ASTVผู้จัดการรายวัน – ดีเอชแอล เสริมทัพซัปพลายเชนครบวงจร ลุยแตกธุรกิจบริการจัดการอาหารบนสายการบิน หวังกินชิ้นเค้กตลาด 1.2 หมื่นล้านยูโร ชูการจัดการค่าใช้จ่าย ลดต้นทุน ล่อใจสายการบินในยุควิกฤตเศรษฐกิจ ลั่นดอดเจรจาลูกค้า 2-3 รายต่อปี สายการบินบริติช แอรไลน์ ลูกค้านำร่อง ตั้งเป้า 10 ปี โกยรายได้ 70 ล้านยูโร
นายพอล เกรแฮม ประธานกรรมการบริหาร ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดีเอชแอลซัพพลายเชน เปิดเผยว่า บริษัทแตกธุรกิจบริการอาหารบนสายการบินเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้ครอบคลุมการให้บริการด้านบริหารซัปพลายเชนของบริษัท โดยบริษัทชูจุดเด่นการจัดการค่าใช้จ่าย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันสายการบิน ขณะเดียวกันลดต้นทุนต่างๆ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ โดยพบว่าสายการบินมีค่าการบริหารจัดการซัปพลายเชน 80% ที่เหลืออีก 20% เป็นต้นทุนจากอาหาร
ทั้งนี้บริษัทวางแผนขยายลูกค้าสายการบิน 2-3 รายต่อปี โดยเมื่อปีที่ผ่านมา มีลูกค้าสายการบินบริติช แอร์เวย์ส เซ็นสัญญารกับบริษัทเป็นระยะเวลา 10 ปี ซึ่งบริษัทจะดำเนินการบริการด้านอาหารบนเครื่องบินให้กับเที่ยวบินเส้นทางระยะใกล้และเที่ยวบินในประเทศจากท่าอากาศยานฮีทโธรว์ เริ่มมีผลในปีหน้านี้ โดยครอบคลุมการจัดแตรียมและการขนส่งอาหารกว่า 13 ล้านชุดต่อปีให้กับอากาศยาน และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเจรจาสายการบินนิวซีแลนด์ ชิลี และเอมิเรตส์แอร์ไลน์
นายเกรแฮม กล่าวว่า บริษัทได้จ้างบริษัท เนอร์ตัน ฟู้ดส์ จากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้ซัปพลายอาหารให้กับสายการบินที่ใช้บริการ และกำลังมองหาพันธมิตรที่มีศักยภาพ โดยพบว่า ซัปพลายเออร์อาหารในประเทศไทยที่ศักยภาพ คือ บริษัทซีพี เพราะมีความพร้อมในการผลิตเนื้อไก่และอาหารพร้อมทานซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการอาหารไทยยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับช่องทางดังกล่าวมากนัก แต่มูลค่าตลาดธุรกิจบริการอาหารของสายการบินมีถึง 1.2 หมื่นล้านยูโร
สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีแนวโน้มการเติบโตด้านจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการอากาศยานสูง โดยในช่วงระหว่างปี 2547-2550 จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการผ่าน ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ มีอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 13% ส่วนปักกิ่งโต 40% ฮ่องกง 20% และกรุงโซล 17% ซึ่งมองว่าเป็นภูมิภาคที่ศักยภาพและยังสามารถเติบโตได้อีกมาก ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้า 10 ปี จากการมีสายการบินบริติชแอร์เวย์ส เป็นลูกค้า 1 ราย มีรายได้ในบริการธุรกิจบริการอาหารบนสายการบิน 70 ล้านยูโร
นายพอล เกรแฮม ประธานกรรมการบริหาร ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ดีเอชแอลซัพพลายเชน เปิดเผยว่า บริษัทแตกธุรกิจบริการอาหารบนสายการบินเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เพื่อให้ครอบคลุมการให้บริการด้านบริหารซัปพลายเชนของบริษัท โดยบริษัทชูจุดเด่นการจัดการค่าใช้จ่าย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันสายการบิน ขณะเดียวกันลดต้นทุนต่างๆ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ โดยพบว่าสายการบินมีค่าการบริหารจัดการซัปพลายเชน 80% ที่เหลืออีก 20% เป็นต้นทุนจากอาหาร
ทั้งนี้บริษัทวางแผนขยายลูกค้าสายการบิน 2-3 รายต่อปี โดยเมื่อปีที่ผ่านมา มีลูกค้าสายการบินบริติช แอร์เวย์ส เซ็นสัญญารกับบริษัทเป็นระยะเวลา 10 ปี ซึ่งบริษัทจะดำเนินการบริการด้านอาหารบนเครื่องบินให้กับเที่ยวบินเส้นทางระยะใกล้และเที่ยวบินในประเทศจากท่าอากาศยานฮีทโธรว์ เริ่มมีผลในปีหน้านี้ โดยครอบคลุมการจัดแตรียมและการขนส่งอาหารกว่า 13 ล้านชุดต่อปีให้กับอากาศยาน และขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเจรจาสายการบินนิวซีแลนด์ ชิลี และเอมิเรตส์แอร์ไลน์
นายเกรแฮม กล่าวว่า บริษัทได้จ้างบริษัท เนอร์ตัน ฟู้ดส์ จากประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้ซัปพลายอาหารให้กับสายการบินที่ใช้บริการ และกำลังมองหาพันธมิตรที่มีศักยภาพ โดยพบว่า ซัปพลายเออร์อาหารในประเทศไทยที่ศักยภาพ คือ บริษัทซีพี เพราะมีความพร้อมในการผลิตเนื้อไก่และอาหารพร้อมทานซึ่งที่ผ่านมาผู้ประกอบการอาหารไทยยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับช่องทางดังกล่าวมากนัก แต่มูลค่าตลาดธุรกิจบริการอาหารของสายการบินมีถึง 1.2 หมื่นล้านยูโร
สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มีแนวโน้มการเติบโตด้านจำนวนผู้โดยสารที่มาใช้บริการอากาศยานสูง โดยในช่วงระหว่างปี 2547-2550 จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการผ่าน ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ มีอัตราเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 13% ส่วนปักกิ่งโต 40% ฮ่องกง 20% และกรุงโซล 17% ซึ่งมองว่าเป็นภูมิภาคที่ศักยภาพและยังสามารถเติบโตได้อีกมาก ทั้งนี้บริษัทตั้งเป้า 10 ปี จากการมีสายการบินบริติชแอร์เวย์ส เป็นลูกค้า 1 ราย มีรายได้ในบริการธุรกิจบริการอาหารบนสายการบิน 70 ล้านยูโร