจมีหลอดเลือดแดงแคบกว่า ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่หลอดเลือดจะอุดตันจากไขมันและนำไปสู่อาการหัวใจวาย
มะเร็งกระเพาะอาหาร
คนเตี้ยมีแนวโน้มเป็นโรคนี้มากขึ้น ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเพราะมะเร็งชนิดนี้เกี่ยวข้องกับอาการอักเสบจากแบคทีเรีย Helicobacter pylori ที่เกี่ยวโยงกับแผลในกระเพาะอาหาร โดยนักวิจัยคิดว่าการมีแบคทีเรียชนิดนี้ตอนเด็กส่งผลให้ร่างกายเจริญเติบโตช้าลง
ความดันโลหิตสูง
คนตัวเตี้ยและขาสั้นอาจเกี่ยวพันกับโรคความดันโลหิตสูงในทั้งชายและหญิง การศึกษาชาวอังกฤษ 3,000 คนโดยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ออฟ ลอนดอน พบว่ายิ่งขายาว ยิ่งมีความเสี่ยงโรคนี้ลดลง
โภชนาการด้อยคุณภาพในวัยเด็กอาจเป็นสาเหตุของเรื่องนี้ เนื่องจากหลอดเลือดแดงขนาดเล็กเพิ่มความเสี่ยงความดันโลหิตสูง
ศรีษะเล็ก
โรคสมองเสื่อม
ศรีษะเล็ก แขนขาสั้นอาจมีความเสี่ยงโรคนี้มากกว่าปกติ ในการศึกษาหญิงสูงวัย พบว่า 1 ใน 5 ที่มีศรีษะใหญ่ (รอบศรีษะ 57-58 เซนติเมตร) มีสัญญาณบ่งชี้โรคสมองเสื่อม แต่ในกลุ่มที่ศรีษะเล็ก (51-52 เซนติเมตร) กลับพบผู้ที่มีสัญญาณบ่งชี้โรคนี้ถึง 70%
ขณะเดียวกัน การศึกษาในเยอรมนีพบว่า ผู้หญิงและผู้ชายที่มีศรีษะเล็กกว่าระดับปกติ (58 เซนติเมตรสำหรับผู้ชาย และ 55 เซนติเมตรสำหรับผู้หญิง) มีความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
คำอธิบายที่เป็นไปได้คือ ศรีษะขนาดใหญ่อาจมีเซลล์ประสาทมากกว่า จึงเสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพน้อยลง
นอกจากนั้น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์แห่งชาติชอนแนม เกาหลีใต้ ยังพบความเชื่อมโยงระหว่างแขนขาสั้นและความเสี่ยงโรคนี้ ซึ่งอาจเกิดจากการที่แขนขาสั้นบ่งชี้ถึงการได้รับคุณค่าทางโภชนาการไม่เพียงพอในวัยเด็ก ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของสมองเช่นกัน
ขาสั้น
เบาหวาน
คนที่มีขายาวมีความเสี่ยงน้อยลงที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ขณะที่คนขาสั้นมีความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้น 20% นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริสตอลศึกษาจากชายหญิง 4,200 คน ซึ่งพบว่าความยาวของช่วงขาที่เพิ่มขึ้นทุก 4.3 เซนติเมตร ทำให้ความเสี่ยงโรคนี้ลดลง 19%
ความยาวของขาเป็นดัชนีบ่งชี้สภาพแวดล้อมวัยเด็ก โดยเฉพาะด้านโภชนาการ และโภชนาการด้อยคุณภาพเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน
นิ้วยาว
ออทิสติก สมาธิสั้น ซึมเศร้า/ป่วยทางจิต
ความผิดปกติหลายอย่างเชื่อมโยงกับความยาวของนิ้ว โดยเฉพาะสัดส่วนระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วนาง ซึ่งเชื่อว่าเป็นสัญญาณบ่งชี้เกี่ยวกับฮอร์โมนในมดลูกขณะตัวอ่อนอยู่ในครรภ์
เชื่อกันว่า นิ้วนางยาวเป็นสัญญาณว่าตัวอ่อนได้รับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนสูง ขณะที่นิ้วชี้ยาวบ่งชี้ว่าตัวอ่อนได้รับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนสูง
อาการที่เกี่ยวข้องกับการที่นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้รวมถึงโรคออทิสติกและสมาธิสั้น ส่วนนิ้วชี้ยาวกว่านิ้วนางคืออาการซึมเศร้า
ผู้ชายที่มีแนวโน้มเป็นโรคออทิสติกและสมาธิสั้น มีแนวโน้มนิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล อังกฤษ อธิบายว่าการได้รับฮอร์โมนบางชนิดอาจเพิ่มหรือลดความเสี่ยงของอาการหรือโรคบางอย่าง
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซังยุงวอนของเกาหลีใต้พบว่า ยิ่งสูงเท่าไหร่ คนเรายิ่งมีความเสี่ยงมากขึ้นที่จะเป็นมะเร็ง และต่อไปนี้คือดัชนีความเสี่ยงจากร่างกายของคนเรา
สูงเกินไป
มะเร็งเต้านม
ผู้หญิงที่สูง 175 เซนติเมตรขึ้นไปมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะเป็นมะเร็งเต้านมและเสียชีวิตจากโรคนี้ ผลการศึกษาสองฉบับจากสหรัฐฯ ระบุแบบนี้ โดยฉบับหนึ่งอธิบายความเป็นไปได้ว่าเกิดจากฮอร์โมนที่มีผลต่อความสูงของผู้หญิง ซึ่งมีส่วนในการเพิ่มจำนวนเนื้อเยื่อท่อน้ำนมในเต้านม และเนื้อร้ายในเต้านมส่วนใหญ่มักเกิดจากเนื้อเยื่อนี้
มะเร็งต่อมลูกหมาก
ผู้ชายที่สูง 182 เซนติเมตรขึ้นไปมีความเสี่ยงโรคนี้มากขึ้น ในการศึกษาของโรงพยาบาลบริกแฮม แอนด์ วีเมนส์ในบอสตัน โดยการศึกษาและติดตามผลผู้ชาย 22,000 คนนานกว่า 12 ปี พบว่าผู้ชายที่สูง 182 เซนติเมตรขึ้นไปมีความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้น 58% เมื่อเทียบกับผู้ชายที่สูงไม่ถึง 170 เซนติเมตร
ผลศึกษาจากมหาวิทยาลัยบริสตอลของอังกฤษยังแสดงให้เห็นว่า ความสูงที่เพิ่มขึ้นทุก 10 เซนติเมตร ทำให้ความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้น 6%
ทฤษฎีหนึ่งคือ ผู้ชายตัวสูงมักมีสารกระตุ้นการเติบโตที่คล้ายอินซูลิน (IGF-1) สูง และการมีสารชนิดนี้ในระดับสูงทำให้ความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมากสูงขึ้น
มะเร็งตับอ่อน
ผู้ชายที่สูง 185 เซนติเมตรขึ้นไป และผู้หญิงที่สูง 165 เซนติเมตรขึ้นไป มีความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้น 81%
นักวิจัยจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติของสหรัฐฯ ระบุว่าความสูงที่เพิ่มขึ้นแต่ละนิ้ว (2.5 เซนติเมตร) เพิ่มความเสี่ยงโรคนี้ 6-10% และจากข้อมูลของมหาวิทยาลัยวอชิงตันชี้ว่า เรื่องนี้อาจเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงที่ว่าฮอร์โมนตัวเดียวกันและสารกระตุ้นการเติบโตอื่นๆ เพิ่มโอกาสที่เซลล์จะเติบโตผิดปกติ
เท้าใหญ่
มะเร็งเต้านม
ผู้หญิงที่เท้า ลำตัว และหัวไหล่ใหญ่ตอนเด็ก มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะเป็นมะเร็งเต้านม ทั้งนี้ จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยบริสตอล
ขนาดเท้าที่ใหญ่ขึ้นอาจเกี่ยวข้องกับปริมาณแคลอรี่ที่ร่างกายได้รับในวัยเด็ก ซึ่งเชื่อมโยงอีกทอดกับความเสี่ยงของโรคนี้
ไม่สูง
หัวใจวาย
รายงานของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ ระบุว่าผู้ชายตัวเตี้ย (ไม่ถึง 168 เซนติเมตร) มีแนวโน้มที่จะมีอาการหัวใจวายมากกว่าผู้ชายที่สูง 185 เซนติเมตรขึ้นไป หรืออีกนัยหนึ่งคือ ผู้ชายตัวสูงมีแนวโน้มมีอาการนี้น้อยลง 35% ความสูงที่เพิ่มขึ้นทุกหนึ่งนิ้ว ลดความเสี่ยงลงได้ 2-3%
ผลศึกษาของอเมริกาอีกฉบับพบว่า ผู้ชายตัวเตี้ยมีความเสี่ยงหัวใจวายเพิ่มขึ้น 60% เมื่อเทียบกับผู้ชายที่สูง 185 เซนติเมตรขึ้นไป ทฤษฎีหนึ่งก็คือ ผู้ชายตัวเตี้ยอาจมีหลอดเลือดแดงแคบกว่า ทำให้มีความเสี่ยงมากขึ้นที่หลอดเลือดจะอุดตันจากไขมันและนำไปสู่อาการหัวใจวาย
มะเร็งกระเพาะอาหาร
คนเตี้ยมีแนวโน้มเป็นโรคนี้มากขึ้น ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเพราะมะเร็งชนิดนี้เกี่ยวข้องกับอาการอักเสบจากแบคทีเรีย Helicobacter pylori ที่เกี่ยวโยงกับแผลในกระเพาะอาหาร โดยนักวิจัยคิดว่าการมีแบคทีเรียชนิดนี้ตอนเด็กส่งผลให้ร่างกายเจริญเติบโตช้าลง
ความดันโลหิตสูง
คนตัวเตี้ยและขาสั้นอาจเกี่ยวพันกับโรคความดันโลหิตสูงในทั้งชายและหญิง การศึกษาชาวอังกฤษ 3,000 คนโดยยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ออฟ ลอนดอน พบว่ายิ่งขายาว ยิ่งมีความเสี่ยงโรคนี้ลดลง
โภชนาการด้อยคุณภาพในวัยเด็กอาจเป็นสาเหตุของเรื่องนี้ เนื่องจากหลอดเลือดแดงขนาดเล็กเพิ่มความเสี่ยงความดันโลหิตสูง
ศรีษะเล็ก
โรคสมองเสื่อม
ศรีษะเล็ก แขนขาสั้นอาจมีความเสี่ยงโรคนี้มากกว่าปกติ ในการศึกษาหญิงสูงวัย พบว่า 1 ใน 5 ที่มีศรีษะใหญ่ (รอบศรีษะ 57-58 เซนติเมตร) มีสัญญาณบ่งชี้โรคสมองเสื่อม แต่ในกลุ่มที่ศรีษะเล็ก (51-52 เซนติเมตร) กลับพบผู้ที่มีสัญญาณบ่งชี้โรคนี้ถึง 70%
ขณะเดียวกัน การศึกษาในเยอรมนีพบว่า ผู้หญิงและผู้ชายที่มีศรีษะเล็กกว่าระดับปกติ (58 เซนติเมตรสำหรับผู้ชาย และ 55 เซนติเมตรสำหรับผู้หญิง) มีความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน
คำอธิบายที่เป็นไปได้คือ ศรีษะขนาดใหญ่อาจมีเซลล์ประสาทมากกว่า จึงเสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพน้อยลง
นอกจากนั้น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์แห่งชาติชอนแนม เกาหลีใต้ ยังพบความเชื่อมโยงระหว่างแขนขาสั้นและความเสี่ยงโรคนี้ ซึ่งอาจเกิดจากการที่แขนขาสั้นบ่งชี้ถึงการได้รับคุณค่าทางโภชนาการไม่เพียงพอในวัยเด็ก ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการของสมองเช่นกัน
ขาสั้น
เบาหวาน
คนที่มีขายาวมีความเสี่ยงน้อยลงที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ขณะที่คนขาสั้นมีความเสี่ยงโรคนี้เพิ่มขึ้น 20% นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยบริสตอลศึกษาจากชายหญิง 4,200 คน ซึ่งพบว่าความยาวของช่วงขาที่เพิ่มขึ้นทุก 4.3 เซนติเมตร ทำให้ความเสี่ยงโรคนี้ลดลง 19%
ความยาวของขาเป็นดัชนีบ่งชี้สภาพแวดล้อมวัยเด็ก โดยเฉพาะด้านโภชนาการ และโภชนาการด้อยคุณภาพเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน
นิ้วยาว
ออทิสติก สมาธิสั้น ซึมเศร้า/ป่วยทางจิต
ความผิดปกติหลายอย่างเชื่อมโยงกับความยาวของนิ้ว โดยเฉพาะสัดส่วนระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วนาง ซึ่งเชื่อว่าเป็นสัญญาณบ่งชี้เกี่ยวกับฮอร์โมนในมดลูกขณะตัวอ่อนอยู่ในครรภ์
เชื่อกันว่า นิ้วนางยาวเป็นสัญญาณว่าตัวอ่อนได้รับฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรนสูง ขณะที่นิ้วชี้ยาวบ่งชี้ว่าตัวอ่อนได้รับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนสูง
อาการที่เกี่ยวข้องกับการที่นิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้รวมถึงโรคออทิสติกและสมาธิสั้น ส่วนนิ้วชี้ยาวกว่านิ้วนางคืออาการซึมเศร้า
ผู้ชายที่มีแนวโน้มเป็นโรคออทิสติกและสมาธิสั้น มีแนวโน้มนิ้วนางยาวกว่านิ้วชี้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล อังกฤษ อธิบายว่าการได้รับฮอร์โมนบางชนิดอาจเพิ่มหรือลดความเสี่ยงของอาการหรือโรคบางอย่าง