แบงก์ชาติยอมรับมีการแทรกแซงค่าเงินบาทช่วยเหลือผู้ส่งออก แต่จะต้องดูแลเศรษฐกิจโดยรวม เอื้อประโยชน์เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ได้ ส่วนการแข็งค่าในขณะนี้เกิดจากเม็ดเงินทุนจากต่างประเทศเข้าสู่เอเชียเพิ่มขึ้น รวมทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุลต่อเนื่อง ระบุเศรษฐกิจเดือน เม.ย.เริ่มส่งสัญญาณดีขึ้น แนะรัฐลงทุนเพิ่ม หวังผลักดันเอกชนลงทุน ด้านสินเชื่อภาคเอกชนเพิ่มขึ้น 29.4 พันล้านบาท หลังจากหดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน โดยเป็นการขยายตัวจากสินเชื่อสถาบันการเงินภาครัฐเป็นสำคัญ
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้เข้าไปดูแลเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากเกินไป เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกไทยในระดับหนึ่ง โดยเห็นได้จากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทก็จะต้องดูให้เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจและคำนึงถึงภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะภาคการส่งออก ดังนั้น ธปท.จะแทรกแซงค่าเงินบาทให้อ่อนค่ามากเกินไป เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกด้านเดียวคงไม่ได้
ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาเกิดจากการไหลเข้าเม็ดเงินจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในเอเชีย รวมถึงไทย จึงทำให้สกุลเงินภูมิภาคปรับแข็งค่าขึ้นทั้งหมด รวมถึงการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่มีอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีเงินตราต่างประเทศเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งธปท.คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มชะลอตัวลงในไตรมาส 4 เพราะมีการนำเข้ามากขึ้น
สำหรับกรณีที่การประชุมร่วมคณะกรรมการภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ภาคเอกชนได้เรียกร้องให้ธปท.แยกการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นกับเงินตราต่างประเทศที่ผู้ส่งออกได้รับจากการขายสินค้า นางอมรา กล่าวว่า ธปท.คงไม่สามารถจะแยกการดูแลเป็น 2 ตลาดได้ เนื่องจากตลาดการเงินไทยเป็นตลาดที่เสรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธปท.ได้รายงานฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศล่าสุด ณ วันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ระดับ 120,500 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2,000 ล้านเหรียญ และสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าอยู่ที่ 6,100 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นสัปดาห์ก่อน 1,700 ล้านเหรียญ ซึ่งเงินทุนสำรองที่เพิ่มขึ้นเกิดจากธปท.เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทด้วยการซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐล่วงหน้า เพื่อประคองไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป
นางอมรากล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันเปรียบเสมือนกับการตกลงไปในเหวแล้วพยายามตะเกียกตะกายขึ้นมา โดยช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เศรษฐกิจหดตัว แต่เมื่อพิจารณาเดือนต่อเดือนที่มีการปรับฤดูกาลแล้วล่าสุดเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณดีขึ้นในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งตอนนี้คอยขยับขึ้นมาจากการที่ก่อนหน้านี้ตกไปแรง ฉะนั้น ภาครัฐควรมีมาตรการเข้ามาช่วย โดยเฉพาะการลงทุน เพื่อให้เศรษฐกิจคลายลงและผลักดันให้เอกชนกล้าลงทุน ดังนั้นขณะนี้สัญญาณการฟื้นตัวเศรษฐกิจยังช้าอยู่ จึงต้องใช้เวลา ประกอบกับการเมืองและเศรษฐกิจโลกยังไม่มีความแน่นอนอยู่ จึงต้องติดตามดูต่อไป
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจล่าสุดในเดือนเม.ย.ลดลงเหลือ 39.2 จากเดือนก่อน 40 ซึ่งเกิดจากในเดือนนี้มีวันทำการน้อยกว่าปกติ ประกอบกับความไม่สงบทางด้านการเมือง แต่หากมองไปอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.0 จาก 41.5 ในเดือนก่อน ตามคำสั่งซื้อที่สูงขึ้นและผลประกอบการที่ดี โดยเฉพาะผลประกอบการที่กลับมาอยู่ในระดับเชื่อมั่นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่แรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมยังคงลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 72.1 จากเดือนก่อน 72.8 ซึ่งเป็นการลดลงทุกรายการทั้งความเชื่อมั่นในปัจจุบันและอนาคต
สำหรับเงินฝากขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 6% หากนับรวมการออกตราสารหนี้ประเภทตั๋วแลกเงินแล้ว เงินฝากขยายตัว 8.7% สะท้อนการย้ายเงินฝากไปสู่การลงทุนในตั๋วแลกเงินเพิ่มสูงขึ้น ด้านสินเชื่อภาคเอกชนขยายตัว 5.8%จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามภาวะเศรษฐกิจและการชะลอสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจเป็นสำคัญ ขณะที่สินเชื่อภาคครัวเรือนขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาการเปลี่ยนแปลงเป็นรายเดือน พบว่า สินเชื่อภาคเอกชนเริ่มเพิ่มขึ้นเป็น 29.4 พันล้านบาท หลังจากหดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน โดยเป็นการขยายตัวจากสินเชื่อสถาบันการเงินภาครัฐเป็นสำคัญ โดยเฉพาะด้านการอุปโภคบริโภค.
นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมา ธปท.ได้เข้าไปดูแลเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากเกินไป เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกไทยในระดับหนึ่ง โดยเห็นได้จากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การเข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทก็จะต้องดูให้เหมาะสมกับปัจจัยพื้นฐานเศรษฐกิจและคำนึงถึงภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะภาคการส่งออก ดังนั้น ธปท.จะแทรกแซงค่าเงินบาทให้อ่อนค่ามากเกินไป เพื่อช่วยเหลือผู้ส่งออกด้านเดียวคงไม่ได้
ทั้งนี้ การแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาเกิดจากการไหลเข้าเม็ดเงินจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในเอเชีย รวมถึงไทย จึงทำให้สกุลเงินภูมิภาคปรับแข็งค่าขึ้นทั้งหมด รวมถึงการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่มีอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ทำให้มีเงินตราต่างประเทศเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งธปท.คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดเริ่มชะลอตัวลงในไตรมาส 4 เพราะมีการนำเข้ามากขึ้น
สำหรับกรณีที่การประชุมร่วมคณะกรรมการภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ภาคเอกชนได้เรียกร้องให้ธปท.แยกการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นกับเงินตราต่างประเทศที่ผู้ส่งออกได้รับจากการขายสินค้า นางอมรา กล่าวว่า ธปท.คงไม่สามารถจะแยกการดูแลเป็น 2 ตลาดได้ เนื่องจากตลาดการเงินไทยเป็นตลาดที่เสรี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธปท.ได้รายงานฐานะเงินสำรองระหว่างประเทศล่าสุด ณ วันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา พบว่า เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ที่ระดับ 120,500 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2,000 ล้านเหรียญ และสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าอยู่ที่ 6,100 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นสัปดาห์ก่อน 1,700 ล้านเหรียญ ซึ่งเงินทุนสำรองที่เพิ่มขึ้นเกิดจากธปท.เข้าไปแทรกแซงค่าเงินบาทด้วยการซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐล่วงหน้า เพื่อประคองไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป
นางอมรากล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันเปรียบเสมือนกับการตกลงไปในเหวแล้วพยายามตะเกียกตะกายขึ้นมา โดยช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เศรษฐกิจหดตัว แต่เมื่อพิจารณาเดือนต่อเดือนที่มีการปรับฤดูกาลแล้วล่าสุดเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณดีขึ้นในเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งตอนนี้คอยขยับขึ้นมาจากการที่ก่อนหน้านี้ตกไปแรง ฉะนั้น ภาครัฐควรมีมาตรการเข้ามาช่วย โดยเฉพาะการลงทุน เพื่อให้เศรษฐกิจคลายลงและผลักดันให้เอกชนกล้าลงทุน ดังนั้นขณะนี้สัญญาณการฟื้นตัวเศรษฐกิจยังช้าอยู่ จึงต้องใช้เวลา ประกอบกับการเมืองและเศรษฐกิจโลกยังไม่มีความแน่นอนอยู่ จึงต้องติดตามดูต่อไป
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจล่าสุดในเดือนเม.ย.ลดลงเหลือ 39.2 จากเดือนก่อน 40 ซึ่งเกิดจากในเดือนนี้มีวันทำการน้อยกว่าปกติ ประกอบกับความไม่สงบทางด้านการเมือง แต่หากมองไปอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.0 จาก 41.5 ในเดือนก่อน ตามคำสั่งซื้อที่สูงขึ้นและผลประกอบการที่ดี โดยเฉพาะผลประกอบการที่กลับมาอยู่ในระดับเชื่อมั่นเป็นครั้งแรกในรอบ 8 เดือนที่ผ่านมา ขณะที่แรงกดดันด้านต้นทุนการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมยังคงลดลงต่อเนื่องมาอยู่ที่ 72.1 จากเดือนก่อน 72.8 ซึ่งเป็นการลดลงทุกรายการทั้งความเชื่อมั่นในปัจจุบันและอนาคต
สำหรับเงินฝากขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อนที่ 6% หากนับรวมการออกตราสารหนี้ประเภทตั๋วแลกเงินแล้ว เงินฝากขยายตัว 8.7% สะท้อนการย้ายเงินฝากไปสู่การลงทุนในตั๋วแลกเงินเพิ่มสูงขึ้น ด้านสินเชื่อภาคเอกชนขยายตัว 5.8%จากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามภาวะเศรษฐกิจและการชะลอสินเชื่อที่ให้แก่ภาคธุรกิจเป็นสำคัญ ขณะที่สินเชื่อภาคครัวเรือนขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนก่อน อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาการเปลี่ยนแปลงเป็นรายเดือน พบว่า สินเชื่อภาคเอกชนเริ่มเพิ่มขึ้นเป็น 29.4 พันล้านบาท หลังจากหดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน โดยเป็นการขยายตัวจากสินเชื่อสถาบันการเงินภาครัฐเป็นสำคัญ โดยเฉพาะด้านการอุปโภคบริโภค.