เอเอฟพี - ยอดขายหนังสือพิมพ์ทั่วโลกขยับสูงขึ้นเล็กน้อยในปีที่แล้ว สวนทางกับการคาดคะเนในแง่ร้ายที่ว่า อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทนี้กำลังถึงคราวอวสาน โดยที่ยอดขายเพิ่มขึ้นทางแถบแอฟริกา, เอเชียและละตินอเมริกา ถึงแม้ในยุโรปและสหรัฐฯ จะมียอดขายตกต่ำ ทั้งนี้เป็นการแถลงขององค์การตัวแทนอุตสาหกรรมนี้เมื่อวันพุธ (27)
ยอดขายหนังสือพิมพ์ทั่วโลกเติบโตขึ้น 1.3 เปอร์เซ็นต์ในปีที่แล้วเมื่อเทียบกับปี 2007 โดยขยับขึ้นมาอยู่ที่ 539 ล้านฉบับ และเติบโตขึ้นในระดับ 8.8 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แกวิน โอไรล์ลี นายกสมาคมหนังสือพิมพ์โลก (ดับเบิลยูเอเอ็น) กล่าว
"อุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ยังคงเติบโต" โอไรล์ลีกล่าวก่อนเริ่มการประชุมดับเบิลยูเอเอ็นเป็นเวลา 2 วัน ที่เมืองบาร์เซโลนาประเทศสเปน นายกสมาคมหนังสือพิมพ์โลกยังกล่าวด้วยว่า พวกนักวิจารณ์ด้านสื่อต่าง "ผิดพลาด" ที่คาดคะเนว่า หนังสือพิมพ์รายวันจะถึงคราวหมดยุค
อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ในประเทศร่ำรวยต่างก็กำลังพยายามดิ้นรนอย่างหนักเพื่อความอยู่รอด เนื่องจากผลกระทบจากอินเทอร์เน็ต มิหนำซ้ำรายได้จากโฆษณายังร่อยหรอลงเพราะวิกฤตเศรษฐกิจ
กิจการหนังสือพิมพ์หลายแห่งของสหรัฐฯ ต้องประกาศล้มละลายในช่วง 2 - 3 เดือนที่แล้ว อาทิ บริษัท ทรีบูน โค. ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ชิคาโก ทรีบูน, ลอสแอนเจลิส ไทมส์, บัลทิมอร์ ซัน, และอีกหลายฉบับ
ขณะที่หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ 2 แห่ง คือ ซีแอตเทล โพสต์ - อินเทลลิเจนเซอร์ และเดอะ ร็อกกี้ เมาน์เทน นิวส์ มีอันปิดกิจการลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และมีอีกหลายฉบับที่กำลังล้มลุกคลุกคลาน
ในทางตรงกันข้าม ตลาดแห่งอื่น ๆ เช่นในแถบเอเชีย สื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้กลับกำลังเฟื่องฟู เนื่องจากภูมิภาคแถบดังกล่าว มีสัดส่วนชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดกระเตื้องขึ้น
อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ในอินเดียเติบโตเป็นประวัติการณ์ถึง 16 เปอร์เซ็นต์ในปี 2007 จากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ผลศึกษาของ "ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส" ซึ่งถูกนำเสนอในที่ประชุมครั้งนี้ด้วย
ความรุ่งโรจน์ของอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ในแถบเอเชีย ได้รับการตอกย้ำในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา เมื่อวอล สตรีท เจอร์นัล เริ่มตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ธุรกิจฉบับนี้ในเวอร์ชั่นท้องถิ่นที่อินเดีย ซึ่งมีประชากรมากสุดอันดับสองของโลก
โอไรล์ลีกล่าวว่า รายได้จากการขายโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันทั่วโลกลดลงถึง 5 เปอร์เซ็นต์ในปีที่แล้ว และคาดว่า น่าจะลดลงอีกในปี 2009 แต่อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ "จะดีดกลับขึ้นมา" อีกครั้ง เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกสิ้นสุด
เขากล่าวด้วยว่า กิจการสื่อสิ่งพิมพ์กำลังเผชิญกับช่วงเวลาของ "การเปลี่ยนแปลงอย่างบ้าคลั่ง" จากการผงาดขึ้นมาของสื่อใหม่ ๆ ในการเผยแพร่ข่าวสาร เช่น อินเตอร์เน็ตและ โทรศัพท์มือถือ แต่อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์จะสามารถหาทางปรับเข้าหาสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ เหล่านี้
"อนาคตมีเพียงออนไลน์เท่านั้น" เขากล่าว
2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามของไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส ซึ่งสำรวจความเห็นของผู้คนใน 7 ประเทศ ตอบว่า เต็มใจจะจ่ายเงินเพื่ออ่านเนื้อหาข่าวทั่วไปในอินเทอร์เน็ต
ขณะที่นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า การปรากฎขึ้นของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ ที่มีประสิทธิภาพและง่ายต่อการอ่านมากขึ้น เช่น แอปเปิล ไอโฟน เมื่อบวกกับระบบการจ่ายเงินแบบใหม่ ๆ ท้ายที่สุดแล้วจะเอื้ออำนวยให้หนังสือพิมพ์สามารถเติบโตในยุคดิจิตอล
เป็นต้นว่า วอลสตรีทเจอร์นัล ประสบความสำเร็จในการให้บริการเนื้อหาข่าวทั้งแบบเสียเงินและไม่เสียเงิน โดยผู้อ่านที่เสียเงินเท่านั้นจึงจะได้อ่านบทวิเคราะห์และความที่เจาะลึกและเข้มข้น ปรากฏว่าตอนนี้มีผู้อ่านแบบจ่ายเงินมากกว่า 1 ล้านราย
ยอดขายหนังสือพิมพ์ทั่วโลกเติบโตขึ้น 1.3 เปอร์เซ็นต์ในปีที่แล้วเมื่อเทียบกับปี 2007 โดยขยับขึ้นมาอยู่ที่ 539 ล้านฉบับ และเติบโตขึ้นในระดับ 8.8 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แกวิน โอไรล์ลี นายกสมาคมหนังสือพิมพ์โลก (ดับเบิลยูเอเอ็น) กล่าว
"อุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ยังคงเติบโต" โอไรล์ลีกล่าวก่อนเริ่มการประชุมดับเบิลยูเอเอ็นเป็นเวลา 2 วัน ที่เมืองบาร์เซโลนาประเทศสเปน นายกสมาคมหนังสือพิมพ์โลกยังกล่าวด้วยว่า พวกนักวิจารณ์ด้านสื่อต่าง "ผิดพลาด" ที่คาดคะเนว่า หนังสือพิมพ์รายวันจะถึงคราวหมดยุค
อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ในประเทศร่ำรวยต่างก็กำลังพยายามดิ้นรนอย่างหนักเพื่อความอยู่รอด เนื่องจากผลกระทบจากอินเทอร์เน็ต มิหนำซ้ำรายได้จากโฆษณายังร่อยหรอลงเพราะวิกฤตเศรษฐกิจ
กิจการหนังสือพิมพ์หลายแห่งของสหรัฐฯ ต้องประกาศล้มละลายในช่วง 2 - 3 เดือนที่แล้ว อาทิ บริษัท ทรีบูน โค. ซึ่งเป็นเจ้าของหนังสือพิมพ์ชิคาโก ทรีบูน, ลอสแอนเจลิส ไทมส์, บัลทิมอร์ ซัน, และอีกหลายฉบับ
ขณะที่หนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ 2 แห่ง คือ ซีแอตเทล โพสต์ - อินเทลลิเจนเซอร์ และเดอะ ร็อกกี้ เมาน์เทน นิวส์ มีอันปิดกิจการลงในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และมีอีกหลายฉบับที่กำลังล้มลุกคลุกคลาน
ในทางตรงกันข้าม ตลาดแห่งอื่น ๆ เช่นในแถบเอเชีย สื่อสิ่งพิมพ์ชนิดนี้กลับกำลังเฟื่องฟู เนื่องจากภูมิภาคแถบดังกล่าว มีสัดส่วนชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ตลาดกระเตื้องขึ้น
อุตสาหกรรมสื่อสิ่งพิมพ์ในอินเดียเติบโตเป็นประวัติการณ์ถึง 16 เปอร์เซ็นต์ในปี 2007 จากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ผลศึกษาของ "ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส" ซึ่งถูกนำเสนอในที่ประชุมครั้งนี้ด้วย
ความรุ่งโรจน์ของอุตสาหกรรมหนังสือพิมพ์ในแถบเอเชีย ได้รับการตอกย้ำในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา เมื่อวอล สตรีท เจอร์นัล เริ่มตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ธุรกิจฉบับนี้ในเวอร์ชั่นท้องถิ่นที่อินเดีย ซึ่งมีประชากรมากสุดอันดับสองของโลก
โอไรล์ลีกล่าวว่า รายได้จากการขายโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันทั่วโลกลดลงถึง 5 เปอร์เซ็นต์ในปีที่แล้ว และคาดว่า น่าจะลดลงอีกในปี 2009 แต่อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ "จะดีดกลับขึ้นมา" อีกครั้ง เมื่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกสิ้นสุด
เขากล่าวด้วยว่า กิจการสื่อสิ่งพิมพ์กำลังเผชิญกับช่วงเวลาของ "การเปลี่ยนแปลงอย่างบ้าคลั่ง" จากการผงาดขึ้นมาของสื่อใหม่ ๆ ในการเผยแพร่ข่าวสาร เช่น อินเตอร์เน็ตและ โทรศัพท์มือถือ แต่อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์จะสามารถหาทางปรับเข้าหาสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ เหล่านี้
"อนาคตมีเพียงออนไลน์เท่านั้น" เขากล่าว
2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถามของไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส ซึ่งสำรวจความเห็นของผู้คนใน 7 ประเทศ ตอบว่า เต็มใจจะจ่ายเงินเพื่ออ่านเนื้อหาข่าวทั่วไปในอินเทอร์เน็ต
ขณะที่นักวิเคราะห์หลายคนมองว่า การปรากฎขึ้นของเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ ที่มีประสิทธิภาพและง่ายต่อการอ่านมากขึ้น เช่น แอปเปิล ไอโฟน เมื่อบวกกับระบบการจ่ายเงินแบบใหม่ ๆ ท้ายที่สุดแล้วจะเอื้ออำนวยให้หนังสือพิมพ์สามารถเติบโตในยุคดิจิตอล
เป็นต้นว่า วอลสตรีทเจอร์นัล ประสบความสำเร็จในการให้บริการเนื้อหาข่าวทั้งแบบเสียเงินและไม่เสียเงิน โดยผู้อ่านที่เสียเงินเท่านั้นจึงจะได้อ่านบทวิเคราะห์และความที่เจาะลึกและเข้มข้น ปรากฏว่าตอนนี้มีผู้อ่านแบบจ่ายเงินมากกว่า 1 ล้านราย