ASTVผู้จัดการรายวัน – “เอเต้” เล็ง ผุดช่องขายใหม่ รูปแบบคีออส คู่คาร์ฟูร์ และเทสโก้โลตัส ต้นไตรมาสสี่เห็นแน่ ส่วนช่องทางขายฟู้ดเซอร์วิสสะดุดเล็กน้อย หลังเจอไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่เล่นงาน ชูแผนคุ้มค่าคุ้มราคาดึงรายได้โต 20% คิดเป็นมูลค่ากว่า 75 ล้านบาท
นางสาวกุลยา เดชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเต้ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านไอศกรีมเอเต้ เปิดเผยว่า ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงไฮซีซันของธุรกิจไอศกรีม โดย 6เดือนแรกของปี 2552 เอเต้มีการเติบโตประมาณ 25% ซึ่งการเติบโตดังกล่าว มาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.โปรโมชั่น ส่งเสริมการขาย 2. โครงการ Student Project และ 3.การขยายสาขาสู่กลุ่มแมส
การเติบโตดังกล่าว ถือเป็นความสำเร็จ จากการวางกลยุทธ์ทางการตลาดในปีนี้ ภายใต้งบประมาณทั้งหมดราว 20 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโปรโมชั่น ที่ปีนี้จะเน้นเรื่องของความคุ้มค่า เป็นหลัก ล่าสุดภายในเดือนมิ.ย.-ก.ค. จะมีการปรับเมนูลดราคาลงอีก 30-50% ในแคมเปญ “คุ้มค่า คุ้มราคา” แคมเปญดังกล่าว จัดขึ้นในช่วงหน้าฝน ซึ่งเป็นช่วงโลว์ซีซันของธุรกิจไอศกรีม
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น และเรื่องของช่องทางจำหน่ายที่กำลังศึกษาสู่ระดับแมส
โดยงบการตลาดบวกกับงบกิจกรรมปีนี้รวมแล้วใช้เพียง 6 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนราว 25% ซึ่งถือว่าใช้ไม่สูงมาก เนื่องจากปีนี้จะเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องของกิจกรรมทางการตลาดเป็นหลัก เน้นทำกิจกรรม ณ ร้านเอเต้ รวมไปถึงการจัดโรดโชว์ ไปตามสำนักงาน และสถานศึกษาต่างๆ
ขณะที่ในแง่ของการขยายสาขานั้น จากปัจจุบัน ร้านเอเต้ มีสาขารวม 12 สาขา ได้แก่ กรุงเทพ 7 สาขา และภูเก็ต 5 สาขา ภายในสิ้นปีคาดว่าจะขยายเพิ่มรวมเป็น 15 สาขา ซึ่งการลงทุนในการขยายสาขานั้น จะอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านบาท
โดยในปีนี้จากแผนการดำเนินงานที่ต้องการขยายช่องทางจำหน่ายไปยังกลุ่มลูกค้าระดับแมสมากขึ้นนั้น ล่าสุดทางบริษัทกำลังศึกษาที่จะเพิ่มช่องทางจำหน่ายไปกับไฮเปอร์มาร์เก็ต อย่างเทสโก้โลตัส และคาร์ฟูร์ ในรูปแบบคีออส ในเขตปริมณฑล คาดว่าช่วงต้นไตรมาสสี่ จะเห็นความชัดเจนและรูปแบบคีออสนี้ได้ประมาณ 2-4 สาขา ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะขยายคีออสไปกับทุกสาขาของทางเทสโกโลตัส และคาร์ฟูร์ โดยมองว่าการลงทุนเปิดคีออส จะอยู่ที่ 2 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ช่องทางจำหน่ายของเอเต้ ยังมีการจำหน่ายผ่านร้านซีพีเฟรชมาร์ท กว่า 400 สาขาทั่วประเทศ รวมไปถึงรูปแบบฟู้ดเซอร์วิส ซึ่งเริ่มทำมาตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อน โดยจะส่งไอศกรีมให้กับภัตตาคารและโรงแรม ในแถบจังหวัดสถานที่ท่องเที่ยว อย่างภูเก็ต เป็นหลัก ซึ่งยอดขายต่อเดือนเติบโตค่อนข้างดี แต่มาสะดุดตอนช่วงไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่เข้ามาบ้างเล็กน้อยส่งผลให้ปัจจุบันเอเต้ มีรายได้หลักกว่า 60% มาจากหน้าร้าน และอีก 40% มาจากฟู้ดเซอร์วิส และซีพีเฟรชมาร์ท ซึ่งสิ้นปีนี้ ยังมั่นใจว่าจะยังมีอัตราการเติบโตที่ 40% คิดเป็นมูลค่ากว่า 75 ล้านบาท
ทั้งนี้ภาพรวมธุรกิจไอศกรีม มูลค่า 11,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น ระดับแมส 70-75% และพรีเมี่ยม 25% หรือมีมูลค่าตลาดราว 2,200 ล้านบาท โดยกลุ่มพรีเมี่ยม เชื่อว่าจะมีการเติบโตที่ 10% ซึ่งเอเต้จัดอยู่ในกลุ่มพรีเมี่ยมด้วย โดยมีส่วนแบ่งในกลุ่มนี้ราว 3-4%
นางสาวกุลยา เดชชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเต้ จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจร้านไอศกรีมเอเต้ เปิดเผยว่า ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ถือเป็นช่วงไฮซีซันของธุรกิจไอศกรีม โดย 6เดือนแรกของปี 2552 เอเต้มีการเติบโตประมาณ 25% ซึ่งการเติบโตดังกล่าว มาจาก 3 ปัจจัยหลัก คือ 1.โปรโมชั่น ส่งเสริมการขาย 2. โครงการ Student Project และ 3.การขยายสาขาสู่กลุ่มแมส
การเติบโตดังกล่าว ถือเป็นความสำเร็จ จากการวางกลยุทธ์ทางการตลาดในปีนี้ ภายใต้งบประมาณทั้งหมดราว 20 ล้านบาท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโปรโมชั่น ที่ปีนี้จะเน้นเรื่องของความคุ้มค่า เป็นหลัก ล่าสุดภายในเดือนมิ.ย.-ก.ค. จะมีการปรับเมนูลดราคาลงอีก 30-50% ในแคมเปญ “คุ้มค่า คุ้มราคา” แคมเปญดังกล่าว จัดขึ้นในช่วงหน้าฝน ซึ่งเป็นช่วงโลว์ซีซันของธุรกิจไอศกรีม
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น และเรื่องของช่องทางจำหน่ายที่กำลังศึกษาสู่ระดับแมส
โดยงบการตลาดบวกกับงบกิจกรรมปีนี้รวมแล้วใช้เพียง 6 ล้านบาท มากกว่าปีก่อนราว 25% ซึ่งถือว่าใช้ไม่สูงมาก เนื่องจากปีนี้จะเน้นให้ความสำคัญกับเรื่องของกิจกรรมทางการตลาดเป็นหลัก เน้นทำกิจกรรม ณ ร้านเอเต้ รวมไปถึงการจัดโรดโชว์ ไปตามสำนักงาน และสถานศึกษาต่างๆ
ขณะที่ในแง่ของการขยายสาขานั้น จากปัจจุบัน ร้านเอเต้ มีสาขารวม 12 สาขา ได้แก่ กรุงเทพ 7 สาขา และภูเก็ต 5 สาขา ภายในสิ้นปีคาดว่าจะขยายเพิ่มรวมเป็น 15 สาขา ซึ่งการลงทุนในการขยายสาขานั้น จะอยู่ที่ประมาณ 5 ล้านบาท
โดยในปีนี้จากแผนการดำเนินงานที่ต้องการขยายช่องทางจำหน่ายไปยังกลุ่มลูกค้าระดับแมสมากขึ้นนั้น ล่าสุดทางบริษัทกำลังศึกษาที่จะเพิ่มช่องทางจำหน่ายไปกับไฮเปอร์มาร์เก็ต อย่างเทสโก้โลตัส และคาร์ฟูร์ ในรูปแบบคีออส ในเขตปริมณฑล คาดว่าช่วงต้นไตรมาสสี่ จะเห็นความชัดเจนและรูปแบบคีออสนี้ได้ประมาณ 2-4 สาขา ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงที่จะขยายคีออสไปกับทุกสาขาของทางเทสโกโลตัส และคาร์ฟูร์ โดยมองว่าการลงทุนเปิดคีออส จะอยู่ที่ 2 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ช่องทางจำหน่ายของเอเต้ ยังมีการจำหน่ายผ่านร้านซีพีเฟรชมาร์ท กว่า 400 สาขาทั่วประเทศ รวมไปถึงรูปแบบฟู้ดเซอร์วิส ซึ่งเริ่มทำมาตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อน โดยจะส่งไอศกรีมให้กับภัตตาคารและโรงแรม ในแถบจังหวัดสถานที่ท่องเที่ยว อย่างภูเก็ต เป็นหลัก ซึ่งยอดขายต่อเดือนเติบโตค่อนข้างดี แต่มาสะดุดตอนช่วงไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่เข้ามาบ้างเล็กน้อยส่งผลให้ปัจจุบันเอเต้ มีรายได้หลักกว่า 60% มาจากหน้าร้าน และอีก 40% มาจากฟู้ดเซอร์วิส และซีพีเฟรชมาร์ท ซึ่งสิ้นปีนี้ ยังมั่นใจว่าจะยังมีอัตราการเติบโตที่ 40% คิดเป็นมูลค่ากว่า 75 ล้านบาท
ทั้งนี้ภาพรวมธุรกิจไอศกรีม มูลค่า 11,000 ล้านบาท แบ่งออกเป็น ระดับแมส 70-75% และพรีเมี่ยม 25% หรือมีมูลค่าตลาดราว 2,200 ล้านบาท โดยกลุ่มพรีเมี่ยม เชื่อว่าจะมีการเติบโตที่ 10% ซึ่งเอเต้จัดอยู่ในกลุ่มพรีเมี่ยมด้วย โดยมีส่วนแบ่งในกลุ่มนี้ราว 3-4%