ASTVผู้จัดการรายวัน - กองทุนรวมตื่นรับกระแสราคาน้ำมันพุ่ง จ่อคิวกองทุนดักซื้อน้ำมันถูก หวังสร้างผลตอบแทนให้นักลงทุนหลังเศรษบกิจโลกฟื้น บลจ.กรุงไทย เตรียมเปิดตัว "เคแทม เอ็นเนอร์จี ฟันด์" ระดมเงินซื้อหุ้นน้ำมันในสหรัฐ หวังกำไร 2 เด้ง ด้านบลจ.อยุธยา คลอด "อยุธยาออยล์ 10% ทาร์เก็ต" เข็นผลตอบแทนเข้าเป้า 10% ปิดกองทันที ขณะที่กองทุนค่าย "เอ็มเอฟซี" รับผลตอบแทนอู้ฟู่ 2 เดือนกว่ากำไรพุ่ง 18.25% ส่วนแนวโน้มราคาน้ำมัน มีลุ้นกลับไปแตะ 100 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลอีกรอบ
นายสมชัย บุญนำสิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้าบริษัทจะเปิดตัวกองทุนเปิดเคแทม เอ็นเนอร์จี ฟันด์ ซึ่งเป็นกองทุนรวมต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ที่เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มน้ำมันและพลังงานที่จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา โดยกองทุนจะลงทุนผ่านกองทุนแม่ในต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว ซึ่งกองทุนหลักดังกล่าว ลงทุนในหุ้นธุรกิจน้ำมันโดยตรง ไม่ใช่ลงทุนผ่านดัชนีเหมือนกับกองทุนที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน
ทั้งนี้ เรามองว่าการเข้าไปลงทุนในหุ้นธุรกิจน้ำมันโดยตรง มีอับไซด์สูงกว่าการลงทุนอ้างอิงกับดัชนีน้ำมัน เพราะนอกจากตัวบริษัทเองจะมีกำไรจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีโอกาสกำไรมากขึ้น หากบริษัทนั้นมีการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วย
นอกจากนี้ ผลพวงจากวิกฤตการเงินในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ราคาของหุ้นในกลุ่มนี้ปรับลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นผลกระทบที่เป็นไปตามภาวะการลงทุนในตลาดเท่านั้น แต่ไม่ได้กระทบต่อฐานะการเงินของบริษัท หรือรายได้ของบริษัทมากนัก
สำหรับกองทุนเปิดเคแทม เอ็นเนอร์จี ฟันด์ เป็นกองทุนเปิดที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ภายหลังจากเสนอขายช่วงไอพีโอแล้ว โดยกองทุนจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 มิถุนายนนี้ ซึ่งกองทุนประเภทนี้ จะมีสภาพคล่องสูงกว่ากองทุนดัชนีทั่วไปด้วย
ด้านรายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทจะเปิดตัวกองทุนเปิดอยุธยาออยล์ 10% ทาร์เก็ต (AYFOIL10) ในสัปดาห์หน้าเช่นกัน ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะลงทุนผ่านกองทุนอีทีเอฟในต่างประเทศ ซึ่งเป็นกองทุนที่อ้างอิงกับดัชนีน้ำมันคนละดัชนีกับกองทุนที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน นอกจากนี้ รูปแบบของกองทุนยังเป็นกองทุนปิด ที่กำหนดผลตอบแทนเอาไว้ 10% แล้วปิดกองทุนจ่ายผลตอบแทนให้ลูกค้าทันที
ในขณะที่กองทุนน้ำมันที่เปิดขายไปก่อนหน้านี้ ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนพอสมควร และกองทุนเหล่านี้เองก็ได้ผลตอบแทนที่ดีหลังจากราคาน้ำมันได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยผลการดำเนินงานกองทุนภายใต้การบริหารของบลจ.เอ็มเอฟซี พบว่า ผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน โดยมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ออยล์ ฟิฟทีน ซีรีส์ (I-OIL 15S1) ล่าสุด ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 ปรับเพิ่มขึ้นจาก 10 บาท (ราคาไอพีโอ) เป็น 11.8255 บาท หลังจากเปิดขายไปในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เท่ากับว่ากองทุนดังกล่าวสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง 18.25% แล้ว ซึ่งตรงกับเงื่อนไขของกองทุนที่ระบุเอาไว้ว่า กองทุนเปิด I-OIL 15S1 สามารถเลิกกองทุนทันทีไม่ต้องรอครบอายุกองทุน 1 ปี เมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 11.80 บาทและทรัพย์สินของกองทุนเป็นเงินสดทั้งหมดในสกุลเงินบาท โดยมูลค่าหน่วยลงทุนที่คืนผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 11.50 บาท
ส่วนกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ออยล์ ฟันด์ (I-OIL) ซึ่งเป็นกองทุนเปิดทั่วไป พบว่าเอ็นเอวีปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 11.5699 บาท คิดเป็นผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนแล้วประมาณ 15.69%
โดยทั้ง 2 กองทุน มีนโยบายลงทุนเช่นเดียวกัน ผ่านกองทุนน้ำมันต่างประเทศ PowerShares DB Oil Fund และลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่งกองทุน PowerShares DB Oil Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักในต่างประเทศ บริหารโดย DB Commodity Services LLC โดยกองทุนดังกล่าว มีนโยบายการลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์สของน้ำมันดิบ (light sweet crude oil-WTI) และเป็น Exchange Traded Fund (ETF) คือซื้อขายเหมือนหุ้นตัวหนึ่งบนตลาดหลักทรัพย์อเมริกัน (AMEX) และผลตอบแทนกองทุนจะใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิง (Deutsche Bank Liquid Commodity Index-Optimum Yield Crude Oil Excess Return)
นางสาวธีรินทร์ สุวรรณเตมีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด-ธุรกิจกองทุนรวม และกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ทิสโก้ เปิดเผยว่า สถาการณ์การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันกองทุนออลย์ฟันด์ของบริษัทสามารถสร้างผลตอบให้กับนักลงทุนจนมูลค่าเอ็นเอวีปรับตัวไปอยู่ที่ระดับ 11.40 บาทต่อหน่วย
ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันในขณะนี้น่าจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการคือ สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การคงกำลังการผลิตของประเทศในกลุ่มโอเปก และความต้องการบริโภคน้ำมันของประเทศจีนและอินเดียที่ปรับตัวดีขึ้น โดยสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชัดเจนนั้นส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าความต้องการใช้น้ำมันจะมีเพิ่มมากขึ้นตามมาด้วย
"มันเป็นเรื่องของดีมานกับซัพพลายที่ทำให้ราคาปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากประเทศในกลุ่มในโอเปกยังคงกำลังการผลิตในระดับเดิม แต่แนวโน้มความต้องการมีเพิ่มมากขึ้นแล้ว เชื่อว่าราคาน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีก หลังจากที่ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 68 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งรวมถึงข่าวการคงกำลังการผลิตของประเทศซาอุดิอารเบียที่เขาต้องการดันราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับ 75 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลด้วยแล้วนั้น จึงเป็นไปได้ว่าราคาน่าจะไปได้อีกจนเกิน 70 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ก็เริ่มทยอยปรับประมาณการณ์ของราคาน้ำมันให้เห็นบางแล้ว"นางสาวธีรินทร์กล่าว
นอกจากนี้ การที่เศรษฐกิจของประเทศจีนและอินเดียมีแนวโน้มออกมาดีกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ก็น่าจะส่งผลต่อราคาน้ำมันให้ปรับตัวขึ้นอีก เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศนับเป็นผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่มีผลต่อการบริโภคน้ำมันโดยรวมในขณะที่กำลังการผลิตยังอยู่ในระดับเดิม
สำหรับแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกหลังจากนี้ นายอาชว์ เตาลานนท์ ประธานกิตติมศักดิ์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มีแนวโน้มที่ราคาน้ำมันจะกลับไปแตะระดับ 100 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลได้ เนื่องจากหากเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันจะมีมากขึ้น รวมไปถึงการเก็งกำไรน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้น
นายสมชัย บุญนำสิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า สัปดาห์หน้าบริษัทจะเปิดตัวกองทุนเปิดเคแทม เอ็นเนอร์จี ฟันด์ ซึ่งเป็นกองทุนรวมต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ที่เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มน้ำมันและพลังงานที่จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกา โดยกองทุนจะลงทุนผ่านกองทุนแม่ในต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว ซึ่งกองทุนหลักดังกล่าว ลงทุนในหุ้นธุรกิจน้ำมันโดยตรง ไม่ใช่ลงทุนผ่านดัชนีเหมือนกับกองทุนที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน
ทั้งนี้ เรามองว่าการเข้าไปลงทุนในหุ้นธุรกิจน้ำมันโดยตรง มีอับไซด์สูงกว่าการลงทุนอ้างอิงกับดัชนีน้ำมัน เพราะนอกจากตัวบริษัทเองจะมีกำไรจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีโอกาสกำไรมากขึ้น หากบริษัทนั้นมีการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นด้วย
นอกจากนี้ ผลพวงจากวิกฤตการเงินในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ราคาของหุ้นในกลุ่มนี้ปรับลดลงด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นผลกระทบที่เป็นไปตามภาวะการลงทุนในตลาดเท่านั้น แต่ไม่ได้กระทบต่อฐานะการเงินของบริษัท หรือรายได้ของบริษัทมากนัก
สำหรับกองทุนเปิดเคแทม เอ็นเนอร์จี ฟันด์ เป็นกองทุนเปิดที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถซื้อขายหน่วยลงทุนได้ภายหลังจากเสนอขายช่วงไอพีโอแล้ว โดยกองทุนจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 9 มิถุนายนนี้ ซึ่งกองทุนประเภทนี้ จะมีสภาพคล่องสูงกว่ากองทุนดัชนีทั่วไปด้วย
ด้านรายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) อยุธยา จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทจะเปิดตัวกองทุนเปิดอยุธยาออยล์ 10% ทาร์เก็ต (AYFOIL10) ในสัปดาห์หน้าเช่นกัน ซึ่งกองทุนดังกล่าวจะลงทุนผ่านกองทุนอีทีเอฟในต่างประเทศ ซึ่งเป็นกองทุนที่อ้างอิงกับดัชนีน้ำมันคนละดัชนีกับกองทุนที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน นอกจากนี้ รูปแบบของกองทุนยังเป็นกองทุนปิด ที่กำหนดผลตอบแทนเอาไว้ 10% แล้วปิดกองทุนจ่ายผลตอบแทนให้ลูกค้าทันที
ในขณะที่กองทุนน้ำมันที่เปิดขายไปก่อนหน้านี้ ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีจากนักลงทุนพอสมควร และกองทุนเหล่านี้เองก็ได้ผลตอบแทนที่ดีหลังจากราคาน้ำมันได้ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยผลการดำเนินงานกองทุนภายใต้การบริหารของบลจ.เอ็มเอฟซี พบว่า ผลตอบแทนปรับเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน โดยมูลค่าหน่วยลงทุนของกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ออยล์ ฟิฟทีน ซีรีส์ (I-OIL 15S1) ล่าสุด ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 ปรับเพิ่มขึ้นจาก 10 บาท (ราคาไอพีโอ) เป็น 11.8255 บาท หลังจากเปิดขายไปในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ทั้งนี้ เท่ากับว่ากองทุนดังกล่าวสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง 18.25% แล้ว ซึ่งตรงกับเงื่อนไขของกองทุนที่ระบุเอาไว้ว่า กองทุนเปิด I-OIL 15S1 สามารถเลิกกองทุนทันทีไม่ต้องรอครบอายุกองทุน 1 ปี เมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 11.80 บาทและทรัพย์สินของกองทุนเป็นเงินสดทั้งหมดในสกุลเงินบาท โดยมูลค่าหน่วยลงทุนที่คืนผู้ถือหน่วยลงทุนไม่ต่ำกว่า 11.50 บาท
ส่วนกองทุนเปิดเอ็มเอฟซี อินเตอร์เนชั่นแนล ออยล์ ฟันด์ (I-OIL) ซึ่งเป็นกองทุนเปิดทั่วไป พบว่าเอ็นเอวีปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 11.5699 บาท คิดเป็นผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนแล้วประมาณ 15.69%
โดยทั้ง 2 กองทุน มีนโยบายลงทุนเช่นเดียวกัน ผ่านกองทุนน้ำมันต่างประเทศ PowerShares DB Oil Fund และลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่งกองทุน PowerShares DB Oil Fund ซึ่งเป็นกองทุนหลักในต่างประเทศ บริหารโดย DB Commodity Services LLC โดยกองทุนดังกล่าว มีนโยบายการลงทุนในสัญญาฟิวเจอร์สของน้ำมันดิบ (light sweet crude oil-WTI) และเป็น Exchange Traded Fund (ETF) คือซื้อขายเหมือนหุ้นตัวหนึ่งบนตลาดหลักทรัพย์อเมริกัน (AMEX) และผลตอบแทนกองทุนจะใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนีอ้างอิง (Deutsche Bank Liquid Commodity Index-Optimum Yield Crude Oil Excess Return)
นางสาวธีรินทร์ สุวรรณเตมีย์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด-ธุรกิจกองทุนรวม และกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ทิสโก้ เปิดเผยว่า สถาการณ์การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์อย่างน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา ถือว่าปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันกองทุนออลย์ฟันด์ของบริษัทสามารถสร้างผลตอบให้กับนักลงทุนจนมูลค่าเอ็นเอวีปรับตัวไปอยู่ที่ระดับ 11.40 บาทต่อหน่วย
ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันในขณะนี้น่าจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการคือ สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การคงกำลังการผลิตของประเทศในกลุ่มโอเปก และความต้องการบริโภคน้ำมันของประเทศจีนและอินเดียที่ปรับตัวดีขึ้น โดยสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่เริ่มชัดเจนนั้นส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่าความต้องการใช้น้ำมันจะมีเพิ่มมากขึ้นตามมาด้วย
"มันเป็นเรื่องของดีมานกับซัพพลายที่ทำให้ราคาปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และหากประเทศในกลุ่มในโอเปกยังคงกำลังการผลิตในระดับเดิม แต่แนวโน้มความต้องการมีเพิ่มมากขึ้นแล้ว เชื่อว่าราคาน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีก หลังจากที่ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 68 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งรวมถึงข่าวการคงกำลังการผลิตของประเทศซาอุดิอารเบียที่เขาต้องการดันราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับ 75 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลด้วยแล้วนั้น จึงเป็นไปได้ว่าราคาน่าจะไปได้อีกจนเกิน 70 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ/บาร์เรล และนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ก็เริ่มทยอยปรับประมาณการณ์ของราคาน้ำมันให้เห็นบางแล้ว"นางสาวธีรินทร์กล่าว
นอกจากนี้ การที่เศรษฐกิจของประเทศจีนและอินเดียมีแนวโน้มออกมาดีกว่าที่ประมาณการณ์ไว้ก็น่าจะส่งผลต่อราคาน้ำมันให้ปรับตัวขึ้นอีก เนื่องจากทั้ง 2 ประเทศนับเป็นผู้บริโภคขนาดใหญ่ที่มีผลต่อการบริโภคน้ำมันโดยรวมในขณะที่กำลังการผลิตยังอยู่ในระดับเดิม
สำหรับแนวโน้มราคาน้ำมันในตลาดโลกหลังจากนี้ นายอาชว์ เตาลานนท์ ประธานกิตติมศักดิ์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มีแนวโน้มที่ราคาน้ำมันจะกลับไปแตะระดับ 100 เหรียญดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลได้ เนื่องจากหากเศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัว ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันจะมีมากขึ้น รวมไปถึงการเก็งกำไรน้ำมันที่เพิ่มมากขึ้น