ASTVผู้จัดการรายวัน - เฟสต้าสุดทนมอง ททท.ผลาญงบ เตรียมขอเข้าพบ “กอร์ปศักดิ์” ส่งหนังสือช่วยตรวจสอบ พร้อมจี้ททท.เร่งหาผู้ว่าการททท. เพื่อเข้ามารับผิดชอบการทำงานในเชิงปฎิบัติ ระบุโครงการเทศกาลเที่ยวไทย 5 ภาค กลับมาคุยว่าประสบความสำเร็จ เหตุร้านส้มตำที่ร่วมงานขายดี เป็นเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น ตอกย้ำว่าทำงานไม่เป็น
วานนี้( 2 มิ.ย.52)ภายหลังการประชุร่วมกับภาคเอกชนพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์กู้วิกฤตและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวปี 2552-2555 นางสาวมัยรัตน์ พีระญาณ์โกเศส นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) ในฐานะกรรมการสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย(เฟสต้า) ซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วย 8 สมาคมด้านการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้าจะทำหนังสือในนามของเฟสต้าขอเข้าพบนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ดูแลงานด้านเศรษฐกิจ เพื่อขอให้พิจารณาการใช้งบประมาณกระตุ้นท่องเที่ยว ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)จากวงเงินงบประมาณพิเศษ ที่ ททท.ได้รับจัดสรรมาทั้งสิ้น 1,450 ล้านบาท พร้อมถามถึงความคืบหน้าของโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่ให้ธนาคารเอสเอ็มอีเป็นผู้ปล่อยกู้ให้แก่ภาคเอกชนท่องเที่ยว เพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอด โดยไม่ต้องเลิกจ้างแรงงาน เพราะขณะนี้ยังไม่มีเอกชนรายใดได้รับเงินกู้ดังกล่าวเลย
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ ภาคเอกชนยังได้ขอให้คณะกรรมการ(บอร์ด)ททท.เข้าไปดูแลการบริหารงบประมาณของ ททท.ด้วยว่าได้ผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด คุ้มค่ากับงบประมาณที่ใช้ไปหรือไม่ เช่น โครงการอะเมซิ่งไทยแลนด์ แอท เวียนนา ที่คาดว่าจะใช้งบประมาณราว 35 ล้านบาท และโครงการเทศกาลเที่ยวไทย 5 ภาค งบ 100 ล้านบาท จัดใน 5 แห่งๆละ 20 ล้านบาท
ซึ่งจัดไปแล้วแห่งแรกที่พัทยาซึ่งไม่น่าจะได้รับความสำเร็จที่ดี เพราะไม่ก่อให้เกิดการเจรจาซื้อขายสินค้าทางการท่องเที่ยว และผู้ประกอบการที่ร่วมเดินทางก็ไม่ได้รู้จักแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ที่จัดงานด้วย
“โครงการเที่ยวไทย 5 ภาคนี้ ในอดีตที่ผ่านมาเอกชนก็เคยจัดมาแล้ว ซึ่งขณะนั้นใช้งบเพียงแห่งละ 3-5 ล้านบาท หากจะจัดในตอนนี้ไม่น่าจะใช้งบเกินงานละ 10 ล้านบาท แถมยังสามารถพาผู้ประกอบการร่วมเดินทางสำรวจแหล่งท่องเที่ยวอีกกว่า 100 ราย ดังนั้นหากให้พูดตอนนี้เอกชนเห็นตรงกันว่า การใช้งบประมาณของ ททท.ล้มเหลว เพราะขาดความเข้าใจในการใช้งบไม่มีแบบแผนการทำงานที่ชัดเจน และไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ที่ต้องเป็นฝ่ายทำงานด้านการตลาด ”
อย่างไรก็ตาม ในกรณีเทศกาลเที่ยวไทย 5 ภาค@พัทยา ซึ่งเป็นแห่งแรกที่จัดไปแล้วนั้น ททท.ได้ชี้แจงในที่ประชุมว่างานดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง เพราะจากการออกร้านขายส้มตำภายในงาน มียอดขายวันละ 6-7 หมื่นบาท และยินดีที่จะร่วมเดินทางไปกับ ททท.ทุกที่ที่มีการจัดงาน ซึ่งการชี้แจงเช่นนี้ ยิ่งสะท้อน และตอกย้ำว่า ททท.ไม่รู้บทบาทในการทำงานของตัวเองจริงๆ
นางสาวมัยรัตน์กล่าวว่า เรื่องเร่งด่วน ที่ภาคเอกชนต้องการขณะนี้ คือ การหาผู้มาดำรงค์ตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.คนใหม่โดยเร็ว เพื่อจะได้มีผู้นำในเรื่องของการปฎิบัติงาน ส่วนบอร์ดททท.จะได้ทำงานด้านกำหนดนโยบาย เพราะขณะนี้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวต้องการผู้นำเพื่อทำหน้าที่ในการปฎิบัติงานให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยว
ภาคเอกชนขอร้องว่าควรจัดการหาผู้มาดำรงค์ตำแหน่งผู้ว่าการททท.ให้ได้ภายใน 2 เดือนนับจากนี้ จะเป็นคนในองค์กร หรือคนนอกก็ได้ แต่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในตลาดการท่องเที่ยว เพราะขณะนี้ก็ล้าช้ามานานแล้วทั้งที่การสรรหาต้องเกิดขึ้นก่อนที่ผู้ว่าการททท.หมดวาระ จนถึงตอนนี้ก็หมดวาระไปกว่า 2 เดือนแล้ว ซึ่งเป็นการล้าช้าเกินความจำเป็นจนเป็นที่น่าสงสัย
สำหรับเรื่องร่างแผนยุทธศาสตร์กู้วิกฤตและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวปี 2552-2555 โดยรวมภาคเอกชนเห็นด้วยที่จะกำหนดยุทธศาสตร์นี้ขึ้นมา แต่ต้องมีกรอบและวิธีปฎิบัติให้เป็นรูปธรรมได้โดยเร็วและชัดเจน
***วีระศักดิ์โบ้ยตรวจสอบททท.ไม่ได้*******
ด้านนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ ททท. กล่าวว่า เรื่องการใช้งบประมาณของ ททท. บอร์ดไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้มากนัก แต่เมื่อมีการทวงติงจากภาคเอกชน ผู้ที่ดูแลโครงการก็ต้องนำไปคิดและปรับปรุง ส่วนนโยบายกระตุ้นท่องเที่ยวซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ ภาคเอกชนต้องการให้เร่งดำเนินการเป็นรูปธรรมโดยเร็วและรู้จักที่จะคิกนอกกรอบเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน ฉีกรูปแบบ
สำหรับจัดการกับวิกฤติท่องเที่ยวในระยะสั้น 3-6 เดือน นอกจากนี้ยังขอให้คณะกรรมการ ททท. เข้าไปดูเรื่องการบริหารงบประมาณจัดทำโครงการในททท. และขอให้เร่งเรื่องการสรรหาผู้ว่าการ ททท. ซึ่งโดยส่วนตัวต้องการให้สรรหาผู้ว่าการ ททท.
โดยเร็วเช่นกัน แต่ยังติดขั้นตอนให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเกี่ยวกับองค์กรอยู่ว่า จะถือเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร สามารถให้คนในองค์กรขึ้นเป็นผู้ว่าการททท. โดยไม่ต้องสรรหาหรือไม่
วานนี้( 2 มิ.ย.52)ภายหลังการประชุร่วมกับภาคเอกชนพิจารณาร่างแผนยุทธศาสตร์กู้วิกฤตและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวปี 2552-2555 นางสาวมัยรัตน์ พีระญาณ์โกเศส นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ (สทน.) ในฐานะกรรมการสหพันธ์สมาคมท่องเที่ยวไทย(เฟสต้า) ซึ่งมีสมาชิกประกอบด้วย 8 สมาคมด้านการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้าจะทำหนังสือในนามของเฟสต้าขอเข้าพบนายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี ดูแลงานด้านเศรษฐกิจ เพื่อขอให้พิจารณาการใช้งบประมาณกระตุ้นท่องเที่ยว ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)จากวงเงินงบประมาณพิเศษ ที่ ททท.ได้รับจัดสรรมาทั้งสิ้น 1,450 ล้านบาท พร้อมถามถึงความคืบหน้าของโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่ให้ธนาคารเอสเอ็มอีเป็นผู้ปล่อยกู้ให้แก่ภาคเอกชนท่องเที่ยว เพื่อประคองธุรกิจให้อยู่รอด โดยไม่ต้องเลิกจ้างแรงงาน เพราะขณะนี้ยังไม่มีเอกชนรายใดได้รับเงินกู้ดังกล่าวเลย
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ ภาคเอกชนยังได้ขอให้คณะกรรมการ(บอร์ด)ททท.เข้าไปดูแลการบริหารงบประมาณของ ททท.ด้วยว่าได้ผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด คุ้มค่ากับงบประมาณที่ใช้ไปหรือไม่ เช่น โครงการอะเมซิ่งไทยแลนด์ แอท เวียนนา ที่คาดว่าจะใช้งบประมาณราว 35 ล้านบาท และโครงการเทศกาลเที่ยวไทย 5 ภาค งบ 100 ล้านบาท จัดใน 5 แห่งๆละ 20 ล้านบาท
ซึ่งจัดไปแล้วแห่งแรกที่พัทยาซึ่งไม่น่าจะได้รับความสำเร็จที่ดี เพราะไม่ก่อให้เกิดการเจรจาซื้อขายสินค้าทางการท่องเที่ยว และผู้ประกอบการที่ร่วมเดินทางก็ไม่ได้รู้จักแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ที่จัดงานด้วย
“โครงการเที่ยวไทย 5 ภาคนี้ ในอดีตที่ผ่านมาเอกชนก็เคยจัดมาแล้ว ซึ่งขณะนั้นใช้งบเพียงแห่งละ 3-5 ล้านบาท หากจะจัดในตอนนี้ไม่น่าจะใช้งบเกินงานละ 10 ล้านบาท แถมยังสามารถพาผู้ประกอบการร่วมเดินทางสำรวจแหล่งท่องเที่ยวอีกกว่า 100 ราย ดังนั้นหากให้พูดตอนนี้เอกชนเห็นตรงกันว่า การใช้งบประมาณของ ททท.ล้มเหลว เพราะขาดความเข้าใจในการใช้งบไม่มีแบบแผนการทำงานที่ชัดเจน และไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ที่ต้องเป็นฝ่ายทำงานด้านการตลาด ”
อย่างไรก็ตาม ในกรณีเทศกาลเที่ยวไทย 5 ภาค@พัทยา ซึ่งเป็นแห่งแรกที่จัดไปแล้วนั้น ททท.ได้ชี้แจงในที่ประชุมว่างานดังกล่าวประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูง เพราะจากการออกร้านขายส้มตำภายในงาน มียอดขายวันละ 6-7 หมื่นบาท และยินดีที่จะร่วมเดินทางไปกับ ททท.ทุกที่ที่มีการจัดงาน ซึ่งการชี้แจงเช่นนี้ ยิ่งสะท้อน และตอกย้ำว่า ททท.ไม่รู้บทบาทในการทำงานของตัวเองจริงๆ
นางสาวมัยรัตน์กล่าวว่า เรื่องเร่งด่วน ที่ภาคเอกชนต้องการขณะนี้ คือ การหาผู้มาดำรงค์ตำแหน่งผู้ว่าการ ททท.คนใหม่โดยเร็ว เพื่อจะได้มีผู้นำในเรื่องของการปฎิบัติงาน ส่วนบอร์ดททท.จะได้ทำงานด้านกำหนดนโยบาย เพราะขณะนี้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวต้องการผู้นำเพื่อทำหน้าที่ในการปฎิบัติงานให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อกระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยว
ภาคเอกชนขอร้องว่าควรจัดการหาผู้มาดำรงค์ตำแหน่งผู้ว่าการททท.ให้ได้ภายใน 2 เดือนนับจากนี้ จะเป็นคนในองค์กร หรือคนนอกก็ได้ แต่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในตลาดการท่องเที่ยว เพราะขณะนี้ก็ล้าช้ามานานแล้วทั้งที่การสรรหาต้องเกิดขึ้นก่อนที่ผู้ว่าการททท.หมดวาระ จนถึงตอนนี้ก็หมดวาระไปกว่า 2 เดือนแล้ว ซึ่งเป็นการล้าช้าเกินความจำเป็นจนเป็นที่น่าสงสัย
สำหรับเรื่องร่างแผนยุทธศาสตร์กู้วิกฤตและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวปี 2552-2555 โดยรวมภาคเอกชนเห็นด้วยที่จะกำหนดยุทธศาสตร์นี้ขึ้นมา แต่ต้องมีกรอบและวิธีปฎิบัติให้เป็นรูปธรรมได้โดยเร็วและชัดเจน
***วีระศักดิ์โบ้ยตรวจสอบททท.ไม่ได้*******
ด้านนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ ททท. กล่าวว่า เรื่องการใช้งบประมาณของ ททท. บอร์ดไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้มากนัก แต่เมื่อมีการทวงติงจากภาคเอกชน ผู้ที่ดูแลโครงการก็ต้องนำไปคิดและปรับปรุง ส่วนนโยบายกระตุ้นท่องเที่ยวซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ ภาคเอกชนต้องการให้เร่งดำเนินการเป็นรูปธรรมโดยเร็วและรู้จักที่จะคิกนอกกรอบเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขัน ฉีกรูปแบบ
สำหรับจัดการกับวิกฤติท่องเที่ยวในระยะสั้น 3-6 เดือน นอกจากนี้ยังขอให้คณะกรรมการ ททท. เข้าไปดูเรื่องการบริหารงบประมาณจัดทำโครงการในททท. และขอให้เร่งเรื่องการสรรหาผู้ว่าการ ททท. ซึ่งโดยส่วนตัวต้องการให้สรรหาผู้ว่าการ ททท.
โดยเร็วเช่นกัน แต่ยังติดขั้นตอนให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเกี่ยวกับองค์กรอยู่ว่า จะถือเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร สามารถให้คนในองค์กรขึ้นเป็นผู้ว่าการททท. โดยไม่ต้องสรรหาหรือไม่