ASTVผู้จัดการกองทุน - บลจ.ทิสโก้ใจชื้น กองทุนพันธบัตรออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เริ่มฟื้น เอ็นเอวีล่าสุด วิ่งกลับสู่ระดับไอพีโอที่ 10 บาท หลังก่อนหน้านี้ ขาดทุนค่าเงินอย่างหนัก ชี้ได้อานิสงส์สัญญาณเศรษฐกิจโลกฟื้น ดึงนักลงทุนกลับมาเก็งกำไรค่าเงิน 2 กสุลอีกรอบ ระบุหากดีมานด์ลูกค้ายังมี เข็นกองใหม่สนอง ขณะที่ บลจ.นครหลวงไทย เล็งคลอดกองใหม่ รับเม็ดเงินเก่าที่กำลังจะครบอายุ ส่วนบลจ.กสิกรไทย จับจังหวะขายไอพีโอกองใหม่ ป้องกันความเสี่ยงค่าเงินเต็มจำนวน
นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ผลการดำเนินงานของกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรออสเตรเลียและพันธบัตรนิวซีแลนด์เริ่มปรับตัวดีขึ้นแล้ว หลังจากค่าเงินทั้ง 2 สกุลเริ่มดีดกลับขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และค่าเงินทั้ง 2 สกุลเอง ก็เป็นสกุลหลักที่อยู่ในความสนใจของนักลงทุนด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงเห็นการกลับเข้ามาลงทุนในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มากขึ้น เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนจากค่าเงินที่เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
สำหรับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออสเตรเลียและพันธบัตรนิวซีแลนด์ หากเทียบกับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลไทย ปัจจุบันยังให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า หรืออยู่ที่ระดับประมาณ 3% ซึ่งการที่กองทุนในประเทศเริ่มหันมาระดมทุนด้วยการออกกองทุนเพื่อนำไปลงทุนในตราสารหนี้ของทั้ง 2 ประเทศ ก็หวังกำไรจากค่าเงินที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน
ทั้งนี้ กองทุนภายใต้การบริหารของบลจ.ทิสโก้ ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 7 กองทุน โดยแบ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลีย 3 กองทุน และพันธบัตรรัฐบาลนิวซีแลนด์อีก 4 กองทุน ซึ่งผลการดำเนินงานล่าสุด เริ่มปรับตัวดีขึ้นแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก ซึ่งขณะนี้มูลค่าหน่วยลงทุน (เอ็นเอวี) ของกองทุนทั้ง 7 กอง เริ่มขยับใกล้ราคาตามมูลค่าหน่วยลงทุนที่ 10 บาทแล้ว
นอกจากนี้ เราเองกำลังอยู่ระหว่างขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรนิวซีแลนด์ เพื่อขอต่ออายุของกองทุนออกไป หลังจากกำลังจะครบกำหนดอายุการลงทุนในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยการต่ออายุดังกล่าว จะกำหนดให้มีเงื่อนไขการปิดกองทุนภายหลังจากผลตอบแทนของกองทุนปรับขึ้นมาถึง 6% ส่วนกองทุนพันธบัตรออสเตรเลียก็ดำเนินการเช่นเดียวกับกองทุนพันธบัตรนิวซีแลนด์ ซึ่งกองทุนนี้จะครบกำหนดอายุประมาณเดือนกันยายน
นายธีรนาถกล่าวว่า สำหรับกองทุนใหม่เองก็น่าสนใจเช่นกัน แต่ประเด็นคือขณะนี้ ลูกค้าเก่าที่ลงทุนอยู่ทั้ง 7 กองทุน มีจำนวนค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงต้องการให้ดูแลลูกค้าในส่วนนี้ก่อน แต่หากมีความต้องการลงทุนใหม่เราเองก็อยากออกเช่นกัน ส่วนแนวโน้มทั้งออสเตรเสียและนิวซีแลนด์ ประเมินว่า เศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศคงปรับตัวดีขึ้นหลังจากนี้ เพราะน่าจะได้ประโยชน์จากการลงทุนของประเทศจีน ซึ่งทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เองส่งออกสินค้าไปประเทศจีนค่อนข้างเยอะ ดังนั้น จึงมีโอกาสที่ค่าเงินของทั้ง 2 ประเทศแข็งค่าขึ้นได้
สำหรับกองทุนภายใต้การบริหารทั้ง 7 กองทุนประกอบด้วยกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรออสเตรเลีย 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรออสเตรเลีย โดยมูลค่าเอ็นเอวีของกองทุน ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 อยู่ที่ 10.2495 บาท ซึ่งเป็นกองทุนเดียวที่พลิกมีกำไรขึ้นมา หลังจากขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนไปก่อนหน้านี้ ตามด้วยกองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรออสเตรเลีย 2 เอ็นเอวีอยู่ที่ 9.8383 บาท กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรออสเตรเลีย 3 เอ็นเอวีอยู่ที่ 9.9028 บาท
ส่วนกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรนิวซีแลนด์มีอยู่ 4 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรนิวซีแลนด์ เอ็นเอวีล่าสุดอยู่ที่ 9.5585 บาท กองทุนเปิดทิสโก้ พันธบัตรนิวซีแลนด์ 2 เอ็นเอวีอยู่ที่ 9.2024 บาท กองทุนเปิดทิสโก้ พันธบัตรนิวซีแลนด์ 3 เอ็นเอวีขยับขึ้นเป็น 9.0656 บาท และกองทุนเปิดทิสโก้ พันธบัตรนิวซีแลนด์ 4 เอ็นเอวีล่าสุดอยู่ที่ 9.4139 บาท
ทั้งนี้ ในช่วงที่สถาบันการเงินในสหรัฐฯ ประสบกับวิกฤตหนักในช่วงเดือนตุลาคมปีที่แล้ว เอ็นเอวีของกองทุนปรับลดลงไปถึงอยู่ที่หน่วยลงทุนละ 7 บาทกว่าๆ ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินของทั้ง 2 ประเทศอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง
ด้านบลจ.นครหลวงไทย รายงานว่า บริษัทเตรียมออกกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพื่อรองรับกองทุนเดิมที่จะครบกำหนดในเดือนก.ค. และเดือนก.ย.นี้ โดยคาดว่ากองทุนที่ออก จะเป็นกองทุนที่กำหนดเป้าหมายผลตอบแทน เช่น ถ้าหากได้เท่าทุนก็จะเลิกโครงการ เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่อยากได้ทุนคืน
ทั้งนี้ เมื่อปี 2551 บลจ.นครหลวงไทย จัดตั้งกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 3 กองทุน อายุประมาณ 15 เดือน โดยไม่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2552 มูลค่าหน่วยลงทุนของทั้ง 3 กองทุน อยู่ที่ 8.6-8.9 บาทเท่านั้น อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวระบุว่า นักลงทุนสามารถเลือกที่จะไถ่ถอนหน่วยลงทุนและรับเงินคืน หรือจะนำไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศกองทุนอื่นแทนก็ได้
ขณะที่รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 2-8 มิถุนายนนี้ บริษัทจะเปิดขาย กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ต่างประเทศ 18 เดือน เอ (KFF18MA) กองทุนตราสารหนี้ ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ของสถาบันการเงินชั้นนำในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งบริษัทได้มอบหมาย BlackRock Investment Management (Australia) Limited บริษัทจัดการลงทุนมืออาชีพระดับโลกซึ่งมีสาขาในออสเตรเลียเป็นผู้จัดการลงทุน ทั้งยังป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 100% โดยกองทุนดังกล่าว มีระยะเวลาลงทุนประมาณ 15 เดือน มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท
ทั้งนี้ กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ต่างประเทศ 18 เดือน เอ มีจุดเด่นในเรื่องคุณภาพของตราสารและพอร์ตการลงทุน ที่น่าจะตอบสนองผู้ลงทุนกลุ่มดังกล่าวได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีนโยบายจ่ายคืนเงินต้น 37% พร้อมผลตอบแทนให้ผู้ลงทุนในเดือนที่ 9 และจ่ายเงินต้นส่วนที่เหลือพร้อมผลตอบแทนเมื่อกองทุนครบอายุ
นายธีรนาถ รุจิเมธาภาส กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า ขณะนี้ผลการดำเนินงานของกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรออสเตรเลียและพันธบัตรนิวซีแลนด์เริ่มปรับตัวดีขึ้นแล้ว หลังจากค่าเงินทั้ง 2 สกุลเริ่มดีดกลับขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งเป็นผลมาจากความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่อสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และค่าเงินทั้ง 2 สกุลเอง ก็เป็นสกุลหลักที่อยู่ในความสนใจของนักลงทุนด้วยเช่นกัน ดังนั้น จึงเห็นการกลับเข้ามาลงทุนในประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มากขึ้น เพื่อรับโอกาสสร้างผลตอบแทนจากค่าเงินที่เริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
สำหรับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรออสเตรเลียและพันธบัตรนิวซีแลนด์ หากเทียบกับอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลไทย ปัจจุบันยังให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า หรืออยู่ที่ระดับประมาณ 3% ซึ่งการที่กองทุนในประเทศเริ่มหันมาระดมทุนด้วยการออกกองทุนเพื่อนำไปลงทุนในตราสารหนี้ของทั้ง 2 ประเทศ ก็หวังกำไรจากค่าเงินที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นเช่นกัน
ทั้งนี้ กองทุนภายใต้การบริหารของบลจ.ทิสโก้ ปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 7 กองทุน โดยแบ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลีย 3 กองทุน และพันธบัตรรัฐบาลนิวซีแลนด์อีก 4 กองทุน ซึ่งผลการดำเนินงานล่าสุด เริ่มปรับตัวดีขึ้นแล้ว หลังจากก่อนหน้านี้ ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนไปค่อนข้างมาก ซึ่งขณะนี้มูลค่าหน่วยลงทุน (เอ็นเอวี) ของกองทุนทั้ง 7 กอง เริ่มขยับใกล้ราคาตามมูลค่าหน่วยลงทุนที่ 10 บาทแล้ว
นอกจากนี้ เราเองกำลังอยู่ระหว่างขอมติจากผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรนิวซีแลนด์ เพื่อขอต่ออายุของกองทุนออกไป หลังจากกำลังจะครบกำหนดอายุการลงทุนในเดือนกรกฎาคมนี้ โดยการต่ออายุดังกล่าว จะกำหนดให้มีเงื่อนไขการปิดกองทุนภายหลังจากผลตอบแทนของกองทุนปรับขึ้นมาถึง 6% ส่วนกองทุนพันธบัตรออสเตรเลียก็ดำเนินการเช่นเดียวกับกองทุนพันธบัตรนิวซีแลนด์ ซึ่งกองทุนนี้จะครบกำหนดอายุประมาณเดือนกันยายน
นายธีรนาถกล่าวว่า สำหรับกองทุนใหม่เองก็น่าสนใจเช่นกัน แต่ประเด็นคือขณะนี้ ลูกค้าเก่าที่ลงทุนอยู่ทั้ง 7 กองทุน มีจำนวนค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงต้องการให้ดูแลลูกค้าในส่วนนี้ก่อน แต่หากมีความต้องการลงทุนใหม่เราเองก็อยากออกเช่นกัน ส่วนแนวโน้มทั้งออสเตรเสียและนิวซีแลนด์ ประเมินว่า เศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศคงปรับตัวดีขึ้นหลังจากนี้ เพราะน่าจะได้ประโยชน์จากการลงทุนของประเทศจีน ซึ่งทั้งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เองส่งออกสินค้าไปประเทศจีนค่อนข้างเยอะ ดังนั้น จึงมีโอกาสที่ค่าเงินของทั้ง 2 ประเทศแข็งค่าขึ้นได้
สำหรับกองทุนภายใต้การบริหารทั้ง 7 กองทุนประกอบด้วยกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรออสเตรเลีย 3 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรออสเตรเลีย โดยมูลค่าเอ็นเอวีของกองทุน ณ วันที่ 29 พฤษภาคม 2552 อยู่ที่ 10.2495 บาท ซึ่งเป็นกองทุนเดียวที่พลิกมีกำไรขึ้นมา หลังจากขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนไปก่อนหน้านี้ ตามด้วยกองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรออสเตรเลีย 2 เอ็นเอวีอยู่ที่ 9.8383 บาท กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรออสเตรเลีย 3 เอ็นเอวีอยู่ที่ 9.9028 บาท
ส่วนกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรนิวซีแลนด์มีอยู่ 4 กองทุน ประกอบด้วย กองทุนเปิด ทิสโก้ พันธบัตรนิวซีแลนด์ เอ็นเอวีล่าสุดอยู่ที่ 9.5585 บาท กองทุนเปิดทิสโก้ พันธบัตรนิวซีแลนด์ 2 เอ็นเอวีอยู่ที่ 9.2024 บาท กองทุนเปิดทิสโก้ พันธบัตรนิวซีแลนด์ 3 เอ็นเอวีขยับขึ้นเป็น 9.0656 บาท และกองทุนเปิดทิสโก้ พันธบัตรนิวซีแลนด์ 4 เอ็นเอวีล่าสุดอยู่ที่ 9.4139 บาท
ทั้งนี้ ในช่วงที่สถาบันการเงินในสหรัฐฯ ประสบกับวิกฤตหนักในช่วงเดือนตุลาคมปีที่แล้ว เอ็นเอวีของกองทุนปรับลดลงไปถึงอยู่ที่หน่วยลงทุนละ 7 บาทกว่าๆ ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินของทั้ง 2 ประเทศอ่อนลงอย่างต่อเนื่อง
ด้านบลจ.นครหลวงไทย รายงานว่า บริษัทเตรียมออกกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เพื่อรองรับกองทุนเดิมที่จะครบกำหนดในเดือนก.ค. และเดือนก.ย.นี้ โดยคาดว่ากองทุนที่ออก จะเป็นกองทุนที่กำหนดเป้าหมายผลตอบแทน เช่น ถ้าหากได้เท่าทุนก็จะเลิกโครงการ เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่อยากได้ทุนคืน
ทั้งนี้ เมื่อปี 2551 บลจ.นครหลวงไทย จัดตั้งกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ 3 กองทุน อายุประมาณ 15 เดือน โดยไม่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2552 มูลค่าหน่วยลงทุนของทั้ง 3 กองทุน อยู่ที่ 8.6-8.9 บาทเท่านั้น อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวระบุว่า นักลงทุนสามารถเลือกที่จะไถ่ถอนหน่วยลงทุนและรับเงินคืน หรือจะนำไปลงทุนในกองทุนต่างประเทศกองทุนอื่นแทนก็ได้
ขณะที่รายงานข่าวจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 2-8 มิถุนายนนี้ บริษัทจะเปิดขาย กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ต่างประเทศ 18 เดือน เอ (KFF18MA) กองทุนตราสารหนี้ ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้ของสถาบันการเงินชั้นนำในประเทศออสเตรเลีย ซึ่งบริษัทได้มอบหมาย BlackRock Investment Management (Australia) Limited บริษัทจัดการลงทุนมืออาชีพระดับโลกซึ่งมีสาขาในออสเตรเลียเป็นผู้จัดการลงทุน ทั้งยังป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 100% โดยกองทุนดังกล่าว มีระยะเวลาลงทุนประมาณ 15 เดือน มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท
ทั้งนี้ กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้ต่างประเทศ 18 เดือน เอ มีจุดเด่นในเรื่องคุณภาพของตราสารและพอร์ตการลงทุน ที่น่าจะตอบสนองผู้ลงทุนกลุ่มดังกล่าวได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังมีนโยบายจ่ายคืนเงินต้น 37% พร้อมผลตอบแทนให้ผู้ลงทุนในเดือนที่ 9 และจ่ายเงินต้นส่วนที่เหลือพร้อมผลตอบแทนเมื่อกองทุนครบอายุ