มีญาติผมหลายคนเลยครับที่ต้องเสียชีวิตลงไปด้วยโรคร้ายที่มีชื่อว่า "มะเร็ง" ไม่ว่าจะเป็น ลุง(2) ยาย(1) น้า(2)
และอีก 2-3 คน ที่นึกไม่ออกว่าอยู่ในสถานะอะไร
แต่ละคนต่างก็เป็นมะเร็งในอวัยวะที่แตกแต่งกันไป โดยที่บางคนก็มีการใช้ชีวิตในการดื่ม กิน สูบ อันเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคร้ายโรคนี้ขึ้นได้ ขณะที่พื้นฐานการใช้ชีวิตของญาติบางคนก็ไม่พบว่ามันจะเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายที่ว่านี้แต่อย่างใด ซึ่งตรงนี้เองที่มันทำให้ผมอดคิดไม่ได้ว่า หรือว่าเจ้าโรคมะเร็งนี้มันอาจจะมีเรื่องของกรรมพันธุ์-พันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง
ลองสอบถามคนที่พอจะรู้ ก็ได้รับทราบว่า "เป็นไปได้" แต่ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็งชนิดไหน (ว่ากันว่าพื้น
ฐานของโรคเกือบจะทุกชนิดล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานมาจากเรื่องของพันธุกรรม (บวกรวมเข้ากับสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิต)เข้ามาเกี่ยวข้องเกือบจะทั้งสิ้น)
เริ่มต้นด้วยเรื่องนี้ขึ้นมาก็อย่าคิดในทำนองแช่งว่าผมกำลังเป็นมะเร็ง(เหมือนกับนักการเมือง 2-3 คนที่มีข่าวออกมาว่ากำลังป่วยอยู่)นะครับ
แต่ที่เริ่มต้นด้วยเรื่องนี้ก็เพราะผมเพิ่งจะได้อ่านการ์ตูนญี่ปุ่นอยู่เรื่องหนึ่ง ชื่อว่า Say hello to BLACKJACK ชื่อภาษาไทยคือ "คุณหมอมือใหม่ หัวใจเกินร้อย" ผลงานของ Syuho Sato (ผู้เขียนจอมลุยทะเลคลั่ง) เป็นการ์ตูนที่ค่อนข้างจะเก่าแล้วครับ สำนักพิมพ์บูรพัฒน์ซื้อลิขสิทธิ์มาพิมพ์ทั้งหมด 13 เล่มด้วยกันเมื่อราวๆ 5 ปีที่แล้ว
ในความรู้สึกของผม BLACKJACK เป็นการ์ตูนในแนวดราม่าอีกเรื่องหนึ่งที่จริงจังและทรงพลังเป็นอย่างยิ่งในการเล่าเรื่อง
เนื้อหาของการ์ตูนเรื่องนี้ว่าด้วยเรื่องราวการแพทย์ของประเทศญี่ปุ่น ผ่านตัวละครที่ชื่อ "ไซโต้ เออิจิโร่" นักเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยเอโรคุ ว่าที่หมอหนุ่มไฟแรงที่เต็มไปด้วยอุดมคติ ทว่าสิ่งที่เขาพบระหว่างการเป็นหมอฝึกหัดอยู่ที่โรงพยาบาลในสังกัดของมหาวิทยาลัย กลับล้วนแล้วแต่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขาวาดหวังไว้
แม้ท้ายที่สุด(โดยส่วนใหญ่ของแต่ละตอน) ด้วยความมุ่งมั่นเต็มไปด้วยความตั้งใจดีเพราะเห็นชีวิตผู้ป่วยเป็นสำคัญจะทำให้เรารู้สึกชื่นชอบและตัดสินให้แนวความคิดของไซโต้เป็น "พระเอก" ขณะเดียวกันก็อาจจะรู้สึกว่ากฏระเบียบแบบแผนของมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล รวมถึงความคิดของแพทย์ร่วมอาชีพ หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยบางคนนั้นเป็น "ผู้ร้าย" ทว่าสิ่งที่ยอดเยี่ยมของการ์ตูนเรื่องนี้ก็คือเหตุผล มุมมอง ต่างๆ ของแต่ละฝ่าย แต่ละคน ซึ่งล้วนแล้วแต่จริงจัง ท้าทายทัศนะความคิด-ความเชื่อของคนอ่านอยู่ตลอดระยะเวลา
ท้าทายถึงขนาดว่า หากมองจากโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว มันอาจจะหาได้มีใครเป็น "พระเอก" หรือ "ผู้ร้าย" เลยก็ได้
ในช่วงกลางเล่ม 5 ของ BLACKJACK เป็นตอนที่ไซโต้ได้เข้าไปฝึกงานที่แผนกศัลยกรรม (ครั้งหนึ่งเขาเคยก่อเรื่องกับแผนกนี้เอาไว้) ที่นี่เองที่เขาได้รู้จักกับ "มะเร็ง" อย่างลึกซึ้ง รวมถึงการได้พบกับหมอโชจิ (อาจารย์ที่ปรึกษา) และหมออุซามิ สองนายแพทย์หนุ่มที่ดูเหมือนจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแนวคิดและวิธีการรักษา
คนหนึ่งใช้ยาต้านมะเร็งกับคนไข้เพื่อยืดการมีอายุแม้มันจะส่งผลข้างเคียงต่อระบบการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ขณะที่แพทย์อีกคนปฏิเสธที่จะใช้มันกับคนไข้เพราะรู้ว่าปลายทางที่สุดของการใช้หรือไม่ใช้ยานี้มีผลเหมือนกันก็คือความตาย
ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับตอนนี้ก็คือเรื่องของการแจ้งให้ทราบ
อย่างที่รู้ๆ กันว่าสำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งนั้นโอกาสที่จะได้รับการรักษาให้ "หายขาด" โดยไม่มีผลข้างเคียงเลยถือเป็นเรื่องที่เป็นไปได้น้อยมากกระทั่งเป็นไปไม่ได้เลย ไม่ว่าจะด้วยวิธีการผ่าตัด การฉายแสง การให้ยาต้าน ฯ
สรุปก็คือส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งในระยะสุดท้ายหรือในอวัยวะที่สำคัญๆ จึงไม่มีทางรอดชีวิตเพราะไม่มียาต้านมะเร็งตัวใดๆ เลยที่ใช้ได้ผล (ในการ์ตูนคนป่วยเหล่านี้จึงถูกแพทย์รักษาไปอย่างรอวันตาย) เพราะฉะนั้นการแจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงการเป็นโรคร้ายชนิดนี้จึงไม่ต่างอะไรกับการให้อีกฝ่ายเริ่มนับถอยหลังถึงวันสิ้นอายุของตนเอง และมันจึงกลายเป็นข้อถกเถียงกันว่าสมควรหรือไม่สมควร หรือสมควรขนาดไหน
ในสภาวะที่ว่า หากคิดในมุมว่าเราเป็นแพทย์เราจะปล่อยให้คนไข้ค่อยๆ ตายไปโดยไม่รู้อะไรเลย หรือจะให้รายละเอียดทั้งหมดเพื่อให้คนป่วยได้เตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับความตาย
และในมุมกลับกันถ้าเราเป็นคนป่วยล่ะ เราอยากจะรับรู้มั้ย หากเราเป็นญาติคนป่วยเราจะบอกกับเขามั้ย?
มนุษย์มีความเข้มแข็งพอที่จะต่อสู้กับสิ่งต่างได้จริงๆ หรือเมื่อรับรู้ว่าตัวเองกำลังจะตาย!
"แพทย์ศาสตร์ไม่ใช่แค่การผ่าตัดและการให้ยากิน ส่วนการรรักษาบาดแผล โรคภัยไข้เจ็บและการเอาชนะความตายก็ไม่ใช่แพทย์ศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ก็คือความรู้ทางวิชาการที่ทำให้คิดว่าจะเผชิญหน้ากับความตายอย่างไร.." นั่นคือแนวคิดของหมออุซามิที่บอกกับนาง "สึจิโมโตะ โยชิเอะ" แม่บ้านวัย 43 ที่ป่วยมะเร็งตับอ่อนในระยะ 4
ขณะที่อีกฝ่ายย้อนถามกลับไปว่า..."สรุปแล้วคุณหมอสั่งให้ชั้นยอมรับความตายใช่มั้ยคะ? คุณหมอห้ามไม่ให้ชั้นยึดติดอยู่กับการมีชีวิตอยู่ใช่มั้ยคะ? ชั้นอยากจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้เหรอคะ"
ด้านพระเอกของเราก็มีทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า..."ในโลกนี้มีคนที่ยอมรับความตายและเสียชีวิตไปอย่างสงบสุขอยู่จริงๆ เหรอครับ? การล้มเลิกความคิดที่จะมีชีวิตอยู่คือการยอมรับความตายได้จริงๆ เหรอครับ?...การดิ้นรนที่จะมีชีวิตอยู่กับการยอมรับความตายมันต่างกันถึงขนาดนั้นเลยหรอครับ การเผชิญหน้ากับความเป็นและการเผชิญหน้ากับความตาย มันก็เหมือนกันไม่ใช่เหรอครับ?"
ไม่แปลกหรอกครับหากมนุษย์เราจะดิ้นรนไขว่คว้าหาโอกาสอันน้อยนิดเพื่อให้ตัวเองมีชีวิตที่ยืนยาวออกไปแม้ในใจและในสายตาของใครต่อใครจะรู้ว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่โอกาสที่ว่าจะนำมาซึ่งความสำเร็จ
เพราะท้ายที่สุด คนที่จะสัมผัสได้จริงถึงความดีใจหรือเสียใจกับสิ่งที่ไขว่คว้านั้นก็คือคนที่ลงมือไขว่คว้า
ส่วนคนภายนอกก็ได้แค่รู้สึกว่า...
และอีก 2-3 คน ที่นึกไม่ออกว่าอยู่ในสถานะอะไร
แต่ละคนต่างก็เป็นมะเร็งในอวัยวะที่แตกแต่งกันไป โดยที่บางคนก็มีการใช้ชีวิตในการดื่ม กิน สูบ อันเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้เป็นโรคร้ายโรคนี้ขึ้นได้ ขณะที่พื้นฐานการใช้ชีวิตของญาติบางคนก็ไม่พบว่ามันจะเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายที่ว่านี้แต่อย่างใด ซึ่งตรงนี้เองที่มันทำให้ผมอดคิดไม่ได้ว่า หรือว่าเจ้าโรคมะเร็งนี้มันอาจจะมีเรื่องของกรรมพันธุ์-พันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง
ลองสอบถามคนที่พอจะรู้ ก็ได้รับทราบว่า "เป็นไปได้" แต่ขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็งชนิดไหน (ว่ากันว่าพื้น
ฐานของโรคเกือบจะทุกชนิดล้วนแล้วแต่มีพื้นฐานมาจากเรื่องของพันธุกรรม (บวกรวมเข้ากับสภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิต)เข้ามาเกี่ยวข้องเกือบจะทั้งสิ้น)
เริ่มต้นด้วยเรื่องนี้ขึ้นมาก็อย่าคิดในทำนองแช่งว่าผมกำลังเป็นมะเร็ง(เหมือนกับนักการเมือง 2-3 คนที่มีข่าวออกมาว่ากำลังป่วยอยู่)นะครับ
แต่ที่เริ่มต้นด้วยเรื่องนี้ก็เพราะผมเพิ่งจะได้อ่านการ์ตูนญี่ปุ่นอยู่เรื่องหนึ่ง ชื่อว่า Say hello to BLACKJACK ชื่อภาษาไทยคือ "คุณหมอมือใหม่ หัวใจเกินร้อย" ผลงานของ Syuho Sato (ผู้เขียนจอมลุยทะเลคลั่ง) เป็นการ์ตูนที่ค่อนข้างจะเก่าแล้วครับ สำนักพิมพ์บูรพัฒน์ซื้อลิขสิทธิ์มาพิมพ์ทั้งหมด 13 เล่มด้วยกันเมื่อราวๆ 5 ปีที่แล้ว
ในความรู้สึกของผม BLACKJACK เป็นการ์ตูนในแนวดราม่าอีกเรื่องหนึ่งที่จริงจังและทรงพลังเป็นอย่างยิ่งในการเล่าเรื่อง
เนื้อหาของการ์ตูนเรื่องนี้ว่าด้วยเรื่องราวการแพทย์ของประเทศญี่ปุ่น ผ่านตัวละครที่ชื่อ "ไซโต้ เออิจิโร่" นักเรียนแพทย์ของมหาวิทยาลัยเอโรคุ ว่าที่หมอหนุ่มไฟแรงที่เต็มไปด้วยอุดมคติ ทว่าสิ่งที่เขาพบระหว่างการเป็นหมอฝึกหัดอยู่ที่โรงพยาบาลในสังกัดของมหาวิทยาลัย กลับล้วนแล้วแต่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เขาวาดหวังไว้
แม้ท้ายที่สุด(โดยส่วนใหญ่ของแต่ละตอน) ด้วยความมุ่งมั่นเต็มไปด้วยความตั้งใจดีเพราะเห็นชีวิตผู้ป่วยเป็นสำคัญจะทำให้เรารู้สึกชื่นชอบและตัดสินให้แนวความคิดของไซโต้เป็น "พระเอก" ขณะเดียวกันก็อาจจะรู้สึกว่ากฏระเบียบแบบแผนของมหาวิทยาลัย โรงพยาบาล รวมถึงความคิดของแพทย์ร่วมอาชีพ หรือแม้กระทั่งผู้ป่วยบางคนนั้นเป็น "ผู้ร้าย" ทว่าสิ่งที่ยอดเยี่ยมของการ์ตูนเรื่องนี้ก็คือเหตุผล มุมมอง ต่างๆ ของแต่ละฝ่าย แต่ละคน ซึ่งล้วนแล้วแต่จริงจัง ท้าทายทัศนะความคิด-ความเชื่อของคนอ่านอยู่ตลอดระยะเวลา
ท้าทายถึงขนาดว่า หากมองจากโลกแห่งความเป็นจริงแล้ว มันอาจจะหาได้มีใครเป็น "พระเอก" หรือ "ผู้ร้าย" เลยก็ได้
ในช่วงกลางเล่ม 5 ของ BLACKJACK เป็นตอนที่ไซโต้ได้เข้าไปฝึกงานที่แผนกศัลยกรรม (ครั้งหนึ่งเขาเคยก่อเรื่องกับแผนกนี้เอาไว้) ที่นี่เองที่เขาได้รู้จักกับ "มะเร็ง" อย่างลึกซึ้ง รวมถึงการได้พบกับหมอโชจิ (อาจารย์ที่ปรึกษา) และหมออุซามิ สองนายแพทย์หนุ่มที่ดูเหมือนจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงในแนวคิดและวิธีการรักษา
คนหนึ่งใช้ยาต้านมะเร็งกับคนไข้เพื่อยืดการมีอายุแม้มันจะส่งผลข้างเคียงต่อระบบการทำงานของอวัยวะอื่นๆ ขณะที่แพทย์อีกคนปฏิเสธที่จะใช้มันกับคนไข้เพราะรู้ว่าปลายทางที่สุดของการใช้หรือไม่ใช้ยานี้มีผลเหมือนกันก็คือความตาย
ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับตอนนี้ก็คือเรื่องของการแจ้งให้ทราบ
อย่างที่รู้ๆ กันว่าสำหรับคนที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งนั้นโอกาสที่จะได้รับการรักษาให้ "หายขาด" โดยไม่มีผลข้างเคียงเลยถือเป็นเรื่องที่เป็นไปได้น้อยมากกระทั่งเป็นไปไม่ได้เลย ไม่ว่าจะด้วยวิธีการผ่าตัด การฉายแสง การให้ยาต้าน ฯ
สรุปก็คือส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งในระยะสุดท้ายหรือในอวัยวะที่สำคัญๆ จึงไม่มีทางรอดชีวิตเพราะไม่มียาต้านมะเร็งตัวใดๆ เลยที่ใช้ได้ผล (ในการ์ตูนคนป่วยเหล่านี้จึงถูกแพทย์รักษาไปอย่างรอวันตาย) เพราะฉะนั้นการแจ้งให้ผู้ป่วยทราบถึงการเป็นโรคร้ายชนิดนี้จึงไม่ต่างอะไรกับการให้อีกฝ่ายเริ่มนับถอยหลังถึงวันสิ้นอายุของตนเอง และมันจึงกลายเป็นข้อถกเถียงกันว่าสมควรหรือไม่สมควร หรือสมควรขนาดไหน
ในสภาวะที่ว่า หากคิดในมุมว่าเราเป็นแพทย์เราจะปล่อยให้คนไข้ค่อยๆ ตายไปโดยไม่รู้อะไรเลย หรือจะให้รายละเอียดทั้งหมดเพื่อให้คนป่วยได้เตรียมตัวเตรียมใจรับมือกับความตาย
และในมุมกลับกันถ้าเราเป็นคนป่วยล่ะ เราอยากจะรับรู้มั้ย หากเราเป็นญาติคนป่วยเราจะบอกกับเขามั้ย?
มนุษย์มีความเข้มแข็งพอที่จะต่อสู้กับสิ่งต่างได้จริงๆ หรือเมื่อรับรู้ว่าตัวเองกำลังจะตาย!
"แพทย์ศาสตร์ไม่ใช่แค่การผ่าตัดและการให้ยากิน ส่วนการรรักษาบาดแผล โรคภัยไข้เจ็บและการเอาชนะความตายก็ไม่ใช่แพทย์ศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ก็คือความรู้ทางวิชาการที่ทำให้คิดว่าจะเผชิญหน้ากับความตายอย่างไร.." นั่นคือแนวคิดของหมออุซามิที่บอกกับนาง "สึจิโมโตะ โยชิเอะ" แม่บ้านวัย 43 ที่ป่วยมะเร็งตับอ่อนในระยะ 4
ขณะที่อีกฝ่ายย้อนถามกลับไปว่า..."สรุปแล้วคุณหมอสั่งให้ชั้นยอมรับความตายใช่มั้ยคะ? คุณหมอห้ามไม่ให้ชั้นยึดติดอยู่กับการมีชีวิตอยู่ใช่มั้ยคะ? ชั้นอยากจะมีชีวิตอยู่ไม่ได้เหรอคะ"
ด้านพระเอกของเราก็มีทัศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า..."ในโลกนี้มีคนที่ยอมรับความตายและเสียชีวิตไปอย่างสงบสุขอยู่จริงๆ เหรอครับ? การล้มเลิกความคิดที่จะมีชีวิตอยู่คือการยอมรับความตายได้จริงๆ เหรอครับ?...การดิ้นรนที่จะมีชีวิตอยู่กับการยอมรับความตายมันต่างกันถึงขนาดนั้นเลยหรอครับ การเผชิญหน้ากับความเป็นและการเผชิญหน้ากับความตาย มันก็เหมือนกันไม่ใช่เหรอครับ?"
ไม่แปลกหรอกครับหากมนุษย์เราจะดิ้นรนไขว่คว้าหาโอกาสอันน้อยนิดเพื่อให้ตัวเองมีชีวิตที่ยืนยาวออกไปแม้ในใจและในสายตาของใครต่อใครจะรู้ว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่โอกาสที่ว่าจะนำมาซึ่งความสำเร็จ
เพราะท้ายที่สุด คนที่จะสัมผัสได้จริงถึงความดีใจหรือเสียใจกับสิ่งที่ไขว่คว้านั้นก็คือคนที่ลงมือไขว่คว้า
ส่วนคนภายนอกก็ได้แค่รู้สึกว่า...